บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2012

ความสำคัญของทุนทางปัญญา (The Importance of Intellectual Capital)

           แนวคิดสามเส้าของทุนทางปัญญาชี้ให้เห็นว่า ในขณะที่บุคคลได้ดำเนินการ,รักษาและใช้ความรู้ (ทุนมนุษย์) ในการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างพวกเขา (ทุนทางสังคม) ในการดำเนินการเสริมสร้างความรู้โดยองค์การ (ทุนองค์การ)            ในทัศนะของแชทสเก็ล (2004) ได้แสดงให้เห็นว่า"สัจจธรรมก็คือองค์การไม่มีอะไรมากไปกว่าการขยายขอบเขตของความคิดและการกระทำของมนุษย์ มันคือความรู้,ทักษะ,และความสามารถของบุคคลที่ส่งเสริมค่านิยม, และมุ่งเน้นสิ่งที่เป็นปัจจัยเกี่ยวกับการดึงดูด,การ รักษา,การพัฒนาและการบำรุงรักษาทุนมนุษย์ในสิ่งที่พวกเขาแสดงออก ความรู้ของบุคคลเป็นการถ่ายทอดและบรรจุโดยผ่านกระบวนการจัดการความรู้   แต่มันเป็นสิ่งสำคัญที่พอกันกับสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาทุนทางสังคม   กล่าวคือเป็นวิถีทางในการนำความรู้ไปพัฒนาโดยผ่านปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคล   สิ่งนี้เป็นทัศนะโดยบอนติส และคณะ(1999) ซึ่งความรู้ไหลผ่านเฉกเช่นเดียวกับที่จัดเก็บความรู้ที่มีเนื้อหาสาระ ทุนทางปัญญาจึงพัฒนาและ...

แนวคิดรัฐบาลผู้ประกอบการ (Reinventing Government)

              จากแนวคิดของออสบอร์น และเกบเล่อร์ ให้ทัศนะว่ารัฐบาลไม่สามารถบริหารงานได้ดี เพราะว่ารัฐบาลมีโครงสร้างที่มีขั้นตอนที่ยาว (Tall) ,อืดอาดล่าช้า, เน้นรวมศูนย์อำนาจมากเกินไป,ยึดติดกฎเกณฑ์มากเกินไป  เขากล่าวว่า "เราได้ออกแบบหน่วยงานภาครัฐเพื่อปกป้องประชาชนในการต่อต้านนักการเมืองและข้าราชการที่มีอำนาจมากเกินไป หรือใช้เงินสาธารณะไปในทางที่ไม่ถูกต้องในการขโมยเงินสาธารณะ  เราจึงไม่สามารถจัดการกับเงินสาธารณะได้  ในการพยายามควบคุมทุกสิ่งทุกอย่าง จนกระทั่งเรากลับล้าหลังกับวิธีการจัดการแบบสั่งการในการทำงานให้สำเร็จ เป็นการกำหนดกฎเกณฑ์ในกระบวนการ, การควบคุมปัจจัยนำเข้าซึ่งเรามักละเลยกับผลลัพธ์ที่ได้  จึงเป็นผลที่ทำให้ออสบอร์น และเกบเล่อร์เสนอแนะความคิด "รัฐบาลประกอบการ" (Entrepreneur Government) เป็นรัฐบาลที่มีการรณรงค์และแข่งขันกับธุรกิจที่มุ่งแสวงหากำไร และหน่วยงานอื่น ๆของรัฐบาล               หลักการ 10 ประการของรัฐบาลรื้อปรับระบบ (Rein...

การนำศาสตร์หรือวิทยาการไปสู่การผลิต โดยเคนเนธ โอ.บี่จยอร์ค

            ไม่มีอะไรสำคัญอะไรเลยที่มากไปกว่าการประดิษฐ์คิดค้น,การสร้าง,และผู้ชำนาญในโลหะกรรมเป็นเรื่องเล่าของ คาร์ล จี.บาร์ธ ผลงานบุกเบิกกับแนวคิดของเฟรดเดอริค ดิบบลิว.เทย์เล่อร์ในการพัฒนาการจัดการแบบวิทยาศาสตร์  ด้วยขบวนการเคลื่อนไหวแนวคิดนี้เป็นการปฏิวัติการผลิตในอเมริกาและทุกหนแห่งในการใช้วิทยาศาสตร์มาทดแทนสำหร้บวิธีการกฎแห่งหัวแม่มือ (Rule of Thumb) ที่ครั้งหนึ่งเคยได้แพร่หลายเป็นการทั่วไปในโรงงานอุตสาหกรรม  ในขณะที่บาร์ธเองเป็นตัวแสดงสำคัญในเรื่องนี้    เขาได้แรงสนับสนุนจากวิศวกรคนอื่น ๆ จากประเทศนอรเวย์ที่เติมความสำคัญอย่างมากที่สุดที่แนวโน้มความคิดในปัจจุบัน              การจัดการแบบวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยการประยุกต์ผลที่เกิดขึ้นอย่างใคร่ครวญระแวดระวังและการสังเกตการณ์ต่อการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม  และดังนั้นจึงมีการจัดตั้งแผนกหนึ่งระหว่างฝายจัดการและอีกฝ่ายคือฝ่ายแรงงน  จึงมีความหมายถึง "องคาพยพของทฤษฎีและการปฏิบัติการที่มุ่งตรงต่อ...

