จุดบอดของการเมืองการปกครองของไทยที่ทำให้ไทยล้าหลัง
จากการศึกษาพฤติกรรมการเมืองของไทยมีจุดอ่อนหลายประการที่ควรแก้ไขอย่างเร่งด่วน และเป็นจุดที่ทำให้ไทยต้องล้าหลังกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งได้แก่
จุดอ่อนทางด้านการเมืองไทย:
1. การเมืองไทยมุ่งโจมตีจุดอ่อน และมุ่งโจมตีตัวบุคคลมากกว่าจะนำหลักการมาพูดถึง ทำให้ประเทศไทยเสียภาพพจน์ในสายตาชาวโลก ซึ่งการเมืองที่ดีควรมุ่งส่งเสริมจุดแข็ง ไม่ควรมาปลุกกระแสโจมตีคนไทยกันเอง
2. การเมืองไทยมุ่งเพ่งเล็งที่ผลประโยชน์จนลืมผลประโยชน์ประชาชน และประเทศชาติ เพราะความ
เห็นแก่ตัว หรือต้องการแต่เพียงอำนาจ แต่ไม่คิดสร้างสรรค์ประโยชน์ให้กับประเทศชาติ การโจมตีมีลักษณะเกินความเป็นจริง
3. นักการเมืองไทยต้องแสดงความสามารถในการเป็นนักการเมืองแบบมืออาชีพที่ทำให้ประชาชนยอมรับ มีความโปร่งใส,เปิดเผย, ทุกโครงการไม่ซ่อนเร้นด้วยผลประโยชน์แอบอิง แม้ว่าจะเสียเวลาก็ตาม หากโครงการใดที่ต้องทำอย่างรวดเร็วก็ต้องแสวงหาวิธีการเร่งด่วน และทำการประชาสัมพันธ์
ให้ประชาชนรับทราบ
4. นักการเมืองฝ่ายค้าน ควรค้านอย่างสร้างสรรค์ ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายโค่นล้มรัฐบาล แต่ควรเสนอแนะว่ารัฐบาลควรทำอย่างไรบ้านเมืองจึงจะเข้มแข็ง ทำลายจุดอ่อน มิใช่แสวงหาจุดอ่อนเพื่อโจมตีความเข้มแข็งของรัฐบาล อย่ากลัวว่ารัฐบาลจะบริหารประเทศได้ดี และยอมรับการเปลี่ยนแปลง และปรับตัวเข้ากับสถานการณ์โลกด้วย
5. นักการเมืองไทยต้องแสดงสปิริตด้วยการไม่เล่นพรรคเล่นพวก ดึงให้ฝ่ายค้านมาร่วมทำงานด้วยก็ได้ แบบ (Cooptation) เพื่อขจัดปัญหาความหวาดระแวงต่อกัน ควรส่งเสริมการแก้ปัญหาให้ทุกฝ่ายร่วมด้วยช่วยกัน เพราะจะเป็นจุดอ่อนให้โจมตี
6. นักการเมืองที่ดีไม่ควรหาตัวช่วยเพื่อโค่นล้มอำนาจของรัฐบาล เช่นการอาศัยอำนาจองค์การอิสระ, การอาศัยตุลาการ,การอาศัยบุคคลที่มีอำนาจ เพราะการทำเช่นนั้นเป็นการเล่นการเมืองที่สกปรก เป็นการแก้ปัญหาเอาความสกปรกมาชำระล้างในสิ่งที่ถูกต้อง และสิ่งที่โจมตีจะไม่มีความหมายใด ๆ เลย
7. ควรหามาตรการลดการซื้อเสียงของนักการเมือง ด้วยการรณรงค์การไม่ซื้อเสียง หรือการไม่ขายเสียงของนักการเมือง ด้วยการสอดส่องเฝ้ามองสังเกตการณ์ของผู้มีจิตอาสาเกี่ยวกับการเมืองเพื่อลดการซื้อเสียง เมื่อนักการเมืองไทยไม่ลงทุนอะไรมาก การบริหารประเทศก็จะไม่คิดถอนทุนคืน จะพยายามทำหน้าที่ให้ดีที่สุด เพื่อชื่อเสียงวงศ์ตระกูลของตนเอง
จุดอ่อนทางด้านเศรษฐกิจไทย
1. เศรษฐกิจไทยยังไม่ได้มีการกระจายรายได้อย่างทัดเทียม คนรวยมีโอกาสมากมาย ในขณะที่คนจนไร้โอกาสทางเศรษฐกิจ ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะพยายามสร้างรายได้ให้กับคนรากหญ้าก็ตาม แต่ปัญหาข้าวของราคาแพง ก็กระหน่ำอย่างรวดเร็ว ควรที่จะควบคุมราคาสินค้าให้ได้มาตรฐาน
