คิดแบบผู้ประกอบการ ไม่ใช่คิดแบบลูกจ้าง

 
แปลและเรียบเรียงจาก โรเบอร์ต คิโอยาซากิ ผู้ประพันธ์พ่อรวยสอนลูกรวย (January 1, 2006)|
        ในเดือนตุลาคม ค.ศ.2005 ข้าพเจ้าอยู่ที่กรุงนิวยอร์ค กำลังปาฐกถาเกี่ยวกับธุรกิจที่ดิน และการลงทุนในธุรกิจที่ดินอย่างแท้จริง โดยนักพูดที่สำคัญอีกคนหนึ่งคือโดนัลด์ ทรัมป์ ภายหลังจากที่ข้าพเจ้าพูดเสร็จแล้ว   มีชายหนุ่มคนหนึ่งเดินเข้ามาหาข้าพเจ้าและกล่าวว่า “คุณพูดได้ดีครับ แต่คุณไม่สามารถทำได้ในสิ่งที่คุณพูดในเมืองนิวยอร์คแห่งนี้   ข้าพเจ้าตอบว่าจงทำให้ดีที่สุดด้วยสำเนียงสุภาพ และตอนนี้โดนัลด์ ทรัมป์กำลังจะทำสิ่งนี้”    ชายหนุ่มคนนั้นตอบว่า “ครับ ครับ” และกล่าวว่าคุณพูดถึงเรื่องนี้ แต่ผมรู้ว่าคุณทำมันไม่ได้หรอก”  จากการได้ยินข้อโต้แย้งที่ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้  ข้าพเจ้าโต้กลับว่า “คุณพูดถูก” คุณไม่สามารถทำที่นั่นได้  แต่ฉันทำได้ และฉันจะทำได้หากฉันอยู่ในกรุงนิวยอร์ค   และโดนัลด์ ทรัมป์กำลังทำในสิ่งทีคุณพูดว่าไม่สามารถทำให้สำเร็จได้
        เหตุผลประการหนึ่งที่ชายหนุ่มคนนั้น และบุคคลมักชอบพูดเหมือนเขาว่า “คุณไม่สามารถทำสิ่งนั้นได้ หรือผมคงทำได้หากผมมีเงิน” ทั้งนี้เพราะว่าพวกเขากำลังคิดคล้ายกับลูกจ้าง ไม่ได้คิดเหมือนผู้ประกอบการ
        พูดง่าย ๆ ก็คือผู้ประกอบมุ่งเน้นแสวงหาโอกาส ในขณะที่ลูกจ้างมุ่งเน้นหาทรัพยากรเช่นเงิน, บุคคลและเวลา   ตัวอย่างเช่นบุคคลที่คิดเหมือนกับพนักงานจะกล่าวว่า “ผมไม่สามารถทำได้ เพราะผมไม่มีเงินมากพอ” บุคคลที่คิดเหมือนผู้ประกอบการจะกล่าวว่า “พวกเรามาเกาะติดกับเรื่องนี้และค่อยมาหาเงินทีหลัง”  
        แม้ว่าคุณจะเป็นผู้ประกอบการ คุณอาจจะยังคงกำลังคิดโดยใช้จิตใจแบบลูกจ้าง และคุณไม่สามารถเปลี่ยนแปลงธุรกิจของคุณได้  และผลสำเร็จที่เกิดขึ้นจากธุรกิจของคุณก็ต่อเมือคุณเปลี่ยนแปลงวิธีการคิดของคุณ
        สำหรับสิ่งที่คุณยังไม่คุ้นเคยกับพ่อรวยสอนลูกรวย  มันเป็นเรื่องราวที่กำลังมีผู้สนใจมากขึ้นระหว่างพ่อสองคน  และแนวคิดสองอย่างเกี่ยวกับเงิน, การเงิน และการลงทุน  พ่อที่แท้จริงของฉัน ที่ฉันเรียกว่าพ่อจนเพราะว่าเขาตายจากการทำงานหนัก เป็นบุคคลที่มีการศึกษาดีเป็นผู้มีความตั้งอกตั้งใจในทางการศึกษาอย่างยอดเยี่ยม  เขาเชื่อว่าคุณควรจะมีการศึกษาที่ดี ค้นหางานที่ดีด้วยผลประโยชน์ที่ดี และยินยอมให้รัฐบาลดูแลคุณจวบจนเกษียณอายุ 
