กลอนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ตอนที่ 62

     
            ปัจจุบันรัฐธรรมนุญที่เป็นแม่บทมีจุดอ่อนหลายประการที่ควรแก้ไขเพื่อให้รัฐธรรมนุญเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย  ซึ่งจากเวลา 5 ปีที่ผ่านมาได้แก่
            1. รัฐธรรมนุญในปี 2550 เป็นรัฐธรรมนุญที่มาจากการรัฐประหาร  การกล่าวอ้างว่าที่จำเป็นต้องรัฐประหารเพื่อแก้ไขปัญหาผู้นำที่มีคะแนนเสียงมากกว่า หรืออ้างว่าเป็นเผด็จการรัฐสภานั้น เป้นเรื่องที่ฟังไม่ขึ้น  เพราะผู้นำมีประชาชนส่วนใหญ่เขาเลือกมา ดังนั้นย่อมมีความชอบธรรมในการบริหารงาน และเป็นความต้องการของประชาชน แต่การปฏิวัติรัฐประหารนั้นประชาชนไม่ได้ส่งเสริมให้มาทำการรัฐประหาร
            2. รัฐธรรมนุญในปี 2550 มีลักษณะเขียนขึ้นมาเพื่อมุ่งกีดกันอดีตผู้นำเพียงคนเดียว แต่ไม่ได้เขียนรัฐธรรมนุญเพื่อประชาชนให้กับคนทั้งประเทศ  แม้แต่มติมหาชนว่าเห็นชอบต่อการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญ ก็ยังใช้อำนาจที่ใช้ปลายกระบอกปืนบังคับให้ราษฎรต้องยอมรับ  ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่เป็นประชาธิปไตย
            3. รัฐธรรมนุญในปี 2550 มีลักษณะการซ่อนเร้นอำนาจ เช่นการเปิดให้องค์กรอิสระสามารถชี้เป็นชี้ตาย หรือแม้กระทั่งการให้อำนาจตุลาการสามารถยุบพรรคการเมืองได้  ซึ่งเป็นการทำลายระบบพรรคการเมืองคู่แข่งทางการเมือง อันเนื่องจากการมีอคติ หรือปรารถนาต้องการได้อำนาจ แต่ไม่รู้จะแสวงหาอำนาจอย่างไร  ท้ายที่สุดก็หันมาใช้กำลังเข้ายึดอำนาจ โดยไม่สนใจหรือแคร์เสียงประชาชนแต่อย่างใด   เพราะสิ่งที่พูดไปนี้ไม่เกี่ยวกับการสนับสนุนอดีตผู้นำ แต่เนื้อหานี้เห้นได้ชัดว่าเมื่อมีการรัฐประหาร ได้เขียนกฎหมายนิรโทษกรรมตนเอง  โดยละเมิดกฎหมายรัฐธรรมนุญฉบับของประชาชนที่อุตส่าห์ร่างมาอย่างยากเย็น และมีประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุด โดยมิพักในการเกรงใจต่อราษฎร   เท่ากับว่าสิ่งที่กล่าวอ้างว่าไม่ควรเปลี่ยนรัฐธรรมนุญนั้นจึงเป็นเรื่องที่ฟังไม่ขึ้น
