กลอนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ตอนที่ 65

               การฝึกอบรมในสถานที่ทำงาน    เรื่องกล่าวขานว่าขัดกันอย่างกว้างขวาง
       มีทฤษฎีมากมายที่กล่าวอ้าง              ไม่กระจ่างคลอบคลุมในเนื้อหา
       แต่สิ่งสำคัญมุ่งเน้นการเชื่อมโยง          ในเค้าโครงการเรียนรู้เสริมปัญญา
       และอบรมมุ่งเปลี่ยนแปลงกันถ้วนหน้า    ชาวประชามุ่งองค์กรฐานความรู้
               รีดและแบริงตัน(Reid&Barrington,1994)ที่กล่าวมา  นิยามว่า"ฝึกอบรม"อย่างเหมาะสม
       คือกระบวนการวางแผนการอบรม         มุ่งเพาะบ่มทัศนคติและความรู้
       หรือพฤติกรรมทักษะอย่างเชี่ยวชาญ     เพื่อปูฐานประสบการณ์นำไปสู่
       เพื่อบรรลุผลงานผ่านเรียนรู้                ที่ควบคู่กิจกรรมการทำงาน
               การอบรมมีแนวโน้มที่เป็นอยู่      เนื้อหาดูมุ่งเน้นวิธีย่อ
       เพื่อผลลัพธ์การเรียนรู้อย่างเพียงพอ     มุ่งหมายต่อตามผลงานอย่างใกล้ชิด
       การฝึกอบรมดังกล่าวมีข้อดี                เพิ่มทวีในผลงานและผลผลิต
       พัฒนาศักยภาพในความคิด               เพื่อพิชิตคุณภาพ,พึงพอใจ
               นอกจากนั้นลดควบคุมการตามติด หากมาคิดลดใช้จ่ายระยะยาว
       การฝึกอบรมเป็นรากฐานเมื่อสืบสาว      ล้วนเรื่องราวปฏิวัติอุตสาหกรรม
       เมื่อคนงานจำต้องฝึกอบรมกัน             เพื่อรังสรรค์ประสิทธิ์ผลงานที่ทำ
       การอบรมเปลี่ยนแปลงการหนุนนำ        การตกต่ำงานผลิตในโรงงาน
              อุตสาหกรรมกลับเป็นบริการ        โดยมุ่งงานฝึกอบรมทักษะงาน
       สู่ความรู้,เรียนรู้ความชำนาญ               เพื่อเป็นการพัฒนาตัวบุคคล
       ศตวรรษพันเก้าร้อยในปลายปี             ประเทศที่เป็นผู้นำการฝึกฝน
       คืออังกฤษเป็นแถวหน้าสร้างบุคคล       ทุกถ้วนคนในยุโรปทั่วดินแดน
              รัฐบาลแรงงานสร้างแผนคน         ทุกแห่งหนต้องเรียนรู้ตลอดชีพ
       เืพื่อส่งเสริมองค์การอย่างเร่งรีบ           เป็นประทีบสร้างปัญญาสนับสนุน
       จากสหภาพการค้ามุ่งเกื้อกูล               ปลายเก้าศูนย์แผนริเริ่มที่ให้คุณ
       เช่นสวัสดิการการทำงานที่เจือจุน          ที่ลงทุนเกี่ยวกับคนผลก้าวไกล
                         
       
       
   
       
       

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

108 คำคมขงเบ้ง คำคมสอนใจ จากขงเบ้ง

ตัวแบบงบประมาณผูกพัน (Beyond Budgeting) ตอนที่หนึ่ง