ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอาเซียน ตอนที่ 1

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอาเซียน ตอนที่ 1
1.            อาเซียนย่อมาจากอะไร ?    
อาเซียนหรือ Asian ย่อมาจาก Association of Southeast Asia Nations  ก่อกำเนิดขึ้นในปี 2504 ซึ่งเกิดขึ้นก่อนจะมีประชาคมอาเซียนปี 2510 
      2.  อาเซียนมีความเป็นมาอย่างไร ?                                                                                                              อาเซียน เดิมที่เกิดจากการมีสมาคมอาสา (ASA) ซึ่งเป็นองค์การระหว่างประเทศระดับภูมิภาคเอเซียนตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีจุดเริ่มต้นที่ประเทศไทย,มาเลเซีย และฟิลิปปินส์  ได้ร่วมกันจัดตั้งโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจ,สังคม และวัฒนธรรม แต่ดำเนินไป 2 ปีก็หยุดชะงัก เพราะมีปัญหาการเมืองระหว่างอินโดนิเซียกับมาเลเซีย  แต่เมื่อเกิดสมาคมอาเซียนในปี 2510 ก็ยังเกิดปัญหาข้อพิพาทดินแดนระหว่างมลายา และฟิลิปปินส์  ในยุครัฐมนตรีว่าการทรวงต่างประเทศที่ชื่อว่านายถนัด คอมันตร์  ได้มีบทบาทในการเดินทางไปไกล่เกลี่ยความขัดแย้งของประเทศเพื่อนบ้าน และเชิญรัฐมนตรีต่างประเทศ 4 ประเทศได้แก่มาเลเซีย,อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์มาหารือร่วมกันที่แหลมแท่นจังหวัดชลบุรี  อันจะนำสู่การลงนามปฏิญญากรุงเทพ เพื่อก่อตั้งอาเซียนที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510  และต่อมามีบรูไนได้เข้ามาเป็นสมาชิกอันดับที่ 6 ในปี 2527 และในปี 2542 ได้มีสมาชิกเพิ่มขึ้นรวมเป็น 10 ประเทศเพิ่มจากเดิมอีก 4 ประเทศคือเวียดนาม, ลาว,พม่า และกัมพูชา  แม้ว่าตอนเริ่มต้นไม่ได้เน้นความร่วมมือทางการเมืองและความมั่นคง แต่เป็นการเน้นเศรษฐกิจ,สังคม,วัฒนธรรม,การศึกษา,เกษตร และอุตสาหกรรม    แต่ผู้ผลักดันให้อาเซียนเพื่อส่งเสริมสันติภาพ, เสถียรภาพ และความมั่นคง จนเกิดการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน Asean Free Trade Area ในปี 2535  โดยมีข้อตกลงลดภาษีศุลกากรระหว่างกันระหว่าง 0-5 ในเวลา 15 ปี   ต่อมาภูมิภาคเอเชียมีความเจริญเติบโต้มากโดยเฉพาะอย่างยิ่งของจีนและอินเดีย ตลอดจนปัญหาท้าทายความมั่นคงในรูปแบบใหม่ เช่นโรคระบาด,การก่อการร้าย,ยาเสพติด,การค้ามนุษย์,สิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ    ต่อมายุคหลังสงครามเย็นได้ให้ความสนใจในการบูรณาการภูมิภาคได้รับการพิจารณาอย่างจริงจัง   ในปี 2546 มีการประชุมสุดยอดที่บาหลีเพื่อร่วมกันสร้างประชาคมอาเซียน  เพื่อให้บรรลุผลร่วมกันจึงเกิดการจัดทำกฎบัตรอาเซียน เพื่อวางกรอบกฎหมายและโครงสร้างองค์การของอาเซียน   กฎบัตรอาเซียนจึงมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม  2551   และประเทศไทยได้เข้ารับตำแหน่งประธานอาเซียน โดย ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ  มีการประชุมครั้งที่ 14  โดยมีประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ได้รับรองปฏิญญาชะอำ  โดยจัดตั้งประชาคมอาเซียนใน 3 เสาเหลักคือประชาคมการเมือง,ความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจ,ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม เพื่อให้เป็นการบรรลุเป้าหมายของการจัดตั้งประชาคมอาเซียนซึ่งจะเริ่มเปิดประตูสู่ประชาคมอาเซียนอย่างแท้จริงในปี 2558
3.         ประธานอาเซียนที่ผ่านมามี่กี่คน ได้แก่ใครบ้าง และบทบาทของประธานอาเซียน ในยุค ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เป็นอย่างไร?
รายนามเลขาธิการอาเซียน และวาระการดำรงตำแหน่งมีดังนี้
อันดับ
ชื่อ
สัญชาติ
เริ่มวาระ
สิ้นสุดวาระ
1
ฮาร์โตโน ธาร์โซโน่
อินโดนีเซีย
7 มิถุนายน พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976)
18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978)
2
Umarjadi Notowijono
อินโดนีเซีย
19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978)
30 มิถุนายน พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978)
3
Datuk Ali Bin Abdullah
มาเลเซีย
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978)
30 มิถุนายน พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980)
4
Narciso G. Reyes
ฟิลิปปินส์
1 กรกฎาคม พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980)
1 กรกฎาคม พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982)
5
Chan Kai Yau
สิงคโปร์
18 กรกฎาคม พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982)
15 กรกฎาคม พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984)
6
แผน วรรณเมธี
ไทย
16 กรกฎาคม พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984)
15 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986)
7
Roderick Yong
บรูไน
16 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986)
16 กรกฎาคม พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989)
8
Rusli Noor
อินโดนีเซีย
17 กรกฎาคม พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989)
1 มกราคม พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993)
9
Dato Ajit Singh
มาเลเซีย
1 มกราคม พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993)
31 ธันวาคม พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997)
10
Rodolfo C. Severino Jr.
์ฟิลิปปินส์
1 มกราคม พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998)
31 ธันวาคม พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002)
11
Ong Keng Yong
สิงคโปร
1 มกราคม พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003)
31 ธันวาคม พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007)
12
สุรินทร์ พิศสุวรรณ
ไทย
1 มกราคม พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008)
31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012)
13
เล ลุง มินห์
เวียดนาม
พ.ศ. 2556
พ.ศ. 2560