องค์ประกอบของทุนทางปัญญา (The element of intellectual capital)

          องค์ประกอบสำคัญของทุนทางปัญญา มีอยู่ด้วยกัน 3 ประการได้แก่             1. ทุนมนุษย์ (Human Capital)  - คือความรู้,ความสามารถ, และสมรรถภาพในการพัฒนาและนวัตกรรมที่ดำเนินการในองค์การใดองค์การหนึ่ง             2. ทุนทางสังคม (Social Capital) - คือโครงสร้าง,เครือข่าย,และกรรมวิธีที่ทำให้บุคคลสามารถเข้าถึงและพัฒนาทุนทางปัญญาซึ่งแสดงโดยคลังความรู้และสายธารของความรู้ที่ได้รับมาจากความสัมพันธ์ภายในและภายนอกองค์การ             3. ทุนขององค์การ (Organizational capital) - คือความรู้ในเชิงสถาบันที่เป็นกรรมวิธีจากองค์การใดองค์การหนึ่งกล่าวคือมีการจัดเก็บความรู้ในฐานข้อมูล,คู่มือต่าง ๆเป็นต้น (Youndt,2000) มักเรียกกันว่าเป็นทุนเชิงโครงสร้าง (Structured capital) (Edwinson and Malone,1997) แต่คำว่าทุนองค์การได้รับชื่นชอบโดยยอห์นเพราะว่าเขามีทัศนะว่ามันจะช่วยชักนำให้มีความกระจ่างมากขึ...

แนวคิดเกี่ยวกับทุนมนุษย์ (1)

                แนวคิดเกี่ยวกับทุนมนุษย์เกี่ยวข้องกับการสร้างมูลค่าเพิ่มบุคลากรเพื่อตอบสนององค์การ เป็นถ้อยคำที่กล่าวมาอย่างดีโดยเชสเกล (2004) ว่ามันคือทุนมนุษย์กล่าวคือเป็นผู้สร้างความแตกต่างหลากหลายสำหรับองค์การและโดยหลักพื้นฐานที่แท้จริงสำหรับ "การได้เปรียบเชิงแข่งขัน"    สำหรับทฤษฎีทุนมนุษย์ดังที่ได้ระบุโดยเอห์เรนเบอร์กและสมิธ (1997) โดยมีแนวความคิดว่าบุคลากรในฐานะผู้เติมเต็มชุดของทักษะที่สามารถได้รับการว่าจ้างกับนายจ้าง  ความรู้และทักษะที่คนงานมี   ซึ่งมาจากการศึกษาและการฝึกอบรม ได้แก่การฝึกอบรมที่นำเอาประสบการณ์ที่สร้างสต๊อคของทุนการผลิต                 ทุนมนุษย์คือองค์ประกอบสำคัญของทรัพย์สินที่ไม่สามารถสัมผัสได้ขององค์การ   ทรัพย์สินที่สัมผัสได้แก่การสำเนาเอกสาร, การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า,ยี่ห้อและภาพพจน์บริษัท   แต่สิ่งต่าง ๆเหล่านี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งโนว์ฮาว (know-how)  จิ...

ทฤษฎีกลุ่มแกนหลัก (Core Group Theory)

               จุดประสงค์ที่แท้จริงขององค์การ    ยุคบริหารสมัยนวกาล       ไคล์เนอร์ เขียนข้อความอย่างกล้าหาญ      ว่าองค์การทุกแห่งต้องรักษา       ส่งเสริมกลุ่มแกนหลักให้พอใจ                โดยวิสัยมักเป็นในแนวหน้า       ฝ่ายจัดการระดับสูงเป็นหน้าตา                กลุ่มหลักหนามักมิใช่สิ่งซ่อนเร้น                 หรือทำสิ่งเลวร้ายหลบสายตา       แต่กลับพาความหวังดีที่สุด       ยกระดับมนุษย์ชาติให้ก้าวรุด                  เพิ่มแรงฉุดความสามารถบุคลา         กลุ่มแกนหลักองค์การคือพลัง       ...

