ข้อวิจารณ์นโยบายเกี่ยวกับกระทรวงศึกษาธิการของผู้นำการศึกษาในยุคปัจจุบัน

                         สำหรับทัศนะของผมขอวิจารณ์นโยบายโดยใช้หลัก swot analysisและ 7'sมาใช้ในการวิจารณ์อันเป็นประโยชน์ในการปฏิรูปการศึกษานะครับ 1. ในด้านจุดแข็ง (Strengh) จุดแข็งของนโยบายการศึกษาของท่านรัฐมนตรีคนใหม่นั้นคือเน้นการพัฒนาคน (human development)และการพัฒนาการศึกษาเพื่อความได้เปรียบเชิงแข่งขัน พยายามทุ่มเทสรรพกำลังเพื่อใช้บุคลากร หรือทุกภาคส่วนมาแก้ไขปัญหา แต่ปัญหาว่าการพัฒนาจุดแข็งของเรานั้นยังอยู่ในสภาพจุดอ่อนอยู่ครับ เพราะหลักการพัฒนาต้องพัฒนาจุดแข็งของการศึกษา แต่ในขณะนี้ระบบการศึกษาเรามีจุดอ่อนที่เรื่องภาวะผู้นำทางการศึกษาซึ่งเป็นหัวใจสำคัญต่อการศึกษา หากไม่ทำการปฏิรูปการศึกษาโดยการปรับเปลี่ยนหรือพัฒนาภาวะผู้นำทางการศึกษาแล้วย่อมยากที่จะเข็นปฏิรปไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ นโยบายที่เขียนไปก็เพียงดูดีในด้านเนื้อหาสาระของนโยบายแต่ในการปฏิบัติจริงไม่สามารถสัมฤทธิผลได้ หากไม่ได้ปรับเปลี่ยนองค์การให้ทันสมัยพัฒนา (transformational organization) เกรงว่าการพัฒนาจะกลายเป็นแค่เหล้าเก่าในขวดใหมเท่านั้นเอง 2. ในด้านจุดอ่อน (weakness) พบว่ายังไม่มีกลไกปฏิรูปที่ทำให้มั่นใจว่าระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ เพราะหากไม่มีการกำหนดวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน แต่ภารกิจ,เป้าหมาย,กลยุทธ์ และทางเลือกกลยุทธ์นั้นไม่สอดคล้องต้องกัน ก็เป็นจุดอ่อนของระบบการศึกษา หมายถึงฟันเฟืองการศึกษาที่จะนำไปสู่เป้าหมายความสัมฤทธิผลนั้นอาจบกพร่องหรือชำรุดในจุดใดจุดหนึ่งในกระบวนการปฏิรูปการศึกษา ปัญหาจากการที่คนในสังคมยังมีความขัดแย้งทางความคิด หรือเป้าหมายในการดำเินินการไปสู่ทิศทางเดียวกันยังเป็นปัญหาสำคัญที่ยังไม่เห็นทิศทาง ดังนั้นเราจะปรับเปลี่ยนจุดอ่อนอย่างไร หากองค์การไม่มีการพัฒนาองค์การได้ถูกทิศทาง การมีกฎระเบียบ,เครื่องมือ,เทคโนโลยีก็ช่วยอะไรไ่ม่ได้หากวัฒนธรรมองค์การของสถาบันอุดมศึกษาไม่ได้มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน หรือมีจิตสำนึกอย่างแท้จริงต่อการทำหน้าที่ทางการศึกษาทั้งเจ้าหน้าที่,ครูอาจารย์ และนักบริหารการศึกษาทุกระดับ องคาพยพนั้นต้องมองเห็นจุดหละหลวมและจะต้องมีกลไกในการปรับเปลี่ยนได้ทันที เพื่อป้องกันสนิมที่มีอยู่แต่เนื้อในทีต้องช่วยกันขัดสนิม ซึ่งลำพังรัฐมนตรีคนเดียวย่อมทำไม่ได้ 3. ปัญหาคุกคาม (Threat) พบว่าเกิดจาการบริหารภายในสถาบันอุดมศึกษามีปัญหาการเล่นพรรคเล่นพวก