            4. ปัญหารัฐธรรมนูญ จากการใช้ในปี 2550 นั้นพบว่ามีการตัดสินใจในลักษณะที่องค์กรอิสระ หรือกระบวนการยุติธรรม เหมือนกับมีอำนาจเร้นลับเขัามากำหนด หรือสั่งการได้ ทำให้กระบวนการยุติธรรมมีสองมาตรฐาน  ความผิดที่มากกว่ากลับไม่ได้รับการลงโทษ, ความผิดที่เหมือนกันคนกลุ่มหนึ่งไม่มีการลงโทษ แต่หันมาลงโทษคนอีกกลุ่มหนึ่ง เสมือนการเลือกปฏิบัติ   บุคคลที่อนุรักษ์นิยมก็จะชอบรัฐธรรมนุญแบบนี้ แต่ประชาชนส่วนใหญ่เขาจะไม่ชอบ เพราะเขาอยู่ในฐานะเสียเปรียบ และเขาไม่มีเส้นสาย หรือตัวช่วย  เพราะในประเทศไทยปัญหาระบบอุปถัมภ์แทรกซึมเข้าไปทุกองค์การ แม้กระทั่งการสอบเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ยังมีการใช้เส้นสายกัน  ทำใ้ห้ความน่าเชื่อถือ หรือการยึดกระบวนการยุติธรรมเป็นที่พึ่งนั้นก็ทำให้ประชาชนไม่สามารถคาดหวังความยุติธรรมได้  แต่คนอีกกลุ่มหนึ่งกลับมีอภิสิทธิชน มีผู้คุ้มกัน กลับรอดพ้นภัยการลงโทษอย่างสบาย เท่ากับเป็นกฎหมายที่น่ารังเกียจอย่างยิ่ง  เพราะเป็นกฎหมายที่คนกลุ่มหนึ่งร่างมาเพื่อตัวเองได้รับประโยชน์ฝ่ายเดียว
            5. รัฐธรรมนุญปี 2550 เป็นรัฐธรรมนูญที่ไม่ใช่อำนาจอธิปไตยของประชาชนส่วนใหญ่ เป็นรัฐธรรมนุญที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีอำนาจใด ๆ  แม้กระทั่งการมีส่วนร่วมของประชาชน   ซึ่งเป็นกฎหมายที่มองข้ามความสำคัญของประชาชน หรือดูถูกดูแคลนประชาชน ซึ่งแทนที่จะมีการรณรงค์ในการเปลี่ยนจิตสำนึกของประชาชนในการเลือกตั้ง  ซึ่งต้องใช้เวลา  แต่มิใช่ใช้วิธีการที่สกปรก มาทำลายล้างประชาธิปไตยที่ประชาชนเขาเลือกตั้งมา  จึงเป็นแนวคิดที่ไม่ถูกต้อง
            6. รัฐธรรมนุญปี 2550 มีจุดอ่อนที่มีบทบัญญัติที่ควบคุมเสรีภาพ และมีลักษณะสร้างความหวาดกลัวจนเกินไป    และนักอนุรักษ์นิยมก็ยังติดยึดอยู่กับระบบเก่ามากเกินไป  จนไม่มองแนวทางใหม่ของโลกที่เปลี่ยนไป    และใช้อำนาจเบื้องสูงมาทำลายคู่แข่งทางการเมือง นับเป้นเจตนารมย์ที่ผิดพลาด  และเพื่อเป็นการล้มล้างอำนาจของรัฐบาลที่มาจากประชาชน
            7. รัฐธรรมนูญปี 2550 เป็นลักษณะรัฐธรรมนุญที่เหมือนของปลอม มิใช่ของจริง เพราะไม่ได้มาจากเจตนารมย์ของประชาชน   มีลักษณะเขียนกรอบรัฐธรรมนุญที่มีอคติต่อตัวบุคคล จนไม่คำนึงถึงการเขียนรัฐธรรมนุญเพื่อหลักการ  แต่เป็นการเอาใจฝ่ายค้านซึ่งมีเสียงข้างน้อยกว่า แต่ไม่เคารพเสียงข้างมาก   นับเป็นการยึดอำนาจจากราษฎรมาอยู่กับกลุ่มบุคคลเพียงกลุ่มเีดียว  เมื่อมีอคติการเขียนรัฐธรรมนุญก็เขียนอย่างไม่เป็นกลาง   และจากผลงานรัฐธรรมนุญปี 2550 บ้านเมืองมีแต่ความแตกแยก, แตกความสามัคคี   สิ่งนี้สะท้อนถึงผลงานที่ล้มเหลวในการตัดสินใจรัฐประหารโดยพลการ  โดยไม่ได้ไต่ถามราษฎรส่วนใหญ่ของประเทศว่าประชาชนต้องการหรือไม่?
