แนวทางแก้ปัญหาประชาธิปไตยแบบไทย ๆ
ในการปกครองประชาธิปไตยในประเทศไทยนั้นยังไม่ได้พัฒนาไปอย่างก้าวไกลนั้นหรือมีลักษณะการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน จึงเป็นโจทย์ใหญ่ของประเทศไทยในการแสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยผู้เขียนขอเสนอทางออกโดยการประยุกต์ดังนี้
1. หลักพระพุทธศาสนา ซึ่งมีสิ่งที่เป็นสัจธรรมของพระพุทธเจ้าที่ทรงค้นพบนั่นคืออริยสัจสี่ ซึ่งประกอบด้วย ได้แก่
ก.ทุกข์ คือสิ่งที่เป็นปัญหาที่ทำให้คนในชาติไม่สบายใจ และไม่มีความสุขได้แก่ การมองปัญหาหรือแนวทางแก้ไขปัญหาต่างกัน หรือการมีกรอบคิดที่ต่างกันในการแก้ปัญหา หรือการมีความคิดต่างมุมมอง
แต่ไม่สามารถประสานความคิดได้ นั่นคือเรื่องของประชาธิปไตยที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศยังไม่ได้รับอำนาจอธิปไตย แต่เกิดจากปัญหาการเมืองที่มุ่งโจมตีเรื่องผู้นำ หรือยึดหลักตัวบุคคลมากกว่าหลักการ
ข. สมุทัย คือสาเหตุที่เกิดทุกข์ ก็คือเกิดความขัดแย้งของกลุ่มบุคคลที่มีเสื้อสีต่างกัน แต่มีลักษณะที่ขัดแย้งกันในแง่ผลประโยชน์ ทำให้กลุ่มคนได้ใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรมก็ยิ่งทำให้ปัญหาเพิ่มมากขึั้น เพราะยังขาดความยุติธรรม หรือความเป็นธรรมที่เกิดขึ้น
ค. นิโรธ คือการทบทวนปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นมาจากสาเหตุใด สาเหตุอาจเกิดจากการขัดแย้งในระหว่างผู้นำกันเอง และลงมาถึงระดับล่าง ทำอย่างไรจึงจะพูดจาภาษาเดียวกัน หรือการยอมลดตัวเองเพื่อหาทางเชื่อมความสามัคคีของคนในชาติ โดยยึดหลักกติกามากกว่าการยึดหลักตัวบุคคล หรือความชอบพอส่วนบุคคล ทำให้ขาดหลักการที่จะถือเป็นหลักได้
ง. มรรค คือหนทางไปสู่การแก้ปัญหาการเมือง ซึ่งหากหนทางที่ใช้เป็นแนวทางแก้ไขโดยการมุ่งหมายเอาชนะกันของคนในชาติ ท้ายที่สุดก็ทำให้ประชาชนต้องมาล้มตาย,บาดเจ็บ ทำให้ประเทศไทยขาดทุนในด้านทรัพยากร,ในด้านคุณค่าของคนไทยที่เคยรักษาสิ่งที่ดีงามไว้ นั่นคือต้องคิดดี, และเห็นชอบในสิ่งที่จะนำประเทศไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง, ระลึกชอบในสิ่งที่จะธำรงรักษาประเทศให้มีความมั่นคง และไม่นิยมใช้ความรุนแรง มุ่งหมายให้ประเทศมีความสงบ ปฏิบัติชอบ คือการปฏิบัติต่อเพื่อนมนุษย์คนไทยที่มีความรักสมัครสมานกันมากกว่าจะปฏิบัติต่อกันในการทำลายล้างกัน เป็นต้น
2. หลักการจัดการบ้านเมืองเชิงสมดุลย์ (Balanced Scorecard for Governance) ซึ่งมี 4 มิติ ที่นิยมนำไปใช้ในภาคธุรกิจ แต่ผู้เขียนขอนำมาปรับใช้กับทางการเมืองเพื่อให้การจัดการมีความสมดุลย์ ซึ่งได้แก่
ก. มิติในด้านการเงิน (Financial Dimension) หมายถึงว่านักการเมืองไม่ว่าฝ่ายใด ๆ ควรล้มเลิกความคิดที่เข้ามาทำงานการเมืองเพียงเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ทางการเมือง และใช้ประชาชนเป็นฝ่ายสนับสนุน ผลสุดท้ายก็อาจจะทำให้ประชาชนทั้งสองฝ่ายต้องมาประจัญหน้ากัน เพราะมีแรงสนับสนุนจากทั้งสองฝ่าย และไม่ควรมุ่งแสวงหาความร่ำรวยทางการเงินจากการเล่นการเมือง แต่ควรทำการเมืองเชิงสร้างสรรค์ ด้วยการออกกฎหมายที่ให้คนธรรมดามาช่วยงานการเมืองได้ แต่มีความคิดที่ดีสามารถช่วยเหลือบ้านเมืองได้ แต่มิใช่การเมืองแบบลงทุนมุ่งหวังกำไร หรือกอบโกย จนเกิดปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น หรือการใช้เงินหว่านเพื่อการหาเสียงทางการเมือง ทำให้การบริหารขาดความสมดุล เพราะเป็นเรื่องของการได้เปรียบเสียเปรียบ ฝ่ายชนะก็อาจจะอ้างว่าได้รับการเลือกตั้งมา แต่ฝ่ายแพ้เมื่อลงทุนล้มเหลวก็จะกล่าวโทษว่าอีกฝายมีการซื้อเสียงมากกว่า ซึ่งการกล่าวโทษนั้นอาจจะไม่เป็นความจริง ทั้งนี้ เราไม่ได้กำหนดให้การสมัครการเมืองไม่ควรมีการใช้เงินซื้อเสียง หรือหากแก้ไขได้ยากก็ควรให้มีการศึกษา หรือการรณรงค์อย่างจริงจัง หรือการกำหนดกติกาที่ให้ภาครัฐเองเป็นผู้กำหนดงบประมาณในการจัดทำป้ายหาเสียง หรือการกำหนดสถานที่รณรงค์เลือกตั้งอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่ต้องใช้เงินซื้อเสียง
ข. มิติในด้านการเรียนรู้และการพัฒนา (Learning and Growth Dimension) เป็นมิติของการให้โอกาสประชาชนได้มีการศึกษาประชาธิปไตยให้พัฒนาก้าวไกลมากขึ้น การเมืองที่ผ่านมาจะมีการสร้างการเรียนรู้น้อยมาก แต่การเรียนรู้มักเกิดจากปัญหาขัดแย้งระหว่างกลุ่ม ทำให้ทิศทางการพัฒนาการเมืองไปกันคนละทิศทาง ขาดเอกภาพในการเรียนรู้ประชาธิปไตยไปในทางเดียวกัน ทั้งนี้ประเทศไทยเหินห่างต่อการให้ความรู้การเมืองประชาธิปไตยมานานจนทำให้ความเข้าใจที่ถูกต้องนั้นยังไม่ถึงแก่นแท้ของประชาธิปไตย
ค. มิติในด้านกระบวนการภายใน (Internal Process Dimension) หมายถึงพรรคการเมืองต้องมีการพัฒนาพรรคการเมืองไปสู่สถาบันการเมืองที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศยอมรับ ต้องเกิดจากภายในพรรคการเมืองที่เติบโตจากการส่งเสริมของประชาชนในพรรคการเมืองนั้น ๆ เพื่อให้พรรคการเมืองมีความเข้มแข็ง และเป็นพรรคการเมืองของประชาชน สามารถแก้ปัญหาสิ่งที่เกิดขึั้นจากความขัดแย้งต่าง ๆ ในเกิดความสมดุลย์ได้ นั่นคือภาวะผู้นำของพรรคการเมืองแบบประชาธิปไตยที่ได้ใจของคนส่วนใหญ่ในประเทศ สามารถหลอมรวมใจของคนในชาติได้ แต๋ก็มิใช่เป็นเรื่องง่าย เพราะต้องสร้างจิตสำนึกในการยอมรับความคิดเห็นต่าง ให้เข้าใจกันได้ ยอมรับความแตกต่างแต่ต้องไม่มองว่าเป็นศัตรต่อกัน
ง. มิติในด้านการสร้างความพึงพอใจแก่ประชาชน (Customer Satisfaction Dimension) นั่นคือการปกครองแบบประชาธิปไตย ต้องทำให้เกิดความสมดุลย์แก่ประชาชนทุกฝ่าย, ทุกระดับชั้น และพยายามสร้างความเสมอภาค,เท่าเทียมทั้งในด้านสิทธิเสรีภาพ และภราดรภาพ ซึ่งคนรวยก็ต้องมีจิตใจช่วยเหลือคนจนมิใช่การเอารัดเอาเปรียบ, การให้โอกาสที่เท่าเทียมของคนในสังคม, การไม่เลือกปฏิบัติเพราะความชอบพอ จะต้องสร้างวัฒนธรรมของคนในชาติที่เป็นประชาธิปไตยโดยเริ่มตั้งแต่ระบบครอบครัว,สังคม,องค์การ และประเทศชาติ เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทำให้ชนชั้นในระบบเดิมไม่อาจยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้ทันเหตุการณ์ ดังนั้นจะต้องมีวิธีการหลอมรวมความคิด และสร้างจิตสำนึกหรือจิตวิญญาณประชาธิปไตยที่รู้จักเสียสละ,ไม่หวงแหนอำนาจ, มุ่งหวังให้คนรุ่นต่อไปมีอนาคตมีโอกาส, สร้างกติกาที่เป็นธรรม ลดการแบ่งพรรคแบ่งพวกถือว่าเป็นคนไทยเหมือนกัน สร้างความสามัคคีมีน้ำใจต่อกัน ก็จะทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่น่าอยู่,น่าเที่ยว และรวมถึงการออกกฎหมายที่ทำให้ประชาชนทุกระดับได้รับความยุติธรรมถ้วนหน้า
