ผลกระทบเศรษฐกิจจากภาวะน้ำท่วม : ปัญหาและแนวทางแก้ไข
สิ่งที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ เผชิญปัญหาในขณะที่เพิ่งเข้ามาบริหารประเทศเพียง 2 เดือนกว่านี้เองประสบปัญหางานแรกที่หนักหนาสากรรจ์ยิ่งคือวิกฤติภาวะน้ำท่วม สิ่งสำคัญที่จะสร้างความเหน็ดเหนื่อยทั้งแรงกายและแรงใจ คือการป้องกันวิกฤติภาวะน้ำท่วม และการกู้วิกฤติหลังน้ำท่วม ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ว่ารัฐบาลใด ๆ เจอปัญหานี้ก็ย่อมเป็นปัญหาหนักอกหนักใจกับทุกคนที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการจัดการแก้ปัญหา
1. ภาวะเจอวิกฤติ ซึ่งเป็นภาวะที่เป็นปัญหาที่รัฐบาลยังไม่เคยพบเจอ หรือการรองรับภาวะวิกฤติน้ำท่วม ซึ่งเป็นสภาพน้ำท่วมที่กระทบเกือบทั้งประเทศอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน การที่รัฐบาลตั้งแต่อดีตไม่ได้มีการเตรียมการหรือจัดสรรเงินงบประมาณ์เพื่อแก้ปัญหา และรวมถึงการจัดกรรมาธิการเพื่อศึกษาเรื่องนี้โดยเฉพาะในการจัดการวิกฤติ ซึ่งรัฐบาลต้องจัดคณะกรรมการเฝ้าดู และจัดการแก้วิกฤติอย่างถาวร ปัญหาวิกฤติครั้งนี้รัฐบาลได้ลดค่าใช้จ่ายทุกกระทรวงประมา 10 % และการที่รัฐบาลเพื่อหาแหล่งเงินกู้จากต่างประเทศเพื่อมาเยียวยา
2. ภาวะการฟื้นฟู
การประมาณความเสียหาย
1. ความเสียหายเมื่อพิจารณาแล้ว มีผู้เสียหายจากรายงานของศูนย์สนับสนุนการอำนวยการและการบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัยและดินโคลนถล่ม (ศอส.) เปิดเผยว่า ปัจจุบัน (14 ต.ค.54) ยังคงมีพื้นที่ประสบภัย 26 จังหวัด 188 อำเภอ 1,364 ตำบล 10,443 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 761,044 ครัวเรือน 2,250,469 คน ผู้เสียชีวิต 289 คน สูญหาย 2 คน พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะเสียหาย 10,023,824 ไร่ คิดเป็นเงินประมาณ 100,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 1% ของจีดีพี แต่ถ้าหากคิดรวมกับค่าฟื้นฟู,เยียวยา และชดเชยค่าเสียหายแล้วคาดว่าจะใช้ประมาณ 300,000 ล้านบาท คิดเป็น 3 % ของจีดีพี
สำหรับมาตรการเยียวยา
ก. การช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาน้ำท่วมในระดับวิกฤติสูง, ระดับปานกลาง, และระดับไม่มากนัก การช่วยเหลือย่อมมีขนาดการชดเชยจากภาครัฐต่างกันออกไป
ข. การเตรียมการจัดสรรวัสดุ,สิ่งของ จากการบริจาคทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศจีนได้ให้ความช่วยเหลือเป็นเงิน 80 ล้านบาท และทรายจำนวน 80,000 ถุง และอื่น ๆ
เงินบริจาคที่ได้มาจากหลายทิศทางที่พอจะบรรเทาความเดือดร้อนในจุดเริ่มต้น
ค. การพักชำระหนี้ โดยจ่ายเพียงค่าดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 1-3 ปี
ง. การขุดลอกคูคลองหรือแม่น้ำให้มีความลึกเพิ่มขึ้น หรือการเปิดให้มีการไหลอย่างสะดวก เพราะต่างฝ่ายต่างกั้นหากกั้นไม่อยู่ก็จะพังทะลายสูญเสียรวดเร็ว จึงควรผ่อนปรนให้ซึมผ่านได้ในระดับหนึ่ง
จ. การจัดเรือให้มากพอเพียงในการบริการประชาชน เพื่ออพยพในกรณีวิกฤติแล้ว เพื่อเข้าถึงประชาชนที่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือ, หรือมีบริการเรือเพื่อออกมาซื้อข้าวของ หรือมีเรือขายสินค้าไปถึงบ้านที่น้ำท่วม, รวมทั้งเรือที่รักษาพยาบาลฉุกเฉิน หรืออพยพผู้คน ฯลฯ
3. ภาวะหลังน้ำท่วมแล้ว ภาวะนี้รัฐบาลต้องเตรียมแผนล่วงหน้าในการช่วยเหลือหลังได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม ด้วยการ
