ลักษณะคนที่ไม่เคารพสังคมประชาธิปไตย
สังคมประชาธิปไตยเป็นสังคมที่โลกปัจจุบันมีความต้องการมาก แต่ทำไมสังคมไทยจึงมีจินตภาพที่ไม่เข้าใจประชาธิปไตยอย่างลึกซึ้ง หรือยึดหลักประชาธิปไตยแบบสากล หากจำแนกเราจะพบว่านักวิชาการชาวต่างประเทศเคยมองว่าสังคมไทยเป็นสังคมของคนอนุรักษ์นิยมค่อนข้างมาก โดยเฉพาะกับบุคคลที่มีความรู้ แม้ว่าจะศึกษาร่ำเรียนมาจากต่างประเทศก็ตาม เพราะเหตุใดจึงมีกลุ่มบุคคลยังไม่ศรัทธา หรืออ่อนแอในสมรรถนะต่อการปกครองแบบประชาธิปไตย
1. สมรรถนะประชาธิปไตย ซึ่งหมายถึงความรู้,ทักษะ, และพฤติกรรมนิสัยของคนไทยเรานั้นมีความสามารถเรื่องประชาธิปไตยแค่ใหน
ก. ความรู้ประชาธิปไตย เราจะพบว่าความรู้ประชาธิปไตยนั้นมีทัศนะที่ต่างกัน บางคนมีความคิดว่าประชาธิปไตยกินไม่ได้ แต่คิดว่าการมีอำนาจนั้นกินได้ แต่ไม่สนใจว่าวิธีการได้อำนาจนั้นเป็นที่ยอมรับของประชาชนหรือไม่
ข. ทักษะประชาธิปไตย พบว่าคนไทยไม่ค่อยได้ใช้ทักษะกันเท่าใด เพราะค่านิยมของสังคมไทยมองว่าเชื่อผู้นำชาติพ้นภัย, เดินตามหลังผู้ใหญ่หมาไม่กัด, เป็นผู้น้อยคอยก้มประนมกร เติบใหญ่จะได้ดี แม้กระทั่งการศึกษาก็สอนแต่วาทกรรมว่า "โตขึ้นขอให้เป็นเจ้าคนนายคน" แทนที่จะสอนว่า "โตขึ้นขอให้รับใช้ประชาชน" การรับฟังเสียง หรือความคิดเห็นของผู้ใหญ่ที่มีต่อคนที่เด็กกว่า หรืออาวุโสน้อยกว่า หรือมีอำนาจน้อยกว่า จะมีค่อนข้างน้อย เนื่องจากระบบที่ไม่เป็นประชาธิปไตยไม่ได้สร้างทักษะประชาธิปไตยให้กับบุคคลที่มีสถานภาพสูงกว่าคนอื่น หรือข้าราชการที่คิดว่าจะรับใช้ประชาชนก็มองว่าข้าราชการเป็นนายประชาชนมากกว่า การให้เกียรติกับประชาชนหรือคนด้อยกว่าจึงมองอย่างไม่ให้ความสำคัญ การแสดงออกทางความคิดเห็นในสังคมแทบจะไม่ค่อยมีการส่งเสริมกันแต่จะเป็นลักษณะฟังความคิดเห็นไปอย่างนั้น ๆ แต่ตนเองเป็นคนตัดสินใจมากกว่า
ค. พฤติกรรมนิสัยแบบประชาธิปไตยนั้น พบว่าคนไทยบางกลุ่มบางเหล่าไม่ค่อยเห้นความสำคัญ แต่เห็นผลประโยชน์ของตนเองมากกว่าจะเห็นแก่ผู้อื่น ทำให้ประเทศไทยประชาชนจึงถูกทอดทิ้ง เพราะไม่ได้ให้ความสำคัญ และมองประชาชนว่าโง่ และถูกครอบงำ ซึ่งความคิดเช่นนี้ไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงประชาชนได้ หากเราไม่ได้ยอมรับหรือให้เกียรติประชาชนก่อน หรือการยอมรับความต้องการทางสังคมของประชาชนซึ่งเขาต้องการประชาธิปไตย
