รัฐบาลไทยมีอำนาจสูงสุดที่ได้มาจากฉันทานุมัติจากประชาชนจริงหรือ?

       


รัฐบาลไทยมีอำนาจสูงสุดทื่ได้มาจากฉันทานุมัติจากประชาชนจริงหรือ?
           สิ่งที่คนไทยควรพิจารณาว่าประเทศไทยเป็นสังคมประชาธิปไตยที่สมบูรณ์หรือไม่ ประชาชนมีอำนาจอธิปไตยตามรัฐธรรมนูญจริงหรือไม่?   ซึ่งสิ่งที่ควรสังเกตว่าอำนาจของรัฐบาลในปัจจุบันมีลักษณะที่มีอำนาจสมบูรณ์ที่ได้รับมาจากเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนจริงหรือไม่  สิ่งที่เป็นข้อสังเกตมีดังนี้
           1. รัฐบาลที่มาจากเลือกตั้งโดยประชาชนไม่ได้มีอำนาจที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง เพราะยังมีกลุ่มบุคคลที่ต่อต้านความเป็นประชาธิปไตยโดยประชาชน   เช่นกลุ่มบุคคลที่มีลักษณะการส่งเสริมความเป็นเผด็จการ หรือการนิยมการรัฐประหาร
           2. รัฐธรรมนูญที่เขียนขึ้นมาจากการรัฐประหารนั้น มีลักษณะที่่ไม่ใช่เสียงส่วนใหญ่ แต่การณ์ปรากฎว่ากลุ่มบุคคลที่เป็นเสียงส่วนน้อยกลับต่อต้านการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนุญ  ซึ่งคนส่วนใหญ่มองว่าการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องจำเป็น เพราะลักษณะกฎหมาย หรือการแต่งตั้งองค์กรอิสระเป็นสิ่งที่ได้มาจากการคัดสรรบุคคลจากฝ่ายรัฐประหาร  ในเมื่อประชาชนต้องการความเเปลี่ยนแปลงโดยคืนอำนาจกลับมาเริ่มต้นใช้รัฐธรรมนุญปี 2540 นั้น ก็น่าจะเป้นเหตุผลที่ถูกต้อง   เพราะกฎหมายในปัจจุบันมีลักษณะการซุกซ่อนอำนาจ และมุ่งทำลายฝ่ายตรงกันข้ามอย่างไร้เหตุผล และไม่ชอบธรรมตามกติกาประชาธิปไตย และบุคคลที่แสดงการไม่เห็นด้วยก็มักกลายเป้นบุคคลที่อยู่ในเครื่องแบบ ซึ่งน่าจะเป็นบุคคลที่พิทักษ์ประชาธิปไตยของประชาชน
           3. รัฐบาลในฐานะฝ่ายบริหารไม่สามารถกำหนดนโยบาย หรือสามารถบริหารได้อย่างอิสระ หร่ือมีอำนาจเต็มในการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น   เช่นการไม่สามารถโยกย้ายข้าราชการในกองทัพเพื่อให้เกิดความเหมาะสมได้     ทำให้นโยบายที่รัฐจัดทำไม่สามารถจะดำเนินการได้อย่างเต็มที่ เพราะต้องมัวกลัวเกรง และไม่กล้าเข้าไปแตะเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่าได้
           4. ประชาชนในระดับล่างไม่มีอำนาจ เพราะต้องอาศัยอำนาจผ่านรัฐบาล ซึ่งฝ่ายรัฐบาลต้องมัวพะวักพะวงในการทำให้เป็นที่พอใจของบุคคลทั้งสองฝ่าย  ประกอบกับอำนาจของฝ่ายข้าราชการยังไม่ใช่กลไกที่จะผลักดันการปกครองประชาธิปไตยที่ก้าวไปข้างหน้า และมีข้าราชการจำนวนมากใส่เกียร็ว่าง และเพียงแต่มองสถานการณ์โดยไม่กล้าจะเปลี่ยนแปลง  ทำให้รัฐบาลรู้สึกว่าอำนาจนั้นมีไม่เต็มที่จึงมุ่งแต่เพียงประนีประนอมทำให้เกิดเกมส์แบบชนะ-ขนะ
