"ทฤษฎีภัยพิบัติ" (Catastrophe Theory) ตอนที่หนึ่ง

             ทฤษฎีภัยพิบัตินั้นหมายถึง      การคำนึงเยียวยาการกระทำ
      ที่ต่อเนื่องโดยหลักคณิตนำ            ผลิตทำปรากฎผลไม่ต่อเนือง
      เกี่ยวโยงทฤษฎีความสับสน(chaos theory)  แม้ว่าผลปรับปรุงแยกส่วนเรื่อง
      แต่ปัจจุบันเห็นชัดอยู่เนืองเนือง       เป็นฟันเฟืองทฤษฎีความสับสน
            แม้ว่าธรรมชาติต้องใช้ที่เกื่ยวเนื่อง ซึ่งเป็นเรื่องคณิตศาสตร์ใช้ศึกษา
      แต่สาระทฤษฎีสับสนที่กล่าวมา       มุ่งนำพาเข้าใจการเปลี่ยนแปลง
      และความไม่ต่อเนื่องในระบบ         มีการพบว่างานนั้นชงักแรง
      จึงดำรงสถานภาพอย่างแข็งแกร่ง   หรือมุ่งแห่งผลลัพธ์จับประเด็น
            หากระบบยึดพลังการเปลี่ยนแปลง มีผลแห่งปฏิกิริยากัน
     เป็นหนทางดูดซับความเครียดพลัน   ยิ่งกว่านั้นเป็นโอกาสกลับแนวเดิม
     หากพลังการเปลี่ยนแปลงนั้นเข้มแข็ง ทฤษฎีแห่งภัยพิบัติอาจแต่งเติม
     อาจเกิดสภาพรักษาสถานภาพเดิม    ที่เพิ่มเติมต่อยอดในแนวใหม่
            จึงไม่มีวิถีย้อนจุดเดิม             โดยไม่เสริมสร้างแต่งเติมให้ดีกว่า
    จากตัวอย่างหลักการจินตนา            ขวดน้ำหนาวางบนโต๊ะที่ตั้งตรง
    โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดใด         กล่าวกันไว้คือดุลยภาพที่มั่นคง
    หากเราผลักคอขวดอย่างบรรจง        เจตน์จำนงใช้นิ้วค่อยผลักดัน
           ตอนนี้เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างแม่นตรง การเจาะจงดูดซับสิ่งเปลี่ยนแปลง
    ในลักษณะต่อเนื่องไม่เคลือบแคลง    เป็นจุดแจ้งดุลยภาพไร้มั่นคง
    หากปล่อยขวดของคุณไร้แรงดัน       ขวดอาจหันกลับไปดุลได้ตรง
    หากคุณผลักขอขวดบางจุดลง          อาจยืนยงดุลยภาพที่คงเดิม
           การเปลี่ยนแปลงภัยพิบัติเกิดดำรง ไม่บรรจงเปลี่ยนไปได้ต่อเนื่อง
   ทำให้ขวดล้มลงไม่เป็นเรื่อง             ที่หนุนเนื่องไม่มั่นคงอย่างปานกลาง
   จึงไร้ความมั่นคงดุลยภาพ                สิ่งเห็นทราบภาพเห็นเป็นแนวทาง
   เว้นแต่ขวดตกแตกจากโต๊ะพลาง       ไร้หนทางวางขวดได้ดังเดิม
  
 
    
    


      
               

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

108 คำคมขงเบ้ง คำคมสอนใจ จากขงเบ้ง

ตัวแบบงบประมาณผูกพัน (Beyond Budgeting) ตอนที่หนึ่ง