โจทย์ภาวะวิกฤติจากน้ำท่่วมของนายกยิ่งลักษณ์กับรัฐบาลที่ผ่านมา

          
      ถ้าหากเป็นโจทย์ภาวะวิกฤติน้ำท่วมของรัฐบาลยิ่งลักษณ์แล้ว  ถ้าพิจารณาด้วยความเป็นธรรมและด้วยความเข้าใจแล้ว  รัฐบาลยิ่งลักษณ์เจอปัญหาวิกฤติน้ำท่วมนับว่าเป็นมหาวิกฤติจริง ๆ กล่าวคือหากเปรียบเทียบน้ำหนักวิกฤติจะพบว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์เจอปัญหาวิกฤติมากกว่ารัฐบาลชุดใหน ๆ เท่าที่ผ่านมา และถ้าเปรียบเทียบยุครัฐบาลบรรหาร, สุรยุทธ์, และรัฐบาลอภิสิทธิ์แล้ว  จะหนักหนาสากรรจ์กว่ารัฐบาลที่ผ่านมาไม่ต่ำกว่า 10 เท่าตัว  โดยดูจากปริมาณ และระดับน้ำท่วม, จำนวนจังหวัดที่ท่วมประมาณ 60 กว่าจังหวัด มูลค่าความเสียหายพร้อมหื้ินฟูประมาณ 500,000-1,000,000 ล้านบาท  ปริมาณคนฆ่าตัวตาย รวมทั้งคนสูญเสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 400 คน  ปริมาณความเครียดของประชาชนนับพันกว่าคน   บ้านเรือนเสียหายยับเบินและคนตกงานกว่า 700,000 คน   ซึ่งฝ่ายค้านมีการโจมตีชนิดรายวัน  หากเป็นอดีตรัฐบาลซึ่งมีความได้เปรียบกว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์ซึ่งพิจารณาแล้วว่ามีตัวช่วยมากมาย ตั้งแต่เจ้าหน้รที่ภาครัฐ และกองทัพที่มีการเข้าขากันได้ก็ยังไม่สามารถที่จะแก้วิกฤติได้ปัจจุบันทันด่วน   ประกอบกับวิกฤติน้ำท่วมผสมกับวิกฤติการเมือง  กลายเป็นการซ้ำเติมและการบริหารจัดการวิกฤติจึงต้องใช้ความสามาถอย่างสูงของผู้นำ   และลำพังเพียงนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีคงไม่เพียงพอต่อการจัดการกับปัญหา   หากข้าราชการที่ม่ีหน้าที่ที่เกี่ยวข้องไม่ลุกออกมาช่วยรัฐบาล หรือมีการกลั่นแกล้งทางการเมือง เพราะพอใจกับอด่ีตรัฐบาลแล้วก็ไม่สามารถทำให้การปฏิบ้ติงานของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ประสบความสำเร็จในการแก้วิกฤติอย่างรวดเร็วได้   ประชาชนและบุคคลทุกฝ่ายควรเข้าใจ,เห็นใจ และให้กำลังใจกับรัฐบาลยิ่งลักษณ์เพราะเพิ่งเข้ามาไม่กี่เดือนก็โดนกับดับมรณะน้ำท่่วม    การปล่อยน้ำจากเขื่อนมากเกินไปในเดือนตุลาคมนี้ ทำให้น้ำท่วมอย่างรวดเร็ว ประกอบกับการทำงานของกรุงเทพมหานครไม่ได้ประสานงานกับรัฐบาล  พูดง่าย ๆ คือหากข้าราชการนไม่ปล่อยเก่ียร์ว่าง หรือไม่กลั่นแกล้งรัฐบาลเพราะเลือกปฏิบัติแล้ว  ปัญหาในการแก้วิกฤติคงจะราบรื่นไร้อุปสรรค หรือมีกลุ่มผู้ไม่หวังดีคอยกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดน้ำท่วมในกรุงเทพมหานครแล้ว ก็จะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์รัฐบาลยิ่งลักษณ์  และเป็นไปตามแผนของฝ่ายตรงกันข้ามกับรัฐบาลที่ต้องการใช้เวลาเพียง 6 เดือน เพื่อให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์เพลี่ยงพล้ำ และแก้ปัญหาไม่ได้ เป็นการบีบรัฐบาลทางอ้อม  ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเห็นใจรัฐบาลในปัจจุบัน