การประยุกต์กรอบคิดการจัดการภาครัฐเชิงสมดุลย์เพื่อสนองความต้องการ

               การจัดการภาครัฐของรัฐบาลไทยมุ่งเน้นการสร้างความปรองดองในทุกภาคส่วนนั้นนับว่ามิใช่เรื่องง่ายเลย  เพราะความต้องการของบุคคลแต่ละระดับมีความต้องการที่ต่างกันทั้งในด้านแนวคิด,อุดมการณ์,ทัศนคติ, อัตลักษณ์ของบุคคลที่หล่อหลอมมาต่างกัน  ดังนั้นการที่ภาครัฐต้องหันมาใช้กรอบการมองเกี่ยวกับการปรองดองนั้นทำไปเพื่ออะไร, เพื่อใคร, และเพื่อคนกลุ่มใดที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย  แต่การปรองดองก็ย่อมมีคนหรือกลุ่มได้เปรียบ หรือเสียเปรียบกัน   ดังนั้นกรอบการมองเพื่อสร้างความสมดุลย์ให้เกิดขึ้นในสังคมไทยเป็นเรื่องค่อนข้างยาก เพราะไม่ได้มีพื้นฐานมาจากความจริงใจที่เกิดขึ้น  ซึ่งพิจารณาได้ดังนี้
               1. การปรองดองนั้นมุ่งหมายการนิรโทษกรรมความผิดหรือไม่ ?
               2. การปรองดองนั้นเป็นเพียงการเลื่อนปัญหามากกว่าการแก้ที่รากเง่าของปัญหาหรือไม่อย่างไร เพราะไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงตามความต้องการของประชาชนหรือไม่ ?
               3. การปรองดองเป็นภาพสะท้อนถึงทุกกลุ่มยอมรับความผิดที่เกิดขึ้นใช่ใหม หรือเป็นเพียงฉากบังเพื่อการช่วยเหลือผู้กระทำความผิดหรือไม่ ?
               4. การปรองดองเป็นเพียงดองหรือแช่ปัญหาในอดีตเท่านั้นเพื่อให้เกิดการลืมเลือนประวัติศาสตร์ที่เลวร้าย หรือกลบเกลื่้อนความผิดแต่ละฝ่าย และผลประโยชน์นั้นประชาชนผู้สูญเสียจะยอมรับหรือไม่ ?
              จากสภาพการปรองดองที่เกิดขึ้นนั้น  ตัวแปรสำคัญคือใครได้รับประโยชน์ หรือใครสูญเสียผลประโยชน์   หากใช้กรอบการมองการจัดการภาครัฐเชิงสมดุลย์หรือ "Balanced Scorecard" แล้วจะเห็นว่าการเมืองนั้นชนชั้นนำมองอย่างไร และประชาชนได้อะไรหรือเสียอะไร?
