การจัดการภาครัฐแนวใหม่ ตอนที่ 1

              การจัดการภาครัฐในแนวใหม่      เปลี่ยนแปลงไปรวดเร็วเห็นได้ชัด
      เคยรวมศูนย์อำนาจบทบาทรัฐ             กลับภิวัฒน์เปลี่ยนบทกำกับการ
      คลื่นลูกใหม่นโยบายลดรวมศูนย์          กลับเพิ่มพูนท้าทายบริหาร
      ทั้งท้องถิ่นส่วนกลางการจัดการ           เพื่อสร้างฐานความเชื่อถือรัฐบาล
              การกระจายอำนาจแบ่งส่วนงาน   เนื่องจากกาลก่อนเก่ามีปัญหา
      ในนโยบายควบคุมทั่วพารา                เป็นที่มาการจัดการธรรมรัฐ
      เพื่อส่งเสริมตัวชี้วัดในผลงาน              วิธีการทำหน้าที่ปฏิบัติ
      พัฒนาการทั้งหลายต้องชี้ชัด              จำต้องวัดทัศนคติรูปแบบใหม่
              รวมทั้งแนวความคิดที่เร่งรัด        สรรหาคัดทักษะและความรู้
      จากค้นพบทฤษฎีสืบค้นดู                  แนวทางสู่จัดการรัฐที่ก้าวรุด
      โดยหยิบยืมการจัดการสมัยใหม่           แนวทางไซร้คือจัดการทรัพย์มนุษย์
      การพัฒนาไอซีทีอันเยี่ยมยุทธ์            และสร้างชุดการจัดการคุณภาพ
              การจัดการภาครัฐใหม่ล่าสุด        ไม่อาจขุดความหมายได้ง่ายดาย
      เพราะกรอบคิดแตกต่างการซึมทราบ      เนื่องเพราะภาพความคิดแตกต่างกัน
      ในทัศนะประชาธิปไตย                      ที่เกี่ยวในการจัดการภาครัฐนั้น
      นักวิชาการชื่อเลน(Lane,1993)ได้ยืนยัน  คำถามนั้นว่าด้วยประชาธิปไตย
              นำมาใช้ในกิจการรัฐจัดสรร         ที่กล่าวกันหกประการที่สำคัญ
      หนึ่งมีปัญหาอำนาจหน้าที่นั้น               กฎหมายกันเสรีภาพของปวงชน
      สองอิสระปัจเจกชนนั้น                      และจัดสรรอิสระรัฐตอนเริ่มต้น
      สามระหว่างภาครัฐและเอกชน             ใครสมควรผลิตมากกว่ากัน
              สี่เกี่ยวข้องคำถามไม่หลุดพ้น      ที่ขุดค้นทรัพยากรในภาพรวม
      ว่าส่วนใดใช้จ่ายไม่หละหลวม              รัฐได้ร่วมลงทุนการเกี่ยวดอง
      ที่เรียกว่าทางเลือกสาธารณะ(public choice) และสิ่งละเอกชนไม่เกี่ยวข้อง
      ห้าการกระจายรายได้ที่ไตร่ตรอง           มุ่งหมายปองช่วยพี่น้องสร้างรายได้
              หกสิ่งที่เลนหยิบยกประเด็นของ    ภาครัฐต้องจัดจ้างงานสักกี่คน
      เพื่อเสริมสร้างภารกิจองค์กรตน             ที่บุคคลเข้าทำงานได้เหมาะสม
      ไม่ว่าจ้างงานล้นคนคนล้นงาน               บริหารไม่ผิดพลาดพาล่มจม
      ด้วยวิสัยทัศนะที่เฉียบคม                    การระดมได้สมดุลตามแผนงาน
      
             
        
                  

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