เพราะมีการปล่อยน้ำกันมากผิดปกติ  เรื่องนี้รัฐบาลต้องสอบสวนหาผู้กระทำความผิด หรือม่ีความจงใจกลั่นแก่ล้งรัฐบางโดยกลุ่มผลประโยชน์ไม่ว่าจะเป้นข้าราชการที่อิงทางการเมือง, นายทุนหนุนการเมือง, และรัฐวิสาหกิจที่หากินแบ่งผลประโยชน์กับรัฐบาลในอดีต  นับว่าเป็นเรื่องที่ไม่สง่างาม และเป็นเรื่องที่ประชาชนวิจารณ์กันทั้งประเทศ     ดังนั้นจึงปรารถนาให้ผู้ที่กระทำความผิดได้กลับตัวกลับใจ อย่างน้อยความผิดบาปที่กระทำกับประชาชนจะน้อยลงก็ตาม   แต่กรรมที่กระทำกับประชาชนโดยทั่วไปย่อมเป็นกรรมที่รุ่นแรงที่สุด และคงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น และถือเป็นบทเรียนสำคัญที่พวกเราคนไทยทุภคนควรมีความสามัคคี ซึ่งปัจจุบันเราก็จะเห็นว่ามีผู้อาสาสมัคร หรือเจ้าหน้าที่ภาครัฐหลายหน่วยงานได้ร่วมด้วยช่วยกัน  ภายใต้วิกฤติบางอย่างกลับเป็นโอกาสสำคัญที่ทำให้คนไทยได้รู้จักเสียสละ, แบ่งปัน, ช่วยเหลือ ทำให้คนไทยเรามีความเห็นอกเห็นใจร่วมกันบริจาคช่วยน้ำท่วมกันอย่างมากมาย
     ข้อเสียของวิกฤติน้ำท่วม
       1. ความเสียหายทั้งชีวิต และทรัพย์สินค่อนข้างมาก
       2. สุขภาพจิตของประชาชนหลายคนมีความวิตกกังวล,เครียด, บางคนมีความคิดฆ่าตัวตาย
       3. ข้าวของแพง,มีการกักตุน, ประชาชนที่ไม่มีรายได้เดือดร้อน
       4. มีโจรขโมยข้าวของบ้านเรือนที่น้ำท่วม
       5. บริเวณที่เจ้าหน้าที่่ไม่สามารถเข้าไปช่วยเหลือได้รับความเดือดร้อนมากที่สุด
     ข้อดีของวิกฤติน้ำท่วม
       1. มีการช่วยเหลือกันของประชาชน เช่นการบริจาคเงินทอง,สิ่งของ,อุปกรณ์,ถุงยังชีพ, เรือ, มีการช่วยเหลือกันของผู้อาสาสมัครภายใต้วิกฤติที่ม่ีน้ำใจช่วยเหลือราษฎร รวมทั้งทหารที่ได้เสียสละแรงกายแรงใจอย่างมากในการช่วยเหลือครั้งนี้
       2. หมู่บ้านคนกรุงเทพจากที่ไม่เคยพูดคุยกัน หรือไม่เคยทักทายกัน ปัจจุบันในหมุ่บ้านมี่การรวมตัวกันมีการโอภาปราศรัย และพูดคุย ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน  คนทุกระดับชั้นเจอปัญหาเหมือน ๆ กัน
       3. มีการแสวงหาทาออกในการแก้ปัญหาอย่างทั่วถึง และทำให้มีวิสัยทัศน์เชิงะรบบมากขึ้น หรือการมองภาพรวมมากกว่าภาพแยก การมองส่วนรวมมากกว่าส่วนตน ฯลฯ
       4. ทำให้ประชาชนรู้จักปลงอนิจจังความไม่แน่นอน  ทำให้ประชาชนรู้จักเตรียมพร้อมกับการรับวิกฤติน้ำท่วมมีประสิทธิผลมากขึ้น  เกิดองค์ความรู้ใหม่ในการแก้ปัญหา
        5. ภายใต้วิกฤติสะท้อนความสามารถของผู้นำรัฐบาล  ว่าจะแก้ปัญหาได้รวดเร็วเด็ดขาดเพียงใด, เป็นการพิสูจน์พฤติกรรม,อารมณ์, ความเสียสละ, ความเมตตาปรานีของคนในสังคมมีมากน้อยแค่ใหน?แต่วิกฤติครั้งนี้การใช้ภาวะผูู้นำในการแก้ปัญหามีความสำคัญมากกว่าการจัดการปัญหาวิกฤติ เช่นการแสวงหาทางแก้ปัญหาได้รวดเร็ว,ถูกต้อง, ตรงเป้าหมาย, สิ่งใดควรจัดการเด็ดขาดก็สมควรทำ
         ปัญหาคุกคามวิกฤติ
