ผู้นำแบบรับใช้ หรือจิตอาสา (Servant Leadership or Volunteer Leadership) ตอนที่ 1


                
       ผู้นำแบบรับใช้ (Servant Leadership) ในปัจจุบันเริ่มเกิดมีมากขึ้น เนื่องจากมหาวิกฤติน้ำท่วมครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ไทย  โดยเฉพาะนายกรํฐมนตรียิ่งลักษณ์เป็นลักษณะที่แสดงภาวะผู้นำเป็นตัวอย่างให้กับผูินำคนอื่น ๆ ที่ควรเอาเยี่ยงอย่าง แม้จะเป็นนายกรัฐมนตรีผู้หญิ่งแต่การสู้งานนั้นในภาวะน้ำท่วมมิ่ค่อยได้หยุดพักอย่างสะดวกสบายเหมือนกับคนอื่น ๆ  จึงเกิดผุ้นำแบบรับใช้ในสังคมไทยมีมากขึ้น  ภายใต้วิกฤติการณ์ทำให้คนไทยมีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ และมีความห่วงใยในเพื่อนมนุษย์ด้วยกันมากขึ้น  ไม่ว่าชนชั้นระดับใดก็ได้ร่่วมมือร่่วมใจในการบริจาคช่วยเหลือ แม้กระทั่งบางครอบครัวที่มีปัญหาเรื่องน้ำท่วมบ้าน แต่ก็มีจิตอาสาในการช่วยเหลือบ้านเมือง นับเป็นมหาอานิสงฆ์ของบุคคลดังกล่าวที่ได้รับบุญกุศลในการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันอย่างมาก และนับว่าเป็นความภาคภูมิใจที่ธรรมชาติของคนไทยแท้นั้นเป็นคนที่มีเมตตากรุณาต่อผู้อื่น ซึ่งเป็นลักษณะที่ดี และสมควรที่รัฐบาลควรได้มีการส่งเสริมให้มีภาวะผู้นำแบบรับใช้มากขึ้น  โดยเฉพาะในหมู่ผู้นำข้าราชการทั้งหลาย โดยจัดให้มีการพัฒนาภาวะผู้นำแบบรับใช้เพื่อเตรียมพร้อมในการรองรับภาวะวิกฤฺติที่เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อเชื่อวัน
       โรเบอร์ต กรีนลีฟ (Robert Greenleaf) เป็นผู้นิยามหรือบัญญัติคำว่า "Servanct Leadership" หรือผู้นำแบบรับใช้จากบทความมที่เขียนขึ้นจากการสัมมนาในปี ค.ศ. 1970   ซึ่งผู้นำแบบรับใช้มักจะรับใช้คนอื่นมากกว่าจะให้คนอื่นรับใช้ เป็นการช่วยเหลือให้ผู้อื่นได้บรรลุถึงความสำเร็จ และการปรับปรุงสิ่งต่าง ๆให้ดีขึ้น  เป็นการผสมผสานอย่างมากระหว่างปรัชญาและภารกิจของสโมสรนักบินกับองค์การอื่น ๆ ในส่วนของการอาสาสมัคร  ผู้นำแบบรับใช้มีลักษณะรูปแบบธรรมชาติของการอาสาสมัคร เป็นผู้เติมเต็มความต้องการของสมาชิก แต่สิ่งนี้จะเกิดขึ้นจริงก็ต่่อเมื่อต้องกำหนดเป็นภารกิจขององค์การ จากหลักคำสอนของจีนโบราณที่กล่าวว่าการปกครองที่แท้จริงก็คือการรับใช้ผู้อื่นอย่างแท้จริง   ภาวะผู้นำแบบนี้มิใช่เป็นความคิดอย่างเป็นทางการในแบบภาวะผู้นำแบบเก่า   ผู้นำแบบนี้จะบรรลุหลักการพื้นฐานของค่านิยมและอุดมคติ เมื่อมีผู่้นำบางคนไม่ว่าระดับใดก็ตามภายในกลุ่มที่นำทางอย่างง่าย ๆ โดยยึด่ถือคุณความดีของการประชุมในความต้องการของทีมงาน  การมุ่งเน้นพัฒนาผู้อื่นนั้นคือบททดสอบของผลกระทบต่อบุคคลที่มีภาวะผู้นำแบบรับใช้
       ภาวะผู้นำแบบรับใช้คืออะไร?
       - ผู้นำแบบรับใช้คือบุคคลที่ทำหน้าที่รับใช้ผู้อื่น
       - ผู้นำแบบรับใช้คือผู้ที่ทำงานให้สำเร็จโดยการรับใช้ผู้อื่น
       - ผู้นำแบบรับใช้คือผู้นำมุ่งรับใช้ผู้อื่นโดยการเพิ่มพลังอำนาจโดยการใช้ความเก่งกาจสามารถของคนอื่นเพื่่อบรรลุเป้าหมายขององค์การ ในขณะที่เป้าหมายขององค์การกำลังมุ่งตอบสนองความต้องการและความเติบโตในฐานะมนุษย์ที่มีความต้องการคล้ายคลึงกัน
       -ผู้นำแบบรับใช้ถูกกำหนดภายใต้ความเชื่อที่ว่าการพัฒนาภาวะผู้นำเป็นความต่อเนื่อง, เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิตในระยะยาว
        สิ่งที่ภาวะผู้นำแบบรับช้ควรทำ?
       1. อุทิศตัวเองในการรับใช้ในความต้องการของผู้อื่นในองค์การ และผู้ถือุหุ้น
       2. มุ่งเน้นตอบสนองความต้องการของบุคคลที่เป็นผู้ตาม
       3. ปรับปรุงสมาชิกในการนำสิ่งที่ดีที่สุดในการนำไปใช้พัฒนา
       4. สอนแนะผู้อื่น และส่งเสริมการเปิดเผยตัวเอง
       5. รับฟังและสร้างความรู้สึกเป็นชุมชนขององค์การ
       6. ผู้นำแบบรับใช้จะยึดเอาหลักการพัฒนาคุณลักษณะ 12 ข้อในของภาวะผู้นำแบบรับใช้

     โดยสรุป  สำหรับสังคมไทยรีฐบาลควรส่งเสริมภาวะผู้นำแบบรับใช้ให้มีอยู่ทุกทั่วองค์การทั้งระบบภาครัฐ และเอกชนเ เพราะเหตุที่คนไทยเป็นสังคมที่มีโอกาสแสดงความมีน้ำใจ และช่วยเหลือ หรืออุทิศตัวเองเพื่อช่วยเหลือผู้เอื่นอย่างยั่งยืน มิใช่เป็นการช่วยเหลือรับใช้ในภาวะวิกฤติเท่านั้น  แต่คุณลักษณะของภาวะผู้นำแบบรับใช้ควรสถาปนาให้เกิด่ขึ้นในผู้นำของไทยทุกหน่วยงานให้มากที่สุด  เพราะโลกในอนาคตหรือโลกแห่งวิกฤติที่ทั่วโลกต้องเผชิญหน้า  ควรใช้วิกฤติครั้งนี้นำไปสู่การสร้างภาวะผู้นำแบบรับใช้หร่ือมีจิตอาสา ไม่ว่าในยามปรกติหรือในยามมีวิกฤติก็ตาม  เพื่อเตรียมพร้อมกับโอกาสจะเกิดวิกฤติในรูแบบต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต   สำหรับการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำ 12 ประการจะได้อธิบายในตอนที่สองต่อไป   

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