2. ปัญหาค่าเงินบาทแข็ง ราคาทองคำลดต่ำลง ทำให้การส่งออกของไทยมีปัญหา และกระทบกระเทือนต่ออุตสาหกรรมไทยในด้านการส่งออก
3. ปัญหาราคาน้ำมันแพง กระทบถึงราคาสินค้าทุกรายการแพงขึ้น ควรสร้างระบบสหกรณ์สินค้าจำเป็นราคาถูกมาแก้ปัญหาอย่างเป็นทางการในทุกชุมชนหมู่บ้าน โดยรัฐส่งเสริมกลไกสหกรณ์เข้าไปทำเป็นร้านค้าราคาถูก เพื่อให้ผู้จำหน่ายสินค้าส่งสินค้าโดยตรงให้รัฐบาลจำหน่าย เพื่อให้สินค้าราคาถูก
และกระทบกระเทือนต่อคนยากจนน้อยลง
4. ปัญหาการแสวงหาตลาดโลกภายนอกในการจำหน่ายสินค้าไทยส่งนอก อาจใช้วิธีแลกของต่อของ หรือการแสวงหามิตรประเทศในการร่วมกันกำหนดสินค้าเพื่อประโยชน์ของมิตรประเทศร่วมกัน เช่นการประกันราคายาง, ราคาข้าว.และอื่น ๆ
จุดอ่้อนทางด้านการปกครองไทย
1. การปกครองไทยยังมีลักษณะการรวบอำนาจที่ศูนย์กลางมากกว่าการกระจายอำนาจ กฎหมายหรือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ให้อำนาจกับผู้บริหารมากเกินไป จนทำให้ผู้บริหารมีการหลงไหลในอำนาจ แต่ควรสร้างพลังอำนาจให้กับคนระดับรอง ๆ ลงมา ปัญหานี้อยู่ที่ฝ่ายการเมืองต้องรีบปฏิรูปการปกครอง โดยใช้กฎกระทรวงแก้ไขไปก่อน
2. การปกครองไทยยังมีลักษณะแบบเจ้าขุนมูลนาย ในขณะที่โลกต้องการประชาธิปไตย หรือต้องการความเท่าเทียมกัน การมีตำแหน่งแห่งหนที่มียศชั้นทำให้คนมีตำแหน่งอำนาจดูถูกราษฎรคนยากจน หรือคนไร้โอกาส ทำให้ความเป็นมนุษย์ของผู้คนในสังคมมีความรู้สึกว่าด้อย สิ่งสำคัญคือการปกครองต้องให้โอกาสเท่าเทียมกัน มองเห็นคุณค่าของมนุษย์ ไม่ให้ความสำคัญทางสิ่งของวัตถุเหนือกว่าความดีของมนุษย์
3. การศึกษาไทยถูกครอบงำ มีลักษณะของการชี้นำไม่ได้เกิดจากการสร้างสรรค์ของผู้เรียน แม้แต่มหาวิทยาลัยก็ถูกกำหนดกรอบตายตัว ทำให้ความคิดสร้างสรรค์ต่อยอดทำได้ยาก ไม่ได้มีการปฏิรูปอย่างจริงจัง มีลักษณะทำเป็นเรื่องเฉพาะเล็กน้อย แต่ไม่ได้แตะปัญหาโครงสร้าง หรือการปฏิรูปอย่างแท้จริง ขาดการวางแผนทั้งระบบ การทำงานยังมีลักษณะ One man show มากกว่าจะหาวิธีการเร่งรัดให้ระบบการศึกษาไทยก้าวไปข้างหน้า ไม่ใช่เป็นการแตะนิดแตะหน่อยเท่านั้น
4. ปรับปรุงงานภาครัฐให้มีลักษณะที่กระทัดรัด แต่มีคุณภาพ และมีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น ด้วยการส่งเสริมมาตรฐานการบริการ หรือการบริหารให้สูงขึ้น โดยที่รัฐมนตรีที่รับผิดชอบควรมีการประชุมกับข้าราชการระดับสูงอย่างสม่ำเสมอ และสร้างจิตสำนึกในการบริการที่รวดเร็ว และหาวิธีให้การบริการมีความรวดเร็วประสิทธิภาพสูง ลดปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น และเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนได้เข้ามาทำการตรวจสอบระดับความโปร่งใส
จุดบอดและจุดอ่อนเหล่านี้แก้ไขด้วยการปลูกจิตสำนึกให้นักการเมืองและข้าราชการทำงานรับใช้ประเทศชาติ คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว มิใช้วิชามารหรือการกระทำการทุจริตต่อหน้าที่ในทุกรูปแบบ ก็จะทำให้สังคมไทยมีการพัฒนาก้าวไกลในอาเซียน จากการสนับสนุนของรัฐบาลไทย
