ทำอย่างไรจึงจะต่อยอดรัฐธรรมนุญที่มีประสิทธิภาพให้กับประชาชน ?

              ปัญหาที่สังคมไทยยังแก้ไม่ตก หรือไม่สามารถจะยอมรับการแก้ไขรัฐธรรมนุญเพื่อเป้นประโยชน์ต่อประชาชน และเป็นผลดีต่อสังคมโดยส่วนรวมนั้น  นับวันเราจะพบว่านำไปสู่การยอมรับร่วมกันหรือยุติปัญหามิให้เกิดบานปลาย   สักษณะสำคัญของประชาธิปไตยนั้นมีมุมมองที่แตกต่างกัน  ทำอย่างไรจึงจะประนีประนอมเพื่อผลประโยชน์ได้  ซึ่งผู้เขียนจะวิเคราะห์ในการมองปัญหารัฐธรรมนูญ  การขัดแย้งจากแนวคิดที่มีมุมมองแตกต่างกัน  แต่่่่่่่ไม่ควรที่จะนำความขัดแย้งมีผลบานปลายนำไปสู่การใช้ความรุนแรง เพราะนั่นคือจุดจบของการเมืองไทย หรือประชาธิปไตยที่เป็นจริงได้ กลายเป็นว่ารัฐธรรมนุญที่คิดว่าดีที่สุดนั่นไม่สามารถเกิดขึ้่นได้จริง   เพราะมีจุดอ่อนและข้อจำกัดมิใช่เป็นเพียงรัฐธรรมนุญเท่านั้น   แต่ยังทำให้ประชาชนได้รับความเสียหายจากข้อขัดแย้งที่เกิดจากกลุ่มการเมืองทั้งในและนอกสภาที่ไม่ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง จึงได้นำมาเปรียบเทียบรัฐธรรมนุญเพื่อให้เกิดความชัดเจน
                         รัฐธรรมนุญปี 2540                               รัฐธรรมนุญปี 2550            
         1. เป็นรัฐธรรมนุญที่มาจากการร่าง     1. เป็นรัฐธรรมนุญที่ร่างโดยคนกลุ่มหนึ่งที่
             โดยการมีส่วนร่วมมากที่สุด              มาจากการรัฐประหาร และใช้คนกล่มน้อย
         2. ถูกกล่าวหาว่าในรัฐบาลทักษิณ     2. ถูกกล่าวหาว่ารัฐธรรมนุญมาจากเผด็จการโดยกลุ่ม
              เป็นเผด็จการรัฐสภา                      การเมืองที่อิงอำนาจร่วมกับคณะรัฐประหาร
         3. ถูกมองว่ามีคอรัปชั่นโดยฝ่ายทุน    3. ถูกมองว่าเป็นคอรับชั่นโดยกลุ่มผู้มีอำนาจ
         4. เป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน       4. เป็นรัฐธรรมนุญฉบับที่ไม่ได้มาจากประชาชน
         5. อำนาจรัฐผ่านตัวแทนรัฐบาล         5. อำนาจรัฐผ่านกลไกตุลาการหรือองค์กรอิสระ
                                                              มีอำนาจเหนือกว่าอธิปไตยของประชาชน
         6. อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน     6. อำนาจอธิปไตยมิใช่ของปวงชน ไม่ยอมรับอำนาจ
                                                             ที่แท้จริงของประชาชน
         7. เป็นรัฐธรรมนุญที่มีความชอบธรรม  7. เป็นรัฐธรรมนุญที่พยายามกีดกันผู้นำที่มีความสามารถ
             สูงกว่า                                        มากกว่า 
         8. เป็นรัฐธรรมนุญที่เกิดขัดแย้งน้อย   8. เป็นรัฐธรรมนูญที่ก่อปัญหาความขัดแย้งมาก             
         9. เป็นรัฐธรรมนุญที่ไม่ข่มขู่ประชาชน  9. เป็นรัฐธรรมนุญที่รับใช้คนกลุ่มน้อยของสังคม
             ที่มีความคิดเห็นที่แตกต่าง               ไม่อิงภาคประชาชนส่วนใหญ่
       10. เป็นรัฐธรรมนุญ่ทีีไม่ได้ยื้อแย่ง    10. เป็นรัฐธรรมนุญที่ได้มาจากรัฐประหารและบังคับการ
             อำนาจ แต่ได้มาจากประชาชน         ใช้กฎหมายหรือถูกเปลี่ยนแปลงโดยประชาชนไม่มี
                                                             โอกาสวิพากย์วิจารณ์
        สรุป   เชื่อว่าการทุจริตคอรัปชั่นเกิดขึ้นเกือบทุกรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นนักการเมืองหรือข้าราชการ แต่ทว่าข้าราชการและนักการเมืองที่เป็นคนดี ๆ ก็มีมากเช่นกัน ดังนั้นสิ่งสำคัญทื่จะวัดผลได้เป็นรูปธรรมคือค่าของคนอยู่ที่ผลของงานจึงเป็นสิ่งสำคัญ การแก้ไขรัฐธรรมนุญหากเป็นเจตน์จำนงของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศนั้นเป็นสิ่งที่ควรรับฟัง และนำมาปรับปรุงแก้ไข  มิใช่เป็นเพียงความต้องการของนักการเมือง หรือกลุ่มคนที่มีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น    ดังนั้นการรับฟังเสียงส่วนใหญ่จึงมีความสำเคัญ และเสียงส่วนน้อยควรให้เกียรติแม้ว่าสิ่งนั้นจะไม่ชอบก็ตาม เพราะนั่นคือการยอมรับมติของเสียงส่วนใหญ่ และเป็นอธิปไตยของประชาชน ดังนั้นประชาธิปไตยมิได้แปลว่าคนส่วนน้อยจะทำอะไรก็ได้โดยไม่แคร์เสียงส่วนใหญ่ และต้องยอมสูญเสียหรือเสียสละเพื่อเจตน์จำนงของคนส่วนใหญ่  จึงจะเป็นแนวคิดที่ถูกต้องมากที่สุด



                
     
           

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