การเปรียบเทียบภาวะผู้นำ กับนักเผด็จการทรราชย์

ภาวะผู้นำและนักเผด็จการ
         การวิเคราะห์ตามความเชื่ออาจแสดงว่าผู้นำและทรราชย์มีการแบ่งปันคุณลักษณะหลายอย่าง ทรราชย์มักดูทีแรกว่าเข้มแข็งและเป็นผู้นำที่ดี    บางที่มีความคลาดเคลื่อนในการอธิบายเหตุผลว่าทรราชย์ส่วนมากบรรลุถึงตำแหน่งภาวะผู้นำ    แต่ตารางนี้สามารถช่วยให้เรามองเห็นความแตกต่างและหลีกเลี่ยงความสำคัญผิดในการยอมรับอำนาจตามตำแหน่งของทรราชย์โดยไม่ได้มีการตรวจสอบ

ภาวะผู้นำ (leadership) ทรราชย์ (Tyrants)
มีวิสัยทัศน์ โดยยึดถือความชัดเจน,ที่น่าสนใจ, คิดอ่านออกได้ดี และมีวิสัยทัศน์เชิงสร้างสรรค์เพื่ออนาคต โดยมุ่งเน้นสนับสนุนความคิดที่กว้างขวาง มีวิสัยทัศน์แต่ติดยึดในความคิดคับแคบ มีมุมมองที่แคบ
มีความมุ่งมั่น ยืนหยัดต่อการทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายและไม่สะทกสะท้านต่ออุปสรรค และความพ่ายแพ้ กระด้าง, ขี้เหนียว,ไม่ยอมเสียสละ,เข้มงวดเกินไป,ใจไม่เปิด,ไม่มีเหตุผล และดื้อรั้น
การมีอิทธิพลต่อผู้อื่น, สื่อสารอย่างเห็นอกเห็นใจในการข้องเกี่ยวกับบุคคล การมีอิทธิพล, มีบารมี,ท่าทางดูมีเสน่ห์, การข้องเกี่ยวกับบุคคล
มีความกรุณาปรานี, ยังคงผูกพันและมุ่งเน้นเกี่ยวกับเป้าหมายด้วยหัวใจและจิตวิญญาณ ถูกครอบงำ, เป้าหมายคือสาระสำคัญทั้งหมด จะต้องบรรลุให้สำเร็จไม่ว่าจะใช้จ่ายเท่าใด.
เพิ่มความเชื่อถือไว้วางใจ  ผู้ตามจะได้รับแรงจูงใจภายในและตอบสนองการสนับสนุนอย่างจริงจัง เพิ่มความเกรงกลัว ผู้ตามได้รับแรงจูงใจภายนอก และสนับสนุนจนบรรลุเป้าหมายเมื่อการบังคับสิ้นสุดลง มักจะมีความขุ่นเคืองไม่พอใจเสมอ
มีความกระตือรือร้น (Enthusiastic) เป็นคนคลั่งไคล้ง่าย (Zealot)
เป็นคนที่เชื่อมโยงกับคนอื่น แยกตัวจากคนอื่น ๆ ,ปลีกตัวจากสังคม,โดดเดี่ยว,และมีลักษณะตัวใครตัวมัน
เห็นอกเห็นใจคนอื่น มีความอ่อนน้อมถ่อมตน มีลักษณะเฉยเมยไม่แยแสคนอื่น, หยิ่งยะโส,เจ้ายศเจ้าอย่าง
มีการยกย่องตนเองอย่างดี ประเมินผลตนเองอย่างถูกต้องและเป็นจริง, เรียกร้องและยอมรับการทบทวนและยอมรับการวิพากย์วิจารณ์. มีการยกย่องตนเองต่ำ หรือมีความเปราะบาง, อัตตนิยม,มีความนิยมคล้ายพวกนาซี,หรือแม้แต่เป็นคนโรคจิต, มีการประเมินตนเองไม่ถูกต้องและไม่เป็นความจริง หลีกเลี่ยงและต่อต้านการวิพากย์วิจารณ์และยอมรับการวิจารณ์ในเชิงบวก