ในยุคเลขาธิการ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ      เน้นนโยบายให้ความสำคัญของประชาชน และร่วมกันแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนเป็นสำคัญ โดยเฉพาะปัญหา
   ก.ความมั่นคงทางด้านอาหาร และพลังงาน
  ข. ผลกระทบของวิกฤติเศรษฐกิจ และการเงินโลก
  ค. การป้องกันและควบคุมโรคระบาดต่าง ๆ
 ง. การประสานมาตรการกระตุ้น

  4. ความสำเร็จและ ประโยชน์ของอาเซียน ต่อประเทศไทยอย่างไรบ้าง?

 

          การรวมตัวกันของประเทศสมาชิก ในกลุ่มอาเซียน ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม ซึ่งแน่นอนว่าผลกระทบที่ประเทศสมาชิกได้รับ ย่อมเป็นประโยชน์ของอาเซียน ไทยต่อการพัฒนาประเทศ ซึ่งประเทศไทยเองก็ได้รับประโยชน์อย่างมากจากการร่วมกลุ่มอาเซียน
ความสำเร็จของอาเซียนและประโยชน์ต่อประเทศไทย         
   กว่า 41 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่การก่อตั้งองค์กร ผลงานของอาเซียน ถือได้ว่าประสบความสำเร็จจนเป็นที่ยอมรับจากหลายฝ่ายในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมืองและความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจและการพัฒนา และด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งในภาพรวม สามารถสรุปได้ดังนี้
                (1) ด้านการเมืองและความมั่นคง: ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงของอาเซียนที่เกิดขึ้น อาทิ สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และความตกลงเพื่อสร้างอาเซียนให้เป็นเขตแห่งสันติภาพ อิสรภาพและความเป็นกลาง มีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ เสถียรภาพและสันติภาพของภูมิภาค รวมถึงสร้างกลไกในการแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธี สร้างบรรทัดฐานทางการเมืองและความมั่นคงร่วมกัน (เช่น การไม่สะสมอาวุธนิวเคลียร์และการไม่ใช้กำลังในการแก้ไขปัญหา) และช่วยป้องกันความแย้งไม่ให้เกิดขึ้นในภูมิภาค นอกจากนี้ อาเซียนยังประสบความสำเร็จในการดึงดูดประเทศมหาอำนาจหลายประเทศให้เข้าร่วมหารือและมีความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงร่วมกับอาเซียน โดยเฉพาะการจัดตั้งกลไก การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในเอเชียและแปซิฟิก ซึ่งถือเป็นด้านการเมืองและ ความมั่นคงเพียงที่เชื่อมประเทศทั้งสองภูมิภาคเข้าด้วยกันซึ่งมีทั้งสหรัฐฯ จีน รัสเซียและสหภาพยุโรป เข้าร่วมอยู่ด้วย

                 (2) ความสำเร็จด้านเศรษฐกิจ: อาเซียนได้วางรากฐานของการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจในภูมิภาคโดยการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area) และการมีความตกลงกันทางเศรษฐกิจในด้านอื่นๆ เช่น การคมนาคม การท่องเที่ยว การเงิน และการลงทุน ทั้งนี้ ก็เพื่อเพื่อส่งเสริมให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว มีการเคลื่อนย้ายเงินทุน สินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือระหว่างประเทศสมาชิกโดยเสรี ส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน ลดช่องว่างของระดับการพัฒนาของประเทศสมาชิกอาเซียน และส่งเสริมให้อาเซียนสามารถรวมตัวเข้ากับประชาคมโลกได้อย่างไม่อยู่ในภาวะที่เสียเปรียบ ซึ่งความร่วมมือเหล่านี้ก็มีความคืบหน้าเป็นลำดับ ดังจะเห็นได้จากราคาสินค้าในหลายรายการที่ผลิตและค้าขายภายในประเทศสมาชิกอาเซียนมีราคาลดลงถูกลง ในขณะที่มีคุณภาพดีขึ้น หรือการที่พลเมืองของหลายประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถไปท่องเที่ยวในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นอีกหลายประเทศโดยไม่ต้องใช้วีซ่า เป็นต้น นอกจากนี้ อาเซียนยังประสบความสำเร็จในการมีความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศภายนอกภูมิภาค โดยเฉพาะประเทศหรือกลุ่มประเทศที่เป็นคู่เจรจาของอาเซียน อีกด้วย