และวิธีการสรรหาบุคลากรตั้งแต่ระดับอธิการบดี,รองอธิการ,คณบดี,รองคณบดี ผู้อำนวยการ จนกระทั่งกระบวนการรับสมัครครูอาจารย์ยังเป็นระบบอุปถัมภ์เป็นส่วนใหญ่ มีเพียงบางมหาวิทยาลัยเท่านั้นที่ใช้ระบบคุณธรรม ระบบพรรคพวกได้เข้าไปกลืนระบบ และเกิดการสร้างอาณาจักรของฝ่ายบริหารแทบจะทุกพืิ้นที่นั้นจะำทำอย่างไร ให้เป็นระบบธรรมาภิบาล เพราะเพียงลำพังให้มีธรรมาภิบาลในองค์การก็เป็นความคาดหวังลม ๆ แล้งเท่านั้น 4. โอกาส (opportunity) การพลิกวิกฤติเป็นโอกาสนั้น ต้องพยายามสร้างการมีส่วนร่วมในการทำงานของครูอาจารย์ให้มากที่สุด มิใช่กลไกการบริหารแบบอำนาจนิยม (authoritarianism) ผู้นำในระบบการศึกษาควรเป็นผู้นำแบบประชาธิปไตยหรือผุ้นำแบบปรึกษาหารือ ส่งเสริมการสร้างพลังอำนาจโดยการออกกฎหมายที่ให้อำนาจในการตัดสินใจของครูอาจารย์หรือกฎหมายการมีส่วนร่วมในทุกระดับ และการป้องกันปัญหาการใช้ระบบอุปถัมภ์ชอนไชต้นไม้ยืนต้นให้ตายซาก จากสิ่งที่ยึดเหนี่ยวไม่ให้องค์การทางการศึกษามีความก้าวหน้าได้ ส่วนแนวคิด 7's ที่นำมาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการปรับตัวแปรที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาที่ยังมีจุดอ่อน และจุดบกพร่องที่ทำใ้ห้การศึกษาไทยล้าหลังไปอย่างต่อเนื่อง ก. strategy คือกลยุทธ์ การที่รัฐมนตรีไ้ด้ปรับกลยุทธ์ในแนวทางที่เน้นพัฒนาคนนั้นนับว่าเป็นนิมิตรหมายที่ดี เน้นการสร้างความเติบโตของทรัพยากรมนุษย์มากกว่าทรัพยากรทางวัตถุซึ่งการเน้นทรัพยากรทางวัตถุไม่สามารถแข่งขันในเวทีโลกได้ เพราะหากเน้นความเจริญทางวัตถุ จิตใจมนุษย์ก็จะเห็นแก่ตัว,มุ่งเอาชัยชนะ,มุ่งแสวงหาผลประโยชน์เข้าหาตัวเอง, กลยุทธ์ที่สำคัญได้การส่งเสริมการแข่งขันในระดับอาเซียนก่อนทีี่จะเปรียบเทียบกับนานาชาติ ซึ่งเป็นสิ่งที่ใกล้ตัว เนื่องจากประชาคมอาเซียนกำลังจะกลายเป็นระบบการศึกาาระบบเดียว ข. style คือลีลา พบว่าลีลาที่ควรปรับแก้คือการศึกษาไทยเน้นพัฒนาทางวัตถุนิยมมากเกินควร ควรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมวัฒนธรรมไทยที่รักษาเอกลักษณ์ ค่านิยม ปทัสถานแบบไทยที่ดีงาม มากกว่าจะเลียนแบบการบริโภคของตะวันตก เป็นลีลาที่เน้นความสำคัญของการพัฒนามนุษย์ในลักษณะมนุษยนิยม ส่งเสริมประชาธิปไตยที่ยอมรับความแตกต่างหลากหลาย,การยกระดับจิตวิญญาณของครูหรืออาจารย์ให้สูงขึ้นมากกว่าการสนใจในเรื่องตำแหน่ง,เกียรติยศ,เงินตราหรือชื่อเสียงซึ่งไม่ยั่งยืน ค. structure คือโครงสร้าง ต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างระบบการศึกษาใหม่ทั้งระบบ มิใช่การปฏิรูปแบบเหล้าเก่าในขวดใหม่ สาระใหม่ในโครงสร้างเก่า