2. รูปแบบและเนื้อหาประชาธิปไตย เราจะพบว่าสังคมไทยให้ความสำคัญเพียงรูปแบบ หรือเน้นตัวบุคคลมากกว่าหลักการหรือเนื้อหาประชาธิปไตยจริง เมื่อสภาพที่มีแต่รูปแบบ แต่พฤติกรรมหรือจิตใจประชาธิปไตยมีน้อย ก็ย่่อมไม่ยอมรับความเท่าเทียมกันของประชาชน เปรียบเสมือนประเทศอเมริกาก็เคยเกิดปัญหาความไม่เท่าเทียมหรือผิว มีการเหยียดผิวกัน แต่ประเทศอเมริกาประชาชนยอมรับการเปลี่ยนแปลง โดยให้โอกาสเท่าเทียมระหว่างคนผิวขาวกับคนผิวดำนั้น เช่นเรื่องการศึกษา. การแสดงหนัง,การคบค้าสมาคม ฯลฯ ทำให้คนผิวขาวกับผิวดำอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างปรกติ แต่การปรับตัวของกลุ่มบุคคลที่มีความเห็นแตกต่างแบบไทย ๆ มีขีดความสามารถน้อย แต่กลับใช้วิธีการข่มขู่ หรือปราบปรามผู้มีความเห็นแตกต่างกัน
3. การยึดมั่นในตัวบุคคลมากกว่าหลักการ เราจะพบว่าสังคมไทยนิยมยกย่องตัวบุคคล โดยไม่ได้มองภาพรวม หรือสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้ง ๆที่สังคมเป็นสภาพพลวัตรเนื่องจากกระแสโลกาภิวัฒน์ ปรากฎว่าคนไทยยังยอมรับตัวบุคคล หรือรังเกียจตัวบุคคลมากกว่าจะพิจารณาในแง่หลักการ ทำให้คนบางกลุ่มยังขาดความเคารพประชาธิปไตยต่อประชาชน แต่เคารพตัวบุคคล หรือการรังเกียจตัวบุคคล มากกว่าเหตุผลประชาธิปไตย ซึ่งจะเห็นได้โดยทั่วไป
4. สังคมไทยเป็นสังคมนิยมอำนาจมากกว่าการมีเหตุผล และอาจจะถูกมองอย่างขบขัน หรือถูกมองว่าเป็นตัวตลก เพราะมองว่าการมีอำนาจนั้นทำให้ได้ทุกสิ่งทุกอย่าง แต่การให้กับบุคคลในสังคม เป็นหน้าที่ของผู้มีอำนาจน้อยกว่าจะต้องมาเอาใจผู้ีมีอำนาจมากกว่า ดังนั้นการที่สังคมไทยไม่ได้ฝึกฝนการใช้ความสามารถที่แท้จริงมากกว่านิยมคนมีอำนาจ หรือการให้ความสำคัญอุดมการณ์ทางประชาธิปไตยมีค่าหรือมีความสำคัญน้อยกว่าบุคคลที่มีความร่ำรวยหรือมีอำนาจมากกว่า แม้ว่าอำนาจนั้นจะได้มาอย่างไม่ถูกต้อง หรือถึงขนาดการยื้อแย่งอำนาจอย่างไม่เกรงใจจึงเกิดขึ้น
5.เมื่อเกิดอคติกับใคร หรือไม่พอใจ จะไม่มีโอกาสในการให้การยกโทษ หรือยอมประนีประนอม อันเกิดจากวัฒนธรรมองค์กรของไทยมีความคิดผิด ๆที่คิดว่าคนต่อต้านคนมีอำนาจมากกว่าเป็นคนผิด ทั้ง ๆที่อาจจะมีเหตุผลถูกต้องก็ตาม แต่เราจะพบว่าคนบางกลุ่มจะเชื่อว่าบุคคลผู้ใต้ปกครองต้องคล้อยตาม หรือเชื่อฟังอย่างไม่ต้องเห็นแตกต่าง
6. คนบางกลุ่มยังนิยมใช้ความรุนแรงต่อบุคคลในสังคม โดยไม่เกรงกลัวความผิดหรือบาปที่ตนเองก่อไป เพราะอาจจะมีคนให้ท้าย หรือสนับสนุนอย่างลับ ๆ ทำให้วิถีของประเทศเป็นลักษณะสังคมแบบนักเลง มิใช่สังคมของผู้ดี และนับวันจะพอกพูนกลายเป็นสังคมแบบมาเฟียไป ซึ่งเป็นสิ่งสังคมต้องช่วยกันดูแลไม่ให้เกิดขึ้น ด้วยการแสดงออกของการไม่ยอมรับแนวคิดที่ใช้ความรุนแรง แต่ควรใช้เหตุผลหรือการหันหน้าคุยกันด้วยความจริงใจ
