การนำศาสตร์หรือวิทยาการไปสู่การผลิต โดยเคนเนธ โอ.บี่จยอร์ค

            ไม่มีอะไรสำคัญอะไรเลยที่มากไปกว่าการประดิษฐ์คิดค้น,การสร้าง,และผู้ชำนาญในโลหะกรรมเป็นเรื่องเล่าของ คาร์ล จี.บาร์ธ ผลงานบุกเบิกกับแนวคิดของเฟรดเดอริค ดิบบลิว.เทย์เล่อร์ในการพัฒนาการจัดการแบบวิทยาศาสตร์  ด้วยขบวนการเคลื่อนไหวแนวคิดนี้เป็นการปฏิวัติการผลิตในอเมริกาและทุกหนแห่งในการใช้วิทยาศาสตร์มาทดแทนสำหร้บวิธีการกฎแห่งหัวแม่มือ (Rule of Thumb) ที่ครั้งหนึ่งเคยได้แพร่หลายเป็นการทั่วไปในโรงงานอุตสาหกรรม  ในขณะที่บาร์ธเองเป็นตัวแสดงสำคัญในเรื่องนี้    เขาได้แรงสนับสนุนจากวิศวกรคนอื่น ๆ จากประเทศนอรเวย์ที่เติมความสำคัญอย่างมากที่สุดที่แนวโน้มความคิดในปัจจุบัน
             การจัดการแบบวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยการประยุกต์ผลที่เกิดขึ้นอย่างใคร่ครวญระแวดระวังและการสังเกตการณ์ต่อการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม  และดังนั้นจึงมีการจัดตั้งแผนกหนึ่งระหว่างฝายจัดการและอีกฝ่ายคือฝ่ายแรงงน  จึงมีความหมายถึง "องคาพยพของทฤษฎีและการปฏิบัติการที่มุ่งตรงต่อความมีสมเหตุสมผลมากขึ้นและมีผลงานที่มีประสิทธิภาพในโรงงานอุตสาหกรรม  ขณะที่ได้เคยนำมาใช้เป็นต้นแบบพร้อมกับการอ้างอิงต่อการทำงานโดยตรงในการเพิ่มผลิตแรงงาน    การนำคำศัพท์นี้ได้มีการขยายแนวคิดได้แก่ปัจจัยพื้นฐานในกระบวนการผลิตโดยรวมทั้งหมด"  คุณลัก่ษณะขั้นพื้นฐานของการจัดการแบบวิทยาศาสตร์คือ "การใช้อรรถประโยชน์เกียวกับการวิจัยในฐานะที่เป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการ"
             อยางไรก็ตาม จุดกำเนิดของขบวนความเคลื่อนไหวการจัดการสมัยใหม่ ไม่ได้ง่ายดายดังที่ได้ระบุมาแล้ว    มันเริ่มต้นในความคิดในยุคต้น ค.ศ.1800 เมื่อเทคโนโลยี่สมัยใหม่ได้ทำให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นการผลิตของคนอเมริกันที่ลงมือทำด้วยตนเอง    ตลาดใหม่ ๆ นำไปสู่การขยับขยายและการสร้างเครื่องจักรของโรงงานต่าง ๆ     สถานการณ์แรงงานไม่เป็นที่น่าพึงพอใจอันเนื่องจากสาเหตุความยุ่งยากในการปรับตัวของแรงงาน ทั้งแรงงานพื้นเพและแรงงานอพยพ นำไปสู่การเทคนิคการใช้เครื่องจักร ในขณะที่สิ่งตอบแทนสุดท้าย คือสะเทือนใจที่ตามมาพร้อมกับความเกรงกลัวของปี 1873 ที่กำไรเริ่มน้อยลง และจำเป็นต้องมีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้    ผู้เขียนท่านหนึ่งเสนอแนะว่าการจัดการแบบวิทยาศาสตร์สามารถตอบสนองต่อความต้องการในยุคที่สองของการปฏิวัติอุตสาหกรรมได้  ซึ่งกลับมากล่าวขวัญถึงในปี ค.ศ.1880   ช่วงเวลา "เมื่อความสามารถในการผลิตเริ่มต้นทำได้รวดเร็วกว่าอย่างเห็นได้ชัดของตลาดที่มีการดึงดูดเอาสินค้าในระดับราคาที่สามารถทำกำไรได้ดี 
            แต่การจัดการแบบวิทยาศาสตร์ดังที่ได้เกิดขึ้นมาก่อนปี ค.ศ.1910 ไม่ได้ให้ความหมายและการเกี่ยวข้องกับวิศวกรรมเพียงไม่กี่คนเท่านั้น แต่ไม่ได้มีตัวเลขอยางสำคัญในระบบชีวิตเศรษฐกิจ ก่อนที่จะถึงยุคสมัยที่มันเกี่ยวข้องเป็นพิเศษเกือบมากที่สุดของบิดาแห่งการเคลื่อนไหวที่ชื่อว่า เฟรดเดอริค วินสโลว์ เทย์เล่อร์  คณะทำงานที่มีไฟแรงในผู้ช่วยของเขา  เทย์เล่อร์เริ่มต้นการทดลองของเขาในปี ค.ศ.1880  แต่ไม่ได้เผยแพร่ผลงานของเขาในยุคสมัยของเขา คือ "หลักการจัดการแบบวิทยาศาสตร์" จนกระทั่งในปี 1910 ได้มีการประชุมของสมาคมวิศวกรเครื่องกลอเมริกัน  การเผยแพร่นี้ได้ตีพิมพ์หนังสือเป็นรูปเล่ม ได้ก่อให้เกิดความตื่นเต้นอย่างหาได้ยากตามวาทกรรมก่อนมีสมาคมวิศวกรรม
