ทฤษฎีความคาดหวัง (Expectancy) คืออะไร?

          ตามทัศนะของนักวิชาการที่ชื่อวิคเตอร์ วรูม (Victor Vroom) เกี่ยวกับแรงจูงใจและการจัดการ ทฤษฎีของรูมคาดคะเนว่าพฤติกรรมเป็นผลมาจากทางเลือกภายใต้จิตสำนึกท่ามกลางทางเลือกต่าง ๆ จุดประสงค์ทางเลือกคือความพอใจสูงสุด, ความเจ็บปวดต่ำสุด  สำหรับเพื่อนร่วมงานของเขาได้แก่เอ็ดวาร์ด ลอเร่อร์ และไลแมน พอร์ตเตอร์  รูมให้ทัศนะว่าความสัมพันธ์ของพฤติกรรมของคนในที่ทำงานและเป้าหมายของเขามิได้เกิดขึ้นอย่างง่ายดายเหมือนจินตนาการของนักวิทยาศาสตร์คนอื่น ๆ   รูมตระหนักถึงความสำคัญผลงานของบุคลากรขึ้นอยู่กับปัจจัยของบุคคล เช่นบุคลิกภาพ,ทักษะ,ความรู้,ประสบการณ์และความสามารถ
          ทฤษฎีความคาดหวังกล่าวว่าบุคคลมีชุดของเป้าหมายที่แตกต่างกันและอาจได้รับแรงจูงใจหากบุคคลนั้นมีความคาดหวังในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ

ความคาดหวังในทฤษฎีความคาดหวัง
         ก.มีสหสัมพันธ์ในเชิงบวกระหว่างความพยายามกับผลงาน
         ข.ผลงานที่พึงปรารถนามาจากรางวัลที่อยากได้
         ค.รางวัลจะยังคงสร้างความพึงพอใจในความต้องการที่สำคัญ
         ง. ความปรารถนาที่จะสร้างความพึงพอใจในความต้องการมีความเข้มแข็งพอที่จะสร้างคุณค่าจากความพยายาม
         ทฤษฎีความคาดหวังอยู่ภายใต้ความเชื่อสามประการดังนี้
         1. แรงปรารถนา (valence) หมายถึงการเน้นเกี่ยวกับอารมณ์ที่คนยึดถือในการได้มาซึ่งผลที่ได้มาหรือรางวัล เป็นความต้องการที่อยู่อย่างซึมลึกสำหรับรางวัลภายนอกได้แก่เงิน,การเลื่อนตำแหน่ง,เวลาที่อิสระ,ผลประโยชน์เกื้อกูล, หรือรางวัลภายในได้แก่การได้รับเกียรติ,การมีความไฝ่ฝันในใจ,   ฝ่ายจัดการจะต้องแสวงหาว่าบุคลากรมีความประทับใจอะไร?
        2. ความคาดหวัง (Expectancy)  บุคลากรต่างมีความคาดหวั้งที่แตกต่างกันออกไป และระดับความเชื่อมั่นเกี่ยวกับสิ่งที่เขาสามารถลงมือกระทำ ฝายจัดการต้องค้นหาทรัพยากร,การฝึกอบรม,การจัดการดูแลในสิ่งที่พนักงานต้องการ
        3. พาหะนำไปสู่เป้าหมาย (Instrumentality) การรับรู้เกี่ยวกับบุคลกรว่าสิ่งที่พวกเขาจะได้รับอย่่างแท้จริงคืออะไร? อาจเป็นคำสัญญาที่ผู้จัดการกล่าวถึง  ฝ่ายจัดการต้องมี่ความมั่นใจว่าสัญญาในการให้รางวัลจะต้องเติมเต็มให้บุคลากรในสิ่งที่เขาตระหนักถึง
          รูมได้เสนะแนะว่าความเชื่อของบุคลากรเกี่ยวกับความคาดหวัง, พาหะที่นำไปสู่เป้าหมาย,และแรงปรารถนาหรือสิ่งที่อยากได้มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในทางจิตวิทยา     ด้วยเหตุนี้ฝ่ายจัดจะต้องสร้างแรงผลักดันในด้านพลังจูงใจ โดยที่พนักงานจะต้องแสวงหาวิถีทางในการสร้างความพึงพอใจ และหลีกเลี่ยงความเจ็บปวด  แรงผลักดันนี้สามารถทำเป็นสมการได้ดังนี้
                พลังจูงใจ  =  แรงปรารถนา X ความคาดหวัง X เครื่องมือนำไปสู่จุดหมาย
         สรุป ความคาดหวังของคนเราอาจมีความแตกต่างทางชนชั้นก็เป็นได้ เช่นชนชั้นสูงก็อยากให้คนชั้นล่างคอยเคารพนบนอบ ไม่อยากให้มีความเสมอภาคหรือมีความเท่าเทียมกัน เพราะหากมีความเท่าเทียมกัน พวกเขาอาจคิดว่าไม่ได้รับการยอมรับนับถือ หรือหมดคุณค่า หรือต้องการมีคนรับใช้ หากคนมีความเข้มแข็งแล้วคนชั้นสูงอาจไร้ค่า  ซึ่งจริง ๆ แล้วก็อาจมิได้เป็นเช่นนั้น แต่เป็นสิ่งซ่อนเร้นความต้องการลึก ๆ ไว้  และมิได้หมายความว่าคนชั้นล่างจะไม่นับถือหรือเคารพนบนอบ เพียงแต่คนชั้นสูงต้องกระทำตนให้มีความเข้าใจในความต้องการของคนชั้นล่าง และตอบสนอง และก็จะได้รับการยอมรับจากคนชั้นล่าง    และคนชั้นสูงอาจใช้คนชั้นกลางเป็นเครื่องมือข่มหรือกดคนชั้นล่างมิให้ลืมตาอ้าปากได้  เพื่อแรงจูงใจที่เป็นมิจฉาทิฎฐิอันเกิดจากความหลงในวัตถุ,ยศถาบรรดาศักดิ์ และชื่อเสียงเกียรติยศ จนลืมว่า มีลาภก็เสื่อมลาภ,มียศก็เสื่อมยศ, มีสูขก็มีทุกข์   ซึ่งสรรพสิ่งไม่ได้มีความจีรังยั่งยืน แต่ขึ้นอยู่กับพลังความดีของบุคคลซึ่งจะยั่งยืนมากกว่าพลังจูงใจที่มาจากวัตถุเท่านั้น


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

108 คำคมขงเบ้ง คำคมสอนใจ จากขงเบ้ง

วิศวกรสังคม (Social Engineer) มีบทบาทต่อการพัฒนาประเทศอย่างไร?