                (3) ด้านสังคมและวัฒนธรรม: อาเซียนมีความร่วมมือกันเป็นจำนวนมากในเรื่องที่เกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรม เช่น เรื่องการศึกษา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม การป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดจากยาเสพติดและโรคเอดส์ การป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติ และโรคติดต่อร้ายแรง ซึ่งความร่วมมือเหล่านี้ต่างก็มีความคืบหน้าเป็นลำดับ อาทิ การมีความตกลงว่าด้วยการแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามชาติที่เกิดจากไฟป่า การมีมาตรการร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาโรคซาร์ส และไข้หวัดนก และการดำเนินการเพื่อทำให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่ปลอดยาเสพติดภายในปี 2558 เป็นต้น

            ในภาพรวม ไทยได้รับประโยชน์เป็นอย่างมากจากความร่วมมือด้านต่างๆ ของอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์จากการที่ภูมิภาคมีเสถียรภาพและสันติภาพอันเป็นผลจากกรอบความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงของอาเซียน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักลงทุนต่างชาติเดินทางเข้ามาลงทุนและท่องเที่ยวในประเทศไทย การที่ไทยสามารถส่งออกไปยังประเทศสมาชิกอาเซียนได้มากขึ้น และมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง รวมถึงการมีนักท่องเที่ยวจากประเทศสมาชิกอาเซียนเดินทางยังประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น อันเป็นผลมาจากการมีกรอบความร่วมมือด้านเศรษฐกิจของอาเซียน และการที่ไทยสามารถแก้ไข

                ปัญหาที่มีผลกระทบต่อสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น โรคระบาด เอดส์ ยาเสพติด สิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติ และอาชญากรรมข้ามชาติ อันเป็นผลมาจากการมีความร่วมมือทางด้านสังคมและวัฒนธรรมของอาเซียน ซึ่งหากไม่มีแล้ว ก็คงเป็นการยากที่ไทยจะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้โดยลำ

5.ข้อดีข้อเสียของอาเ,ซียนสำหรับประเทศไทยเป็นอย่างไร?
การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น มีทั้งข้อดีและข้อเสีย สิ่งที่จะเป็นไปได้ มีดังนี้
1.                             ไทยได้เปรียบเรื่องการท่องเที่ยว เพราะอยู่ในทำเลศูนย์กลางกว่าอีกหลายประเทศ
2.                             เศรษฐกิจไทยขยายตัว เพราะการเปิดเสรีด้านการค้า และประชากรอาเซียน 10 ประเทศรวมทั้งอาเซียน +3 และอาเซียน +6 รวมอยู่ในตลาดเดียวกัน
3.                             ต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์ จากการแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยีระหว่างกัน
4.                             มีความเจริญครอบคลุมมากขึ้น จากการพัฒนาถนนเชื่อมต่อภูมิภาค
5.                             ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคถูกลง จากการนำเข้าวัตถุดิบปลอดภาษี และการนำเข้าสินค้าเกษตรราคาถูกจากประเทศสมาชิก
6.                             ผู้ประกอบการไทยสามารถย้ายฐานการผลิตไปยังประเทสสมาชิกทีมีค่าแรงถูกกว่าได้เพื่อลดต้นทุน
7.                             พลเมืองไทยที่อ่อนด้วยภาาาอังกฤษ จะหางานทำยากขึ้น
8.                             แรงงานต่างด้าวแย่งใช้บริการพื้นฐานต่างๆ กับคนไทย เช่น โรงพยาบาล ไฟฟ้า ประปา
9.                             มีปัญหายาเสพติด อาชญากรรม ปัญหาสังคม และสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น จากการเปิดด่านชายแดนที่เดินเข้าออกสะดวก และประชากรไม่รู้ธรรมเนียมและกฏหมายไทย ของพลเมืองอาเซียนชาติอื่น
*มีวิชาชีพ 7 สาขา ที่อาเซียนตกลงกันให้เคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือได้อย่างเสรีในประชาคมอาเซียน คือ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล วิศวกร สถาปนิก นักบัญชี และนกสำรวจ โดยอาเซียนได้กำหนดคุณสมบัติร่วมของอาชีพเหล่านี้ไว้ด้วย ใครอยากไปทำงานในประเทศอาเซียน ก็ต้องเรียนสาขานี้ไว้ก่อน

