บทบาทที่ถูกต้องของตำแหน่งทางสังคม


            
           ปัจจุบันการทำงานในตำแหน่งหรือบทบาทมีความผิดพลาด หรือหลงบทบาท ซึ่งทำให้สังคมเิกิดความสับสน นำไปสู่ความขัดแย้ง  เช่น
            1. นายกรัฐมนตรี ย่อมมีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ เพราะว่าเป็นผู้ได้รับฉันทานุมัติจากประชาชน  เป็นผู้ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ดังนั้นในการปกครองแบบประชาธิปไตย การให้เกียรติกับผู้นำที่ได้มาอย่างถูกต้อง  ประชาชนหรือไม่ว่าอาชีพใด ๆ ต้องให้เกียรติและเคารพ  ดังนั้นจึงมีอำนาจในการเปลี่ยนแปลงตามนโยบายที่หัวหน้ารัฐบาลได้สัญญาจากประชาชน   มิใช่การที่คนตำแหน่งน้อยกว่าสามารถข่มขู่รัฐบาลในการรัฐประหารได้ ซึ่งย่อมไม่เป็นที่พอใจของราษฎรแน่นอน
            2. บทบาทของอำนาจรัฐ ไม่ว่าฝ่ายบริหาร, ตุลาการ หรือฝ่ายนิติบัญญัติ จะมีการคานอำนาจซึ่งกันและกัน เพื่อการตรวจสอบ  หากเราให้บทบาทใดมีมากเกินความจำเป็นก็จะทำให้อำนาจบางอย่างเสียหาย เช่นอำนาจของรัฐบาลที่มาบริหาร   มิใช่กำหนดรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจรัฐธรรมนูญแก่ตุลาการ หรือองค์กรอิสระที่มาจากรัฐประหาร ซึ่งทำให้บทบาทสับสน และไม่ถูกต้อง  ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ยุติธรรม จึงเป็นเรื่องจำเป็น
           3. บทบาทของข้าราชการนั้นจะมีอำนาจเหนือกว่าบทบาทนักการเมืองไม่ได้ เพราะนักการเมืองมาจากการเลือกตั้ง  ผู้กำหนดนโยบายย่อมมีอำนาจเหนือกว่าข้าราชการ   ดังนั้นข้าราชการต้องสนองการทำงานตามนโยบายของรัฐ   ระบบราชการต้องเป็นระบบคุณธรรม  หากให้ระบบอุปถัมภ์มากเกินไป การทำงานจะสับสนเพราะคนเราจะรู้สึกบุญคุณกับคนที่รับเข้าไปทำงาน หรือให้ตำแหน่ง ทำให้เกิดการตอบแทนในทางที่ผิด  มีการโอบอุ้มพวกพ้อง กลายเป็นระบบสร้างอาณาจักร  การบริหารงานเพื่อการบริการราษฎรอาจมีัปัญหา
           4. รัฐมนตรีย่อมมีอำนาจในการปรับปรุงโยกย้ายข้าราชการได้  เพราะข้าราชการคือผู้ตอบสนองนโยบาย  เพียงแต่รัฐมนตรีควรใช้คนที่เป็นมืออาชีพ หรือข้าราชการที่ไม่ใช่เป็นเครื่องมือหรือรับใช้ใครเป็นพิเศษ  แต่ทำเพื่อผลงานที่ดี มีคุณภาพ
           5. บทบาทนักปกครองต้องทำให้ประชาชนอยู่ดีกินดี และบริการประชาชนให้ชื่นใจ มิใช่บทบาทข้าราชการที่วางตัวเป็นนายประชาชน ประชาชนเข้าหาลำบาก เวลาราษฎรเดือดร้อนข้าราชการต้องมุ่งบริการด้วยความรวดเร็ว และเอาใจราษฎร  แต่มิใช่มองว่าราษฎรเป็นคนชั้นต่ำ หรือมองว่าเป็นคนไม่มีความรู้
           6. ระบบการศึกษาปัจจุบันเริ่มเสื่อมคุณภาพ เพราะให้ครูอาจารย์ทำในสิ่งที่ไม่ควรทำ จนไม่มีเวลาไปหาความรู้ให้กับเด็ก หรือนักศึกษา เพราะมีหน่วยงานชอบมอบหมายงานเอกสารกองโตมากเกินควร, และทำให้อาจารย์หัวฟู เสียเวลาไปกับสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อคุณภาพการศึกษา หน่วยงานการศึกษาที่ดูแลมหาวิทยาลัย ไม่สามารถสร้างคุณภาพที่แท้จริงได้  เพราะหลงทิศทาง รวมทั้งระบบการจ่ายค่าตอบแทนไม่จูงใจ และไม่เป็นธรรมในการทำงาน  และตำแหน่งบริหารกับสุขสบายและทำงานน้อยกว่าแต่ได้ผลตอบแทนทั้งทางตรง และทางอ้อมสุงกว่า  มีการทำลายขวัญระบบการจุงใจอาจารย์  ในระยะยาวการศึกษาไทยทั้งระบบจะเสียหายอย่างมาก  เพราะครูอาจารย์ขาดขวัญกำลังใจเป็นอย่างมาก  เพราะการแก้ไขหรือกำหนดกฎเกณฑ์ต่างหน่วยต่างกำหนด และขัดแย้งกันเอง ทำให้เกิดความแตกแยกและัขัดแย้ง  ควรรีบแก้ปมปัญหา  และหน่วยงานการศึกษายังมุ่งเน้นระบบอุปถัมภ์มากเกินควร ต้องกำหนดนโยบายคุณธรรม หรือกฎหมายคุณธรรมอย่างเร่งด่วน 
             สรุปสังคมไทย ยังมีบทบาทสับสน, แนวคิดสับสน, หลักการสับสน, วิธีการสับสนไม่เป็นเอกภาพ หรือทิศทางที่แตกต่างกัน  ซึ่งเป็นอันตรายต่อสังคมอย่างยิ่ง เปรียบเสมือนเล่นฟุตบอลล์ไม่เล่นตามกติกา หรือตำแหน่ง, กรรมการสับสนเอียงข้าง, หัวหน้าทีมกลับไม่มีอำนาจตามตำแหน่ง ดังนั้นการดูแลทีมฟุตบอลล์จะประสบความสำเร็จได้อย่างไร   ดังนั้นผู้นำทุกตำแหน่งอาีชีพจะต้องเอาตัวอย่าง     เช่นในต่างประเทศผู้นำทั้งสองฝ่ายเขาจะทำงานร่วมกัน แม้กระทั่งคนที่ออกจากตำแหน่งไปแล้วแม้ว่าจะอยู่คนละพรรค เขาก็เอามาช่วยงานกัน  ควรดูประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นตัวอย่าง  ซึ่งเป็นวัฒนธรรมองค์การที่ดีประเทศหนึ่ง  ซึ่งในปัจจุบันนายกปัจจุบันกับอดีตนายกมาร่วมกันดูแลป้องกันน้ำท่วม มีการปรึกษาหารือก็ถือว่าเป็นมิติที่ดีขึ้นมาในระดับหนึ่ง

         

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