           5. กลุ่มที่เป็นปรปักษ์ของประชาชน มักใช้อำนาจแอบแฝงโดยนำเอาอำนาจที่เป็นเบื้องสูงมาใช้หรือเป็นเกาะกำบังเพื่อความอยู่รอด และการได้มาซึ่งอำนาจ  ซึ่งแทนที่จะพัฒนาตนเองให้เป็นนักการเมืองแบบประชาธิปไตย แต่กลับกลายเป็นการจ้อง หรือแสวงหาโอกาสในการได้อำนาจอย่างไม่ถูกต้อง  พูดง่าย ๆ ก็คือไม่ยอมเล่นการเมืองตามกติกา  แต่เป็นการเล่นแบบสไลด์ หรือเล่นเกมส์ที่ทำให้ฟาวล์  แต่บังเอิญกรรมการตัดสินนั้นหากกลายเป้นพวกเดียวกัน  จะหวังได้อย่างไรว่าการเมืองไทยนั้นจะเป็นประชาธิปไตยได้อย่างไร   เพราะกรรมการตัดสินนั้นมีความเอนเอียงโดยไม่สนใจประชาชนเบื้องล่าง
          6. การที่กลุ่มบุคคลที่ต่อต้าน และไม่รักประชาธิปไตย ได้พยายามฝืนกระแสสังคม หรือไม่ยอมรับเหตุผลที่ถูกต้อง    แต่กลับใช้การบริหารกลยุทธ์หรือเล่ห์เพทุบายที่พยายามสร้างความหวาดกลัวแก่่ประชาชน หรือการข่มขู่ในรูปแบบต่าง ๆ หรือการใช้วาทกรรมที่ไม่สร้างสรรค์ เพื่อดิสเครดิตรัฐบาลอยู่เป็นประจำ ซึ่งการคัดค้านใด ๆ ควรทำอย่างสร้างสรรค์  ไม่ควรใช้วิธีการกลั่นแกล้ง ใส่ร้ายป้ายสี  หรือการพูดเพื่อให้ประชาชนอีกฝายหนึ่งเกิดความเข้าใจผิด หรือเข้าใจคลาดเคลื่อน  แม้กระทั่งสื่อต่าง ๆ ในปัจจุบันได้มีการปรับปรุงให้มีความเป็นกลาง และพยายามสร้างสื่อให้ทันสมัย หรือทันยุคที่เปลี่ยนแปลงไป
          7. เกมส์คุมอำนาจของประเทศไทยในปัจจุบัน  ได้แก่ฝ่ายปฏิกิริยาต่อต้านประชาธิปไตยของประชาชน ได้แก่องค์กรอิสระ, กระบวนการยุติธรรทที่มาจากรัฐประหาร, กลุ่มการเมือง, กลุ่มผลประโยชน์ ที่อาจเอนเอียงเข้าข้างซึ่งมิได้มีพื้นฐานมาจากอุดมการณ์  แต่ส่วนใหญ่มักเป็นเรื่องผลประโยชน์เกาะเกี่ยวซึ่งกันและกัน     การปกครองประชาธิปไตยที่ยึดประชาชนเป้นตัวตั้งจึงสูญหายไปอันเนื่องมาจากกิเลสของมนุษย์ที่มุ่งในเรื่องผลประโยชน์มากเกินไป   แต่ควรมุ่งเน้นเนื้อหาประชาธิปไตยหรือแก่นแกนประชาธิปไตย   เพราะผู้มุ่งอุดมการณ์มักไม่ค่อยได้รับผลประโยชน์  และเผลอ ๆ จะถูกมองว่าเป็นคนโง่   แต่อันที่จริงแล้วผู้มีอุดมการณ์เพื่อประเทศไทย หรือเพื่อสร้างประโยชน์แก่ประชาชน  เป็นบุคคลที่น่ายกย่อง  มากกว่าไปยกย่องคนมีอำนาจ หรือคนร่ำรวย   แต่หากมีอำนาจและมีความร่ำรวยแต่เป็นคนดีของประชาชน และส่งเสริมประชาธิปไตย ก็เป็นบุคคลที่น่ายกย่อง และเป็นเย่ี่ยงอย่างที่ดีของสังคม
           สรุป สิ่งสำคัญของประชาชนทุกภาคส่วน ทุกอาชีพ ไม่ว่านักการเมือง หรือประชาชน หรือนักศึกษา รวมทั้งบุคลากรภาครัฐ และธุรกิจ ควรให้การเอาใจใส่ต่อปัญหาบ้านเมือง และหันหน้าเข้ากำหนดอนาคตทื่้ดีของประชาชน  โดยปราศจากอคติ, การยึดโยงอำนาจโดยไม่สนใจปัญหาประชาชน, ความจริงใจต่อประชาชนไม่คดในข้องอในกระดูก   และรักประชาธิปไตย,ประเทศชาติ, และประชาชนเป็นสำคัญ ก็เป็นอันเชื่อว่าประเทศไทยจะเป็นประเทศหนึ่งที่มีความเจริญก้าวหน้า และล้ำหน้ากว่าประเทศอื่น  ๆ ซึ่งดีกว่าคนไทยเราจะมัวมาทะเลาะเบาะแว้งกัน แต่ควรสามัคคีทำสิ่งที่ดี่เพื่อประชาชนเพื่อให้ประเทศไทยเจริญก้าวหน้าโดยส่วนรวม 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