สมรรถนะแก่นแกน (Core Competency)

                  สมรรถนะแก่นแกนขององค์การ    ความคิดอ่านโดยฮาเมล,พาฮาลัด         ในทัศนะกลยุทธ์อย่างเจนจัด                 ความแจ่มชัดมองจากในไปสู่นอก (inside-out strategy)         จากตัวแบบ Five Force แนววิเคราะห์      ผู้เริ่มก่อคือพอร์ตเตอร์ท่านกล่าวบอก         ตลาด,การแข่งขันโลกภายนอก              ลูกค้างอกเติบโตอย่างมากมาย                  ถือเป็นจุดเริ่มต้นไม่กลิ้งกลอก       ไม่ลวงหลอกเป็นกลยุทธ์หลัก         การแข่งขันถูกสร้างจากแรงผลัก    ...

การจัดการคัดสรรคนเก่ง (Talent Management)

                การจัดการเพื่อได้คนเก่งมาทำงานนั้น สิ่งสำคัญที่ไม่แพ้กันคือต้องเป็นคนที่ทำได้ดีมีความสามารถและทำประโยชน์ให้กับองค์การโดยส่วนรวม   บุคลากรต่าง ๆ นั้นมีมากแต่ผู้ที่มีวุฒิสามารถนั้นไม่ได้มีมาก    ในสังคมที่นิยมระบบอุปถัมภ์บางครั้งก็ละเลยหรือไม่ให้ความสนใจในเรื่องการรับคนเก่งมาทำงาน  อาจเป็นเพราะว่ากลัวคนเก่ง หรือคนที่เหนือกว่าทำให้ผู้บริหารรู้สึกว่าตนเองด้อยลง  จึงพยายามรับคนที่ไม่จำเป็นต้องเก่งแต่ขอให้ทำงานแบบรับใช้หรือประเภทใช่ครับ,ขอรับเจ้าค่ะ หรือนิยมคนที่ประจบเอาใจ ไม่ชอบคนมีความคิดเห็นต่างกันตนมาทำงาน เพราะรู้สึกว่าไม่ใช่พวกเดียวกัน ซึ่งเป็นแนวคิดที่ไม่ถูกต้อง เพราะความเห็นต่างนำไปสู่การต่อยอดที่ดีกว่า และการทำจิตใจให้กว้างขวางในการยอมรับความแตกต่างเป็นเรื่องที่นำไปสู่สังคมประชาธิปไตย  การใช้ระบบอุปถัมภ์มากเกินไปอาจนำไปสู่สังคมแบบเผด็จการได้ เพราะมนุษย์หลงและยึดมั่นในตัวบุคคล และไม่นิยมคนมีผลงานก็เป็นได้ ทำให้องค์การหรือประเทศชาติไม่เจริญรุ่งเรือง  ...

กรอบเค้าโครงความคิดของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงไป

ตามทัศนะของ Ashutosh ได้เปรียบเทียบกรอบความคิดปัจจุบันกับกรอบความคิดใหม่ในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงไปมีดังนี้                  กรอบความคิดที่เป็นอยู่                 กรอบความคิดใหม่ในอนาคต             1.  เน้นงาน (Task First)                    1. เน้นคน (People First)             2.  บุคคลไม่มีความสำคัญ                  2. ตัวบุคคลเป็นทรัพย์สินที่มีค่า             3.  ควบคุมโดยหัวหน้างาน                  3. ผูกพันในการทำงานเป็นทีม              4.  การตัดสินใจสั่งการจากเจ้านาย        4. การตัดสินใจแบบมีมติร่วมกัน (Con...

การประเมินผลงาน (Performance Appraisal)

-ความหมายของ การประเมินผลงาน -การใช้การประเมินผลงาน    ก.การวางแผนทรัพยากรมนุษย์    ข. การสรรหาและการคัดเลือก    ค. การฝึกอบรมและพัฒนา    ง. การวางแผนและพัฒนาอาชีพ    จ. โปรแกรมค่าตอบแทน    ฉ. แรงงานสัมพันธ์ภายใน    ช. การประเมินศักยภาพบุคลากร - ปัจจัยสิ่งแวดล้อมของการประเมินผลงาน - กระบวนการประเมินผลงาน - สิ่งที่ต้องประเมิน - ผลลัพธ์ของงาน - การประเมินศักยภาพ - ความรับผิดชอบสำหรับการประเมินผลงาน    ก.หัวหน้างาน    ข. ลูกน้อง    ค. เพื่อนร่วมงาน    ง. การประเมินผลตนเอง    จ. การประเมินผลลูกค้า  - วิธีการประเมินผลงาน    ก. การประเมินผลงาน 360 องศา    ข. วิธีการ Rating Scale    ค. การประเมินแบบ critical incident    ง. การประเมินแบบเขียนเรียงความ (Essay)    จ. มาตรฐานการงาน    ฉ. การจัด Ranking    ช. การกระจายแบบ Forced Distribution    ซ. Force-choice and weig...