6. โครงสร้างและกลไกการดำเนินงานขององค์การอาเซียนเป็นอย่างไร?    
                    กฎบัตรอาเซียน ซึ่งเปรียบเสมือนกฎหมายสูงสุดของอาเซียน ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2551 เป็นเอกสารหลักที่กำหนดโครงสร้างองค์กรของอาเซียน ไว้ในหมวดที่ 4 ดังนื้
1. ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit)
ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ประกอบด้วย ประมุขหรือหัวหน้ารัฐบาล มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายสูงสุดและแนวทางความร่วมมือของอาเซียน และตัดสินใจในเรื่องสำคัญ โดยให้ประเทศสมาชิกซึ่งเป็นประธานอาเซียนเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม 2 ครั้งต่อปี หรือเรียกประชุมพิเศษหรือเฉพาะกิจเมื่อมีความจำเป็น
2. คณะมนตรีประสานงานอาเซียน (ASEAN Coordinating Councils : ACCs)
คณะมนตรีประสานงานอาเซียน ประกอบด้วยรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียน ทำหน้าที่เตรียมการประชุมสุดยอดอาเซียน ประสานงานความตกลงและข้อตัดสินใจของที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ประสานงานระหว่าง 3 เสาหลัก ดูแลการดำเนินงานและกิจการต่างๆ ของอาเซียนในภาพรวม คณะมนตรีประสานงานอาเซียนจะมีการประชุมกันอย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี
3. คณะมนตรีประชาคมอาเซียน (ASEAN Community Councils)
คณะมนตรีประชาคมอาเซียนประกอบด้วย คณะมนตรีประชาคม 3 เสาหลัก อันได้แก่คณะมนตรีการเมืองและความมั่นคงอาเซียน คณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ซึ่งเป็นผู้แทนที่ประเทศสมาชิกแต่งตั้งให้เป็นผู้รับผิดชอบแต่ละเสาหลัก มีอำนาจหน้าที่ในการประสานงานและติดตามการทำงานตามนโยบาย โดยเสนอรายงานและข้อเสนอแนะต่อที่ประชุมผู้นำ มีการประชุมอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ประธานการประชุมเป็นรัฐมนตรีที่เหมาะสมจากประเทศสมาชิกซึ่งเป็นประธานอาเซียน

4. องค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา (ASEAN Sectoral Ministerial Bodies)
องค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา(เช่น ด้านสาธารณสุข ด้านกลาโหม ด้านการศึกษา ฯลฯ) ประกอบด้วยรัฐมนตรีเฉพาะสาขา มีหน้าที่ปฏิบัติตามข้อตกลงและข้อตัดสินใจของที่ประชุมสุดยอดอาเซียนที่อยู่ในขอบข่ายการดำเนินงานของตน และเสริมสร้างความร่วมมือในสาขาของแต่ละองค์กรให้เข้มแข็งขึ้น เพื่อสนับสนุนการรวมตัวของประชาคมอาเซียน
5. เลขาธิการอาเซียนและสำนักเลขาธิการอาเซียน (Secretary-General of ASEAN and ASEAN Secretariat)
สำนักเลขาธิการอาเซียนได้จัดตั้งขึ้นตามข้อตกลงที่ลงนามโดยรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 1 ในปี 2519 เพื่อทำหน้าที่ประสานงานและดำเนินงานตามโครงการและกิจกรรมต่างๆ ของสมาคมอาเซียน และเป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างสมาคมอาเซียน คณะกรรมการ ตลอดจนสถาบันต่าง ๆ และรัฐบาลของประเทศสมาชิกสำนักเลขาธิการอาเซียนตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยมีหัวหน้าสำนักงาน เรียกว่า เลขาธิการอาเซียน(ASEAN Secretary-General) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยที่ประชุมสุดยอดอาเซียน โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี และต้องได้รับเลือกจากคนชาติของรัฐสมาชิก โดยหมุนเวียนตามลำดับตัวอักษร ผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบันเป็นคนไทย คือ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ ซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่งระหว่างปี ค.ศ. 2008-2012 (พ.ศ. 2551-2555)
6. คณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน (Committee of Permanent Representatives to ASEAN)
คณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน เป็นผู้แทนระดับเอกอัคราชฑูตที่แต่งตั้งจากประเทศสมาชิกให้ประจำที่สำนักงานใหญ่อาเซียน กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย มีหน้าที่สนับสนุนการทำงานของคณะมนตรีประชาคมอาเซียนและองค์กรระดับ รัฐมนตรีเฉพาะสาขา ประสานงานกับเลขาธิการสำนักงานอาเซียนและสำนักงานเลขาธิการอาเซียนในเรื่องที่เกี่ยวข้อง และประสานงานกับสำนักงานเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติและองค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา
7. สำนักงานอาเซียนแห่งชาติ หรือกรมอาเซียน (ASEAN National Secretariat)
เป็นหน่วยงานระดับกรมในกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งแต่ละประเทศได้จัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบประสานงาน สนับสนุนภารกิจและความร่วมมือต่าง ๆ เกี่ยวกับอาเซียนในประเทศนั้น ๆ สำหรับประเทศไทยหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ
8. องค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน (ASEAN Human Rights Body)
เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นโดยความประสงค์และหลักการของกฎบัตรอาเซียนเกี่ยวกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ซึ่งคณะทำงานและอำนาจหน้าที่จะได้กำหนดโดยที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนต่อไป
9. มูลนิธิอาเซียน (ASEAN Foundation)
มูลนิธิอาเซียนสนับสนุนเลขาธิการอาเซียนและดำเนินการร่วมกับองค์กรของอาเซียนที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนการสร้างประชาคมอาเซียน โดยการส่งเสริมความสำนึกที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของอาเซียน การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างประชาชน การดำเนินงานร่วมกันที่ใกล้ชิดระหว่างภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม นักวิชาการ และผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ ในอาเซียน


7. ที่ว่า 3 เสาหลักอาเซียน (3 ASEAN Communities) คืออะไร?