จุดอ่อนทางด้านการเมืองไทย:
1. การเมืองไทยมุ่งโจมตีจุดอ่อน และมุ่งโจมตีตัวบุคคลมากกว่าจะนำหลักการมาพูดถึง ทำให้ประเทศไทยเสียภาพพจน์ในสายตาชาวโลก ซึ่งการเมืองที่ดีควรมุ่งส่งเสริมจุดแข็ง ไม่ควรมาปลุกกระแสโจมตีคนไทยกันเอง
2. การเมืองไทยมุ่งเพ่งเล็งที่ผลประโยชน์จนลืมผลประโยชน์ประชาชน และประเทศชาติ เพราะความ
เห็นแก่ตัว หรือต้องการแต่เพียงอำนาจ แต่ไม่คิดสร้างสรรค์ประโยชน์ให้กับประเทศชาติ การโจมตีมีลักษณะเกินความเป็นจริง
3. นักการเมืองไทยต้องแสดงความสามารถในการเป็นนักการเมืองแบบมืออาชีพที่ทำให้ประชาชนยอมรับ มีความโปร่งใส,เปิดเผย, ทุกโครงการไม่ซ่อนเร้นด้วยผลประโยชน์แอบอิง แม้ว่าจะเสียเวลาก็ตาม หากโครงการใดที่ต้องทำอย่างรวดเร็วก็ต้องแสวงหาวิธีการเร่งด่วน และทำการประชาสัมพันธ์
ให้ประชาชนรับทราบ
4. นักการเมืองฝ่ายค้าน ควรค้านอย่างสร้างสรรค์ ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายโค่นล้มรัฐบาล แต่ควรเสนอแนะว่ารัฐบาลควรทำอย่างไรบ้านเมืองจึงจะเข้มแข็ง ทำลายจุดอ่อน มิใช่แสวงหาจุดอ่อนเพื่อโจมตีความเข้มแข็งของรัฐบาล อย่ากลัวว่ารัฐบาลจะบริหารประเทศได้ดี และยอมรับการเปลี่ยนแปลง และปรับตัวเข้ากับสถานการณ์โลกด้วย
5. นักการเมืองไทยต้องแสดงสปิริตด้วยการไม่เล่นพรรคเล่นพวก ดึงให้ฝ่ายค้านมาร่วมทำงานด้วยก็ได้ แบบ (Cooptation) เพื่อขจัดปัญหาความหวาดระแวงต่อกัน ควรส่งเสริมการแก้ปัญหาให้ทุกฝ่ายร่วมด้วยช่วยกัน เพราะจะเป็นจุดอ่อนให้โจมตี
6. นักการเมืองที่ดีไม่ควรหาตัวช่วยเพื่อโค่นล้มอำนาจของรัฐบาล เช่นการอาศัยอำนาจองค์การอิสระ, การอาศัยตุลาการ,การอาศัยบุคคลที่มีอำนาจ เพราะการทำเช่นนั้นเป็นการเล่นการเมืองที่สกปรก เป็นการแก้ปัญหาเอาความสกปรกมาชำระล้างในสิ่งที่ถูกต้อง และสิ่งที่โจมตีจะไม่มีความหมายใด ๆ เลย
7. ควรหามาตรการลดการซื้อเสียงของนักการเมือง ด้วยการรณรงค์การไม่ซื้อเสียง หรือการไม่ขายเสียงของนักการเมือง ด้วยการสอดส่องเฝ้ามองสังเกตการณ์ของผู้มีจิตอาสาเกี่ยวกับการเมืองเพื่อลดการซื้อเสียง เมื่อนักการเมืองไทยไม่ลงทุนอะไรมาก การบริหารประเทศก็จะไม่คิดถอนทุนคืน จะพยายามทำหน้าที่ให้ดีที่สุด เพื่อชื่อเสียงวงศ์ตระกูลของตนเอง
จุดอ่อนทางด้านเศรษฐกิจไทย
1. เศรษฐกิจไทยยังไม่ได้มีการกระจายรายได้อย่างทัดเทียม คนรวยมีโอกาสมากมาย ในขณะที่คนจนไร้โอกาสทางเศรษฐกิจ ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะพยายามสร้างรายได้ให้กับคนรากหญ้าก็ตาม แต่ปัญหาข้าวของราคาแพง ก็กระหน่ำอย่างรวดเร็ว ควรที่จะควบคุมราคาสินค้าให้ได้มาตรฐาน
2. ปัญหาค่าเงินบาทแข็ง ราคาทองคำลดต่ำลง ทำให้การส่งออกของไทยมีปัญหา และกระทบกระเทือนต่ออุตสาหกรรมไทยในด้านการส่งออก
