อย่าดึงประเทศถอยหลัง และเชื่องช้าล้าหลัง ด้วยความคิดที่ไม่ก้าวหน้า

    

          สิ่งสำคัญที่ประเทศไทยเกิดแนวคิดสองขั้วทางการเมืองที่อาจจะเป็นเน้นการเมืองมากเกินไป และทำให้เศรษฐกิจของประเทศของคนทุกระดับชั้นได้รับความเสียหาย และจากการประเมินสิ่งที่สังคมขัดแย้งกันซึ่งเป็นต้นทุนที่สูงมากทีเดียว  แต่สิ่งสำคัญที่เห็นเด่นชัดก็คือผลพวงแห่งความขัดแย้งนั้นยังไม่ปรากฎว่าเกิดผลดีกับประเทศชาติเลย    ทั้งนี้จำเป็นที่ทุกกลุ่มทางสังคมจะต้องประนีประนอม หรือยอมความกันบ้าง   แต่ถ้าหากไม่มีการลงเอยกัน ก็จะทำให้สังคมมีความแตกหักก้น และอาจจะเกิดสถานการณ์สุกงอมนำไปสู่การประหัตประหารระหว่างคนในสังคมซึ่งเป็นสิ่งที่เราคงไม่ต้องการให้เกิดขึ้น   แต่ปัญหายั้งไม่สามารถนำไปสู่แก้ข้อยุติได้   ซึ่งในต่างประเทศการขัดแย้งที่เกิดขึ้นมักจะเกิดความรุนแรงเพื่อต้องการการเปลี่ยนแปลง  แต่ในประเทศไทยยังมีอิทธิพลของศาสนาพุทธทำให้ประชาชนคนไทย่เชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรม มากกว่าจะแก้ปัญหาที่ใช้ความรุนแรง   แต่สภาพในปัจจุบันยังไม่สามารถรอมชอม หรือประนีประนอมกันได้  ซึ่งเราจะพบว่านักการเมืองบางกลุ่มไม่ค่อยยอมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนส่วนใหญ่ แต่จะกลายเป็นผู้แสดงคู่ความขัดแย้ง  ซึ่งการที่กฎหมายรัฐธรรมนุญถูกบรรจุไปในลักษณะที่มีอคติต่ออดีตผู้นำมากจนทำให้กฎหมายนี้ไม่ได้เกิดจากการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล หรือปราศจากอคติ หรือไม่ไว้วางใจเพื่อนมนุษย์จนเกิดความพอดี เพียงแต่ต้องการกำจัดคนเพียงคนเดียว ซึ่งเป็นคนที่คนส่วนใหญ่เชื่อฝีมือ และมีผลงานเพียบพร้อม  ซึ่งมีกลุ่มประชาชนจำนวนมากยอมรับ และศรัทธา  เพราะคุณภาพชีวิตในขณะที่อดีตผู้นำเคยเป็นรัฐบาล ได้ทำให้ประชาชนคนไทยจำนวนมากลืมตาอ้าปาก แต่ปัจจุบันคนไทยกลับจนและเหมือนสูญสิ้นความหวัง ยิ่งทำให้ประชาชนตื่นตัวหาสาเหตุ และต้องการการเปลี่ยนแปลงที่ดี เพื่อทำให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น   แต่บุคคลบางกลุ่มมีแนวคิดที่ไม่อิงประชาชน แต่ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่รับสื่อสารข้อมูลทางเดียว โดยเฉพาะสื่อหลักทำให้คนไทยบางกลุ่มเกิดการหลงเชื่อและนำไปสู่การมีอคติต่อตัวอดีตผู้นำ  จากผลดังกล่าวซึ่งเป็นความผิดพลาดของคณะรัฐประหารที่ประมาทต่อแรงศรัทธาต่อตัวผู้นำ   และยังด่วนสรุปว่าบุคคลที่ยอมรับอดีตผู้นำจำนวนมากเป็นคนที่ไม่ดี หรือเป็นผู้ก่อการร้าย  นับว่าเป้นการกล่าวหาที่เกินความจริง