ความสำคัญของทุนทางปัญญา (The Importance of Intellectual Capital)

           แนวคิดสามเส้าของทุนทางปัญญาชี้ให้เห็นว่า ในขณะที่บุคคลได้ดำเนินการ,รักษาและใช้ความรู้ (ทุนมนุษย์) ในการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างพวกเขา (ทุนทางสังคม) ในการดำเนินการเสริมสร้างความรู้โดยองค์การ (ทุนองค์การ)
           ในทัศนะของแชทสเก็ล (2004) ได้แสดงให้เห็นว่า"สัจจธรรมก็คือองค์การไม่มีอะไรมากไปกว่าการขยายขอบเขตของความคิดและการกระทำของมนุษย์ มันคือความรู้,ทักษะ,และความสามารถของบุคคลที่ส่งเสริมค่านิยม, และมุ่งเน้นสิ่งที่เป็นปัจจัยเกี่ยวกับการดึงดูด,การ รักษา,การพัฒนาและการบำรุงรักษาทุนมนุษย์ในสิ่งที่พวกเขาแสดงออก ความรู้ของบุคคลเป็นการถ่ายทอดและบรรจุโดยผ่านกระบวนการจัดการความรู้   แต่มันเป็นสิ่งสำคัญที่พอกันกับสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาทุนทางสังคม   กล่าวคือเป็นวิถีทางในการนำความรู้ไปพัฒนาโดยผ่านปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคล   สิ่งนี้เป็นทัศนะโดยบอนติส และคณะ(1999) ซึ่งความรู้ไหลผ่านเฉกเช่นเดียวกับที่จัดเก็บความรู้ที่มีเนื้อหาสาระ
ทุนทางปัญญาจึงพัฒนาและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และเป็นส่วนสำคัญในบทบาทที่แสดงโดยตัวบุคคลที่กระทำการร่วมกันในกรรมวิธีเหล่านี้
            ความมีประสิทธิผลขององค์การขึ้นอยู่กับการสร้างประโยชน์จากความรู้นี้ ซึ่งจำเป้นต้องมีการพัฒนา,จัดเก็บรักษาและแลกเปลี่ยนความรู้ (การจัดการความรู้) เพื่อที่จะส่งเสริมให้เกิดทุนขององค์การ
ในการปฏิบัติเช่นนี้  เป็นสิ่งไม่ควรลืมตามแนวคิดของดาฟท์และวิชค์ (1984) กล่าวว่า "แต่ละบุคคลเข้ามาในองค์การและจากองค์การไปแต่องค์การต้องรักษาความรู้อยู่ตลอดเวลา หรือแสดงออกอย่างมีสีสันมากขึ้นโดยทัศนะของฟิทส์-เอนจ์ (2000)ที่ว่า "ทุนทางปัญญา (หรือความรู้) ยังคงอยู่เบื้องหลังเมื่อพนักงานลาออกไป, ทุนมนุษย์คือทรัพย์สินทางปัญญาที่นำกลับไปที่บ้านทุกเวลาวันคืนพร้อมกับตัวบุคคลากร
           ในทัศนะของผู้เรียบเรียงมองว่าความสำคัญของทุนทางปัญญานั้นมองว่าหากสังคมมีการยกระดับความรู้ไปสู่ขั้นของการนำความรู้ไปใช้เป็นทักษะที่มีประสิทธิผลมากขึ้น  และนำไปใช้ให้เกิดผลดีต่อครอบครัว,การงาน,สังคม และองค์การแล้วก็จะเกิดประโยชน์อย่างมหาศาล อย่างเช่นงานวิจัยของไทยพบว่ามีอยู่ในชั้นห้องสมุดมากมาย แต่ผู้อ่านมักจะเป็นผู้เรียน แต่ผู้จะนำความรู้จากผลงานวิจัยไปใช้ยังมีน้อย แต่มีพัฒนาการที่ดีคือมีการจัดเก็บรักษา แต่ควรมีผู้วิเคราะห์ถึงวิธีการนำไปใช้ให้เกิดผลดีต่อองค์การ  ก็จะทำให้งานวิจัยนั้นเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ โดยเฉพาะคณะรัฐบาลต้องนำความรู้ไปบริหารประเทศให้เกิดผลดีอย่างแท้จริง




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