ผลงานวิจัยของภาวะผู้นำแบบปรับเปลี่ยน ตอนที่สอง
การศึกษาในวรรณกรรมเกี่ยวกับองค์การเสนอแนะว่าผู้นำแห่งการปรับเปลี่ยนมีความสัมพันธ์กับผลที่ได้รับที่แตกต่างกันเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ใช่ผู้นำแบบปรับเปลี่ยน ตัวอย่างเช่น ผู้เรียนของผู้นำแบบปรับเปลี่ยนมีความขัดแย้งในบทบาทค่อนข้างน้อย มีผลงานสูงกว่าและมีความพึงพอใจในงานสูงกว่าผู้เรียนที่มิใช่ผู้นำแบบปรับเปลี่ยน (Howell & Frost, 1989) และแสดงถึงการให้ความช่วยเหลือมากพอ ๆกับการยอมรับนับถือ(Den Hartog, De Hoogh, & Keegan, 2007) ยิ่งไปกว่านั้นผู้นำแบบปรับเปลี่ยนได้มีการรับรู้ว่ามีประสิทธิผลในการสอนมากกว่าผู้นำที่มิใช่แบบปรับเปลี่ยน และผู้เรียนมีความเคารพนับถือผู้นำแบบปรับเปลี่ยนมากกว่า มีความรู้สึกในอัตลักษณ์ร่วมกันอย่างเหนี่ยวแน่นและมีการรับรู้ในผลงานสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับผู้นำแบบแบบไม่ปรับเปลี่ยน ผลจากการศึกษาในการจัดการทำให้เกิดความชัดเจนในข้อดีของภาวะผู้นำแบบปรับเปลี่ยนในองค์การ เมื่อไม่นานนี้นักวิชาการเริ่มต้นในการสืบค้นผลกระทบของภาวะผู้นำแบบปรับเปลี่ยนในห้องเรียนได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้มีความขาดแคลนวรรณกรรมเกี่ยวกับผู้นำแบบปรับเปลี่ยนในโรงเรียนในห้องเรียนโดยทั่วไปและในห้องเรียนมหาวิทยาลัยโดยเฉพาะ ยังคงมีการเลือกสรรวรรณกรรมเพียงเล็กนี้ที่เกี่ยวกับภาวะผู้นำแบบปรับเปลี่ยนในการกำหนดที่ใช้กับวิทยาลัยในการใช้ครูเป็นหน่วยวิเคราะห์ พอนเดอร์ (2008) ทำการทดสอบภาวะผู้นำในห้องเรียนในหน่วยวิเคราะห์มหาวิทยาลัยในฮ่องกงเพื่อค้นพบว่า หากมีการใช้ภาวะผู้นำแบบปรับเปลี่ยน ครูจะมีความพยายามเป็นพิเศษในการเพิ่มการรับรู้ของนักศึกษาของประสิทธิผลของผู้นำที่ดี และเพิ่มความพึงพอใจในตัวนักศึกษากับผู้นำในฐานะครู ผู้เขียนพบสหสัมพันธ์ในทางบวกระหว่างอัตราของภาวะผู้นำห้องเรียนสำหรับผู้บรรยายเพิ่มขึ้นด้วยอัตราการเพิ่มผลที่ได้นักศึกษาของผลได้ในห้องเรียนอย่างเห็นเด่นชัดดังที่ได้กล่าวมา นทำนองเดียวกัน ฮาร์เวย์และคณะ (2003) ทำการทดสอบผลกระทบของภาวะผู้นำแบบปรับเปลี่ยนเกี่ยวกับนักศึกษามหาวิทยาลัย นักวิจัยได้ใช้ตัวแปรอิสระที่เป็นผู้นำแบบบารมี,แบบเอาใจใส่ผุู้เรียน และแบบจำลองทางสติปัญญาและทำการทดสอบผลหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับทัศนคติความพึงปรารถนาของนักศึกษา ผลปรากฎว่าแบบจำลองผู้นำแบบแบบบารมีและแบบใช้สติตปัญญามีอิทธิพลในการทำนายผลการรับรู้ของนักศึกษาที่เกี่ยวกับกับผลงานของผู้บรรยาย (ตัวอย่างเช่นการเคารพเชื่อฟังผู้สอน ความพึงพอใจกับผู้สอน และความเชื่อถือไว้วางใจในผลการสอนของผู้สอน (ตัวอย่างเช่นเคารพเชื่อฟังผู้สอน, ความพึงพอใจผู้สอน,และความเชื่อถือไว้วางใจในตัวผู้สอน) และการใส่ใจเป็นรายบุคคลและแบบจำลองที่เน้นสติปัญญามีอำนาจในการทำนายอย่างสูงสุดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของนักศึกษา นักวิจัยใช้ข้อมูลนี้่เพื่อแนะนำผู้นำแบบปรับเปลี่ยนว่ามีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับตัวแปรผลที่สำคัญในบริบทห้องเรียนมหาวิทยาลัย โดยสรุป วัลลัมวาและคณะ (2004) ทำการศึกษากรอบความคิดภาวะผู้นำแบบเต็มรูปแบบ ผลกระทบของผู้นำแบบปรับเปลี่ยนและผู้นำแบบแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับผลที่ได้รับของผู้เรียน) และผลกระทบเกี่ยวกับผู้สอนในหน่วยวิเคราะห์มหาววิทยาลัย นักวิจัยค้นพบว่าการเพิ่มในอัตราของผู้นำแบบปรับเปลียนมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มอัตราของนักศึกษาในความตั้งใจที่จะทุ่มเทการเรียนเป้นพิเศษ การรับรู้ของประสิทธิผลของผู้สอน และความพึงพอใจในตัวผู้สอน . |