รัฐบาลควรเริ่มต้นสร้างธรรมรัฐที่แท้จริงเพื่อประชาชน (ตอนที่ 1)

     

         ตามหลักการธรรมรัฐของ UNDPสามารถชี้ให้เห็นถึงการนำไปใช้เกี่ยวกับการจัดระเบียบทางเศรษฐกิจ,การเมือง และอำนาจหน้าที่ทางการบริหารเพื่อจัดการเกี่ยวกับกิจการประเทศในทุกระดับชั้น ซึ่งประกอบด้วยกลไก,กระบวนการและสถาบันที่เรียกร้องผ่านโดยพลเมืองและประชาชนที่สนใจและปรารถนาที่จะใช้สิทธิตามกฎหมาย เพื่อตอบสนอภาระผูกพันและการสร้างความแตกต่างในระดับกลาง  ธรรมรัฐคือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วม,ความโปร่งใส และความสามารถในการตรวจสอบได้ ซึ่งเป็นการส่งเสริมตัวบทกฎหมายให้เกิดประสิทธิผลและความเท่าเทียมกัน เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการจัดลำดับความสำคัญทางสังคม,เศรษฐกิจ,การเมืองซึ่งเป็นพื้นฐานการเห็นพ้องต้องกันอย่างกว้างขวาง และการรับฟังเสียงประชาชนคนยากจนถือว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญทีุ่สุดในการตัดสินใจรับฟัง ซึ่งเพื่อการจัดสรรเกี่ยวกับทรัพยากรพัฒนา
คุณลักษณะของธรรมรัฐ (Good governance)
         1. การมีส่วนร่วม  ทุกคนไม่ว่าชาย และหญิง ควรมีสิทธิมีเสียงในการตัดสินใจ ทั้งโดยตรงหรือมีความชอบธรรมที่สถาบันโดยทั่วไปสามารถนำเสนอผลประโยชน์ของพวกเขาเหล่านั้น   เช่นการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางที่กำหนดให้มีอิสรภาพของการจัดตั้งกลุ่มหรือสมาคม และการใ้ช้วาทกรรม  เช่นเดียวกับการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์   การมีส่วนร่วมคือกระบวนการที่จัดลำดับความสำคัญของการกำหนดนโยบาย การเข้าถึงสินค้าสาธารณะและบริการ และการจัดสรรทรัพยากรที่มีอิทธิพลโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งแตกต่างจากบริบทใดบริบทหนึ่งไปสู่อีกบริบทหนึ่งและขึ้นอยู่กับแผนงานและวิสัยทัศน์ที่แตกต่างกัน   กระบวนการมีส่วนร่วมในกลยุทธ์การลดความยากจน การส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และกระบวนการตัดสินใจอย่างโปร่งใส  ในทำนองตรงกันข้าม ธนาคารโลกให้ข้อสังเกตว่าจะมีการปรับปรุง และเป็นผลเพิ่มประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจและธรรมรัฐของกิจกรรมการพัฒนา  โดยทั่วไปการมีส่วนร่วมสาธารณะมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประเด็นสำัคัญได้แก่
         - การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสาธารณะ
         - การมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ
         - การเข้าถึงการปรับปรุงแก้ไขในการตัดสินของศาลและการบริหารงานในแง่การเข้าถึง
           ความยุติธรรม
         การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารมีลักษณะเฉื่อยชาหรือกระตือรือร้น   การเข้าถึงแบบเฉื่อยชาคือประชาชนสามารถได้ข้อมูลข่าวสารตามคำร้องขอต่อหน่วยงานรัฐบาล  การเข้าถึงแบบกระตือรือร้นคือรัฐบาลมีภาระผูกพันในการให้ข้อมูลข่าวสารและเผยแพร่ข่าวสารข้อมูล  การเข้าถึงความยุติธรรมเป็นสิทธิทางกรรมวิธีของสาธารณะต่อข้อมูลข่าวสารที่ได้รับความน่าเชื่อถือและได้รับการรับประกัน  สิ่งนี้เป็นสิทธิที่มีประสิทธิผล  ควรจะมีการโต้แย้งกันได้  เสาหลักที่เป็นที่ทราบกันในสำนวนตามกฎหมายในฐานะเป็นสิทธิมนุษย์คนรุ่นที่สาม หรือสิทธิตามสิ่งแวดล้อม สิทธิต่าง ๆ เป็นส่วนสำคัญของธรรมรัฐขั้นพื้นฐาน   ความสมเหตุสมผลสำหรับการมีส่วนร่วมภาคประชาชนสามารถอธิบายได้จากมิติต่าง ๆ จากมิติของสิทธิมนุษยชน ประชาชนมีสิทธิที่จะรู้ การแจ้งข่าวสารและการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจมีผลกระทบต่อสิทธิมนุษยฃนเช่นเดียวกับการแสวงหาการปรับปรุงแก้ไข จากมิติกฎหมาย,จริยธรรมและศีลธรรม, พลเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐบาลซึ่งผูกติดกับความมั่นใจในธรรมรัฐ เป็นข้อโต้แย้งที่ว่ากระบวนการปฏิบัติงานรัฐบาลมุ่งปรับปรุงการมีส่วนร่วมสาธารณะ
          2. การยึดนิติธรรม  กฎหมาย,ระเบียบข้อบังคับ และจริยธรรมควรจะมีความเป็นธรรม และใช้บังคับโดยไม่เลือกปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน วิธีการที่มีประสิทธิผลประการหนึ่งในการต่อสู้กับธรรมรัฐที่อ่อนแอคือการมองความเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานภายในสิ่งแวดล้อมธรรมรัฐที่กว้างขวางได้แก่ขอบเขตการปฏิบัติงานเกี่ยวกับสังคมโดยทั่วไป  การเก็บข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่เป็นสิ่งสำคัญต่อธรรมรัฐ  การเข้าถึงข้อมูลข่วสารและการส่งเสริมสิทธิตามกระบวนการกฎหมายมุ่งตอบสนองกรอบที่ทำให้เกิดการตรวจสอบ และการส่งมองที่มีการปรับปรุงที่สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหน่วยงาน   ข่าวสารข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้นำและองค์คณะที่แจ้งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาท้งหลายเช่นเดียวกันกับการแก้ปัญหา   หรือมิฉะนั้นเป็นสิ่งสำคัญในการทบทวนข้อจำกัดของหน่วยงานในอดตเพื่อจะวาดภาพในอนาคตด้วยทางเลือกที่มีอยู่เพราะว่าระบบธรรมรัฐที่อ่อนแอเป็นการรับใช้ผลประโยชน์ส่วนตนและเป็นการสร้างความเสียหายแก่คนจน และพวกเขาต้องทนทุกข์ทรมานในหลากหลายวิธี   การวิเคราะห์เกี่ยวกับธรรมรัฐที่อ่อนแออย่างถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญในการพิจารณากลยุทธ์ในเชิงปฏิบัติการที่ผดุงไว้และลดความยากจนอย่างมีประสิทธิผล
