กลอนตัวแบบการเปลี่ยนแปลง (Change Model)

  


           ตัวแบบหรือสมการการเปลี่ยนแปลง    แนวคิดแห่งนักวิชาการที่มีชื่อ
   ชื่อริชาร์ด,รูเบ็นท่านยึดถือ                       นามระบือทั่วหล้าปฐพี
   กีชเช่อร์นำแนวคิดมาประมวล                   เพื่อทบทวนเครื่องมืออย่างถ้วนถี่
   เพื่อสร้างภาพประทับใจเป็นอย่างดี            สู่วิถีเงื่อนไขขององค์การ
           ขั้นตอนพัฒนาองค์การนี้                 สมการที่เปลี่ยนแปลงที่เห็นได้
   เป็นขั้นตอนสำคัญอย่างยิ่งใหญ่                 นำมาใช้พัฒนาในองค์การ
   ได้มีการแพร่หลายตลอดเวลา                   เพื่อนำพาตอบสนองความต้องการ
   แก่นายจ้างมุ่งหวังดำเนินงาน                    นำเป็นฐานข้อตกลงกับคนงาน
           เพื่อความก้าวหน้างานบริหาร            เข้าใจการเชื่อมสัมพันธทั้งสองข้าง
  ในระหว่างการมีส่วนร่วมของลูกจ้าง             กลับแนวทางความสำเร็จขององค์การ
  ความเคลื่อนไหวมีส่วนร่วมการเปลี่ยนแปลง   รวมจัดแจงจัดจ้างที่ปรึกษา
  ทั้งภายในภายนอกองค์การนา                    แสวงหาแนวต้านการเปลี่ยนแปลง
            เมื่อย้อนยุคความคิดยุคเก่าหนา        นักวิชาเฟรดเดอริคเจ้าความคิด
 บิดาจัดการวิทยาประดิษฐ์                          ผู้ผลิตจัดการวิทยาศาสตร์
 ที่เรียกกันว่าลัทธิของเทย์เล่อร์                    ผู้พบเจอแนวทางอย่างฉลาด
 แนวคิดสั่งการ-ควบคุมไม่ผิดพลาด              ความเฉียบขาดแหลมคมของแนวทาง
            ในภายใต้ปรัชญาที่มุ่งมาด              คำที่พาดพิงถึงมาสะกิด
 ว่า"คนงานทำ ฝ่ายจัดการคิด"                     ผลผลิตสะท้อนถึงแนวคิดเก่า
 ในยุคอุตสาหกรรมมีโรงงาน                       ซึ่งมีฐานสหภาพเปรียบเหมือนเงา
 สิ่งแวดล้อมแนวผลิตร่วมถือเอา                   จำต้องเฝ้าควบคุมโดยองค์การ
            ในแนวคิดเทย์เล่อร์ถูกรุกเร้า             โดยนำเอาแนวคิดการเน้นคน
 ก่อกำเนิดศาสตร์ใหม่ที่ขุดค้น                       ก่อเกิดผลวิชาจิตวิทยา
 และกลุ่มพลวัตรมุ่งปรับปรุง                         เพื่อจรุงมีส่วนร่วมคนงานหนา
 และเพิ่มผลตอบแทนจนนำพา                      เป็นที่มาทฤษฎีแรงจูงใจ
            สูตรสำหรับสมการดังกล่าวนี้              D คูณ V และคูณ Fมากกว่า R
 หากขยายความอักขระที่กล่าวมา                  ตัว D หนาคือความไม่พอใจ
 ส่วนตัว V เป็นตัวย่อวิสัยทัศน์                      อีกตัวชัด F คือก้าวแรกหนอ
 และตัว R คือต่อต้านเพื่อชะลอ                    ที่ถักทอสมการให้เห็นจริง
            องค์ประกอบสามส่วนที่เกิดก่อ          มีเพียงพอเอาชนะการต่อต้าน
สมการการต่อต้านช่วยสร้างฐาน                    เข้าใจงานแนวทางลดปัญหา
หนึ่งไม่พอใจสถานการณ์ปัจจุบัน                   สองนึกฝันวิสัยทัศน์ในภายหน้า
สามบรรลุถึงวิสัยทัศน์เพื่อนำพา                    ความก้าวหน้าบังเกิดประเสริฐดี        
 
 
หมายเหตุ:    สมการการเปลี่ยนแปลง (Change Equation)
        
          =   D  X  V X  F    >  R
   
          =    Dissatisfaction X Vision X First Step     >  Resinstance to Change    
                     

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)