        พ่อรวยของฉัน เป็นพ่อที่เป็นเพื่อนที่ดีสุด มีการศึกษาเพียงเล็กน้อยแต่มีจิตใจแบบผู้ประกอบการ และเขากลับกลายเป็นเศรษฐีที่ร่ำรวยที่สุดในฮาวาย   พ่อรวยของฉันห้ามลูกชายของเขาและตัวข้าพเจ้าเองโดยพูดว่า “จงมองว่าสิ่งนั้นเป็นไปได้”   “ในโลกธุรกิจ เมื่อคุณพูดว่าเป็นไปได้ในการแข่งขันต้องพูดว่าเราสามารถทำสิ่งนั้นได้”  ดังนั้นเขาจึงหันมาถามพวกเราว่า “แล้วฉันจะทำมันได้อย่างไร?
        พ่อรวยของฉันแสดงถึงทัศนะเพื่อเป็นการเปลี่ยนความคิดของเราก็จะเปลี่ยนวิถีชีวิตของพวกเราได้   เขากล่าวว่า “เมื่อใดก็ตามทีคุณพูดว่าคุณไม่สามารถทำได้ สิ่งนั้นหมายถึงคุณมีพรมแดนระหว่างสิ่งที่คุณสามารถทำได้และทำไม่ได้  เมื่อคุณถามตัวคุณเองว่า “ฉันสามารถจะทำอะไรบางอย่างได้อย่างไร?  เท่ากับคุณเปิดใจยอมรับความคิดใหม่ และขยายความเป็นไปได้เกี่ยวกับชีวิตของคุณ”    
        ดังนั้นในโอกาสต่อไปเมื่อคุณได้ยินจากตัวคุณเองว่าคุณไม่สามารถทำได้ หรือเป็นไปไม่ได้  จงจำไว้ว่าเมื่อคุณกำลังคิดเหมือนลูกจ้างคนหนึ่ง และจำเป็นต้องเริ่มมีความคิดเหมือนผู้ประกอบการ 
        สรุป จากทัศนะของโรเบอร์ต คิโอยาซากิ ทำให้เห็นว่าระบบการศึกษาของไทยมุ่งเรียนไปเพื่อไปเป็นลูกจ้าง  แต่ไม่ได้กระตุ้นให้นิสิตนักศึกษาได้คิดแบบผู้ประกอบการ    ดังนั้นเราจะเห็นว่ามักมีคำพูดว่าจบแล้วจะไปทำงานอะไร หรือไปทำมาหากินอะไร  คำตอบส่วนใหญ่ก็จะตอบว่าจะไปหางานทำไม่ว่าจะเป็นงานราชการ หรือภาคธุรกิจ  ทำให้การสร้างเมล็ดพันธ์ผู้ประกอบการของไทยไม่ได้ขยายตัวอย่างที่คิด   แต่ต้องมีพ่อรวยสอนลูกรวยจึงจะให้คติที่ดี  แต่พ่อที่ไม่รวยก็จะไม่ส่งเสริมให้ลูกไปเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ  ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำลายโอกาสการเป็นเถ้าแก่ เพราะผู้กำหนดนโยบายมีความคิดแบบลูกจ้างนั่นเอง  และไม่ควรทำตนเป็นพ่อโกงสอนลูกโกง ก็จะทำให้สิ่งที่เป็นอยู่นั่นเป็นความภาคภูมิใจในชีวิตนั่นเองว่าเงินทองที่ได้มามาจากหยาดเหงื่อและฝีมือเท่านั้น 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)