            เทย์เล่อรเองได้เชื่อมโยงการจัดการวิทยาศาสตร์กับแผนงานอนุรักษ์ชองชาติที่มีการแพร่หลายในตอนต้นปีของศตวรรษในปัจจุบัน  โดยธีโอดอร์ รูสเวลล์ และในคำนำหนังสือของเขาที่เป็นข้อความของประธานาธิบดี โดยกล่าวว่า "การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศเราเป็นเพียงขั้นพื้นฐานต่อคำถามที่ใหญ่กว่าประสิทธิภาพของประเทศ"   ดังนั้นการวิงวอนของเทย์เล่อร์คือประสิทธิภาพในความคิดเห็นที่เป็นสิ่งที่ใหญ่โตมากที่สุดเท่าที่ทำได้  และเขาโต้แย้งว่ามันเป็นโศกนาฎกรรมของการไร้ประสิทธิภาพที่ "วางไว้ภายใต้การจัดการอย่างเป็นระบบมากกว่าการแสวงหาสิ่งที่คนไม่ปรกติหรือคนที่พิเศษเหนือคนธรรมดา"  และนั้นคือการจัดการผลิตที่ดีที่สุด คือศาสตร์ที่แท้จริงที่มีกฎเกณฑ์, กฎระเบียบ และหลักการที่ชัดเจนในฐานะที่เป็นพื้นฐานที่สามารถประยุกต์ใช้กับ "กิจกรรมของมนุษย์ทุกประเภทได้ทั้งหมดจากตัวอย่างการปฏิบัติงานของบุคคลที่ง่ายที่สุดในการทำงานของบริษัทที่ใหญ่ของเรา  ซึ่งทำให้เกิดเสียงเรียกร้องสำหรับความร่วมมืออย่างชัดเจน"    หลักการสำคัญสี่ประการเกี่ยวกับการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ดังคำนิยามที่เทย์เล่อร์กล่าวไว้คือ
           ประการแรก การพัฒนาวิทยาศาสตร์ที่ีแท้จริง 
           ประการที่สอง การคัดเลือกคนงานอย่างเป็นวิทยาศาสตร์
           ประการที่สาม การศึกษาและการพัฒนาวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดของเขา
           ประการที่สี่ มีความร่วมมืออย่างฉันท์มิตรอย่างใกล้ชิดระหว่างฝ่ายจัดการกับคนงาน
              สิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นหลักการเกี่ยวกับการจัดการแบบวิทยาศาสตร์  แต่เทย์เล่อร์ผู้ประพันธ์เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ยังต้องรับผิดชอบสำหรับการสะสมองค์ข้อมูลที่่ยิ่งใหญ่ และก่อรูปเป็นกฎเกณฑ์ เป็นส่วนใหญ่แต่มิใช่เพียงสิ่งเดียวในศิลปะของการตัดโลหะ และการสร้างกลไกในการแบ่งงานในการนำเอาหลักการมาใช้ในโรงงานใดก็ตาม    คาร์ล จี.บาร์ธ นักวิศวกรรมชาวนอรเวย์ผู้อพยพจากต่างแดนกล่าวว่า "ได้มีสิ่งที่ทำมากด้วยรายละเอียดของการปรับปรุง,การทดสอบและความสมบูรณ์แบบในเทย์เล่อร์เอง    เทคนิคเทย์เล่อร์ยังคงใช้อยู่ทุกวันนี้  "เป็นสิ่งสำคัญในการปรับปรุงมาสองครั้ง"   บาร์ธ เป็นบุคคลที่เป็นนักวิทยาศาสตร์โดยธรรมชาติ และเป็นนักคณิตศาสตร์เชิงปฏิบัติการ  ได้กลับมามีชื่อเสียงภายหลังจากการตายของเทย์เล่อร์ในฐานะตัวแทนชั้นนำในระบบความคิดของเทย์เล่อร์    การหวนรำลึกอดีตในบทบาทของเขาเป็นสิ่งที่มากกว่าความสำคัญที่น้อยมักจะมีลักษณะเฉพาะต่อตัวเขาจากการศึกษาความเคลื่อนไหวที่ละเลยในทักษะทางเทคนิคโดยปราศจากที่ระบบเทย์เล่อร์เกี่ยวกับการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ที่ยังมีความต้องการในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
         สรุป ผลงานการจัดการแบบวิทยาศาสตร์นับเป็นการปฏิวัติความคิดในรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนแปลงจากระบบการทำงานแบบใช้กำลังงาน ไปสู่การใช้เครื่องจักรเพื่อทำการผลิตจำนวนมาก และเน้นประสิทธิภาพ,ประสิทธิผล,ประหยัด (Efficiency, Effective, Economy) โดยให้ความสำคัญรวมถึงการศึกษาความเคลื่อนไหวและเวลาในการทำงาน (Time and Motion Study), การคัดเลือกคนงานที่สามารถมาทำงานแบบวิทยาศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพ, มีการจูงใจค่าแรงงานตามหน่วยการผลิต, แสวงหาวิธีการที่ดีที่สุดซึ่งมีเพียงวิธีเดียว (The one best way)  ซึ่งปัจจุบันอิทธิพลความคิดยังคงสืบเนื่องและนำมาใช้อยู่ในปัจจุบัน และมีการต่อยอดความคิดจากนักวิชาการรุ่นต่อ ๆมา

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