             ก. กรอบการมองเกี่ยวกับผลประโยชน์ทางการเมือง (Financial Perspectives) หากรัฐบาลมองกรอบการเมืองเรื่องผลประโยชน์ส่วนตัว หรือกำไรทางการเมืองในแง่ที่เป็นผลประโยชน์ แล้วคุณค่านี้จะถูกประชาชนที่ได้รับความเสียหายนั้นไม่เป็นความต้องการ เพราะเขาไม่ได้รับประโยชน์ หรือเขาอาจไม่คิดว่าเงินเท่านั้นที่จะช่วยเยียวยาแก้ปัญหาอย่างเดียว  ในขณะที่ความผิดของผู้ที่จัดการสังหารประชาชนยังไม่ได้รับการนำบุคคลที่กระทำความผิดมาลงโทษ  จึงทำให้ประชาชนบางกลุ่มที่ไม่ต้องการให้มีการนิรโทษกรรม  เพราะมองว่าการเมืองนั้นอาจเป็นการสมประโยชน์ของสองฝ่ายที่เป็นกลุ่มทุนเก่า กับทุนใหม่  เป้นการประสานประโยชน์ทางกลุ่มการเมืองสองขั้วเท่านั้น   แต่ประชาชนระดับล่าง หรือระดับรากหญ้าอาจไม่ได้รับประโยชน์จากการประนีประนอม  เพราะเกิดความไม่พอใจที่ทำร้ายประชาชนอย่างรุนแรง และไม่ได้กระทำอย่างมนุษย์ที่สมควรได้รับ   การสังหารประชาชนเป็นลักษณะของการกระทำของบุคคลที่มิใช่มนุษย์ที่มีความป่าเถื่อนผิดทั้งโลกและศีลธรรม แม้ว่าประชาชนจะมีสิทธิได้รับเงินค่าสูญเสียชีวิตจากการเรียกร้องประชาธิปไตย
            ข. กรอบการเมืองเกี่ยวกับความพึงพอใจของประชาชน (Customer Satisfaction Perspectives)  การปรองดองในลักษณะการประนีประนอม และไม่ได้มุ่งแก้ปัญหาสิ่งผิดพลาดหรือต้นตอของปัญหา แต่กลับจะเป็นการหลบหลีกปัญหาที่แท้ัจริง    ทุกครั้งที่มีการประนีประนอมนั้น กลุ่มชนชั้นสูงหรือผู้มีบทบาทนำหรือนายทุนพ่อค้าเท่านั้นจะได้รับประโยชน์อย่างมหาศาล แต่กลุ่มชนชั้นล่างคือประชาชนนอกจากต้องการความเปลี่ยนแปลงประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ยังเรียกร้องความยุติธรรมของสังคมที่ถูกริดรอน  นับว่ามองแล้วไม่คุ้มค่าต่อต้นทุนการต่อสู้เพื่อให้ได้ประชาธิปไตยอย่างแท้จริง  ซึ่งเรื่องนี้รัฐบาลต้องพยายามทำความเข้าใจประชาชนให้มากที่สุด  มิใช่เป็นเพียงความคิดเห้นของคณะรัฐบาลเท่านั้น แต่ต้องทำความเข้าใจในความรู้สึกของประชาชนให้มากที่สุดในฝ่ายผู้สูญเสียนั้นเป็นอย่างไร ในท้ายที่สุดหากรัฐบาลยังไม่ได้ใส่ใจในความต้องการของประชาชน หรือฝืนความต้องการแล้วอาจจะเป็นที่มาของประชาชนเกิดความเบื่อหน่าย และไม่พึงพอใจได้
            ค. กรอบการเมืองเกี่ยวกับการเรียนรู้และการเติบโต (Learning and Growth Perspectives)  ต้องยอมรับว่าประชาชนรากหญ้ามีการเมืองที่ตื่นตัว และก้าวหน้าไปอย่างมาก และอาจมากกว่าความคิดรัฐบาลเสียด้วยซ้ำ  เพราะรัฐบาลมีข้อจำกัดที่ต้องการเป็นรัฐบาลที่ยาวนาน และคาดหวังจะช่วยประชาชนให้มีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจรายได้  แต่การที่พลพรรคนักการเมือง ควรได้เรียนรู้ ศึกษาเข้าใจความต้องการของประชาชนแต่ละกลุ่มที่ต้องการการเปลี่ยนแปลง