องค์ประกอบของทุนทางปัญญา (The element of intellectual capital)

          องค์ประกอบสำคัญของทุนทางปัญญามีอยู่ด้วยกัน 3 ประการได้แก่
            1. ทุนมนุษย์ (Human Capital)  - คือความรู้,ความสามารถ, และสมรรถภาพในการพัฒนาและนวัตกรรมที่ดำเนินการในองค์การใดองค์การหนึ่ง
            2. ทุนทางสังคม (Social Capital) - คือโครงสร้าง,เครือข่าย,และกรรมวิธีที่ทำให้บุคคลสามารถเข้าถึงและพัฒนาทุนทางปัญญาซึ่งแสดงโดยคลังความรู้และสายธารของความรู้ที่ได้รับมาจากความสัมพันธ์ภายในและภายนอกองค์การ
            3. ทุนขององค์การ (Organizational capital) - คือความรู้ในเชิงสถาบันที่เป็นกรรมวิธีจากองค์การใดองค์การหนึ่งกล่าวคือมีการจัดเก็บความรู้ในฐานข้อมูล,คู่มือต่าง ๆเป็นต้น (Youndt,2000) มักเรียกกันว่าเป็นทุนเชิงโครงสร้าง (Structured capital) (Edwinson and Malone,1997) แต่คำว่าทุนองค์การได้รับชื่นชอบโดยยอห์นเพราะว่าเขามีทัศนะว่ามันจะช่วยชักนำให้มีความกระจ่างมากขึ้นกล่าวคือเป็นความรู้ที่องค์การมีความเป็นของตนเองอย่างแท้จริง
            ความสำคัญของทุนทางปัญญา 
            แนวคิดเชิงไตรลักษณ์ของทุนทางปัญญา คล้าย ๆกับของพุทธศาสนาคือ ศีล,สมาธิ,ปัญญา  ซึ่งระบุว่าในขณะที่บุคคลมีการสร้าง,รักษา,และใช้ความรู้ (ทุนมนุษย์) ความรู้จะกลั่นกรองได้เป็นอย่างดีจากบุคคลทั้งหลายที่ร่วมกัน (ทุนทางสังคม) เพื่อสร้างให้เป็นความรู้ที่เป็นเชิงสถาบันซึ่งกระทำโดยองค์การ (ทุนองค์การ)  
            ในด้านศาสนาพุทธ คือศิลคือข้อห้ามที่จะต้องปฏิบัติ, รักษา,และใช้ให้ถูกต้องตามหลักการถือศีล เมื่อปฏิบัติตามศีลแล้วจึงจะเกิดพลังของสมาธิที่เกิดจากความสงบทางจิตใจและความปิติจากการปฏิบัติหรือการถือศีล และนำไปสู่ให้เกิดตัวปัญญาของบุคคลคนนั้น  หากเป็นไปในรูปองค์การก็จะเป็นองค์การอัจฉริยะ
             ตามที่แชทสเกล (Chatzkel ,2004) แสดงทัศนะที่ว่า "ความเป็นจริงองค์การไม่มีอะไรมากไปกว่าการขยายขอบเขตความคิดของมนุษย์และการกระทำ  นั่นก็คือความรู้,ทักษะ, และความสามารถของบุคคลที่ส่งเสริมคุณค่าและมุ่งเน้นไปยังปัจจัยดึงดูด,รักษา,พัฒนา,บำรุงรักษา,ทุนมนุษย์ที่พวกเขาแสดงความรู้ให้ประจักษ์   ความรู้ของบุคคลจะรักษาและนำไปใช้โดยผ่านกระบวนการจัดการความรู้ แต่สิ่งสำคัญที่เท่าเทียมกันในการเอาใจใส่การพิจารณาทุนทางสังคมนั่นก็คือวิถีทางที่ความรู้ได้รับการพัฒนาโดยผ่านปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล  ทัศนะดังกล่าวนี้มาจากบอนติส (Bontis et al,1999) ซึ่งเป็นกระแสสายธารคล้ายกับคลังที่เก็บสาระสำคัญ   ทุนทางปัญญาพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเป็นส่วนสำคัญที่นำมาแสดงออกของกระบวนการดังกล่าวโดยการกระทำของบุคคลร่วมกัน
             ประสิทธิผลที่ดีขององค์การขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ความรู้นี้ไปอย่างดีซึ่งจำเป็นต้องมีการพัฒนา จัดเก็บ,และแลกเปลี่ยน (การจัดการความรู้) เพื่อส่งเสริมทุนขององค์การ ในการปฏิบัติเช่นนี้ก็ควรไม่ลืมในสิ่งที่ระบุโดย Daft & Weick (1984) หรือผู้ทำให้มีสีสันอย่างมากโดย Fitz-enj (2000) กล่าวว่า "ทุนมนุษย์ (ความรู้) ยังอยู่เบื้องหลังเมื่อพนักงานลาออกไป, ทุนมนุษย์จึงเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่บุคลากรเกิดขึ้นแม้แต่กลับบ้านตอนกลางคืน
              สรุปจินตภาพของมนุษย์ที่เกิดจากการสะสมความรู้, ทุนทางสังคมก่อให้เกิดประสบการณ์และทุนทางปัญญาจากการบูรนาการโดยผ่านการใช้สมอง ก่อให้เกิดจินตภาพในการสร้างวิสัยทัศน์ อันเป็นพลังขับเคลื่อนจากจิตวิญญาณของมนุษย์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับผู้บริหารสูงสุด หรือระดับรองจำเป็นต้องมีอยู่ตลอดเวลา และจำเป็นต้องใช้สมองจนเกิดความเชี่ยวชาญ, ช่ำชองในกลยุทธ์เพื่อนำไปปัญญาแปลงไปสู่แผน และนำไปสู่ความรุ้ร่วมกันในองค์การและนำไปใช้เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้
             
           

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