แนวคิดตัวเร่งปฏิกิริยา (Catalytic mechnism) ตอนที่หนึ่ง

          แนวคิดตัวเร่งปฏิกิริยา       เครื่องนำพาการจัดการอย่างเรียบง่าย
   โดยนักคิดจิม คอลลินอธิบาย    องค์กรกลายเป้าหมายสู่ผลลัพธ์
   บทความฮาร์วาร์ดบิวสิเนสริวิว   โดยรีนิวหัวเรื่องคณานับ
   ในอำนาจตัวเปลี่ยนเป็นแรงขับ   เจ้าตำรับหนังสือกู๊ดทูเกรท (Good to great)
          ตัวเร่งปฏิกิริยาแรงขับ        เชื่อมโยงกับสิ่งประสงค์และผลงาน
   แปรสภาพจากสิ่งไร้ขอบเขต      หาใช่เหตุหนทางงานภาครัฐ
   ไปสู่การเปลี่ยนแปลงอีกแบบหนึ่ง ควรคนึงอุปรากรณ์ต่อเติมตัด
   จากไฝ่ฝันไปสู่ความจริงชัด       เป้าหมายจัดยิ่งใหญ่บรรลุได้
          จากพื้นฐานงานวิจัยที่จำกัด คอลลินจัดห้าลักษณะแบ่งแยก
  ระหว่างตัวเร่งปฏิกิริยาแทรก       ที่ผิดแผกจากเครื่องมือในแบบเก่า
  หนึ่งตัวเร่งปฏิกิริยามุ่งกำหนด      ผลทั้งหมดปรารถนาไม่คาดเดา
  ไม่เหมือนระบบ,วิธีการเก่า          ที่คลุกเคล้าระบบราชการ
          แต่ตัวเร่งปฏิกิริยาเร้า         ให้ไต่เต้ายิ่งใหญ่ในองค์การ
  ด้วยยินยอมบุคลาการทำงาน       ด้วยจัดการในสิ่งไม่คาดฝัน
  เพื่อริเริ่มแผนงานการสรรค์สร้าง   เพื่อก้าวย่างออกจากต้นแบบกัน
  สองตัวเร่งปฏิกิริยานั้น                มุ่งแบ่งปันอำนาจผลประโยชน์
         ในระบบทั้งมวลที่ยืนยัน       ไร้เน้นกันครองอำนาจแบบดั้งเดิม
  สามตัวเร่งปฏิกิริยาเติม               เขี้ยวเล็บเสริมแตกต่างการมุ่งฝัน
  ใส่กระบวนการประกันวิสัยทัศน์     เน้นแน่ชัดเติมเต็มทุกสิ่งอัน
  ด้วยความคิดต่อยอดทุกวี่วัน        การเสกสรรค์เสริมสร้างสู่สิ่งดี
         สี่ตัวเร่งปฏิกิริยานั้น            ต่อต้านกันขัดแย้งในแนวเก่า
 ที่ออกแบบบุคคลกระทำ              เพื่อเน้นย้ำวิถีทางที่ถูกต้อง
 กลไกปฏิกิริยาเร่ง                       หาคนเก่งเหมาะสมตามครรลอง
และต่อต้านไม่แบ่งปันมุ่งมั่นปอง    ที่เกี่ยวดองค่านิยมแก่นองค์กร
         ห้าตัวเร่งปฏิกิริยาของ         ผลิตผองต่อเนื่องปัจจัยผล
เช่นประชุมนอกไซต์งานของบุคคล  ตื่นเต้นผลกลยุทธ์ที่ริ่เริ่ม
หรือวิกฤติที่มีผลกระชั้นชิด            การประดิษฐ์ตัวเร่งมุ่งส่งเสริม
ต้องสามารถยืนหยัดและต่อเติม      ต้องประเดิมอย่างต่ำเป็นสิบปี
          
    
          

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

108 คำคมขงเบ้ง คำคมสอนใจ จากขงเบ้ง

ตัวแบบงบประมาณผูกพัน (Beyond Budgeting) ตอนที่หนึ่ง