กลอนเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ ตอนที่ 2

       จากแนวคิดของเมลเล่อร์ประการหนึ่ง      คือมุ่งถึงส่วนรวมกว่าส่วนตน
ประการสองพินิจพิจารณา                           หมายถึงว่าตัดสินใจไม่เร่งด่วน,
ระวังพูดอวดโม้เกินความจริง                        ล้วนทุกสิ่งเกินไปจนเรรวน
ประการสามมุ่งมั่นร้อยเปอร์เซ็นต์                  ช่วยกันเข็นบรรลุสู่เป้าหมาย
       ประการสี่เสี่ยงน้อยกันผิดพลาด             ไม่มุ่งคาดเสี่ยงไปในทุกอย่าง
ประการห้าสามารถทำแนวทาง                      เพื่อสรรสร้างผลประโยชน์่แก่องค์การ
แทนการหวงแหนความรู้อยู่กับตน                  ไม่ก่อผลงอกเงยกับการงาน
ประการหกเชื่อมั่นในทุกสถาน                      กำกับการสร้างสรรค์ความไว้ใจ
       ประการเจ็ดเสริมสร้างวิสัยทัศน์              เพื่อขจัดทัศนคติคนขี้เกียจ
สันหลังยาวหดหู่ชอบอู้งาน                           คอยล้างผลาญใช้จ่ายมากเกินจริง
ประการแปดแต่งตัวให้ดูดี                            ไม่ใส่สีฉูดฉาดมาดรุ่งริ่ง
กางเกงยีนเสื้อยืดดูยุ่งยิ่ง                             ไม่เกรงกริ่งสังคมเขานินทา
       ผู้จัดการทั้งหลายในองค์การ                  ล้วนมีฐานคุณสมบัติทางเทคนิค
โดยผ่านการฝึกงานของนักคิด                       ที่ประดิษฐ์สร้างสรรค์โดยเมลเล่อร์
ในบริษัทส่งออกปีหนึ่งเก้า                           โดยคลุกเคล้างานอบรมไม่พร่ำเพ้อ
ผ่านศึกษาต่อเนื่องอย่างเลิศเลอ                    โดยปรนเปรอการศึกษาพาก้าวไกล
      ผู้จัดการคนก่อนในองค์การ                     ประสบการณ์บริหารสำนักใหญ่
ทุกคนล้วนชื่นชมเมลเล่อร์ไว้                         ในวิสัยทรรศนาพาชัดแจ้ง
เป็นผู้บริหารที่เที่ยงตรง                                มุ่งเจาะจงสื่อสารการแถลง
ทั้งปลุกปลอบกำลังใจไม่ทิ่มแทง                    งานทุกแห่งจึงบังเกิดเลิศผลดี

                    
                
                                                                                

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