เพื่อให้การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนบรรลุผลสำเร็จ ที่ประชุมอาเซียนจึงกำหนดประชาคมหลัก ซึ่งเปรียบเสมือนหัวใจหลักในการร่วมมือกันพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิก โดยมี 3 ประชาคมหลัก หรือที่เรียกกันว่า เสาหลักอาเซียน ได้แก่
เสาหลักอาเซียน
ประชาคมการเมืองและความมั่นคง (ASEAN Political - Security Community : APSC)มีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งประชาคมเพื่อให้กลุ่มประเทศสมาชิกอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เจรจาแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศโดยสันติวิธี มีเสถียรภาพและความมั่นคง เพื่อความ ปลอดภัยของประชาชน
. ประชาคมเศรษฐกิจ (ASEAN Economic Community : AEC) มีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งประชาคมเพื่อให้เกิดการรวมตัวและร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ เพื่อเอื้อให้เกิดความสะดวกในการติดต่อซื้อขายระหว่างประเทศสมาชิกภายในกลุ่ม มุ่งให้เกิดการพัฒนาและสามารถแข่งขันกับกลุ่มประเทศอื่นในเวทีเศรษฐกิจโลกได้
. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC) มีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งประชาคม เพื่อให้อาเซียนเป็นสังคมที่เอื้ออาทร และมีความมั่นคง ยกระดับสภาพความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น และพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน นอกจากนั้นยังมีการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมเอกลักษณ์ของอาเซียน

8. อาเซียน+3 / อาเซียน +6 (ASEAN+3/+6) มีประเทศอะไรบ้าง?


อาเซียน +3 เป็นการร่วมมือกันในเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจและการค้าระหว่างกลุ่ม ประเทศสมาชิกอาเซียน (10 ประเทศ) กับ ประเทศ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น

 อาเซียน+3 ประกอบด้วยประเทศสมาชิก 13 ประเทศ (อาเซียน 10 + จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) จำนวนประชากรสำหรับ 13 ประเทศนี้คิดรวมเป็นจำนวนกว่า 2,000 ล้านคน หรือคิดเป็นหนึ่งใน สามของประชากรโลก ยอดเงินสำรองต่างประเทศของทั้งสิบสามประเทศรวมกันแล้วมากกว่า มากกว่าครึ่งของเงินสำรองต่างประเทศของโลก ข้อมูลเหล่านี้แสดงให้เห็นได้ว่ากลุ่มอาเซียน+3 จะมีบทบาทเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่จะพัฒนาเศรษฐกิจให้มีความก้าวหน้าต่อไปในอนาคต
อาเซียน +3
สำหรับอาเซียน +6 มีประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย เพิ่มขึ้นจากจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ด้วยข้อมูลจำนวนประชากรโลกจะเห็นได้ว่าจีน อินเดีย และอินโดนีเซีย คือประเทศ ที่มีประชากรสูงสุดในโลกอันดับ 1, 2 และ 4 (อันดับสาม สหรัฐอเมริกา) ส่งผลให้ยอดรวมจำนวน ประชากรในกลุ่ม อาเซียน +6 พุ่งสูงกว่า 3,000 ล้านคน หรือมากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรโลก
อาเซียน +6
ทำให้ความร่วมมือที่เกิดขึ้นส่งผลมากมายต่อการค้าขาย และการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ นอกจากนั้นยังเพิ่มขีดความสามารถของกลุ่มให้มีศักยภาพ สามารถแข่งขันกับกลุ่มประเทศอื่น เช่น สหภาพยุโรป (European Union - EU) ในเวทีเศรษฐกิจโลก

9.การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนมีกี่ครั้ง ? ส่วนใหญ่ประชุมประเด็นอะไรบ้าง?

การประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) เป็นการประชุมของผู้นำสูงสุดระหว่างประเทศ สมาชิกอาเซียน อันได้แก่ ไทย, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, บรูไนดารุสซาลาม, เวียดนาม, ลาว, พม่าและกัมพูชา โดยในช่วงแรกจัดประชุมโดยหมุนเวียนกันระหว่างประเทศสมาชิก 5 ประเทศ คือ ไทย, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์และสิงคโปร์ หลังจากมีสมาชิกเพิ่มจึงได้หมุนเวียน การจัดประชุมไปยังประเทศสมาชิกใหม่ด้วย โดยหัวข้อการประชุมจะเป็นเรื่องการปรึกษา หารือ ขอความร่วมมือ ขอฉันทามติ หรือลงนามในเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง ความมั่นคง ด้านสังคมและวัฒนธรรม ของประเทศสมาชิก ช่วงแรกของการจัดการประชุมจะมิได้มีการจัดเป็นประจำต่อเนื่อง แต่หลังจาก การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 7 (ที่ประเทศบรูไนดารุสซาลาม) การประชุมก็มีการจัดต่อเนื่อง ทุกปี (ยกเว้นกรณีประเทศเจ้าภาพประสบปัญหาภายในประเทศ ก็อาจจะมีเลื่อนการจัดประชุมออกไปบ้าง)

