ทฤษฎีกลุ่มแกนหลัก (Core Group Theory)

               จุดประสงค์ที่แท้จริงขององค์การ    ยุคบริหารสมัยนวกาล
      ไคล์เนอร์เขียนข้อความอย่างกล้าหาญ      ว่าองค์การทุกแห่งต้องรักษา
      ส่งเสริมกลุ่มแกนหลักให้พอใจ                โดยวิสัยมักเป็นในแนวหน้า
      ฝ่ายจัดการระดับสูงเป็นหน้าตา                กลุ่มหลักหนามักมิใช่สิ่งซ่อนเร้น
                หรือทำสิ่งเลวร้ายหลบสายตา       แต่กลับพาความหวังดีที่สุด
      ยกระดับมนุษย์ชาติให้ก้าวรุด                  เพิ่มแรงฉุดความสามารถบุคลา  
      กลุ่มแกนหลักองค์การคือพลัง                 ขับเคลื่อนยังทั้งทิศทางสู่ข้างหน้า
      สู่เป้าหมายถูกต้องแก่พารา                     ทุกคนหนายินยอมและทำตาม
                ไม่มีสมาชิกใดถูกนำพา               กลุ่มหลักหนามิใช่กำกับทาง
      แต่กลุ่มหลักและสมาชิกที่จัดวาง             ต้องแยกทางสิ่งชอบธรรมบริหาร
      กับเรื่องวิถีบุคคลและผลงาน                   กลุ่มหลักงานมักไม่เห็นในองค์การ
      แต่ปรากฎในจิตใจพนักงาน                    กระทำการตามคาดหวังของบุคคล
                ปราศจากการไต่ถามกลุ่มหลักงาน  ในรูปการณ์ความรู้ที่จำเป็น
      โดยกำหนดบริบทความรู้เช่น                   สิ่งจำเป็นที่กำหนดอย่างสำคัญ
      ทำอย่างไรกลุ่มหลักทรงพลัง                 ไคล์เนอร์ยังอธิบายกลไกนั้น
      ว่าเป็นงานคาดเดาเพิ่มแรงฝัน                 บุคคลนั้นมองกลุ่มหลักความต้องการ
                ข้อสังเกตุเป็นสาเหตุที่สำคัญ         กลุ่มหลักนั้นยกระดับทั้งหน่วยงาน
      ความสำคัญฝ่ายจัดการใคร่ครวญการ         สิ่งกล่าวขานพูดไปต้องฉลาด
      ตามแนวคิดไคล์เนอร์ดุจดังเช่น                ที่เรียกเป็น Balanced Scorecard
      ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ดังคาด             ต้องเยื้องยาตรการสื่อสารบนลงล่าง
                แต่มีงานคาดการณ์มิได้ขาด           ต้องไม่พลาดตีความโดยกลุ่มหลัก
      ในจำนวนที่ต้องการอย่างแน่นัก                เป็นแรงผลักจากสัญญาที่ชัดเจน
      บุคลากรต่างเฝ้ามองไปข้างหน้า               กลุ่มหลักหนาว่าต้องการคอยเคี่ยวเข็ญ
      กลุ่มพลวัตรหลักป้องกันเป็นประเด็น          เปลี่ยนแปลงเป็นได้ง่ายดายเน้นมั่นคง
                องค์การกลุ่มหลักขยายเช่น           นับว่าเป็นไคล์เน่อร์นั้นกล่าวถึง
      ในองค์ประกอบทั้งหลายต้องคำนึง            หนึ่งนึกถึงแผนความมั่นคงบุคคลา
      เป็นเจ้าของหุ้นส่วนกับองค์การ                สองเขียนงานงบการเงินเห็นที่มา
      สามตัดสินใจโดยไม่ใช่สายบัญชา            สี่นั้นหนาต้องอบรมการเงิน,กลุยุทธ์
   
     
   
    

     
      

        

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