กลอนพฤติกรรมองค์การตอนที่ 9

               สิ่งแวดล้อมโลกเปลี่ยนแปลงรวดเร็วยิ่ง   เกือบทุกสิ่งเผลอเรอจนเบลอไป
         ในหัวข้อศตวรรษใหม่เป็นข่าวใหญ่               ความเสียหายเกิดขึ้นมาชักจูง
         โจรก่อการร้ายโจมตีในเวิลด์เทรด               อันเป็นเหตุเครื่องบินชนตึกสูง
         ในรัฐนิวยอร์คเมืองหลวงเกิดกลางกรุง          เกิดความยุ่งวุ่นวายทั่วทั้งโลก
               สิบเอ็ดกันยาสองพันสิบเอ็ดมุ่ง              จากการพุ่งชนตึกถล่มทลาย
         และระเบิดไนท์คลับทำวอดวาย                   ความเสียหายเกิดขึ้นเมืองบาหลี
         ในประเทศอินโดนีเซียเดือนตุลา                  ชาวพาราสูญเสียและขวัญหนี
         และเหตุการณ์จับตัวประกันมี                       เกิดขึ้นที่โรงหนังเมืองมอสโคว์
               เกิดสงครามสหรัฐเข้าบุกตี                   ในพื้นที่่อีรัคปีสองพันสาม
         และโรคซาร์แพร่ระบาดทุกเขตคาม             เริ่มลุกลามในเอเชียและคานาดา
         เช่นเดียวกับความขัดแย้งอย่างรุนแรง            มีการแย่งสถานที่ศักดิ์สิทธิ์หนา
         ระหว่างอิสราเอล,ปาเลสไตน์นา                  เผชิญหน้าสงครามที่ยาวนาน
               ไม่กีปีเป็นที่ประจักษ์มา                       เปลี่ยนชะตาประเทศทั่วโลกา
         ที่องค์การส่วนใหญ่ล้วนดาหน้า                   แสวงหาปรับเปลี่ยนธุรกิจ
         ซึ่งไม่เคยซับซ้อนมาก่อนนี้                        กลับทวีหาแนวทางในความคิด
        ผู้จัดการออสเตรเลียมุ่งพิชิต                       ทั้งความคิดนิวซีแลนด์ปาซิฟิค
               ในสหรัฐและประเทศอื่นต้องประดิษฐ์     ในความคิดใหม่แบบใหม่และโครงสร้าง
         การจัดการแรงงานทั้งสองทาง                    ในระหว่างในและทั่วโลกนั้น
         เพื่อออกแบบองค์การอยู่รอดนั้น                  ยังมุ่งยันรักษาการแข่งขัน
         มุ่งหน้าเข้าสู่ศตวรรษยี่สิบเอ็ดครัน               เพื่อประกันแปลี่ยนแปลงที่ทำงาน
               การเปลี่ยนแปลงสถานทำงานนั้น          รวดเร็วพลันต่อเนื่องกระทำมา
         บทความของฟอร์จูนนั้นเรียกว่า                  "การจัดการท่ามกลางความสับสน"
         อธิบายสถานการณ์เป็นแนวทาง                  เป็นแบบอย่างการเรียกร้องในคำค้น
         เช่นรื้อประระบบ,โครงสร้างคน                    ในรูปผลปรับเปลี่ยนในองค์การ
              ปรับโครงสร้างแนวราบเพื่อยังผล            เพื่อดิ้นรนลดต้นทุนการจ้างงาน
         รวมทั้งลดค่าใช้จ่ายการสื่อสาร                    อีกทั้งการลดขนาดแรงงานมา
         และการลดแรงงานอย่างเหมาะสม                เป็นเงื่อนปมการแข่งขันในโลกา
         เป็นความจริงรุนแรงอาจยาตรา                    คู่แข่งหนาอยู่ใกล้กันไม่ห่างไกล
               การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงอย่างแรงกล้า       ที่เกิดมาเป็นไปความรู้สึก
         ได้แก่แสดงอาการหวาดผวาลึก                    มุ่งตรองตรึกสิ่งผิดในวิสัย
          ในอารมณ์เจ็บปวดทุกข์ทรมาน                   การทะยานมุ่งเสรีภาพในจิตใจ
          ไม่ต้องการการชี้นำจากคนใหน                   และดีใจ,ต้องการมีอำนาจ
                 ความคับข้องใจ,เต็มเต็มสิ่งใหม่ๆ         สันสนในและมุ่งสิ่งท้าทาย
          เรียกว่าสังคมสับสนมิเสื่อมคลาย                 สูญสลายสิ่งเก่าไม่คาดฝัน
          เกิดธรรมชาติแปรเปลี่ยนไม่หยุดนิ่ง              แลทุกสิ่งอนิจจังเห็นทั่วกัน
          เนื่องจิตใจมนุษย์ซับซ้อนยากหยั่งทัน           เพราะทุกวันต้องติดตามพิเคราะห์กัน
        


        

      

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