แนวคิดรัฐบาลผู้ประกอบการ (Reinventing Government)

              จากแนวคิดของออสบอร์น และเกบเล่อร์ ให้ทัศนะว่ารัฐบาลไม่สามารถบริหารงานได้ดี เพราะว่ารัฐบาลมีโครงสร้างที่มีขั้นตอนที่ยาว (Tall) ,อืดอาดล่าช้า, เน้นรวมศูนย์อำนาจมากเกินไป,ยึดติดกฎเกณฑ์มากเกินไป  เขากล่าวว่า "เราได้ออกแบบหน่วยงานภาครัฐเพื่อปกป้องประชาชนในการต่อต้านนักการเมืองและข้าราชการที่มีอำนาจมากเกินไป หรือใช้เงินสาธารณะไปในทางที่ไม่ถูกต้องในการขโมยเงินสาธารณะ  เราจึงไม่สามารถจัดการกับเงินสาธารณะได้  ในการพยายามควบคุมทุกสิ่งทุกอย่าง จนกระทั่งเรากลับล้าหลังกับวิธีการจัดการแบบสั่งการในการทำงานให้สำเร็จ เป็นการกำหนดกฎเกณฑ์ในกระบวนการ, การควบคุมปัจจัยนำเข้าซึ่งเรามักละเลยกับผลลัพธ์ที่ได้  จึงเป็นผลที่ทำให้ออสบอร์น และเกบเล่อร์เสนอแนะความคิด "รัฐบาลประกอบการ" (Entrepreneur Government) เป็นรัฐบาลที่มีการรณรงค์และแข่งขันกับธุรกิจที่มุ่งแสวงหากำไร และหน่วยงานอื่น ๆของรัฐบาล
              หลักการ 10 ประการของรัฐบาลรื้อปรับระบบ (Reinvention) ซึ่งเป็นรัฐบาลเน้นประกอบการได้แก่
              1. เป็นรัฐบาลที่เป็นตัวเร่ง ใช้หลักการกำกับการพายเรือมากกว่าพายเรือ
              2. เป็นรัฐบาลที่เน้นชุมชน เสริมสร้างพลังอำนาจมากกว่าการมุ่งให้ประชาชนมาขอรับบริการ
              3. เป็นรัฐบาลเน้นแข่งขัน นำไปสู่การส่งมอบบริการ
              4. เป็นรัฐบาลขับเคลื่อนด้วยภารกิจ ปรับเปลี่ยนองค์การที่ขับเคลื่อนด้วยกฎเกณฑ์
              5. เป็นรัฐบาลที่เน้นผลลัพธ์ความสัมฤทธิผล เน้นผลที่ได้มาเป็นเงินทุนมากกว่าเก็บเงินไว้เฉย ๆ
              6. เป็นรัฐบาลที่ขับเคลื่อนเพื่อสร้างความพึงพอใจแก่ประชาชน มากกว่าการขับเคลื่อนด้วยระบบราชการ
              7. เป็นรัฐบาลที่เน้นวิสาหกิจ ซึ่งเน้นการหารายได้มากกว่าการใช้จ่าย
              8. เป็นรัฐบาลที่เป็นที่หวัง (anticipatory) เน้นป้องกันปัญหามากกว่าเยียวยาปัญหา
              9  เป็นรัฐบาลที่เน้นกระจายอำนาจ (decentralized) เปลี่ยนจากเน้นสายการบังคับบัญชาไปสู่การมีส่วนร่วมและการทำงานเป็นทีม
             10. เป็นรัฐบาลที่เน้นตลาด (Market-oriented) เน้นเปลี่ยนแปลงจากอำนาจไปสู่ระบบตลาด
             ตัวแบบจำลองของออสบอร์น และเกบเล่อร์ สำหรับแนวคิดรัฐบาลผู้ประกอบการนั้นได้อิทธิพลแนวคิดจากการทบทวนผลงานระดับชาติโดยรองประธานาธิบดีอัลกอร์ เมื่อปี ค.ศ.1994
              สรุป การแก้ปัญหาระบบภาครัฐที่เป็นแบบเก่าและเป็นแนวอนุรักษ์ซึ่งเป็นกำแพงกีดขวางความเจริญก้าวหน้านั้น  จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับยุคสมัยและสถานการณ์ ดังนั้นการปรับเปลี่ยนได้ดีนั้นจำเป็นที่คนไทย หรือคนบางกลุ่มต้องยอมเสียสละส่วนน้อยเพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวม  แต่มิใช่การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง  และที่สำคัญหลักการบริหารของไทยมีด้านที่ดีคือการนำเอาหลักคำสอนของพระพุทธเจ้ามาประยุกต์ใช้กับการบริหารกิจการภาครัฐ   ซึ่งแนวคิดพระพุทธศาสนาของไทยส่วนใหญ่มีหลักการที่เหนือกว่าแนวคิดของตะวันตก  จึงจำเป็นที่ผู้สอนทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ต้องควรโน้มนำเอาหลักการทางพุทธศาสนามาประยุกต์ให้เหมาะสม และปรับใช้เพื่อลดปัญหาความขัดแย้ง  ซึ่งการบริหารต้องมีทั้งเมตตา และความเด็ดขาดในการตัดสินใจหากคิดว่าสิ่งนั้นเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ  เพราะรัฐบาลควรขับเคลื่อนโดยให้ความสำคัญกับเสียงของประชาชนส่วนใหญ่ และคอยให้คำชี้แจงแก่เสียงส่วนน้อย  และต้องเปลี่ยนคนพาลมาเป็นผู้รู้หรือเป็นคนดีในสังคมได้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