รัฐบาลเงา หรือรัฐบาลสองนครา

          
 
            หากประเทศใดที่มีการปกครองแบบรัฐซ้อนรัฐนั้น หากกระทำไปในแง่บวกก็จะเป็นตัวช่วยที่ดีในการบริหารกิจการบ้านเมือง  แต่หากว่ารัฐซ้อนรัฐนั้นกระทำเพืยงเพื่อหวังผลทางอำนาจนั้นก็จะเป็นการบริหารงานแบบชิงด้ามจับทัพพี    รัฐบาลที่ได้อำนาจมาจากประชาชนหรือเป็นระบบประชาธิปไตย ผู้บริหารรัฐควรมีอำนาจเต็มในการบริหารกิจการบ้านเมือง ไม่มีการแทรกแซงอำนาจรัฐ ไม่ว่าจะกระทำการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ก็ตามก็ย่อมเป็นสิทธิและการใช้อำนาจอย่างชอบธรรม เพราะเราคงมองรัฐบาลที่ผลงานมากกว่่าการยึดติดที่ตัวบุคคล  การบริหารรัฐบาลที่มีลักษณะขั้วอำนาจสองขั้วอำนาจ คืออำนาจของประชาชนกับอำนาจที่ซ่อนเร้นหรืออำนาจแฝงเร้นที่เข้ามาแทรกแซงกิจการบ้านเมือง แลเะไม่ยอมรับความชอบธรรมของเสียงประชาชนก็ย่่อมแสดงว่าบุคคลที่มีความคิดเช่นนั้นเป็นบุคคลที่ไม่ได้รักประชาธิปไตย หรือไม่ได้ถือประโยชน์ของราษฎรเป็นสิ่งสำคัญกว่าระบบอำนาจแบบคณาธิปไตยหรืออภิชนาธิปไตย  ซึ่งเป็นการต่อสู้ของอำนาจระบบคุณธรรมตามระบบประชาธิปไตยกับการต่อสู้กับระบบอุปถัมภ์ที่่ใช้ความเป็นอภิสิทธิชนมากกว่าคนอื่น ๆ จนกระทั่งสังคมขาดความยุติธรรม กลายเป็นสังคมเล่นพรรคเล่นพวก หรือเป็นเกมส์เล่นผลประโยชน์ หรืทเกมส์การแสวงหาอำนาจ   บุคคลที่ไม่เข้าใจการเมืองแบบนี้ก็จตกหลุมของอวิชชา และกลายเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย ไม่ได้ใส่ใจกับหลักการประชาธิปไตย หรือมีความเข้าใจเพียงรูปแบบประชาธิปไตยเท่านั้น แต่ในเรื่องเนื้หา,วิธีการประชาธิปไตย และจิตใจแบบประชาฺธิปไตยที่ยังขาดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง  เพราะถูกอบรมบ่มเพาะมาผิด ๆ เปรียบเสมือนโมเด็มในคอมพิวเตอร์หากติดตั้งผิด ๆ แล้วความเข้าใจแบบประชาธิปไตยจะเป็นลักษณะไม่ลึกซึ้ง หรือละเอียดอ่อนของความเข้าใจในมนุษยชาติว่่ามนุษย์เกิดมามีความเท่าเทียมกัน และมีสิทธิเสรีภาพในดาวพระเคราะห์ดวงนี้  ดังนั้นกฎหมายที่ออกมาจะต้องประกันสิทธิเสรีภาพ และความยุติธรรมแก่ประชาชน แม้ว่ารัฐบาลอาจจจะไม่มีอำนาจอย่างแท้จริง  แต่อำนาจของประชาชนเป็นอำนาจที่ยั่งยืน   ชนชั้นนำที่ไม่ได้มีฐานอำนาจมาจากประชาชนก็จะไม่มีอำนาจอย่างแท้จริง แต่เป็นอำนาจแบบอหังการ์หรืออำนาจแบบเผด็จการที่ไม่ใช่ความต้องการของประชาชน  อาจเป็นการแอบอ้างความชอบธรรมในการยึดอำนาจได้เป็นบางครั้งบางครา แต่ท้ายที่สุดเมื่อประชาชนมีความต้องการและใฝเสรีภาพ,ประชาธิปไตย