ก. การวางแผนเงินงบประมาณเพื่อการช่วยเหลือในภาพรวมของประเทศ และการวางระบบการแก้ปัญหาเช่นการทำกำแพงกั้นรอบล้อมแม่น้ำเจ้าพระยา การทำสะพานข้ามระหว่างเจ้าพระยากับเกาะเกร็ด, การจัดทำกำแพงกั้นรอบทะเล เพื่อเวลาน้ำทะเลหนุนสูงก็สามารถใช้เครื่องดูดน้ำออกไปสู่ทะเลเพื่อการระบายน้ำ ซึ่งเป็นโครงการใหญ่ และต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศเข้ามาช่วยวางแผน
ข. การวางแผนแนวป้องกันน้ำท่วม หรือพนังกั้นน้ำให้กับนิคมอุตสาหกรรมทั้งระบบ เพื่อมิให้เกิดปัญหาอีกต่อไปในอนาคต เป็นการวางแผนที่สามารถที่จะแก้ได้อย่างถาวร และทำให้นักลงทุนมีความมั่นใจต่อการลงทุน และไ่ม่ย้ายฐานการลงทุนไปประเทศอื่น ๆ โดยการศึกษาออกแบบอย่างเป็นระบบ ซึ่งต้องรีบจัดคณะกรรมการศึกษาเรื่องนี้โดยเฉพาะร่วมกับภาคธุรกิจเอกชน หรือโรงงานอุตสาหกรรม
ค. การจัดระบบคูคลอง,เขื่อน,การระบายน้ำ, โดยวางแผนทั้งระบบโดยรัฐบาลทำหน้าที่เหมือนโค๊ชในการแก้ปัญหาให้กับประชาชน และรวมทั้งประกันความมั่นใจเพื่อความรู้สึกว่าเหตุการณ์ต่าง ๆเหล่านี้จะไม่เกิดรุนแรงอย่างที่เป็นมา และสามารถแก้เหตุฉุกเฉินอย่างรวดเร็ว โดยจัดระบบการรวมกลุ่มหมู่บ้าน,กลุ่มชุมชน,กลุ่มเกษตรกร,กลุ่มอาสาช่วยเหลือ โดยจัดสรรเงินงบประมาณเพื่อการวางระบบทั้งประเทศ และต้องจัดทำให้รู้ผลภายใน 3-6 เดือน ซึ่งการใช้งบประมาณปีนี้คงเป็นลักษณะอัฐยายซื้อขนมยาย ซึ่งหมายถึงการเน้นการว่าจ้างคนในประเทศได้ทำงาน หรืออาสาสมัครซึ่งอาจจะมีเบี้ยเลี้ยงการทำงานเพื่อช่วยเหลือรัฐบาล ควบคู่กับการทำ SML และกองทุนหมู่บ้านพร้อม ๆ กัน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยควรเป็นแม่งานหลัก
ง. การจัดให้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นของบุคคลผู้มีความรู้ความสามารถทั่วประเทศในลักษณะสร้างความร่วมไม้ร่วมมือกันกับรัฐบาล รวมทั้งภาคเอกชน และรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นโอกาสดีในการสร้างความสามัคคีของคนในชาติ เป็นการปรองดองเพราะวิกฤติเป็นการสร้างโอกาสให้ประชาชนหันมาร่วมมือร่วมใจ และการอนุรักษ์ป่าไม้, การดูแลสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน, ฯลฯ
จ. จัดให้มีการจ้างงานขนานใหญ่ในการฟื้นฟูสภาพเดิมของประเทศ และเป็นช่วงรอยต่อของคนงานในอุตสาหกรรมอาจเป็นช่วงว่างงาน 3-6 เดือน เพื่อให้การทำงานโรงงานกลับเข้ามาอยู่ในสภาพเดิม และจ้างงานประชาชนอื่น ๆ อีก และงานรับจ้างที่ต้องอาศัยตลาดในต่างประเทศขนานใหญ่
จ. จัดให้มีการจ้างงานขนานใหญ่ในการฟื้นฟูสภาพเดิมของประเทศ และเป็นช่วงรอยต่อของคนงานในอุตสาหกรรมอาจเป็นช่วงว่างงาน 3-6 เดือน เพื่อให้การทำงานโรงงานกลับเข้ามาอยู่ในสภาพเดิม และจ้างงานประชาชนอื่น ๆ อีก และงานรับจ้างที่ต้องอาศัยตลาดในต่างประเทศขนานใหญ่
สรุปสิ่งสำคัญที่รัฐบาลต้องมีหน่วยยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาน้ำท่วมเพื่อความยั่งยืน และการมีคณะอนุกรรมการต่าง ๆ เข้ามาช่วยวางแผนเชิงบูรนาการทั่วประเทศ เพราะโลกทุกวันนี้สิ่งที่กระทบแห่งหนึ่งก็จะกระทบไปกับส่วนอื่น ๆ ของโลกด้วยเช่นกัน น้ำท่วมครั้งนี้เปรียบเสมือนโดมิโนแห่งวิกฤติที่มีผลกระทบต่อประเทศไทยลุกลามจากภาคเหนือ,อีสาน,ภาคกลาง และกรุงเทพมหานคร นับเป็นบทเรียนที่ต้องศึกษา และต้องนำ้มาแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง รวมทั้งการบูรนาการจัดการความรู้, กำหนดหลักสูตรการจัดการวิกฤติในมหาวิทยาลัย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น