กลอนการปรองดองสมานฉันท์ตอนที่สอง

                 ประชาธิปไตยในปัจจุบัน      สอดคล้องกันในเรื่องความขัดแย้ง
        เริ่มแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นแรง            ยุคปลายแห่งสงครามเย็นจวบนั้นมา
        ความรุนแรงขัดแย้งเกือบทุกแห่ง     มาจากแรงต่อสู่ในรัฐฐา
        ในสงครามกลางเมืองปวงประชา     แสวงหาเสรีภาพเสมอภาค
                การกดขี่ชนกลุ่มน้อยในพารา   เป็นที่มาลุกฮือเข้าต่อต้าน
       การรังเกียจเดียดฉันท์ในถิ่นฐาน       มาจากการมีเชื้อชาติสัญชาติ
       ที่แตกต่างไม่เท่าเทียมระหว่างคน     ประชาชนปรารถนาการประกาศ
       แยกเป็นรัฐตัวตนมีเอกราช              เพื่อสร้างชาติของตนให้เข้มแข็ง
               การแก้ปัญหาขัดแย้งที่พิงพาด  ระหว่างราษฎร์สองรัฐที่ขัดแย้ง
       ปฏิรูปโครงสร้างรัฐไม่แข็งแกร่ง       ไม่ลดแรงความแตกต่างได้เพียงพอ
       เพื่อป้องกันการต่อสู้รณรงค์            โครงสร้างคงแบบเดิมที่ถักทอ
       ไม่อาจเจรจาต่อรองรอ                  เพื่อร้องขอความสงบได้ง่ายดาย
               และสิ่งแพร่หลายที่เกิดก่อ      ต้องเสริมต่อระบบปัจจุบัน
       อันเป็นพื้นฐานหลักการที่สร้างสรรค์  เคารพกันในสิทธิมนุษย์
       รูปแบบโครงสร้างประชาธิปไคย       และเคลื่อนไหวแก้ปัญหาขัดแย้งสุด
       ในเรื่องแพ้ชนะในมนุษย์                ควรเร่งรุดแก้ปํญหาชนะชนะ
                ประชาธิปไตยหน้าที่รุด         พื้นฐานจุดสร้างกระแสเป็นสองอย่าง
       คือชุดกรรมวิธีเป็นนำทาง               เพื่อสรรค์สร้างยุตฺิธรรมลดแบ่งแยก
       ในโครงสร้างการเมืองและสังคม      เพื่อระดมธรรมรัฐจัดจำแนก
       และวิถีทางสร้างระบบเป็นแผนก       ตัองคัดแย้งปัญหาแพ้ชนะ
                สังคมไม่อาจพัฒนาการแบ่งแยก ประการแรกโครงสร้างไม่เป็นธรรม
       สิ่งตรงข้ามไม่สามารถจะกระทำ       ให้เป็นธรรมและยุติธรรมอย่างสำคัญ
       ระดับความร่วมมือที่ร่วมงาน            ไม่จัดการเป็นจริงสิ่งสร้างสรรค์
       ได้ร่วมมือสัมพันธ์ร่วมแบ่งปัน           เป็นความฝันราษฎรที่ต้องการ        

                  
              

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