มิใช่เป็นการประนีประนอมรักษาระบบเก่า ๆ ที่ประชาชนเป็นผู้แพ้อยู่วันยังค่ำนั้น ย่อมมิใช่ความต้องการอย่างแท้จริง   ประชาชนต้องการสิทธิ,เสรีภาพ, ความยุติธรรมที่ยั่งยืน  มิใช่การเพียงฉีดยาปรองดอง เหมือนยาสลบให้ลืมอดีตชั่วขณะ  แต่เมื่อตื่นขึ้นมาแล้วก็ยังเป็นสังคมแบบเก่า ๆ ที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเลย   พูดง่าย ๆ ก็คือประชาชนต้องการความเจริญก้าวหน้า และความต้องการนี้มีมากขึ้นทุกวัน เนื่องจากประชาชนฉลาดขึ้นมากกว่าแต่ก่อนมาก
            ง. กรอบการเมืองเกี่ยวกับกระบวนการภายในการจัดการภาครัฐ (Internal Process Perspective) เป็นสิ่งที่กระบวนการภาครัฐนั้นต้องพิจารณากระบวนการจัดการที่ผลิตให้เป็นไปตามความต้องการของสังคมอย่างสมดุลย์ในทุกกลุ่ม โดยยึดหลักเสียงส่วนใหญ่มิใช่เสียงส่วนน้อย แต่มีการพิทักษ์เสียงส่วนน้อย ต้องจัดรูปแบบโครงสร้างระบบราชการที่ยึดโยงความต้องการของประชาชน เมื่อมีการรับฟังเสียงประชาชน ควรรีบจัดการอย่างเร่งด่วน เพื่อสร้างความพึงพอใจในตัวประชาชนให้มากที่สุดอย่างเป็นรูปธรรม  ต้องมีหน่วยงานวางแผนกระบวนการภายในอย่างดี และเป็นกลุ่มบุคคลที่เป็นมืออาชีพในแวดวงนักธุรกิจ, นักวิชาการอิสระ,นักวางแผนกลยุทธ์ ฯลฯ เป็นอย่างดีเพื่อคอยประเมินเรตติ้งการทำงานรัฐบาลอยู่ตลอดเวลา และประเมินความต้องการของประชาชน เพื่อผลิตนโยบายที่สอดคล้องต่อประชาชน มีลักษณะให้ความสำคัญประชาชนมากกว่าสิ่งอื่นใด จึงจะซื้อใจประชาชนได้
            สรุป กรอบแนวคิดต่าง ๆในการจัดการเชิงสมดุลย์ ควรชั่งน้ำหนักว่าควรเน้นไปในทิศทางใด แต่เหนือสิ่งอื่นใด รัฐบาลต้องกล้าพอที่จะจัดการการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพราะมีฐานมวลชนสนับสนุนอยู่แล้ว  และความกลัวอาจทำให้เสื่อมได้  ความกล้าหาญเชิงจริยธรรมเป็นส่วนสำคัญของผู้นำในการแก้ปัญหาประเทศชาติ ด้วยความมีจริยธรรม และคุณธรรมในจิตสำนึกอย่างแท้จริง โดยไม่ต้องกลัวเกรงสิ่งที่ไม่ดี นี่คืออัจฉริยะของผู้นำที่ประชาชนต้องการ   แต่สำหรับนายกรัฐมนตรีหญิงนั้นอาจไม่เหมือนผู้ชายที่มีความกล้าหาญชัดเจน แต่การสวมจิตวิญญานเพื่อรักษาหรือผดุงความยุติธรรมจะช่วยให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีกว่า ด้วยการเข้าไปเจรจาประชาชนทีได้รับการสูญเสียที่เกี่ยวข้อง และการประชุมอำนาจ 3 ฝ่ายได้แก่ฝ่ายนิติบัญญัติ, ฝ่ายตุลาการ และฝ่ายรัฐบาล เพื่อช่วยกันคิดค้นหาแนวทางร่วมกัน หากไม่ได้ผลควรมีคณะกรรมการปฏิรูปการปกครองที่มาจากกลุ่มบุคคลทุกภาคส่วนเพื่อความยุติธรรมทุกฝ่ายเป็นผู้ชนะ จึงจะสามารถช่วยแก้ปัญหาได้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

108 คำคมขงเบ้ง คำคมสอนใจ จากขงเบ้ง

วิศวกรสังคม (Social Engineer) มีบทบาทต่อการพัฒนาประเทศอย่างไร?