แต่ควรเป็นสาระใหม่ในโครงสร้างใหม่ (new content under new structure) ต้องกล้าเปลี่ยนแปลงจึงจะทำให้การศึกษาไทยเปลี่ยนโฉมหน้าได้ ไม่เช่นนั้นก็จะเป็นแบบเดิม ๆ ที่แลดูทันสมัยแต่ไม่พัฒนา ง. staff คือบุคลากร เน้นการพัฒนาบุคลากรระดับผู้นำ,ผู้บริหาร หรือครูบาอาจารย์ในทุกระดับให้มีการตื่นตัวต่อระบบการศึกษาทั้งระบบ ทั้งนี้เกิดจากการจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาฝึกอบรมให้ผุ้บริหารเป็นคนทันสมัย,ทันโลก,ทันเหตุการณ์ แต่มิใช่ปล่อยให้ผู้บริหารไปกันเองคนละทิศคนละทาง ทำให้เป้าหมายไม่สอดคล้องหรือรับกันในการบริหารงานองค์การในสถาบันอุดมศึกษาได้ จ. system คือระบบ เป็นสิ่งที่ทำให้กระบวนการการศึกษาทำงานอย่างเป็นระบบ ที่จากบนลงล่าง หรือล่างขึ้นบน ลดกระบวนการขั้นตอนของระบบให้สั้นลงโดยใช้เทคโนโลยี่เข้าช่วย และส่งเสริมระบบการทำงานของสถาบันการศึกษาให้น่าอยู่น่าทำงาน มีระบบการจุงใจที่ดี มีการใช้ภาวะผู้นำที่ดี การวางระบบการทำงานจึงจะมีประสิทธิภาพ,ประสิทธิผลได้ ฉ. share vision การแบ่งปันวิสัยทัศน์ คือการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้,การจัดองค์การแห่งการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ และมีความเชื่อมโยงสอดคล้องต้องกันทั้งระบบ การแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ต้องให้ผู้บริหารมีการเป็นประธานแลกเปลี่ยน และทำอย่างสม่ำเสมอในรูปแบบการสัมมนา, ปาฐกถา,การจัดอีเวนท์ทางการศึกษา, การจัด symposium และการแสดงหน้าเวทีหรือการอภิปรายเพื่อถกเถียงหาข้อสรุปกันอย่างสม่ำเสมอ จนตกผลึก ในลักษณะตั้งคณะกรรมการแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์เพื่อให้เจ้ากระทรวงนำไปปรับแก้ไขพัฒนาให้ดีขึั้น ช. synergy หมายถึงการสร้างพลังร่วม ในปัจจุบันพลังร่วมมีจุดอ่อนอันเนื่องจากสังคมมีความแตกต่างทางความคิด นำไปสู่การขัดแย้ง ทำอย่างไรจึงจะหลอมรวมพฤติกรรมบุคคล,กลุ่ม,องค์การให้มีการผสมผสานกลมกลืนกันให้มากที่สุดแม้จะใ้ช้เวลามากก็ตาม แต่ก็เห็นใจที่เจ้ากระทรวงศึกษาธิการมักเปลี่ยนหน้ากันบ่อย จึงขาดความต่อเนื่องในกระบวนการพัฒนาหรือปฏิรูปการศึกษา สรุป ผู้นำกระทรวงศึกษาธิการต้องเป็นบุคคลที่กล้านำ,กล้าเปลี่ยนแปลง เืชื่อมั่นในการนำพาระบบการศึกษาก้าวไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง มีความเสียสละและทุ่มเทและมีจิตวิญญาณอย่างแรงกล้าที่จะพัฒนาการศึกษาให้ก้าวไปข้างหน้า และอยู่ในขบวนแถวหน้าของประชาคมอาเซียน หรือเทียบเคียงกับนานาชาติสากลได้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