สรุป เราจะเห็นว่าแนวโน้มของการปกครองประชาธิปไตยที่จะเกิดกับประชาชนดูเหมือนต้องใช้เวลาในสังคมมาก สังคมไทยควรให้ความสำคัญของเหตุผลมากกว่าการใช้อารมณ์กับคนที่มีความเห็นแตกต่างกัน การเห็นต่างนั้นเป็นเรื่องปรกติธรรมดา แม้แต่คนในครอบครัวยังมีความเห็นต่างกัน ไฉนจะบังคับหรือคอยควบคุมคนให้เป็นไปตามความต้องการของบุคคลไม่กี่คนซึ่งเป็นสิ่งที่สวนกระแสต่อความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ
1. สมรรถนะประชาธิปไตย ซึ่งหมายถึงความรู้,ทักษะ, และพฤติกรรมนิสัยของคนไทยเรานั้นมีความสามารถเรื่องประชาธิปไตยแค่ใหน
ก. ความรู้ประชาธิปไตย เราจะพบว่าความรู้ประชาธิปไตยนั้นมีทัศนะที่ต่างกัน บางคนมีความคิดว่าประชาธิปไตยกินไม่ได้ แต่คิดว่าการมีอำนาจนั้นกินได้ แต่ไม่สนใจว่าวิธีการได้อำนาจนั้นเป็นที่ยอมรับของประชาชนหรือไม่
ข. ทักษะประชาธิปไตย พบว่าคนไทยไม่ค่อยได้ใช้ทักษะกันเท่าใด เพราะค่านิยมของสังคมไทยมองว่าเชื่อผู้นำชาติพ้นภัย, เดินตามหลังผู้ใหญ่หมาไม่กัด, เป็นผู้น้อยคอยก้มประนมกร เติบใหญ่จะได้ดี แม้กระทั่งการศึกษาก็สอนแต่วาทกรรมว่า "โตขึ้นขอให้เป็นเจ้าคนนายคน" แทนที่จะสอนว่า "โตขึ้นขอให้รับใช้ประชาชน" การรับฟังเสียง หรือความคิดเห็นของผู้ใหญ่ที่มีต่อคนที่เด็กกว่า หรืออาวุโสน้อยกว่า หรือมีอำนาจน้อยกว่า จะมีค่อนข้างน้อย เนื่องจากระบบที่ไม่เป็นประชาธิปไตยไม่ได้สร้างทักษะประชาธิปไตยให้กับบุคคลที่มีสถานภาพสูงกว่าคนอื่น หรือข้าราชการที่คิดว่าจะรับใช้ประชาชนก็มองว่าข้าราชการเป็นนายประชาชนมากกว่า การให้เกียรติกับประชาชนหรือคนด้อยกว่าจึงมองอย่างไม่ให้ความสำคัญ การแสดงออกทางความคิดเห็นในสังคมแทบจะไม่ค่อยมีการส่งเสริมกันแต่จะเป็นลักษณะฟังความคิดเห็นไปอย่างนั้น ๆ แต่ตนเองเป็นคนตัดสินใจมากกว่า
ค. พฤติกรรมนิสัยแบบประชาธิปไตยนั้น พบว่าคนไทยบางกลุ่มบางเหล่าไม่ค่อยเห้นความสำคัญ แต่เห็นผลประโยชน์ของตนเองมากกว่าจะเห็นแก่ผู้อื่น ทำให้ประเทศไทยประชาชนจึงถูกทอดทิ้ง เพราะไม่ได้ให้ความสำคัญ และมองประชาชนว่าโง่ และถูกครอบงำ ซึ่งความคิดเช่นนี้ไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงประชาชนได้ หากเราไม่ได้ยอมรับหรือให้เกียรติประชาชนก่อน หรือการยอมรับความต้องการทางสังคมของประชาชนซึ่งเขาต้องการประชาธิปไตย
2. รูปแบบและเนื้อหาประชาธิปไตย เราจะพบว่าสังคมไทยให้ความสำคัญเพียงรูปแบบ หรือเน้นตัวบุคคลมากกว่าหลักการหรือเนื้อหาประชาธิปไตยจริง เมื่อสภาพที่มีแต่รูปแบบ แต่พฤติกรรมหรือจิตใจประชาธิปไตยมีน้อย ก็ย่่อมไม่ยอมรับความเท่าเทียมกันของประชาชน เปรียบเสมือนประเทศอเมริกาก็เคยเกิดปัญหาความไม่เท่าเทียมหรือผิว มีการเหยียดผิวกัน แต่ประเทศอเมริกาประชาชนยอมรับการเปลี่ยนแปลง โดยให้โอกาสเท่าเทียมระหว่างคนผิวขาวกับคนผิวดำนั้น เช่นเรื่องการศึกษา. การแสดงหนัง,การคบค้าสมาคม ฯลฯ ทำให้คนผิวขาวกับผิวดำอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างปรกติ แต่การปรับตัวของกลุ่มบุคคลที่มีความเห็นแตกต่างแบบไทย ๆ มีขีดความสามารถน้อย แต่กลับใช้วิธีการข่มขู่ หรือปราบปรามผู้มีความเห็นแตกต่างกัน