3. ปัญหาราคาน้ำมันแพง กระทบถึงราคาสินค้าทุกรายการแพงขึ้น ควรสร้างระบบสหกรณ์สินค้าจำเป็นราคาถูกมาแก้ปัญหาอย่างเป็นทางการในทุกชุมชนหมู่บ้าน โดยรัฐส่งเสริมกลไกสหกรณ์เข้าไปทำเป็นร้านค้าราคาถูก เพื่อให้ผู้จำหน่ายสินค้าส่งสินค้าโดยตรงให้รัฐบาลจำหน่าย เพื่อให้สินค้าราคาถูก
และกระทบกระเทือนต่อคนยากจนน้อยลง
4. ปัญหาการแสวงหาตลาดโลกภายนอกในการจำหน่ายสินค้าไทยส่งนอก อาจใช้วิธีแลกของต่อของ หรือการแสวงหามิตรประเทศในการร่วมกันกำหนดสินค้าเพื่อประโยชน์ของมิตรประเทศร่วมกัน เช่นการประกันราคายาง, ราคาข้าว.และอื่น ๆ
จุดอ่้อนทางด้านการปกครองไทย
1. การปกครองไทยยังมีลักษณะการรวบอำนาจที่ศูนย์กลางมากกว่าการกระจายอำนาจ กฎหมายหรือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ให้อำนาจกับผู้บริหารมากเกินไป จนทำให้ผู้บริหารมีการหลงไหลในอำนาจ แต่ควรสร้างพลังอำนาจให้กับคนระดับรอง ๆ ลงมา ปัญหานี้อยู่ที่ฝ่ายการเมืองต้องรีบปฏิรูปการปกครอง โดยใช้กฎกระทรวงแก้ไขไปก่อน
2. การปกครองไทยยังมีลักษณะแบบเจ้าขุนมูลนาย ในขณะที่โลกต้องการประชาธิปไตย หรือต้องการความเท่าเทียมกัน การมีตำแหน่งแห่งหนที่มียศชั้นทำให้คนมีตำแหน่งอำนาจดูถูกราษฎรคนยากจน หรือคนไร้โอกาส ทำให้ความเป็นมนุษย์ของผู้คนในสังคมมีความรู้สึกว่าด้อย สิ่งสำคัญคือการปกครองต้องให้โอกาสเท่าเทียมกัน มองเห็นคุณค่าของมนุษย์ ไม่ให้ความสำคัญทางสิ่งของวัตถุเหนือกว่าความดีของมนุษย์
3. การศึกษาไทยถูกครอบงำ มีลักษณะของการชี้นำไม่ได้เกิดจากการสร้างสรรค์ของผู้เรียน แม้แต่มหาวิทยาลัยก็ถูกกำหนดกรอบตายตัว ทำให้ความคิดสร้างสรรค์ต่อยอดทำได้ยาก ไม่ได้มีการปฏิรูปอย่างจริงจัง มีลักษณะทำเป็นเรื่องเฉพาะเล็กน้อย แต่ไม่ได้แตะปัญหาโครงสร้าง หรือการปฏิรูปอย่างแท้จริง ขาดการวางแผนทั้งระบบ การทำงานยังมีลักษณะ One man show มากกว่าจะหาวิธีการเร่งรัดให้ระบบการศึกษาไทยก้าวไปข้างหน้า ไม่ใช่เป็นการแตะนิดแตะหน่อยเท่านั้น
4. ปรับปรุงงานภาครัฐให้มีลักษณะที่กระทัดรัด แต่มีคุณภาพ และมีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น ด้วยการส่งเสริมมาตรฐานการบริการ หรือการบริหารให้สูงขึ้น โดยที่รัฐมนตรีที่รับผิดชอบควรมีการประชุมกับข้าราชการระดับสูงอย่างสม่ำเสมอ และสร้างจิตสำนึกในการบริการที่รวดเร็ว และหาวิธีให้การบริการมีความรวดเร็วประสิทธิภาพสูง ลดปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น และเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนได้เข้ามาทำการตรวจสอบระดับความโปร่งใส
จุดบอดและจุดอ่อนเหล่านี้แก้ไขด้วยการปลูกจิตสำนึกให้นักการเมืองและข้าราชการทำงานรับใช้ประเทศชาติ คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว มิใช้วิชามารหรือการกระทำการทุจริตต่อหน้าที่ในทุกรูปแบบ ก็จะทำให้สังคมไทยมีการพัฒนาก้าวไกลในอาเซียน จากการสนับสนุนของรัฐบาลไทย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น