และจากผลพวงของปัญหากฎหมายรัฐธรรมนูญที่เขียนขึ้นมาโดยคนกลุ่มเดียวทำให้ประชาชนทั้งประเทศต้องเดือดร้อนกับความยุติธรรม เพราะกฎหมายกลายเป็นกฎหมายที่ไม่ได้มุ่งสร้างสันติสุข หรือสันติภาพ  กลับเป็นกฎหมายที่เปิดช่องให้กลุ่มผลประโยชน์ในการได้รับอำนาจ หรือแสวงหาอำนาจ หรือได้รับผลพวง หรือได้รับบุญคุณต่างตอบแทน ได้กลายเป็นเครื่องมือของอำนาจที่มาจากรัฐประหารอย่างแนบเนียน    การที่กฎหมายรัฐธรรมนุญมีอคติต่อตัวบุคคลทำให้ปัญหาแทนที่จะเป็นการเขียนขึ้นมาเพื่อสร้างสันติภาพ หรือเพื่อให้ประเทศชาติได้รับความเจริญก้าวหน้า กลับกกลายเป็นการเปิดช่องให้อำนาจกับบุคคลเพียงบางกลุ่ม หรือการโยกโย้ใช้กฎหมายที่เป็นโอกาสสองมาตรฐาน   เพราะกระบวนการยุติธรรมกลับไม่ได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ หรือมีความยุติธรรม มีลักษณะของการเลือกปฏิบัติ  และการปกครองถูกบังคับให้นำไปสู่ระบบการบริหารแบบเก่า หรือแบบจารีตประเพณี และไม่เหมาะสมกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง  และเราพบว่ากลุ่มบุคคลที่ต้องการอำนาจกำลังหาวิธีที่จะโค่นล้มอำนาจรัฐบาล   ทั้ง ๆ ที่ประชาชนจ้องตาเป็นมันอยู่ตลอดเวลา  และแนวคิดนี้ไม่สามารถทำได้โดยง่ายดาย และประชาชนมีความฉลาดมากขึ้น  เราอาจหลอกคนได้เพียงบางเวลา และเราไม่สามารถหลอกคนได้ตลอดเวลา      ความขัดแย้งนั้นเกิดจากกลุ่มผลประโยชน์่ต้องการแสวงหาอำนาจ ซึ่งมีกลุ่มต่าง ๆ ที่เป็นพันธมิตรร่วมกันแสวงหาผลประโยชน์โดยไม่สนใจรับใช้ประชาชน  แต่กลับใช้ประชาชนเป็นเครื่องมือในการสร้างอำนาจชอบธรรม    ในปัจจุบันบุคคลที่เคยสร้างปัญหาการรัฐประหารกลับมามีบทบาททางการเมือง และเป็นบุคคลที่นำการปรองดองซึ่งดูแล้วไม่สามารถเป็นไปได้เลย  แต่ควรจะเป็นบุคคลที่เป็นกลางทางการเมือง    ในปัจจุบันคนไม่ค่อยเชื่อนักการเมือง หรือโพลล์บางอย่างที่อาจจะชี้นำ หรือเป็นโพลล์ที่ไม่เปิดกว้าง  บางครั้งโพลล์อาจกลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองได้ เพราะกลุ่มผลประโยชน์อาจให้ผลประโยชน์จนทำให้มีความเกรงใจ หรือการเก็บข้อมูลมีการเลือกกลุ่มตัวอย่างที่เอนเอียงบุคคลฝ่ายใดฝายหนึ่ง  หากเป็นการสุ่มตัวอยางอย่างเป็นอิสระ และมีสัดส่วนพอ ๆ กัน ก็น่าจะได้รับความจรีงมากกว่าที่เป็นอยู่     ในหลักการพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าไม่ได้ให้คนเราเชื่ออะไรง่าย หรือหลงอะไรง่าย ๆ แต่ต้องพิสูจน์ความจริง  เพราะมนุษน์มักมีผลประโยชน์เกาะเกี่ยว  เพราะสังคมไทยเป็นสังคมหมู่พวก ความเป็นปัจเจกชน (Individualism) มีน้อย  แต่เรามักตัดสินใจโดยฟังคนอื่น ๆ มากกว่าการเป็นตัวของตัวเอง  และสังคมหมู่พวกมักเป้นสังคมที่เกาะเกี่ยวกับผลประโยชน์   ดังนั้นรัฐบาลควรปฏิรูประบบราชการโดยใช้ระบบคุณธรรมทั้งหมด 100% ทั้งภาครัฐและเอกชน  โดยให้ กพ.