ครั้งที่ 1 วันที่ 23-24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 ที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย มีการลงนามว่าด้วยความร่วมมือในเอกสาร 3 ฉบับ คือ "ปฏิญญาสมานฉันท์อาเซียน" "สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" และ "ความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งสำนักเลขาธิการอาเซียน"
ครั้งที่ 2 วันที่ 4-5 สิงหาคม พ.ศ. 2520 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เป็นการประชุมเนื่องในโอกาสก่อตั้งอาเซียนครบ 10 ปี โดยเน้นย้ำถึงความร่วมมือ ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนให้มีความมั่นคงแข็งแรงขึ้น รวมถึงการมุ่งพัฒนาความ สัมพันธ์กับประเทศอื่นๆนอกภูมิภาคด้วย
ครั้งที่ 3 วันที่ 14-15 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ มีการออก "ปฏิญญามะนิลาปี 2530" และประกาศให้ปี พ.ศ.2535 (ครบรอบ 25 ปีอาเซียน) เป็นปีการท่องเที่ยวอาเซียน มีการหารรือกันเรื่องเขตปลอดอาวุธนิเวเคลียร์แห่งเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ รวมถึงประเด็นเรื่องสันติภาพ เสรีภาพและความเป็นกลาง
ครั้งที่ 4 วันที่ 27-29 มกราคม พ.ศ. 2535 ที่ประเทศสิงคโปร์ มีการออก "ปฏิญญาสิงคโปร์" และหารือกันเรื่องความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสหประชาชาติ และองค์ กรระหว่างประเทศในการตกลงกันเรื่องสันติภาพ นอกจากนี้ยังพิจารณาเรื่องการจัดตั้งเขตการค้า เสรีอาเซียนด้วย
ครั้งที่ 5 วันที่ 14-15 ธันวาคม พ.ศ. 2538 ที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย มีการออก "ปฏิญญาสุดยอดกรุงเทพฯ" และลงนามในเอกสารอีก 2 ฉบับ คือ "สนธิสัญญาเขตปลอด อาวุธนิวเคลียร์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" "ความตกลงอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญา" การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งนี้ถือว่าเป็นการครบการหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพจัดประชุมของ 5 ประเทศ สมาชิก ซึ่งกินเวลา 28 ปีนับตั้งแต่ประชุมครั้งแรกในปี พ.ศ. 2519
ครั้งที่ 6 วันที่ 15-16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม มีการออก "ปฏิญญาฮานอย" และประกาศ "การจัดตั้งเขตลงทุนอาเซียน" รับรอง "แผนปฏิบัติการฮานอย" เพื่อให้อาเซียนบรรลุวิสัยทัศน์อาเซียนในปี พ.ศ. 2563 การประชุมครั้งนี้ถือเป็นการจัดการประชุมสุดยอด อาเซียนครั้งแรกของเวียดนาม หลังจากเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน 3 ปี
ครั้งที่ 7 วันที่ 5-6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 ที่กรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน ประเทศบรูไนดารุสซาลาม มีการออก "ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการดำเนินการร่วมกันในการต่อต้านการก่อการร้าย" ปรับปรุง "แผนปฏิบัติการฮานอย" สนับสนุนให้จัดตั้ง "แผนงานเพื่อการรวมตัวอาเซียน" และ "สภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน" หลังจากการประชุมครั้งนี้ การประชุมสุดยอดอาเซียนก็มีจัดต่อเนื่องกันทุกปี โดยหมุนเวียนกันในหมู่ประเทศสมาชิก
ครั้งที่ 8 วันที่ 4-5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ที่ประชุมได้ลงนามความตกลงด้านการท่องเที่ยวอาเซียน และเน้นย้ำเรื่องการต่อต้านการก่อการร้าย การบริหารจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติ และให้ความสำคัญกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมากที่สุดในการรวมตัวอาเซียน
ครั้งที่ 9 วันที่ 7-8 ตุลาคม พ.ศ. 2546 ที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย มีการประกาศ "ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน II" หรือ "ความร่วมมือบาหลี II" ว่าด้วยการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ซึ่งประกอบไปด้วยประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน พร้อมทั้งรับรอง "แผนปฏิบัติการประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน"
ครั้งที่ 10 วันที่ 29-30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ที่กรุงเวียงจันทน์ ประเทศลาว ที่ประชุมได้ลงนาม "แผนปฏิบัติการเวียงจันทน์" พร้อมทั้งรับรอง "แผนปฏิบัติการประชาคมความมั่นคงอาเซียน" และ "แผนปฏิบัติการประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน" และจัดตั้งกองทุนอาเซียนเพื่อการพัฒนา การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ประเทศลาวได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม หลังจากที่เป็นสมาชิกใหม่อาเซียนครบ 7 ปี จึงได้ลงทุนสร้างบ้านพักใหม่ทั้งหมดให้กับผู้นำอาเซียนทุกคน ได้พักอยู่ในช่วงระหว่างการประชุม เพื่อให้ได้บรรยากาศเหมือนอยู่บ้าน มิใช่อยู่โรงแรมเหมือนการประชุมทั่วไป
ครั้งที่ 11 วันที่ 12-14 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ที่ประชุมได้ลงนาม "ปฏิญญากัวลาลัมเปอร์ว่าด้วยการจัดทำกฏบัตรอาเซียน" และยกร่างกฏบัตรอาเซียน
ครั้งที่ 12 วันที่ 9-15 มกราคม พ.ศ. 2550 ที่เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ ที่ประชุมได้ลงนาม "ปฏิญญาเซบูเพื่อมุ่งไปสู่ประชาคมที่มีความเอื้ออาทรและแบ่งปันที่เป็นหนึ่งเดียว" "ปฏิญญาเซบูว่าด้วยการเร่งรัดจัดตั้งประชาคมภายในปี พ.ศ. 2558" และ "ปฏิญญาเซบูว่าด้วย แผนงานเรื่องกฏบัตรอาเซียน"
ครั้งที่ 13 วันที่ 18-22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ที่ประเทศสิงคโปร์ มีการออก "ปฏิญญาสิงคโปร์ว่าด้วยกฏบัตรอาเซียน" พร้อมทั้งรับรอง "ปฏิญญาแผนงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน " และ "กฏบัตรอาเซียน" ในวาระครบรอบ 40 ปีอาเซียน
ครั้งที่ 14 วันที่ 26 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม พ.ศ. 2552 ที่ชะอำ หัวหิน พัทยา ประเทศไทย ที่ประชุมได้ลงนาม "ปฏิญญาชะอำ-หัวหิน ว่าด้วยแผนงานสำหรบประชาคมอาเซียนปี พ.ศ. 2552 - 2558" และรับรอง "แผนงานข้อริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2552 - 2558" "แผนงานการจัด ตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน" "แผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน"
ครั้งที่ 15 วันที่ 23-25 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ที่ชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ประเทศไทย มีการหารือเรื่อง "เชื่อมโยงประชาคม สร้างเสริมประชาชน" และรับรอง "อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 15" "ปฏิญญาชะอำ - หัวหิน ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคม อาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน" "แถลงการณ์ผู้นำอาเซียนว่าด้วยการเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมในอาเซียน" "แถลงการณ์ชะอำ-หัวหิน ว่าด้วยความร่วมมือเกี่ยวกับความมั่นคงด้านอาหารและการพัฒนาพลังงานชีวภาพในกรอบอาเซียนกับประเทศ +3" "แถลงการณ์ชะอำ-หัวหิน ว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติของการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก"
ครั้งที่ 16 วันที่ 8-9 เมษายน พ.ศ. 2553 ที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม มีการหารือกันเรื่อง "มุ่งสู่ประชาคมอาเซียน : จากวิสัยทัศน์สู่การปฏิบัติ" "การจัดทำแผนแม่บทว่าด้วยการเสริมสร้างเครือข่าย เชื่อมโยงในภูมิภาค" และลงนามในพิธีการว่าด้วยกลไกระงับข้อพิพาทของกฏบัตรอาเซียน
ครั้งที่ 17 วันที่ 28-30 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม มีการหารือกันเรื่อง "ก้าวสู่ความเป็นหนึ่งเดียวกันของอาเซียน : จากความปรารถนาสู่ปฏิบัติการ" พร้อมทั้งประกาศปฏิญญา ฮานอย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสิทธิสตรีและเด็กในภูมิภาคอาเซียน ตกลงจะจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานระหว่างกันในอาเซียนเพื่อประสาน และกำกับดูแลการปฏิบัติงาน ลงความเห็นที่จะรับสหรัฐฯ กับรัสเซียเข้าเป็นสมาชิก ของการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี พ.ศ.2555 เป็นต้นไป
ครั้งที่ 18 วันที่ 7-8 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย มีการหารือกันเรื่อง "ความจำเป็นในการบรรลุถึงความเป็นประชาคมอาเซียน" โดยมีจุดมุ่งหมายให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง และมีบทบาทสำคัญอยู่ในประชาคมโลกภายในปี พ.ศ.2565 มีการเสนอให้เตรียมร่างปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยประชาคม อาเซียนในประชาคมแห่งประชาชาติโลกเพื่อลงนามในที่ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 19
ครั้งที่ 19 วันที่ 17-19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ที่ประชุมได้ลงนามใน "ปฏิญญาบาหลีว่าด้วยประชาคมอาเซียนในประชาคมโลก" "ปฏิญญาว่าด้วยความเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกันของอาเซียนในความหลากหลายสู่การสร้างความแข็งแกร่งให้ประชาคมอาเซียน" และมีมติให้จัดตั้งศูนย์ ประสานงานอาเซียนเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรรมและจัดการกับผลกระทบจากภัยพิบัติ
ครั้งที่ 20 วันที่ 3-4 เมษายน พ.ศ. 2555 ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ที่ประชุมได้บลงนามใน "ปฏิบัติการพนมเปญว่าด้วยการสร้างประชาคมอาเซียน" "แถลงการณ์พนมเปญประชาคมเดียว พรหมลิขิตเดียว" และ "แถลงการณ์ว่าด้วยการสร้างอาเซียนเป็นเขตปลอดยาเสพติดในปี พ.ศ.2558"
ครั้งที่ 21 วันที่ 17-21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ที่ประชุมได้ลงนามใน "คำแถลงพนมเปญรับรองปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน" "ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน" "คำแถลงผู้นำอาเซียนเรื่องการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการกับระเบิดแห่งภูมิภาค" "เอกสารแนวคิดพื้นฐานเรื่องการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการกับระเบิดแห่งภูมิภาค" และ "แผนการทำงานตามความตกลงบาหลีครั้งที่ III (2013-2017)"



