กลอนท่องเที่ยววัดดังจังหวัดอยุธยา
เมื่อจรลีเลียบวัดหน้าพระเมรุ ไม่มีเณรพม่่าภาษากลับ
คราวเสียกรุงศรีครั้งสองไทยพ่ายยับ ที่ตั้งทัพพม่าตรงข้ามไทย
เพียงมีคลองคั่นกลางระหว่างกัน เพียงแต่หันปลายกระบอกเป็นปืนใหญ่
ทหารพม่าเผาทุกวัดจนเกรียมใหม้ เพียงเหลือไว้แต่วัดหน้าพระเมรุ
จึงเหลือซากสถาปัตยกรรมไว้ ควรค่าในความสมบูรณ์ในคุณค่า
สร้างสมัยอยูธยาตอนต้นมา ยุคพม่าพระเจ้าบุเรงนองนี้
ได้อัญเชิญพระพุทธรูปศิลาสี เขียวขจียุคสมัยทราวดี
นำจากวัดมหาธาตุตามพิธี นามมีดีเรียก "คันธารราฐ"
เป็นรูปปางห้อยพระบาทสง่าศรี อายุมีพันห้าร้อยปีปัจจุบัน
สร้างปีสองสี่ศูนย์เจ็ดนั้น ผู้สร้างสรรค์พระรามาธิบดี
เดิมชื่อวัดพระเมรุุราชิการาม โบราณนามรัชกาลที่สามนี้
ทรงบูรณะปฏิสังขรวัดเป็นอย่างดี เพิ่มทวีรักษาของเก่าแก่
มีโบสถ์ใหญ่เก้าห้องหาใดมี หันหน้าที่ในแม่น้ำลพบุรี
สร้างเป็นโบสถ์โบราณประเพณี แทนการชี้ทิศตะวันออกน้้น
เครื่องบนหรือหลังคาลาดลดหลั่น เป็นสามชั้นเชิงชายเป็นสีสัน
เสาแปดเหลี่ยมรองรับกลมกลืนกัน แต่งจำนรรจ์เป็นบัวหัวเสางาม
พระประธานในโบสถ์ที่วิจิคร ที่สถิตย์พระพุทธรูปแบบโบราณ
คือพระพุทธนิมิตรพิชิตมาร ทั่งองค์ท่านปิดทองทั่วทั้งกาย
สร้างด้วยเนื้อสัมฤทธิ์ขนาดใหญ่ ตามคติในสมัยอยูธยาปลาย
ทรงเครื่องแบบจักรพรรดิราชคล้่าย ศิลป์สืบสายยุคพระเจ้าปราสาททอง
วิหารพระคันธารราฐหนา ท่านพระยาไชยวิชิตเป็นผู้สร้าง
ในรัชสมัยรัชกาลที่สามวางแนวทาง กำหนดกว้างสามวายาวแปดวา
หันหน้าออกไปแม่น้ำลพบุรี บันใดมีสองข้างทางอยู่ข้างหน้า
หลังคามุงกระเบื้องดินเผาหนา ข้างบนหน้าประดับช่อฟ้าใบระกา
รวมทั้งหางหงส์หน้าบันชูวางท่า เป็นลายหน้ารูปดอกไม้และนกน้อย
ปิดทองหน้ากระจกดูเลิศลอย ลานก้านก้อยขดคล้ายเหมือนแห่งอื่น
คือวัดใหญ่สุวรรณารามเมืองเพชร ได้นำเคล็ดเกร็ดช่างมาเป็นพื้น
ภายในภาพเขียนเรื่องราวอย่างเต็มตื่น เพื่อหวังฟื้นประวัติและชาดก
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น