ข้อเสนอแนะการระบายน้ำลงทะเลที่รวดเร็วขึ้น

      
        ได้มีผู้เสนอแนะการระบายน้ำผ่านผู้เขียนที่่เป็นภูมิปัญญาในการระบายน้ำที่เสนอแนะต่อรัฐบาลเพื่อนำไปพิจารณาว่าเหมาะสมเพียงใด หรือคุ้มค่าต่อการจัดการวิกฤติน้ำท่วมอย่างไรบ้าง   ดังที่ผู้เขียนขอสาธยายตามความคิดของประชาชนที่่อาศัยอยู๋ในหมู่ที่ 1 คลองห้าคือนายธันยธร ใจปทุม  โดยได้อธิบายว่าหากใช้วิธีการนี้แล้วจะสามารถลดเวลาในการระบายน้ำได้ถึง 1.5 เท่า   เช่นหากคาดคะเนว่าน้ำจะลดภายใน 45 วัน แต่หากใช้วิธีนี้จะลดเหลือเพียง 30 วันเท่านั้น    ซึ่งเขาได้อธิบายดังนี้
         "การระบายน้ำออกจากทะเลให้เร็วขึ้น  โดยใช้เครื่องยนต์ติดใบพัดช่วยดันน้ำควบคู่ไปกับการระบายน้ำปกติ  โดยใช้แนวประตูระบายน้ำคลอง 9-10 และ 11-13 ในฝั่งตะวันออกหรือในช่องทางระบายน้ำตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว    ใดยทำการใช้เครื่องยนต์ตัวหางใบพัดเพื่อทำการดันน้ำให้เร็วขึ้น  จากคลองรังสิตไล่ไปตามคลองที่สามารถระบายน้ำได้ในทุก ๆ จุดที่มีประตูระบายน้ำ หรื่อตามแยกใด  ๆที่สามารถส่่งน้ำถึงกันเป็นช่วง ๆ จนถึงทะเล   เครื่องยนต์ที่ติดใบดันน้ำแต่ละจุดจะมีประมาณ 3-4 ตัวในแต่ละจุดพื้นที่ที่ระบายน้ำในคลองที่คิดว่าะจระบายน้ำได้เร็ว และคล่องตัวที่สุดที่จะทำให้น้ำไหลเร็วขึ้นอีกหลายเท่า และน้ำจะแห้งเร็วกว่าเป้าหมายของการระบายน้ำตามที่กำหนดไว้ ในทางปฏิบัติคือนำเครื่องยนต์ขนาด 4 สูบ ติดหางดันน้ำบนแพเหล็กขนาดใหญ่  ในแต่ละจุด เช่นแพที่ใช้่กับรถแบ๊คโฮที่ี่ใช้งานในน้ำได้มาตั้งเป็นฐานในทุก ๆ จุดที่จะทำการระบายน้ำ   ในการกระทำอย่างนี้แม้ว่าจะเป็นความคิดเล็กน้อย  แต่หากมารวมกันแล้วทุกจุดหลายสิบหลายร้อยตัวแล้วก็สามารถระบายน้ำคลองรังสิต และลดปริมาณน้ำในแต่ละพื้นที่ได้อย่างดีมีประสิทธิภาพ และทำได้จริงด้วย  นอกเหนือจากที่ปฏิบัติกันจากการใช้เพียงเครื่องสูบน้ำเท่านั้น"
                 โดยสรุป การระบายน้ำโดยวิธีดังได้เสนอแนะมานี้  อยากให้รัฐบาลได้นำไปพิจารณา เพราะเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน  และทดลองดูและส่งเจ้าหน้าที่ประเมินผลจากการทดลองติดตั้งตามจุดต่าง ๆ สัก 3-5 จุด   หากประสบความสำเร็จก้สามารถนำไปใช้ได้ในทุกจุดที่จะทำการะบายน้ำได้ดี

         

        

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

108 คำคมขงเบ้ง คำคมสอนใจ จากขงเบ้ง

ตัวแบบงบประมาณผูกพัน (Beyond Budgeting) ตอนที่หนึ่ง