นโยบายของรัฐควรมีความยืดหยุ่น แต่่มิใช่ต้องอยู่ในกรอบเหมือนกรงขัง



       แม้กระทั่งการกำหนดนโยบายของรัฐบาลยังถูกสกัดกั้นความคิดของรัฐบาลที่ได้ให้คำมั่นสัญญาไว้กับประชาชน   แต่การดำเนินงานต้องมีเงื่อนเวลา มิใช่การทำอะไรที่เร่งด่่วนอย่างสารพัดนึก ฝ่ายค้านควรมีความคิดสร้างสรรค์เท่ากับท่านช่วยรัฐบาลทำงานได้ดีขึ้น ไม่ใช่ลักษณะการปัดแข้งปัดขา หรือการจ้องจับผิดในทุกประเด็น เพราะไม่ใช่วิถีทางทำให้งานการเมืองมีความก้าวหน้าได้ ควรเปิดใจกว้างในการให้โอกาสรัฐบาลได้ทำงานไปในระยะเวลาหนึ่ง  เพราะการอภิปรายเกี่ยวกับนโยบายนั้นความคิดของฝ่ายค้านบางอย่างก็เป็นสิ่งที่ดีเพราะสามารถช่วยให้ความคิดนั้นเติมเติมในส่วนที่่ยังบกพร่อง นับว่าการทำงานของฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านควรทำงานเป็นทีมร่วมก้ับรัฐบาล  เพราะในโลกนี้สิ่งพิสูจน์การทำงานของประเเทศคือการร่วมมือร่วมใจ และการที่ฝ่ายรัฐบาลก็เปิดใจกว้างให้ฝ่ายค้าน (ฝ่ายสร้างสรรค์ความคิด) ได้ช่วยกันพัฒนาประเทศชาติ  แต่ทว่านักการเมืองบางคนใช้คำพูดที่มีลักษณะของการก่อกวน, หรือคอยป่วนในสภาทำให้บรรยากาศในสภามีลักษณะเหมือนคนทะเลาะวิวาทกัน แต่ควรมีลักษณะการแสดงถึงมารยาทที่ดีของนักการเมือง มีลักษณะอะลุ้มอะล่้วย เมื่อเคยทำงานผิดพลาดก็รู้จ้กขอโทษซึ่งเป็นลักษณะของผู้ที่มีภาวะผู้นำ  ฝ่ายค้านเมื่อเคยเป็นรัฐบาลควรมีผลงานที่ดีและเป็นตัวอย่่างอย่างรูปธรรมและเป็นที่ยอมรับ เพราะบางครั้งจะมีลักษณะว่าฝ่ายค้านเก่งในการตีฝีปาก, โวหาร, และการใช้วาทะกรรมที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อการพูด  ก็จะไม่ทำให้งานการเมืองเป็นงานพัฒนา แต่กลับเป็นงานการเมืองที่ด้อยพัฒนา   ซึ่งเราควรจะสามัคคีปรองดอง รู้จักให้อภัยกันมิใช่มีลักษณะเคียดแค้นชิงชังไปตลอด และไม่ควรนำเอาชื่อบุคคลภายนอกที่ไม่ได้เกี่ยวข้องามากล่าวอย่างซ้ำซาก เพราะไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย เพราะผู้ที่ถูกกล่าวหาไม่ได้มีโอกาสโต้แย้งหรือโต้ตอบได้เลย   อย่างที่วอลแตร์เคยกล่าวไว้ว่า "ข้าพเจ้ายินยอมเสียสละชีวิตของข้าพเจ้าเพื่อให้ผู้ที่มีความเห็นไม่ตรงกับข้าพเจ้าได้มีโอกาสพูด"  แต่ทว่าการพูดนั้นควรสร้างสรรค์ และมีหลักวิชาการ มีการเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี มีการอ้างอิงเปรียบเทียบเพื่อให้ความคิดนั้นมีลักษณะต่อยอดสร้างสรรค์ มิใช่จมปลักอยู่กับความคิดเก่า