3. ใช้หลักการบริหารแบบ win-win game คือการบริหารแบบชนะชนะ หรือแบบทุกฝ่ายเป็นผู้ชนะ ไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบมากจนเกินไป การบริหารทรัพยากรของชาติมีลักษณะแบ่งกันกินแบ่งกันใช้ มิใช่การผูกขาดตัดตอน ตั้งแต่้การผูกขาดอำนาจ,ผูกขาดทางเศรษฐกิจ,ผูกขาดการปกครอง,ผูกขาดความถูกต้องชอบธรรม ฯลฯ แต่เมือถึงคราวจำเป็นที่จะต้องให้ประชาชนในชาติช่วยเหลือกันก็ต้องมีแนวทางการขอร้องเพื่อให้มีการช่วยประเทศชาติในยามวิกฤติ เช่นการเพ่ิมภาษีคนรวยเพื่อช่วยคนจน, การปฏิรูปที่ดินจากผู้มีฐานะดี เพื่อเปิดโอกาสให้คนในชาติมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และการยกย่องคนรวยที่ช่วยเหลือคนจนให้เป็นที่ยอมรับของสังคม
4. การส่งเสริมยุทธศาสตร์การเป็นผู้นำต้นทุน หรือการสร้างความแตกต่างในการผลิตหรือบริการ นั่นคือผู้นำต้องสามารถทำให้ต้นทุนของประเทศต่ำลง การลดข้อขัดแย้งซึี่งทำให้ประเทศขาดทุน เสียชื่อเสียง และเสียชื่อวงศ์ตระกูล หรือเสียชือในทางประวัติศาสตร์ ผู้นำที่ดีก็ไม่ควรทำ แต่หันมาหาทางช่วยประเทศชาติฟื้นฟูวิกฤติ ไม่ยอมให้เสียหายด้วยน้ำมือของตนเอง แต่เป็นการจรรโลงประเทศชาติโดยไม่เห็นแก่ตัว แต่มองประโยชน์ส่วนรวมประเทศชาติเป็นสำคัญ
5. การสร้างประเทศชาติที่ไม่มีการแบ่งแยก นั่นหมายถึงไม่มีการแบ่งแยกทางชนชั้น, ไม่มีการแบ่งแยกในด้านดินแดน,ไม่มีการแบ่งแยกทางด้านอุดมการณ์ แต่มีหลักการและอุดมการณ์ที่ยอมรั้บร่วมกันที่เป็นสากล หรือเป็นสิ่งที่ยอมรับความเห็นต่างกันได้ แต่ไม่ใช้วิธีรุนแรง ยอมรับเสียงส่วนใหญ่ และไม่ละเมิดกฎเกณฑ์ในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และต้องมีความอดทนต่อความพ่่ายแพ้ทางการเมืองแม้ว่าจะมีอิทธิพลบางประการที่อาจเสียเปรียบแต่ก็ต้องอดทน จนประชาชนเห็นความดี ก็จะทำให้ได้รับชัยชนะในท้ายที่สุดได้
สรุปแนวทางแก้ปัญหาของชาติมียุทธศาสตร์หลายประการ สิ่งที่ผู้เขียนเป็นเพียงการนำเสนอภาพกว้าง ๆ ที่เป็นแนวทางให้คนไท่ยร่วมกันคิด ร่วมกันแก้ไขเพื่อให้บ้านเมืองของเราดีขึ้น พัฒนาดีขึ้น และทุกฝ่ายเป็นผู้ชนะร่วมกัน หากเรามีความขัดแย้งและไม่ยอมลดราวาศอก ผลสุดท้ายก็พ่ายแพ้กันทั้งประเทศ, ไม่มีใครชนะ แต่มีแต่คนแพ้,ประเทศแพ้เท่านั้น
1. หลักพระพุทธศาสนา ซึ่งมีสิ่งที่เป็นสัจธรรมของพระ
ก.ทุกข์ คือสิ่งที่เป็นปัญหาที่ทำให้คนใ
แต่ไม่สามารถประสานความคิดได้ นั่นคือเรื่องของประชาธิปไตยที่
ข. สมุทัย คือสาเหตุที่เกิดทุกข์ ก็คือเกิดความขัดแย้งของกลุ่มบุ
ค. นิโรธ คือการทบทวนปัญหาที่เกิดขึ้นนั้
ง. มรรค คือหนทางไปสู่การแก้ปัญหาการเมื
2. หลักการจัดการบ้านเมืองเชิงสมดุ
ก. มิติในด้านการเงิน (Financial Dimension) หมายถึงว่านักการเมืองไม่ว่าฝ่า
ข. มิติในด้านการเรียนรู้และการพัฒ
ค. มิติในด้านกระบวนการภายใน (Internal Process Dimension) หมายถึงพรรคการเมืองต้องมีการพั
ง. มิติในด้านการสร้างความพึงพอใจแ
3. ใช้หลักการบริหารแบบ win-win game คือการบริหารแบบชนะชนะ หรือแบบทุกฝ่ายเป็นผู้ชนะ ไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบมาก
4. การส่งเสริมยุทธศาสตร์การเป็นผู
5. การสร้างประเทศชาติที่ไม่มีการแ
สรุปแนวทางแก้ปัญหาของชาติมียุท
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น