มีการยึดโยงเกี่ยวข้องกับการหาสาเหตุ ในองค์การและบุคคลที่เขานำ เกี่ยวข้องกับเรื่องของตนเอง
ถือหลักใจกว้าง และมีจริยธรรม ให้ความเป็นธรรมและมีความกรุณา มีหลักการที่คับแคบ หรือไร้หลักการ, เห็นแก่ตัว
มีความรับผิดชอบ ขาดความรับผิดชอบ
เชื่ออำนาจภายในตน
เชื่ออำนาจภายนอกตน
เป็นคนคงเส้นคงวา,เชื่อถือได้,มีตรรกะ, เป็นผู้นำพันธ์แท้,ปรับตัวได้ดี, และมีอารมณ์มั่นคง เป็นคนมีอารมณ์ไม่มั่นคงเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย,เป็นคนแปลกประหลาด, ฉุนเฉียวง่าย
มองโลกตามความเป็นจริง (Realistic) มองโลกในแง่ร้าย (Pessimestic)
ชอบฟังและชอบถกเถียงสนทนา พูดตามบท, บรรยาย,เทศน์,คำพุดเยิ่นเย้อ
เคารพความแตกต่าง และให้ความเท่าเทียม ไม่ยอมรับความเท่าเทียมอย่างแข็งขัน
เป็นคนเปิดเผย,ชอบสื่อสาร เป็นคนชอบเก็บตัว,ลึกลับ (Secretive)
เกี่ยวข้องกับเนื่อหาสารระ (Concerned with substance) เกี่ยวข้องกับภาพพจน์ (Concerned with image)
ยึดถือตามหลักฐาน ยึดหลักการครอบงำ
มีความเห็นอกเห็นใจในเพื่อนมนุษย์ (Considerate) รุกราน,ล่วงล้ำ และน่าสะพรึงกลัว
มีการกระทำที่สอดคล้องกับมาตรฐานผลงานอย่างสูง เป็นนักสมบูรณ์แบบนิยม,เรียกร้องเข้าหาตนเอง, มีความไม่สอดคล้องกับผลงาน
ตอบสนองด้วยการช่วยเหลืออย่างเต็มที่ และมีการทบทวนข้อมูลย้อนกลับแบบสมดุลย์ ชอบวิพากย์ และเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง
ตัวย่างผู้นำที่ดีค่ือเบนจามิน แฟรงกลิน, ยอร์ช วอชิงตัน, แคทเทอรีมหาราช, โทมัส เจฟเฟอร์สัน, มหาตมะคานธี, วินสตัน เชอร์ชิลล์ แฟรงกลิน ดี.รูสเวลล์, เนลสัน แมนเดลา, มาร์ติน ลูเธ่อร์ คิง จูเนียร์ ตัวอย่างผู้นำแบบเผด็จการได้แก่ อดอล์ฟ ฮิตเล่อร์, พอลพต, โยเซฟ สตาลิน, ซัดดัม ฮุสเซ็น, อีดี้ อามิน ดาดา, สโลโบแดน มิโลเซวิค ฯลฯ

        สรุป การส่งเสริมภาวะผู้นำเป็นสิ่งดีและสร้างสรรค์ เพราะผู้นำดีสร้างแต่คุณประโยชน์แก่สังคม และประเทศชาติ  แต่ผู้นำแบบเผด็จการหรือทรราชย์มักมีพฤติกรรมที่ผิดแปลกจากสังคมส่วนใหญ่ และมักทำให้สังคมเดือดร้อนจากการกระทำ ขาดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น   ดังนั้นถึงเวลาที่สังคมไทยควรสร้างภาวะผู้นำที่ดี และไม่ส่งเสริมผู้นำแบบเผด็จการโดยการศึกษาพฤติกรรมและเข้าใจบริบท ซึ่งเป็นหลักการในการสร้างสังคมที่ดีด้วย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