ๆ หรือวาทะกรรมเก่า ๆ แต่ควรคิดใหม่ (rethinking)  ในการผลิตวาทะกรรมที่แลดูดีมีคุณภาพทางความคิด และน่าสนใจจะทำให้บรรยากาศสภาเป็นสภาของผู้มีความรู้ดังนักปราชญ์  การแสดงออกของนักประชาธิปไตยในการค้านหรืออภิปรายไม่ควรจำกัดกรอบความคิดให้กับผู้อื่น เพราะนักการเมืองคนอื่น ๆ อาจมีความคิดที่เหนือชั้นกว่้า หรือไม่สามารถนำมาบรรยายได้อย้่างเป็นรูปธรรม เพราะบางครั้งเป็นการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ที่ไม่สามารถอธิบายได้หมด  เพียงแต่หากมีความสนใจก็ควรมีการประชุมเชิงลับเพื่อขอความรู้ข้อมูล   บางครั้งจะพบว่าฝ่ายค้านที่ค้านไปแลดูว่าเก่งกาจ  แต่ว่ารัฐบาลกลับทำงานมีผลงานมีประสิทธิภาพเกินกว่าคำวิจารณ์ และบางครั้งรัฐบาลก็ไม่ได้ประชาสัมพันธ์  ดังนั้นรัฐบาลจะต้องมีหน่้วยงานคอยอธิบายผลงานที่ดำเนินการไปแล้ว และผลที่่่ได้รับว่าเป็นไปอย่างไร  ทำให้ประชาชนได้รับรู้ถึงความเป็นไป   ดังนั้นรัฐบาลต้องเก่งในการประชาสัมพันธ์โดยเฉพาะประชาชนในเมือง หรือคนมีความรู้ได้เข้าใจ ทำให้ลดปฏิกิริยาเพราะว่าบางครั้งหรือหลายครั้งที่คนเข้าใจผิดในข่าวลือ ต้องมีหน่วยงานคอยแก้ข่าวลืออยู่ตลอดเวลา และทำให้คนที่อยู่ในเมืองได้รับทราบไม่คลาดเคลื่อน  เพราะบางครั้งข้อบิดเบือน หรือการกล่าวร้ายเกินความจรีิงทำให้เกิดผลเสีย และกลายเป็นการลุกลามไปในลักษณะที่เกิดการเข้าใจผิด ๆ    ในอีกด้านหนึ่งประชาชนในทุกระดับก็ไม่ควรเชื่ออะไรง่ายดายโดยไม่มีการพิสูจน์ แต่ต้องหาข้อมูลข้อเท็จจริงเสียก่อน ก่อนทีี่จะไปสรุปหรือไปพูดต่อ ๆ ไปโดยอาจเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ทำให้คนดี ๆ ต้องเสียหายไป   เพราะสังคมดีต้องทำให้คนดีมีที่ยืน สังคมเลวร้ายทำให้คนชั่วลอยนวลได้   แต่อย่างไรก็ดีการให้อภัยซึ่งกันและกันในการกระทบกระทั่งย่อมเป็นสิ่งที่สังคมอารยะพึงกระทำ เพราะสังคมไทยเป็นสังคมเมืองพุทธ    ดังนั้นความคิดของนักการเมืองไม่ควรเป็นกรงขังความคิดให้กับผู้อื่น แต่ฝ่ายรัฐบาลก็เปิดใจกว้างหากความคิดนั้นสอดคล้องต่อแผนการดำเนินงานหรือนโยบายก็ควรน้อมรับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และขอบคุณกับผู้ที่มีความคิดต่าง มาตรแม้นความคิดนั้นอาจจะไม่ตรงกับเรา แต่การรับฟังก็ยังเป็นสิ่งจำเป็นในการเข้าใจผู้พูดว่ามีความประสงค์ประการใด เพื่ออะไร และเป็นประโยชน์หรือไม่








ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)