อาเซียนก่อตั้งขึ้นโดยตราสารที่เรียกว่า ปฏิญญาอาเซียน หรือที่รู้จักกันในนาม ปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) โดยการก่อตั้งนั้นจำต้องอาศัยรูปแบบความร่วมมือเชิงมิตรภาพในประเทศสมาชิก และเลี่ยงการกำหนดสิทธิ หน้าที่ ในทางกฏหมายระหว่างประเทศ
ระยะเวลาที่ผ่านมา อาเซียนถือเป็นองค์กรที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความยินยอม และความสมัครใจของสมาชิกเป็นหลัก การตัดสินใจใดๆอาศัยหลักการของ การหารือ ปรึกษากันในหมู่ประเทศสมาชิกเพื่อให้บรรลุซึ่งฉันทามติ และ ที่สำคัญคือหลีกเลี่ยงการอ้างสิทธิหน้าที่ และแทรกแซงทางการเมืองภายในระหว่างประเทศ (non intervention) ซึ่งรู้จักกันในแนวปฏิบัติแบบ "The Asean Way" คือ ร่วมมือกันโดยปราศจากความขัดแย้งรุนแรง แม้ว่า แต่ละประเทศจะมีระบบการปกครอง กฏหมาย และประชากรที่ค่อนข้างหลากหลาย ดังนั้น เมื่ออาเซียนมิได้มุ่งที่จะนำกฏหมายระหว่างประเทศ มาเป็นฐานในการดำเนินการ จึงมิได้มีการจัดทำสนธิสัญญา หรือกฏบัตรอาเซียนมาตั้งแต่ต้น
อย่างไรก็ตามหลังจากผู้นำอาเซียนเห็นพ้องต้องกัน และลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน (Declarion of ASEAN Concord II หรือ Bali Concord II) ที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community - AC) และหลังจากการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 ที่กรุงเวียงจันทน์ ผู้นำของประเทศสมาชิกได้ลงนามสนับสนุนให้มีการจัดทำกฏบัตรอาเซียน เพื่อรองรับการจัดตั้งประชาคมอาเซียน
ในการจัดทำกฏบัตรอาเซียนนั้น ดำเนินการโดยมอบหมายให้ "คณะผู้ทรงคุณวุฒิ (Eminent Persons Group) ซึ่งประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิในด้านการต่างประเทศจากประเทศสมาชิก เป็นผู้จัดทำข้อเสนอแนะเบื้องต้นและลักษณะทั่วไปของกฏบัตรอาเซียน และหารือกันจนได้ข้อเสนอเบื้องต้นและจัดทำออกมาในรูปแบบของ "รายงานของคณะผู้ทรงคุณวุฒิ เรื่องกฏบัตรอาเซียน" ในเดือนธันวาคม 2549 หลังจากนั้น ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในเดือนมกราคม ปี 2550 ที่กรุงเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ เหล่าผู้นำที่เข้าร่วมก็ได้ลงนามรับรองรายงานดังกล่าว และได้มอบหมายให้คณะทำงานระดับสูง (High Level Task Force) ซึ่งประกอบ ไปด้วยเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่มีความเชี่ยวชาญจากแต่ละประเทศสมาชิกเป็นผู้รับผิดชอบ จัดทำร่างกฏบัตรอาเซียน และเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยจะต้องพร้อมเพื่อนำเข้า พิจารณาในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 13 ณ ประเทศสิงคโปร์ในเดือน พฤศจิกายน ปี 2550
หลังจากผ่านการตรวจสอบ ปรึกษาหารือ รับฟังความเห็นกันระหว่างประเทศสมาชิก วันที่ 15 ธันวาคม ปี 2551 ณ สำนักงานเลขาธิการอาเซียนในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย รัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศสมาชิกได้ลงนามรับการประกาศใช้ กฏบัตรอาเซียน อย่างเป็นทางการ



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