กลอนการจัดการเชิงสมดุลย์ (Balanced Scorecard) ตอนที่หนึ่ง
ประวัติการจัดการเชิงสมดุลย์ เริ่มมักคุ้นปีหนึ่งเก้าเก้าสอง
โดยแคปลัน,นอร์ตันมีมุมมอง ดัชนีของคะแนนมุ่งหมายเตือน
ที่เรียกว่า"บาล้านซ์สกอร์การ์ด" เพื่อวัดมาตรผลงานการขับเคลื่อน
ในวารสารชื่อดังไม่ลืมเลือน ไม่บิดเบือนคือฮาร์วาร์ดบิวสิเนส
ที่ใส่ใจวิธีการอันกล่นเกลื่อน กลายเป็นเดือนดาวเด่นของยอดขาย
ในหนังสือธุรกิจที่มากมาย ที่่ท้าทายผู้อ่านเยี่ยมชะมัด
คือ"บาล๊านสกอร์การ์ดที่ดัดแปลง ที่เติมแต่งกลยุทธ์สู่ปฏิบัติ
และตีพิมพ์รูปเล่มเต็มพิกัด ปรากฎชัดในปีหนึ่งเก้าเก้าหก
มันคือแนวทางเกี่ยวกับประวัติ บอกแน่ชัดว่าอะไรจะเกิดขึ้น
แต่ไม่อาจบอกเราอย่างยืนพื้น บังเกิดขึ้นในปัจจุบันเป็นอย่างไร
ไม่ว่าเป็นตัวชี้วัดที่ดีนั้น ที่สร้างสรรค์ผลงานอนาคตได้
คุณค่าตลาดองค์การนั้นต่ำไซร้ ค้ากำไรเกินไปไม่ค่อยดี
การมุ่งหวังอย่างเดียวในกำไร ไม่ช่วยให้เกิดคุณค่าต่อลูกค้า
โดยไม่มองสิ่งพึงใจในคุณค่า ที่มองหาในตัวเลขของบัญชี
ไม่ปรากฎตัววัดทางการเงิน เพราะมัวเพลินกับกำไรเป็นศักดิ์ศรี
ในระยะยาวเป็นไปไม่ค่อยดี ลูกค้าหนีเพราะราคาแพงเกินควร
สี่มุมมองการจัดการมีดังนี้ คือมุ่งที่การเงินเป็นด่านหน้า
สองมุมมองพึงพอใจในลูกค้า ต้องรักษาให้ยั่งยืนสม่ำเสมอ
สามมุมมองกระบวนการภายใน ต้องใส่ใจการผลิตไม่มัวเผลอ
สี่มุมมองเพัฒนาไม่เพ้อเจ้อ ความเลิศเลอสามารถของบุคคล
การจัดการสมดุลย์ดีนะเออ มุ่งเสมอมองไปทั้งองค์การ
เพื่อค้นหากุญแจสำคัญบริหาร ส่งเสริมการสร้างผลงานที่โดดเด่น
และช่วยรวมแผนงานองค์กรไว้ โดยใส่ใจคุณภาพ,ยกเครื่องเป็น
แผนบริการลูกค้าเป็นประเด็น เพื่อมุ่งเข็นกลยุทธ์องค์กรไกล
โดยแตกหน่อกลยุทธ์ย่อยให้เห็น เริ่มต้นเช่นระดับล่างการวัดผล
เพื่อผู้บริหารหน่วยงานได้คิดค้น รวมบุคคลระดับปฏิบัติการ
และแรงงานสามารถมองเห็นได้ สิ่งมุ่งไปเพื่อผลรวมการทำงาน
เพื่อบรรลุความสำเร็จการจัดการ บริหารงานเป็นเลิศทั่วองค์กร
หนึ่งมุมมองการเงินที่กล่าวขาน นักคิดอ่านไม่ยกย่องเป็นส่ิงดี
แต่มุ่งหมายวางพื้นฐานข้อมูลมี ดัชนีแก้ปัญหาที่ท้าทาย
หากมุ่งเน้นกำไรมากเกินไป เสียศูนย์ไปเพราะลูกค้าพาเบื่อหน่าย
ต้องประเมินความเสี่ยงเพื่อทำนาย การคลี่คลายรายได้และต้นทุน
สองมุมมองลูกค้าพอใจจ่าย ตัวทำนายการกำกับและนำทาง
หากลูกค้าไม่พอใจและแคลงคลาง ตีตัวห่างหันเหไปซื้อคนอื่น
เพราะคู่แข่งมีมากหลายในทั่วหล้า อาจหันหน้าไม่มองอย่างใจฝืน
ต้องวิเคราะห์กลุ่มลูกค้าเพื่อยั่งยืน ไม่ควรฝืนความพอใจเป็นทุนเดิม
สามมุมมองกระบวนการอย่างยั่งยืน ในการตื่นผลิตภัณฑ์ตามต้องการ
มุ่งผลิตส่งเสริมภารกิจการงาน เทียบเคียงการต่อยอดเป็นอย่างดี
สิ่งสนับสนุนการวัดผลโดยทั่วไป กระบวนในองค์กรอย่างถ้วนถี่
ตอบสนองลูกค้าต้องการทุกนาที เป็นสิ่งที่มุ่งหมายร่วมกันมอง
สี่มุมมองเรียนรู้พัฒนาดี ต้องมุ่งที่การอบรมและบ่มเพาะ
ทั้งบุคคล,วัฒนธรรมองค์กรเคาะ เพื่อสืบเสาะแนวทางพัฒนา
เน้นมนุษย์เป็นทรัพยากรอย่างสำคัญ เพื่อประกันการเรียนรู้ต่อเนื่องหนา
มากกว่าคำอบรมที่กล่าวมา คือที่มาที่ปรึกษา(mentor)และสอนเสริม(tutor)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น