         3. ความโปร่งใส (Transparency)ความโปร่งใสคือสิ่งที่ถูกสร้างในกระแสข้อมูลข่าวสารได้อย่างอิสระ กระบวนการ,สถาบันและข้อมูลข่าวสารเป็นการเข้าถึงโดยตรงต่อสิ่งที่เีกี่ยวข้องและมีข่าวสารข้อมูลเพียงพอในการตอบสนองความเข้าใตจและการติดตามผล  เป็นการส่งเสริมการเปิดเผยเกี่ยวกับการกระทำของรัฐบาล กระบวนการตัดสินใจ และกระบวนการปรึกษาระหว่างภาคสาธารณะ และผู้มี่ส่วนไ้ด้ส่วนเสียทั้งหมด  สังคมพลเมืองและสถาบันภายนอก  การขาดความโปร่งใส, ความอ่อนแอในการตรวจสอบ, การขาดการตอบสนอและความไร้ประสิทธิภาพในการประนีประนอมในธรรมรัฐ   ในรัฐบาลที่มีการคอรัปชั่น ทรัพยากรสาธาธารณะถูกเบี่ยงเบนจากการประชุมเพื่อสนองความต้องการของคนจนและผลประโยชน์ไม่สามารถเข้าถึงผลประโยชน์ที่เป็นเจตน์จำนงได้  ความมั่นคงในมนุษย์ได้รับการประนีประนอมโดยการคอรัปชั่น  สิ่งนี้เพราะว่าคอรัปชั่นเป็นทั้งสาเหตุและผลของธรรมรัฐที่ไม่ดี   คนจนมักจะได้รับผลกระทบที่ไม่ได้สัดส่วนจากธรรมรัฐที่ไม่ดี เพเช่นด้านสุขภาพ,การศึกษา และบริการงานตำรวจที่ไม่สามารถเข้าถึงได้   รายได้ของรัฐมักถูกโกงจากการจ่ายค่าสินบน (bribes)   การทุจริตสามารถจำแนกได้ใน 3 ประเภทกว้าง ๆ คือคอรัปชั่นระดับรัฐ และคอรัปชั่นระดับบริหาร   คอรัปชั่นระดับรัฐเกิดขึ้นจากกรอบกฎหมาและข้อบังคับมีการบิดเบือน   ในรูปแบบคอรัปชั่นถูกกำหนดโดยการแก้ไขตัวบทกฎหมาย, นโยบาย และระเบียบข้อบังคับที่มีอิทธิพลโดยผ่านสิ่งที่ผิดกฎหมายและวิถีทางที่ไม่มีความโปร่งใส  เช่นเดียวกับการรับใช้ผลประโยชน์ส่วนบุคคล    คอรัปชั่นการบริหารเกี่ยวกับการบิดเบือนเกี่ยวกับการติดตามของกฎหมายและนโยบาย มันหมายถึง "การจัดเก็บภาษีโดยเจตนาบิดเบือนการติดตามผลกฎหมาย,ข้อบังคับ,และกฎเกณฑ์ที่ใช้กันอยู่เพื่อตอบสนองผลประโยชน์ทั้งผู้แสดงที่เป็นภาครัฐและมิใช่ภาครัฐในฐานะที่เป็นผลของการถ่ายโอนอย่างไม่ถูกกฎหมายหรือการเน้นผลประโยชน์แก่เจ้าหน้าที่ทางราชการที่เป็นการส่วนตัว"
         4. ความรับผิดชอบในการตอบสนองสาธารณะ (Responsiveness) หน่วยงานและกระบวนการปฏิบัติงานพยายามรับใช้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดภายในกรอบเวลาที่เหมาะสม
         5. การเน้นความเห็นพ้องต้องกัน (Consensus Orientation) ธรรมรัฐเป็นการไกล่เกลี่ยผลประโยชน์ที่แตกต่างกันเพื่อเข้าถึงการเห็นพ้องอย่างกว้างขวางในสิ่งที่เป็นผลประโยชน์ของกลุ่ม และที่เป็นไปได้ เกี่ยวกับนโยบายและกรรมวิธีที่อยู่ภายใต้คุณลักษณะคือทฤษฎีของการเห้นพ้อง และการตัดสินใจเห็นพ้อง  การเห็นพ้องมีความหมายทั่วไปสองประการ ประการแรกคือการตกลงทั่วไปในหมู่สมาชิกของกลุ่มหรือชุมชนที่กำหนด   อีกส่วนหนึ่งคือทฤษฎีและการปฏิบัติของการตกลงร่วมกัน กระบวนการบรรลุข้อตกลงร่วมเกี่ยวกับการใช้ดุลยพินิจอย่างเข้มงวดของสมาชิกทุกกลุ่ม หรือความคิดเห็นที่ได้รับการพิจารณาว่าเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย   การเห็นพ้องร่วมกันมักเกี่ยวข้องกับความร่วมมือ,มากกว่าการประนีประนอม   แทนที่ความคิดเห็นเพียงคนหนึ่งได้รับการพัฒนาเป็นความเห็นแบบพหุนิยม  ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียถูกนำมาพิจารณาด้วยกันจนกระทั่งมีการตัดสินใจที่ดัดแปลงเป็นสิ่งที่ได้พัฒนามาแล้ว    การตัดสินใจเห็นพ้องต้องกันคือกระบวนการตัดสินจไม่ใช่เพียงแสวงหาข้อตกลงของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมากที่สุด  แต่ยังเป็นการแก้ปัญหาหรือบรรเทาการคัดค้านเกี่ยวกับคนกลุ่มน้อยเพื่อบรรลุถึงการตัดสินใจแบบยอมรับมากที่สุด    การตัดสินใจเห็นพ้องที่มุ่งลดการเน้นบทบาทแยกส่วนหรือเป็นหมู่คณะ และส่งเสริมการแสดงออกในการรับฟังบุคคล   วิธีการนี้เป็นการเพิ่มโอกาสของการแก้ปัญหาที่สร้างสรรค์หรือไม่เคยพบเห็นมาก่อนโดยการหยิบยกประเด็นความคิดที่ไม่เหมือนกัน   การตัดสินใจแบบเห็นพ้องต้องกันเกี่ยวข้องกับการแยกแยะและการนำเสนอสิ่งเกี่ยวข้อง, การจัดทางเลือกใหม่, การผสมผสานองค์ประกอบเกี่ยวกับทางเลือกหลากหลายและการตรวจสอบว่าบุคคลเข้าใจข้อเสนอแนะหรือข้อโต้แย้ง    การเพิ่มพลังอำนาจแก่คนกลุ่มน้อยผู้ที่ต่อต้านอย่างหนักในสิ่งต้องการรวดเร็ว และบุคคลที่มีทักษะการโต้แย้งน้อย  ดังนั้น การตัดสินใจเห็นพ้องต้องกันสามารถพบเห็นได้ในรูปแบบประชาธิปไตยแบบรากหญ้า (grassroots democracy)
          6. ความเสมอภาค (Equity) คนทุกคนมีโอกาสในการปรับปรุง หรือการให้ความเป็นอยู่ในชีวิตที่ดีกว่าได้ (well-being)
          7. ความมีประสิทธิผล และประสิทธิภาพ (Effectiveness and efficiency) กระบวนการและหน่วยงานผลิตผลที่เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองในขณะที่มีการใช้ทรัพยากรที่ดีที่สุด    คุณลักษณะนี้ส่งเสริมระบบการส่งมอบสาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพและผลได้สาธารณะอย่างมีคุณภาพ มันเกี่ยวกับจำนวนการเคารพเชื่อฟังสาธารณะของการบริการพลเมืองที่มีอยู่   ลักษณะหนึ่งของการส่งมอบบริการที่ไม่ดีคือการคอรัปชั่น   วิธีการประการหนึ่งของการต่อสู้คอรัปชั่นโดยผ่านเงินเดือนที่มีการแข่งขันและการจูงใจบุคลากรโดยสิ่งตอบแทน  มีความต้องการนำเสนอการปกครองข้าราชการพลเรือนตามตัวบทกฎหมายและจริยธรรม  ตัวบทกฎหมาจจะนิยามถึงการนัดหมายและส่งเสริมข้าราชการโดยผ่านกระบวนการโดยยึดระบบคุณธรรมเช่นเดียวกับโครงสร้างองค์การ
          8. ความสามารถในการตรวจสอบ (Accoutability) การตัดสินใจในรัฐบาล ภาคเอกชนและองค์กรสังคมพลเมืองสามารถตรวจสอบโดยประชาชนได้  เช่นเดียวกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  การสามารถในการตรวจสอบแตกต่างขึ้นอยู่กับองค์การ และไม่ว่าการตัดสินใจจากภายใน หรือภายนอกองค์การจากโครงสร้างธรรมรัฐ อย่างไรก็ตามการตรวจสอบได้ยากต่อการบรรลุถึงการเข้าถึงข้อมูล การตรวจสอบภาคสาธารณะพบได้ในเสาหลัก 2 หลัก เสาหลักแรกคือคือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบโดยฝ่ายบริหารระดับสูง และเสาหลักที่สองเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสถาบัน    การตรวจสอบได้
สามารถจำแนกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ภาคสาธารณะ, การเงินการคลัง, การตรวจสอบทั้งแนวดิ่งและแนวนอน   การตรวจสอบแนวนอนคือความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหาร, ผู้ออกกฎหมายและตุลาการ การตรวจสอบในแนวดิ่งคือการที่ผู้แสดงคนหนึ่งรายงานกับอีกคนหนึ่งขึ้นอยู่กับการตีความเกี่ยวกับการบังคับใช้ตามตัวบทกฎหมาย  การตรวจสอบอย่างไม่เป็นทางการเกี่ยวกับความสัมพันธ์เหล่านี้ได้รับแรงเสริมโดยประชาสังคม และชุมชนที่มีจิตอาสา
          9. การมีวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์  ผู้นำและภาคสาธารณะจะมีกรอบคิดระยะยาวเกี่ยวกับธรรมรัฐและการพัฒนามนุษย์  ตามความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่จำเป็นต่อการพัฒนาแต่ละด้าน  มีความเข้าใจในประวัติศาสตร์,วัฒนธรรมและความซับซ้อนทางสังคมในสิ่งที่กรอบคิดเป็นพื้นฐานสำคัญ ซึี่่งสามรถจัดลำดับความสำคัญในทางบวก ได้แก่
           - ประชาชนให้ความเชื่อถือไว้วางใจในองค์การภาครัฐ
           - ประชาชนได้รู้ว่าผู้ปกครองหรือผู้บริหารกำลังทำอะไร?
           - ใครเป็นกรรมการเกี่ยวข้องกับสมาชิก และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
           - ประชาชนตัดสินใจได้ดี, ประชาชนให้คุณค่ากับงานขององค์กรสาธารณะอย่างไร?
           - ประชาชนสามารถรู้วิกฤติทิศทางของบ้านเมือง
           - ก่อให้เกิดเสถียรภาพทางการคลัง

       สรุป หลักการธรรมรัฐนั้นเกิดขึ้นมาหลายปีแล้ว แต่ไม่สามารถดำเนินการให้เห็นเป็นรูปธรรมได้  เป็นเพียงแต่ตัวอักษรที่เขียนไว้สวยหรู แต่สำหรับการปกครองหรือการบริหารราชการแผ่นดินไทยยังมีลักษณะชององค์การที่แอบแฝงเรื่องผลประโยชน์ หรือองค์การด้านมืด (Dark-side organization) อยู่เป็นจำนวนมาก จำเป็นที่รัฐต้องสร้างกระแสค่านิยมซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย และเป็นการถ่วงดุลย์อำนาจเพื่อประชาชนรากหญ้าที่สิทธิเสรีภาพ ยังไม่ได้มีัความเท่าเทียมกัน และขจัดปัญหาระบบการศึกษาที่มุ่งเ้น้นเ้ข้าสู่อำนาจมาสู่สังคมเน้นปัญญาและสังคมที่เน้นการปราบปรามการทุจริตในทุกรูปแบบ ซึ่งถือเป็นความชอบธรรมที่ทุกฝ่ายไม่สามารถคัดง้างหรือปฏิเสธได้  เพราะเป็นความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ  มิใช่ปล่อยให้กลไกอำนาจระบบราชการครอบงำการปกครองที่ดี และไม่ฟังรับฟังเสียงของราษฎร    ถึงเวลาแล้ว......ที่รัฐบาลต้องรีบจัดการกับความชอบธรรมให้เกิดขึ้นปรากฎในแผ่นดินไทยทีุ่ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน  

     





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