เป็นผู้ดูแลทั้งระบบ เช่นมีคณะกรรมการคุณธรรมระบบราชการทั้งหมด และการสอบบรรจุแต่งตั้งนั้น กพ.จะมีความเป้นกลางและมีอุดมการณ์รักษาระบบคุณธรรมอย่างเคร่งครัด แม้กระทั่งการใช้ระบบคุณธรรมในกองทัพ  ซึ่งหมายถึงการเลื่อนตำแหน่ง หรือบรรจุแต่งตั้งไม่ควรเปิดโอกาสแอบอ้างใช้ความเหมาะสม แต่ควรใช้การสอบแข่งขันเพื่อเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง มิใช่่ลากเอาคนที่เป็นพรรคพวกมาแต่งตั้ง  เพราะส่วนใหญ่อาจได้แต่คนจงรักภักดี และแอบอ้างความจงรักภักดี แต่ต้องเป็นคนเก่ง, เป็นคนมีศักยภาพ,มีผลงานเป็นที่ประจักษ์  เรื่องนี้รัฐบาลสามารถทำได้ เพื่อให้ข้าราชการกลายเป็นข้าราชการมืออาชีพ    แต่จากการบริหารราชการท่ี่ผ่านมาสร้างระบบอุปถัมภ์มาตลอดกว่า 30-40 ปี   ทำให้ระบบราชการมีจิตสำนึกที่ไม่เชื่อมโยงกับประชาชน แต่ทำงานให้ประชาชนสไปยังงั้น ๆ  แต่จริง ๆ แล้วอาจฝืนทำ หรือไม่ได้ทำเพราะใจมุ่งทำ เพราะจิตสำนึกการรับใช้ประชาชนมีต่ำ        มีแต่อดีตผู้นำที่มีฐานะร่ำรวย แต่กลับมีจิตสำนึกรับใช้ประชาชนมาก จึงเป็นที่พึงพอใจของคนส่วนใหญ่ของประเทศ   และทำให้คนบางกลุ่มอาจสูญเสียผลประโยชน์ จึงไม่เป็นที่พึงพอใจ   และต้องการได้รับผลประโยชน์มากกว่า  เราจะพบว่าการทุจริตคอรัปชั่นนั้นมิได้มีการปราบปรามอย่างจริงจัง ทั้ง ๆที่ก็มีสถิติให้เห็น แสดงว่าการปกครองของเรามีการพิทักษ์ปกป้องพวกพ้องที่กระทำความผิด กลายเป็นสังคมทีี่ถืออำนาจมากกว่าความถูกต้อง และสิ่งที่เราเห็นอยู่เป็นประจำคือพบว่ามีการทุจริตกันมาก  แต่เมื่อมีตัวช่วยทำให้คนกระทำผิดต้องติดคุก คนไม่มีตัวช่วยติดคุก  ทำให้สังคมไทยขาดความยุติธรรม  เพราะระบบเส้นสายของสังคมไทยคลอบคลุมาไปทั้งประเทศ ทำให้ความดีที่แอบอ้างนั้นเป็นความดีแบบพวกใครพวกมัน ซึี่งไม่ถูกต้อง   ความดีนั้นเป็นเพียงนามธรรม แต่ผลงานความสำเร็จนั้นเป็นรูปธรรม  แต่บุคคลที่อ้างความดีนั้นอาจอ้างแบบลอย ๆ ได้ เพราะหากมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกันอาจจะบอกว่าดี แต่หากมีผลประโยชน์ขัดแย้งกันก็บอกไม่ดี     บุคคลในสังคมที่เป็นกลางก็อาจจะเกิดความเบื่อหน่าย ทำให้เกิดค่านิยมผิด ๆ กันมาตลอดเช่นคำว่า
