แนวคิดเกี่ยวกับธรรมาภิบาล ตอนที่ 1

แนวคิดเกี่ยวกับธรรมาภิบาล ตอนที่ 1
       ธรรมาภิบาล (Good Governance) เป็นคำที่นำมาใช้ทั่วไปในทางรัฐศาสตร์, รัฐประศาสนศาสตร์ และการพัฒนาการบริหาร ซึ่งเป็นไปตามครรลองตามคำนิยามเช่นคำว่าประชาธิปไตย, สังคมพลเมือง,การมีส่วนร่วมโดยทั่วไป,สิทธิมนุษยชน, การพัฒนาสังคมและความยั่งยืน ในทศวรรษที่ผ่านมาเป็นเรื่องเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับการปฏิรูปภาคสาธารณะ ซึ่งได้นำคำใหม่มาใช้เป็นหลักวิชาการและวิชาชีพคือการจัดการภาครัฐ (Public Management) และได้รับการยอมรับว่าเป็นกรอบเค้าโครงความคิดใหม่ในทางรัฐประศาสนศาสตร์โดยเน้นบทบาทผู้บริหารภาครัฐเพื่อตอบสนองบริการทีมีคุณภาพสูงโดยยกระดับคุณค่าพลเมือง,เพิ่มความอิสระของฝายจัดการ,ลดการควบคุมจากศูนย์กลาง,ความต้องการ,การวัดผลและการให้รางวัลในผลงานขององค์การและบุคคล โดยตระหนักถึงความสำคัญของการตอบสนองทรัพยากรมนุษย์และเทคโนโลยี ซึ่งผู้บริหารต้องตอบสนองต่อผลงาน,เป้าหมาย และยอมรับการแข่งขัน และการเปิดใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของภาครัฐซึ่งควรจะเป็นการปฏิบัติงานโดยข้าราชการที่ได้รับการต่อต้านโดยภาคธุรกิจเอกชน 
แนวคิดสำคัญ ๆ จำนวนมากก่อเกิดขึ้นจากกรอบแนวความคิดใหม่ ซึ่งเป็นการมุ่งเน้นการถกเถียงในเวทีทางการเมืองเช่นเดียวกันกับสถาบันทางวิชาการ กรอบทัศนะใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นมาในการยอมรับโครงสร้างธรรมรัฐได้แก่

ก. ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลและตลาด
ข. ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลและพลเมือง
ค. ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลและภาคธุรกิจ และอาสาสมัคร
ง. ความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งและข้าราชการพลเรือนที่ได้รับการแต่งตั้ง
จ. ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่นและผู้อาศัยในเขตเมืองและชนบท
ฉ. ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหาร 
ช. ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐชาติและสถาบันนานาชาติ
ในการวิเคราะห์ทัศนะเหล่านี้ ผู้ปฏิบัติงานการจัดการภาครัฐ และนักทฤษฎีจากสถาบันวิชาการ 
และสถาบันทางรัฐประศาสตร์ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติงานและกรรมวิธีโดยใช้ธรรมรัฐที่ดำเนินเป็นปรกติ ซึ่งสามารถบรรลุและแยกแยะหลักการและข้อสันนิษฐานที่วางไว้ภายใต้ธรรมาภิบาล นักปฏิบัติการยังต้องหยิบยืมตัวอย่างการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice) สำหรับใช้ผลักดันแนวคิดไปสู่การลงมือปฏิบัติ ทัศนะ,หลักการ,การปฏิบัติที่เป็นเลิศที่แตกต่างหลากหลายนำไปสู่สาระใจความที่นำไปสู่การถกเถียงในการประชุมระดับชาติและนานาชาติโดยพยายามจะนิยามความหมายของคำว่า “ธรรมาภิบาล”

เรียบเรียงจากเอกสาร เลขาธิการเครือจักรภพอังกฤษ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