กลอนการจัดการอนาคต ตอนที่ 1 โดยปีเตอร์ เอฟ.ดรุ๊กเกอร์

       ขอบเขตสำคัญหลายปีที่พบผ่าน       ห้าประการการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม
ทั้งสังคมเศรษฐกิจที่เบ้าหลอม                ล้วนพรักพร้อมกลยุทธ์และโครงสร้าง
การจัดการธุรกิจที่ปรับเปลี่ยน                  เริ่มหมุนเวียนเศรษฐกิจโลกกว้างขวาง
ทั้งนักธุรกิจ,การเมืองที่แตกต่าง              และแบบอย่างนักเศรษฐศาสตร์ที่ยอมรับ
       แนวโน้มเอียงคล้ายคลึงในแนวทาง   เป็นศูนย์กลางหลักการอย่างฉลาด
เพื่อบูรนาการเศรษฐกิจนานาชาติ             บางคนอาจไม่ชอบหรือไม่ชอบ
ความสัมพันธ์เศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้น            ในจุดยืนกีดกันกำแพงขอบ
มากกว่ากั้นกลางประเทศเป็นรั้วรอบ          ในระบอบสังคมทั้งโลกา
       ในอาเชี่ยนหละหลวมไม่คลุมคลอบ   ญี่ปุ่นชอบลงทุนเพราะช่องว่าง
เศรษฐกิจคู่ขนานเหมือนแบบอย่าง           วางแนวทางเหมือนอเมริกาเหนือ
ก่อกำเนิดนำทุนสนับสนุน                      การค้ำจุนสัมพันธ์จึงก่อเอื้อ
การค้าเป็นทวิภาคีคอยจุนเจือ                 บางครั้งเผื่อไตรภาคีมีลงทุน
       ความคล้ายคลึงดังกล่าวง่ายดายเหลือ จึงนำเชื้อลัทธิปกป้องการนำเข้า
ว่าสินค้าดีมีคุณภาพต้องไม่เบา               ไม่ขลาดเขลาเฝ้าตรวจสอบสินค้ากัน
เป็นแฟชั่นนำไปสู่เครื่องมือขลัง              เพิ่มพลังขยายผลการแบ่งปัน
ในการค้าและลงทุนที่ผูกพัน                  ภาครัฐนั้นและธุรกิจต้องไคร่ครวญ
       จินตนาการและกล้าหาญคิดสร้างสรรค์ แต่ไม่ทันเหตุการณ์รวดเร็วยิ่ง
เพื่อสนองสิ่งฉุกเฉินครั้งแรกจริง              พลังยิ่งทางเศรษฐกิจที่สำคัญ
ของสังคมที่ไม่ใช่ตะวันตก                    กลับขึ้นบกโดยญี่ปุ่นลงทุนกัน
ในอดีตพลังเศรษฐกิจเอนกอนันต์            รูปแบบนั้นคือบรรษัทนานาชาติ
       ซึ่งกำเ่นิดตอนกลางในยุคนั้น          ฟูเฟื่องฝันในศวรรษที่สิบเ้ก้า
ที่ต่อต้านทุกสิ่งอย่างนักคิดเรา               ถ่ายทอดเอามาจากอาดัมสมิธ
และกูรูเดวิดริคาร์โด้                           แต่มาโตในประเทศไม่เคยคิด
คืออเมริกา,เยอรมันไล่ตามติด                เศรษฐกิจทรงพลังอย่างสำคัญ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

108 คำคมขงเบ้ง คำคมสอนใจ จากขงเบ้ง

วิศวกรสังคม (Social Engineer) มีบทบาทต่อการพัฒนาประเทศอย่างไร?