ก็คงไม่มีพลังอำนาจใด ๆ มาฝืนพลังประชาชนได้เลย  จากประวัติศาสตร์ของประเทศในทั่วโลกก็สะท้อนให้เห้นว่า บุคคลใดที่ฝืนสายธารความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศแล้วไซร้ เราก็จะพบว่ากลุ่มบุคคลนั้นท้ายที่สุดก็ไม่สามารถต้านทานกระแสได้ แม้แต่กระแสโลกก็ตาม  ดังคำพูดที่่ว่าอำนาจคือธรรม ธรรมคืออำนาจ  หากอำนาจขาคความชอบธรรมแล้วก็ไม่สามารถจะพานาวารัฐไปได้อย่างยั่งยืน  ซึ่งเราจะเห็นว่าประเทศไทยภายหลังการรัฐประหารแล้วประเทศไทยก็มักเดินถอยหลังมาตลอด และภาพพจน๋์ของประเทศมีความเสียหาย  มีกลุ่่มบุคคลที่ยึดอำนาจเท่านั้นที่อยู่กินสุขสบายแต่ประชาชนกลับต้องลำบากยากจน    ดังนั้นวิถีทางของรัฐบาลสองขั้วอำนาจ หรือรัฐบาลที่เป็นลักษณะมีอำนาจเงาซ้อนอยู่นั้น  หากนำมาใช้เป็นทางบวกย่อมเป็นผลดีมากกว่าผลเสีย  และยอมรับเสียงของประชาชนเป็นเสียงสำคัญ ไม่ควรดูถูกเสียงของประชาชน   ความอ่อนน้อมและไม่่หยาบกระด้างต่อความเป็นเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเป็นสิ่งที่ผู้นำไทยควรมีไว้อยู่กับตัว    ดังเช่นนายกยิ่งลักษณ์เป็นลักษณะผู้นำประสานสิบทิศ สามารถเข้าถึงกับบุคคลทุกฝ่ายได้ มีการทำงานที่มีความตั้งใจจริง และแก้ปัญหาได้  ขนาดน้ำท่วมแบบมหาวิกฤติขนาดนี้ยังสามารถแก้ปัญหาได้  จึงอยากให้ชนชั้นนำที่มุ่งหมายอำนาจนั้นให้มาร่วมด้วยช่วยกันแบบคนที่มี่แขนขาองคาพยพเต็มมนุษย์ มากกว่าเป็นรัฐบาลที่ปัดแข้งปัดขา หรือคอยสะดุดขาตนเอง ย่อมเป็นวิถีทางที่ไม่ฉลาดที่มนุษย์จะพึงกระทำกัน  เพราะหากประชาชนรับรู้ความจริงแล้วย่อมทำให้เสียภาพพจน์อย่างรุนแรง  จึงไม่เป็นประโยชน์ประการใดที่อำนาจแฝงใด ๆ จะมาล้มล้างอำนาจของประชาชน  ซึ่งนายกยิ่งลักษณ์เป็นเพียงตัวแทนอำนาจของประชาชนเท่านั้น
         รัฐบาลที่ดีควรมีแขนขาเต็ม ไม่ควรมีแขนขางอก และเป็นส่วนเกินของสังคมที่ไม่เป็นประโยชน์ เพราะเหมือนกับคนมีสิบเอ็ดนิ้วย่อมน่ารังเกียจ หรือมีนิ้วมือไม่ครบสิบนิ้ว  คนคนนั้นจะรู้สึกว่าตนเองมีปมด้วย   สังคมประเทศก็เช่นกันหากการปกครองมีความไม่เต็มส่วนหรือมีอำนาจงอกขึ้นมาโดยใช่ธรรมชาติของมนุษย์ที่แท้จริง ย่อมเป็นที่่รังเกียจหรือถูกดูถูกจากอนารยะประเทศแน่นอน  และกลายเป็นประเทศที่มีปมด้อย และเป็นมนุษย์ที่ไม่เต็มสมบูรณ์เป็นเพียงแต่พยายามสถาปนาบุคคลที่มีร่างกายไม่สมบูรณ์ให้ดูว่าสมบูรณ์  ซึ่งไม่ใช่ความจริงแท้ แต่เป็นความจริงแบบมายา หรือความจริงแบบตกแต่งสร้างภาพเท่านั้น  

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