         1. การโจมตีของฝ่ายที่ไม่ประสงค์ดีกับรัฐบาล หรือฝ่ายปฏิกิริยาที่ปรารถนาโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งเป้นไปตามแผนของฝ่ายโจมตีตามลำดับ
         2. การฟื้นฟูสภาพหลังน้ำท่วม ที่ต้องมีการฟื้นฟูทั้งประเทศเพื่อทำความสะอาดใหม่, ซ่อมแซมบ้านช่อง, การโต้แย้งที่จะตามมาเพื่อหาสาเหตุความผิดพลาดบกพร่องว่าใครเป็นผู้ทำให้น้ำท่วม ซึ่งผสมโรงกับฝนตามธรรมชาติ
         3. ประชาชนจนลงกว่าเดิม ทำให้มีผลกระทบต่อการที่รัฐบาลต้องเป็นภาระในการช่วยเหลือ การว่างงาน, การไม่สามารถประกอบอาชีพ
         4. การขาดสปิริตในการช่วยเหลือในยามวิกฤติ  แต่มีลักษณะการกล่าวโทษโจมตี โดยไม่ได้ศึกษาข้อมูล อันเกิดจากสาเหตุของอคติต่อรัฐบาล   ไม่ว่าทำดีแค่ไหนก็จะมองว่าไม่ดี ทำให้คนดีเสียกำลังใจในการทำงาน มีการบ่อนทำลายขวัญกำลังใจผู้ปฏิบัติงาน  แทนที่จะร่วมด้วยช่วยกัน หรือสามัคคีกันขจัดปัญหา และแบ่งเบาปัญหาร่วมกั้น   เพราะลำพังรัฐบาลคนกลุ่มเดียวไม่สามารถจะแก้วิกฤติได้ทั้งประเทศ แต่ต้องเป็นหูเป็นตาช่วยกันคนละไม้คนละมือจึงจะทำให้วิกฤติมหึมานี้แก้ไขลุล่วงไปได้
       โอกาสแก้วิกฤติ
         1. ทำให้ได้รับบทเรียนร่วมกันของประชาชน  และสามารถแยกแยะคนดีคนไม่ดี ภายใต้วิกฤติ คนมีน้ำใจกับคนไม่มีนำใจ, คนช่วยเหลือกับคนยุแหย่, คนที่มีความเมตตากับคนที่ขาดีความเมตตา, คนที่เห็นแก่ส่่วนรวมและคนที่เห็นแก่ตัว ฯลฯ
         2. ทำให้รัฐบาลต้องวางแผนแก้กันอย่่างเป็นระบบ ซึ่งรัฐบาลแต่เก่าก่อนไม่ได้วางแผนแก้กันมา คนที่พร้อมจะแก้ก็ขาดโอกาส  ทำให้การแก้ปัญหาขาดความต่อเนื่อง และยั่งยืน จึงเป็นโอกาสที่รัฐบาลต้องลงทุนในโครงสร้างขั้นพื้นฐานเพื่อแก้วิกฤติน้ำท่่วมอย่างรวดเร็ว และจัดการวิกฤติแบบมืออาชีพ
        3. เกิดสายใยทางสังคมแบบใหม่ ทำให้คนทุกระดับชั้นมีความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกันในยามยาก  และเป็นโอกาสของนายทุนในการแสดงสปริต และรับผิลชอบต่อสังคม ในการไม่ลอยแพคนงาน หรือ ช่วยกันยืนหยัด่แก้ปัญหา และฝ่ายคนงานก็ยินดีที่จะช่วยนายจ้างเพื่อกอบกู้สถานการณ์อั้นเลวร้ายร่วมกัน  รวมทั้งประชาชนได้ร่วมมือร่วมใจฟื้นฟูประเทศใหม่, การตลาดใหม่, ขจัดสิ่งเลวร้ายเก่า ๆ ออกไป และสร้างสิ่งใหม่ให้ดีขึ้น  เช่นการปฏิรูปทั้งระบบไม่ว่าระบบราชการ, รัฐวิสาหกิจ, บริษัทห้างร้านให้มีการจัดการที่ดี (Good governance and good company,good community)  โดยใหิวาระวิกฤติเป็นวาระแห่งชาติ และเป็นวาระที่ทุกองค์กร,หน่วยงานต้องคำนึงถึง และรัฐบาลต้องคอยกำกับ และสร้างกรรมวิธีดำเนินแก้วิกฤติอย่างเป็นขั้นเป็นตอน และเป็นระบบในฐานะผู้บุกเบิกแนวทางใหม่ในการแก้วิกฤติอย่างยั่งยืนได้
         
         



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

108 คำคมขงเบ้ง คำคมสอนใจ จากขงเบ้ง

ตัวแบบงบประมาณผูกพัน (Beyond Budgeting) ตอนที่หนึ่ง