            8. รัฐธรรมนุญปี 2550 สร้างความแตกแยกต่อสังคม ทำให้คนไทยไม่รักกัน มีลักษณะระแวงกัน  แต่หากเราใจเย็นและเปลี่ยนแปลงโดยฟังเสียงราษฎรส่วนใหญ่ ก็จะทำให้รัฐธรรมนูญที่ร่างนี้ทำความเสียหาย  เกิดการสังหารชีวิตคนมากมาย ซึ่งปากบอกว่าตนเองเป็นนักประชาธิปไตย แต่กลับใช้ความรุนแรงกับประชาชน  ซึ่งไม่เคยปรากฎว่าจะมีการสังหารทรัพยากรมนุษย์กันถึงขนาดนี้  ทำให้มองว่าประเทศไทยป่าเถือน ขาดอารยธรรม และใช้ความรุนแรง มีการออกกฎหมายความมั่นคงที่ใช้วิธีการปราบปรามอย่างป่าเถื่อน เสมือนเมืองไทยไม่ใช่เมืองพุทธศาสนา  มองมนุษย์เป็นผักปลา ขาดมนุษยธรรมอย่างร้ายแรง  หากเปรียบเทียบกับที่คนบางกลุ่มบอกว่าการปราบปรามยาเสพติดที่เกิดจากการฆ่าตัดตอนนั้น  เป็นเรื่องที่มีการสังหารกันเอง  และคนค้ายาเสพย์ติด และคนที่ทำลายสังคมคนทั้งประเทศนึ้ ถามว่าใครจะมีความผิดมากกว่ากัน   การปราบปรามผู้ที่ค้ายาเสพย์ติดย่อมมีความผิดพลาดน้อยกว่าการสังหารประชาชนที่เขามาเรียกร้องประชาธิปไตย
            9. รัฐธรรมนุญปี 2550 ควรวางระบบการตรวจสอบถ่วงดุลย์ และหาวิธีการที่จะพูดคุยกันในสภา   มากกว่าการแก้ปัญหาโดยการข่มขู่จากกลุ่มบุคคลภายนอกที่ไม่ได้ศรัทธาประชาธิปไตย หากจะต่อสู้ทางประชาธิปไตย มิใช่ใช้วิีธีสกปรก หรือการยึดอำนาจรัฐประหารประชาชน ซึ่งเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง  หากจะหาเหตุผลประการใดร้อยแปดพันเก้า ก็ไม่สามารถฟังเหตุผลได้เลย   เพราะเท่ากับทำลายอธิปไตยของประชาชน   ซึ่งเราจะพบว่าคนบางกลุ่มไม่ค่อยให้เกียรติต่อประชาชนคนไทยด้วยกัน    แต่จะใช้วิธีโจมตีผู้นำก่อน ๆ   ซึ่งเป็นวิธีการแก้ไขปลายเหตุ แต่ต้นเหตุคือการวางระบบรัฐธรรมนูญ, ระบบการศึกษามหาวิทยาลัย หรือทุกระดับการศึกษา แม้แต่องค์กรภาคประชาชน จึงจะทำให้ประชาธิปไตยพัฒนาก้าวไกล    และสิ่งสำคัญฝ่ายค้า่นก็ไม่ควรน้อยใจที่มีเสียงข้างน้อย หากท่านทำความดีทางการเมือง ไม่คิดวิธีการที่ไม่ดี   หากรัฐบาลบริหารงานไม่ดี  ประชาชนส่วนใหญ่เขาจะไม่เลือกตั้งเข้ามาเองครับ  ไม่ต้องใช้วิธีการรัฐประหาร เพราะนั่นคือการทำลายประชาธิปไตย และไม่มีทางที่คนทำการรัฐประหารจะมีจิตใจเป็นประชาธิปไตย มีแต่ความรุนแรงเท่านั้นที่จะนำมาใช้กับประชาชน
              สรุปการที่ฝ่ายค้านอ้างว่าการแก้ไขรัฐธรรมนุญเป็นเรื่องรีบร้อน  แต่ในขณะทำการรัฐประหารนั้นก็รีบแก้ไข  แต่เวลาที่มีการแอบซ่อนรัฐธรรมนูญโดยไม่ใช่ฉันทามติของประชาชน กลับบอกว่าไม่ควรรีบร้อน   เพราะการรีบแก้ไขรัฐธรรมนุญที่มิใช่ของประชาชนจำเป็นต้องรีบแก้ไข เพราะมันเป็นรัฐธรรมนุญที่ไม่เป็นกลาง และเป็นรัฐธรรมนุญที่เอาเปรียบราษฎร เพราะไม่ได้มาจากเสียงของประชาชน   การยึดโพลล์นั้นยังอาจไม่น่าเชื่อถือเพราะโพลล์นั้นอาจมีระบบการครอบงำทางการเมืองได้  เพราะปัจจุบันนักวิชาการหากมีผลประโยชน์ทางการเมืองแล้ว ก็มักจะวางตัวไม่เป็นกลางได้


    

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