ความเข้มข้นของบุคคลที่มีอุดมการณ์ (Idealogy)


             อุดมการณ์หมายถึงวิทยาการหรือการศึกษาเกี่ยวกับความคิด อุดมคติมีแนวโน้มที่จะหมายถึงวิถีทางที่บุคคคลคิดเกี่ยวกับแนวคิดเกี่ยวกับโลก และอุดมคติของวิธีการดำรงชีวิตที่อยู่ในโลก  สิ่งนี้คือความแตกต่างจากปรัชญาในความคิดที่อุดมคติที่ประกอบด้วยความคิดที่เป็นความคิดที่ดีที่สุด
             อุดมการณ์ของพระพุทธเจ้าคืออุดมการณ์ของการหลุดพ้นกับวงจรปัญหาของมนุษย์ คือการไม่เกิด,แก่,เจ็บ,ตาย    พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ค้นพบสัจจธรรมชีวิตอันยิ่งใหญ่ ทรงไม่ติดยึดกิเลสทั้งมวลที่มนุษย์ส่วนใหญ่ยังมีความรัก,โลภ,โกรธ,หลง  อันเป็นวิสัยของมนุษย์ปถุชนที่ยังมีอยู่่ในโลกนี้
             อุดมการณ์ของนักปฏิวัติผู้ยิ่งใหญ่ในโลกนี้ก็จะมีผู้นำตัวอย่างในสังคมได้แก่้อุดมการณ์ลัทธิคอมมิวนิสต์ของเหมาเจ๋อตง ที่ได้นำเอาแนวคิดของลัทธิมาร์กซ์ซึ่งเป็นเจ้าทฤษฎีนำมาประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติ   แต่ในความเป็นจริงอุดมการณ์คอมมูนิสต์ในป้ัจจุบันกลับมาผันแปรกลายเป็นประเทศที่เข้าสู่ทุนนิยมเสรี  แต่การปกครองเป็นแบบคอมมูนิสต์ 
            อุดมการณ์ของนักเรียกร้องเอกราชที่่ยิ่งใหญ่อย่างท่านมหาตมะ คานธี ที่ต่อสู้เรียกร้องเพื่อแสวงหาเอกราชแก่ชนชาติอินเดีย  เพื่อให้เกิดอิสรภาพที่่ยิ่งใหญ่  ก็ปรากฎว่าคานธีสามารถต่อสู้จนทำให้ประเทศอินเดียได้รับเอกราช  แต่อินเดียก็มีปัญหาเรื่องชนชั้นวรรณะที่มี 4 วรรณะ คือวรรณะพราหมณ์,แพทย์, สูทร, และจัณฑาล ซึ่งดอกเตอร์อัมเบการ์ ได้เขียนในรัฐธรรมนุญในมาตราที่ 1 ว่า ประชาชนอินเดียมีเสรีภาพ,ความเท่าเทียมกัน ไม่มีชนชั้นวรรณะ   แต่ในทางปฏิบัติวัฒนธรรมของคนอินเดียก็ยังติดยึดกับชนชั้นวรรณะ ไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงความเชื่อ,ค่านิยม  ซึ่งในปัจจุบันสังคมอินเดียกลายเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจเจริญรุ่งเรือง  ทำให้การมีชั้นวรรณะของอินเดียเริ่มลดน้อยลง และความตื่นตัวต่อประชาธิปไตยมากขึ้น
           อุดมการณ์ของประธานโฮจิมินห์  ผู้ซึ่งต่อสู้ทั้งสงครามภายนอก และภายใน  สงครามภายนอกกับประเทศฝรั่งเศส คือสงครามเดียนเบียนฟู  โฮจิมินห์ก็ประสบชัยชนะ และสามารถนำชัยชนะจากกองทัพปลดแอกประชาชนและขับไล่รัฐบาลที่เป็นฝ่ายตรงกันข้าม   เมื่อโฮจิมินต์เสียชีวิตลง   ประชาชนทั้งประเทศหลั่งน้ำตาให้กับโฮจิมินต์อย่างมากมาย ในความดีของเขา
ความแตกต่างของคนมีอุดมการณ์กับคนพอมีอุดมการณ์หรือคนไร้อุดมการณ์
           บุ่คคลที่มีอุดมการณ์ในสมัยหนึ่งอาจเปลี่ยนแปลงอุดมการณ์ได้เพราะสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป เช่นในอดีตเคยเป็นผู้นำอุดมการณ์แบบประชาธิปไตย แต่ปัจจุบันพอมีตำแหน่งหน้าที่การงานหรือมีผู้สนับสนุนให้มีเกียรติยศในสังคมก็ถึงกับเปลี่ยนแปลงอุดมการณ์ได้  ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความเข้มข้นของอุดมการณ์นั้นไม่ต่อเนื่อง แต่เป็นไปตามสถานการณ์   ขณะเรียกร้องนั้นตนเองไม่มีตำแหน่งแห่งหน แต่เมื่อตนเองได้รับเกียรติยศได้รับตำแหน่งก็มีการเปลี่ยนแปลงหันเหจุดยืนไป  กลายเป็นบุคคลที่มีปฏิกิรยาต่อต้านผู้เรียกร้องประชาธิปไตย หรือหาเหตุผลที่เข้าข้างตนเอง หรือสิ่งที่ตนเองยึดเหนี่ยว  โดยไม่สามารถเข้าถึงความแตกต่างทางความคิดได้ 
            บุคคลบางคนพอมีอุดมการณ์บ้าง  รักความเป็นธรรม หรือยุติธรรม แต่เนื่องจากมีภาระครอบครัว หรือมีสถานภาพทางสังคมสูง  ก็จะเป็นบุคคลที่ยังยอมรับสิ่งที่ถูกต้อง หรือความจริงได้  แต่เนื่องจากตนเองไม่นำตนเข้าไปเสี่ยงกับเหตุการณ์ เพราะบางสถานการณ์นั้น  หากเข้าไปเกี่ยวข้องก็อาจจะเป็นอันตรายต่อสิ่งที่เป็นอยู่  เช่นการหลุดจากตำแหน่งหน้าที่การงาน  หรือการไม่ได้รับเกียรติยศจากการเข้าไปเสี่ยง
             บุคคลบางคนไร้อุดมการณ์ และต่อต้านคนมีอุดมการณ์ที่บริสุทธฺิ์ ก็มักมีชีวติที่สุขสบาย และอยู่ในชนชั้นที่อยู่เหนือคนอื่น ๆ และไม่ต้องการให้คนมีความเท่าเทียมหรือมีเสรีภาพเท่าเทียมกับตนเอง เพราะเท่ากับว่าเกียรติยศที่เขามีอยู่ หรือเขาได้รับจะถูกแบ่งปันไป ทำให้ตนเองด้อยค่าในสายตาของสังคม เขาจึงอยากได้รับอภิสิทธิ์จากที่ชีวิตของเขาเป็นอยู่      และเขาจะกลายเป็นนักปฏิกิริยาต่อต้าน  และหลายครั้งก็นำไปสู่การใช้กำลัง หรือใช้อารมณ์เหนือเหตุผลในสิ่งที่มีความคิดไม่ตรงกับตนเอง    รวมทั้งสื่อต่าง ๆ ที่ไม่เปิดกว้าง หรือความคิดคับแคบก็ย่อมต่อต้านส่ิ่งที่เขาไม่คุ้นเคยกับความคิดแปลกใหม่  บางคนเรียนมาใช้สื่อหลากหลาย แต่วิธีใช้ชีวิตไม่หลากหลาย เพราะถูกอบรมกล่อมเกล่าให้มีความคิดที่ไม่แตกต่าง หรือการยอมรับแนวทางของคนมีอำนาจมากกว่า  หรือเป็นเพราะมีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง  
            บุคคลบางคนนอกจากจะไร้อุดมการณ์ แต่เป็นพวกตีกิน หมายถึงพวกที่รอจังหวะสถานการณ์ เพื่อแอบอ้างความชอบธรรม  เข้าไปทำการปฏิวัติรัฐประหารเพื่อให้พวกตนเองได้เป็นใหญ่ โดยไม่คำนึงเสียงประชาชนที่เลือกตั้งเข้ามา  และดูถูกมวลชนว่าซื้อเสียง  ทำให้ไม่สามารถเข้ากับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศได้   แต่ประชาชนเลือกตั้งในปัจจุบ้นเขามีความคิดว่าบุคคลที่ช่วยให้เขาได้รับชีวิตที่ดีกว่า เขาก็ย่อมเลือกคนที่เขาพึ่งพาได้
           สรุปว่า บางครั้งอุดมการณ์ที่คนหนึ่ง ๆ คิดนั้นความจริงในสังคมอาจเกิดขึ้นได้ หรือไม่สามารถเกิดขึ้นได้  ขึ้นอยู่กับประชาชนในประเทศ หรือระบบวัฒนธรรมหลอมบุคคลมาอย่างไร   หากหลอมบุคคลให้ยึดมั่นในหลักการเขาก็จะยึดมั่นในอุดมการณ์เชิงหลักการ  แต่หากหลอมบุคคลให้ยึดมั่นตัวบุคคลก็จะยึดมั่นในตัวบุคคลมากกว่าหลักการ  แต่การปกครองควรใช้หลักเหตุผลมิใช่ใช้อารมณ์ความรักชอบพอ  เพราะการมีความรักชอบพออาจทำให้มนุษย์เราหลงตัวบุคคล จึงละเลยต่อหลักการ  และบางครั้งถึงกับใช้อารมณ์ส่วนตัวเข้าไปตัดสินผิดถูกก้บบุคคล    ทำให้สังคมประชาธิปไตยไม่สามารถวิพากย์วิจารณ์เชิงสร้างสรรค์ได้ หรือปรับแก้ไขให้ดีขึ้นได้  การต่อยอดเพื่อความเหมาะสมเป็นธรรมไม่อาจทำได้หากบุคคลนั้นไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นได้   และมักจมอยู๋กับความคิดเก่่า ๆ ปฏิเสธความคิดใหม่ที่สร้างสรรค์ได้      สังคมที่ดีต้องยอมรับสิ่งแปลกใหม่ หรือความคิดต่าง ๆ ที่ไม่ตรงกับเราได้ จึงจะเป็นสังคมประชาธิปไตยที่ทำให้ประเทศเจริญได้  มิใช่เจริญเฉพาะกลุ่มบุคคลที่มีความคิดเออออห่อหมกเหมือนกัน ๆ    อุปมาสนามหญ้าสีเขียวที่เหมือนกัน ฤาจะสู้ดอกไม่หลากสี,หลากกลิ่น และหลากหลายความสวยงามได้ฉันใด     ประชาธิปไตยที่ยอมรับสีสัน,ความแตกต่างหลากหลายย่อมดีกว่า หรื่อสวยงามกว่าความคิดแบบต้นหญ้าสีเขียวเพียงอย่างเดียวเป็นแน่แท้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