       - ความรู้ที่เรียนมาไม่ได้ใช้ ใช้อีกอย่างหนึ่ง  นั่นหมายความว่าระบบการเรียนมิได้สนับสนุนให้ใช้ความรู้มาปฏิบัติให้สอดคล้องกับงานที่ทำ แต่อาจกลายว่าต้องใช้เส้นสาย หรือการเกาะเกี่ยวคนมีอำนาจเพื่อตนเองจะได้เจริญในหน้าที่การงาน
       - ค่าของคนอยู่ที่คนของใคร  ทำให้การทำงานมิได้ใช้หลักความรู้ หรือหลักความสามารถ แต่กลายเป็นตอบสนองประโยชน์ตัวบุคคล มากกว่าจะนำความรู้ตอบสนององค์การประเทศชาติ ทำให้สังคมไทยติดยึดตัวบุคคลมากกว่าหลักการ    และคนที่ยึดหลักการจะกลายเป็นคนโง่ในสายตาของนักวิ่งเต้น ผู้ได้รับการอุปถัมภ์
       - เป็นผู้น้อยคอยก้มประณมกรเมื่อเติบใหญ่จะได้ดี   ซึ่งหมายความว่าต้องทำตามผู้ใหญ่ อย่าไปเสนอความคิดอะไรที่ผู้ใหญ่ไม่ชอบ ทำให้สังคมการงานขาดการแสดงความคิดเห็น หรือการยอมรับความคิดต่าง กลายเป็นสังคมรวมกลุ่มแบบเอออ่อห่อหมก (Groupthink)  เพราะถ้าคิดต่างชีวิตจะไม่ก้าวหน้า  แต่ปัจจุบันคนไทยกลายเป็นนักประชาธิปไตยกล้าพูด, กล้าแสดงความคิดเห็น, เนื่องจากมีสื่อต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย แนวคิดแบบเก่าจึงมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย
       - อย่าไปสนใจอะไรในเรื่องภายนอก  สนใจปรับปรุงบ้านตนเองให้ดี   ความคิดนี้ถ้าฟังอย่างไม่วิเคราะห์ก็มักจะเป็นเรื่องถูก  แต่ความคิดนี้เป็นความคิดของวาทกรรมที่ทำให้คนเห็นแก่ตัว และเอาตัวรอด   เพราะชี้ขวนให้คนไทยไม่นึกถึงส่วนรวม  คิดแต่เรื่องปรับปรุงเรื่องส่วนตัว   มีผลทำให้คนไทยคิดแต่การเอาตัวรอดถ่ายเดียว   แต่ถ้าหากบอกว่าคนเราควรหมั่นพัฒนาตนเอง แนวคิดนี้ไม่ผิด เพราะการปรับปรุงตนเองเพื่อตอบสนองสังคมเป็นสิ่งที่ดี  หริอคำว่าจงกวาดหน้าบ้านของตนเอง หมายถึงการหมั่นสำรวจข้อบกพร่องของตนเอง มิใช่มุ่งแต่คิดทำลายล้างผู้อื่น
        - การเมืองเป็นเรื่องเลวร้าย อย่าไปยู่งกับการเมือง   ผู้ที่แสดงวาทกรรมมักเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ ต้องการให้ประชาชนหลับหูหลับตา และเกิดความเบื่อหน่ายทางการเมือง  นำไปสู่ความคิดของกลุ่มบุคคลที่สร้างเหยือความคิดนำไปสู่การอ้างความชอบธรรมในการปฏิวัติรัฐประหาร ทำให้บุคคลบางกลุ่มแย่งอำนาจ หรือช่วงชิงอำนาจจากราษฎรไทยได้อย่างสะดวกสบาย
         สรุป วาทกรรมที่แสวงหาความชอบธรรมสำหรับบุคคลที่มุ่งแสวงหาอำนาจ จนละเลยในการสร้างประเทศไทยให้เจริญทัดเทียมอนารยะประเทศ  กลับเสียเวลา หรือนำนาวาพารัฐไปอย่างเชื่องช้า และยังไปถ่วงความเจริญของประเทศโดยรวม    เพียงเพราะความเห็นแก่ตัวของคนบางกลุ่มที่ขาดการปลูกฝังให้รักประชาชนคนไทยทั้งประเทศ





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