3. การยึดมั่นในตัวบุคคลมากกว่าหลักการ เราจะพบว่าสังคมไทยนิยมยกย่องตัวบุคคล โดยไม่ได้มองภาพรวม หรือสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้ง ๆที่สังคมเป็นสภาพพลวัตรเนื่องจากกระแสโลกาภิวัฒน์ ปรากฎว่าคนไทยยังยอมรับตัวบุคคล หรือรังเกียจตัวบุคคลมากกว่าจะพิจารณาในแง่หลักการ ทำให้คนบางกลุ่มยังขาดความเคารพประชาธิปไตยต่อประชาชน แต่เคารพตัวบุคคล หรือการรังเกียจตัวบุคคล มากกว่าเหตุผลประชาธิปไตย ซึ่งจะเห็นได้โดยทั่วไป
4. สังคมไทยเป็นสังคมนิยมอำนาจมากกว่าการมีเหตุผล และอาจจะถูกมองอย่างขบขัน หรือถูกมองว่าเป็นตัวตลก เพราะมองว่าการมีอำนาจนั้นทำให้ได้ทุกสิ่งทุกอย่าง แต่การให้กับบุคคลในสังคม เป็นหน้าที่ของผู้มีอำนาจน้อยกว่าจะต้องมาเอาใจผู้ีมีอำนาจมากกว่า ดังนั้นการที่สังคมไทยไม่ได้ฝึกฝนการใช้ความสามารถที่แท้จริงมากกว่านิยมคนมีอำนาจ หรือการให้ความสำคัญอุดมการณ์ทางประชาธิปไตยมีค่าหรือมีความสำคัญน้อยกว่าบุคคลที่มีความร่ำรวยหรือมีอำนาจมากกว่า แม้ว่าอำนาจนั้นจะได้มาอย่างไม่ถูกต้อง หรือถึงขนาดการยื้อแย่งอำนาจอย่างไม่เกรงใจจึงเกิดขึ้น
5.เมื่อเกิดอคติกับใคร หรือไม่พอใจ จะไม่มีโอกาสในการให้การยกโทษ หรือยอมประนีประนอม อันเกิดจากวัฒนธรรมองค์กรของไทยมีความคิดผิด ๆที่คิดว่าคนต่อต้านคนมีอำนาจมากกว่าเป็นคนผิด ทั้ง ๆที่อาจจะมีเหตุผลถูกต้องก็ตาม แต่เราจะพบว่าคนบางกลุ่มจะเชื่อว่าบุคคลผู้ใต้ปกครองต้องคล้อยตาม หรือเชื่อฟังอย่างไม่ต้องเห็นแตกต่าง
6. คนบางกลุ่มยังนิยมใช้ความรุนแรงต่อบุคคลในสังคม โดยไม่เกรงกลัวความผิดหรือบาปที่ตนเองก่อไป เพราะอาจจะมีคนให้ท้าย หรือสนับสนุนอย่างลับ ๆ ทำให้วิถีของประเทศเป็นลักษณะสังคมแบบนักเลง มิใช่สังคมของผู้ดี และนับวันจะพอกพูนกลายเป็นสังคมแบบมาเฟียไป ซึ่งเป็นสิ่งสังคมต้องช่วยกันดูแลไม่ให้เกิดขึ้น ด้วยการแสดงออกของการไม่ยอมรับแนวคิดที่ใช้ความรุนแรง แต่ควรใช้เหตุผลหรือการหันหน้าคุยกันด้วยความจริงใจ
สรุป เราจะเห็นว่าแนวโน้มของการปกครองประชาธิปไตยที่จะเกิดกับประชาชนดูเหมือนต้องใช้เวลาในสังคมมาก สังคมไทยควรให้ความสำคัญของเหตุผลมากกว่าการใช้อารมณ์กับคนที่มีความเห็นแตกต่างกัน การเห็นต่างนั้นเป็นเรื่องปรกติธรรมดา แม้แต่คนในครอบครัวยังมีความเห็นต่างกัน ไฉนจะบังคับหรือคอยควบคุมคนให้เป็นไปตามความต้องการของบุคคลไม่กี่คนซึ่งเป็นสิ่งที่สวนกระแสต่อความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น