การจัดการภาครัฐแนวใหม่ ตอนที่ 2

            ความเป็นอิสระส่วนบุคคล    กับตัวตนอำนาจของภาครัฐ
      ไม่สามารถแยกกันโดยเด่นชัด    หากผูกมัดกับวิถีชาวประชา
      ในเรื่องประชาธิปไตยนั้น           การจัดสรรขอบเขตแก่พารา
      หากนิยามอำนาจภาครัฐหนา      พรรนณาคือสิทธิการปกครอง
           อำนาจแห่งภาครัฐประจักษ์ว่า มีที่ท่าขัดแย้งกับบุคคล
      ในด้านเป็นอิสระปัจเจกชน         สุดท้ายจนปฏิเสธถูกปกครอง
      เป็นปรากฎการณ์สำคัญทางปรัชญา ที่เีรียกว่าการเมืองที่เีกี่ยวดอง
      เนื่องความคิดข้อมูลและมุมมอง   ไม่สอดคล้องต้องกันในแนวทาง
           โบวี่และไซมอน(1986)ได้จำลอง  ที่เกี่ยวข้องทัศนะประวัติศาสตร์
      กับทฤษฎีเีกี่ยวข้องอย่างฉลาด     ไม่ผิดพลาดอิสระปัจเจกชน
      กับอำนาจหน้าที่ของภาครัฐ         ที่ไม่ขัดกับอำนาจของบุคคล
      กับความคิดของฮอบบ์จุดเริ่มต้น    ได้ขุดค้นทัศนะว่าด้วยรัฐ
            ควรปกป้องสงครามของผู้คน  ยอมจำนนความชอบธรรมของรัฐฐา
      การมีรัฐเป็นทางเลือกปวงประชา    โดยตีตราทางเลือกสมเหตุผล
      โดยมุ่งมองการบัญญัติตัวกฎหมาย  ไม่ให้ท้ายฝ่ายใดอำนาจล้น
      รัฐนั้นมีตำรวจทหารแข็งแกร่งจน    เหตุเพราะคนยากแก่การปกครอง
            เป็นธรรมชาติส่วนใหญ่ของบุคคล มักท่วมล้นอัตตะในอำนาจ
      มักมุ่งมองปัญหารัฐผิดพลาด         ทำให้ชาติขัดแย้งพามืดมน
      โบวี่และไซม่อนมุ่งสำคัญ             ความคิดนั้นสุดโต่งอย่างท่วมท้น
      โดยวอลฟฟ์นิยามรัฐที่สืบค้น         ในตัวตนคืออำนาจในหน้าที่ 
               และสิทธิที่จะปกครองคน      ประชาชนมีอิสระและเสรี
      การปฏิเสธต่อต้านปกครองนี้          เป็นวิถีอิสรชนอย่างแจ้งชัด
      นำไปสู่ความขัดแย้งไม่ปรองดอง    ล้วนเกี่ยวดองสิ่งสมมติอำนาจรัฐ (Wolf,1970 p.18)
      เขาสรุปอนาคีสต์อย่างแจ้งชัด        ลัทธิรัฐปกครองสอดคล้องคน
      
            
         

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