ความคืบหน้าในการดำเนินงานของศูนย์ส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขัน

 1. มีการนัดประชุมวันที่ 26 พฤศจิกายน 2555 ที่วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ เวลาประมาณ 16.00 น.
 2. ท่านอ.ชัยวัฒน์ แสงแก่นเพ็ชร เจ้าของโรงเรียนในฐานะสมาชิกผู้บริหารเครือข่ายภาคอีสาณ ได้เข้าไปติดต่อกับทางมหาวิทยาลัยตะวันออกในวันที่ 19 พฤศจิกายน 55 แต่ทางผู้บริหารมหาวิทยาลัยติดภารกิจ และจะเข้าไปเข้าพบใหม่อีกครั้งหนึี่ง โดยท่านฝากบอกว่าจะดำเนินการให้ได้ผลดีที่สุด
 3. ขณะนี้ทางศูนย์ฯ มีเครือข่ายเข้าร่วมแล้ว 17 คน และได้ผ่านให้ทางกรรมการและสมาชิกโดยเฟสบุ๊ค
 4. สำหรับวาระการประชุมที่จะประชุมมี
     4.1 การระดมสมองเกี่ยวกับการจัดตั้งศูนย์หรือชมรม หรือสมาคมเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน
     4.2 การอภิปรายเกี่ยวกับระเบียบเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์การเพื่อความได้เปรียบเชิงแข่งขัน
     4.3 การอภิปรายแสดงความคิดเห็นของผู้ร่วมก่อตั้ง

การประชุมครั้งที่ 1 (27 พฤศจิกายน 2555 เวลา 17.00 น. นั่งร้านอาหารกาแฟ ฟิวเจอร์ปาร์ค) มีผู้ก่อ
Photo: ผมส่งรูปถ่ายมาให้อาจารย์ครับ

การระดับกำกับบริหารอยู่ 4 ท่าน จากซ้ายมือได้แก่ ผศ.วัลลภ นิมมานนท์ และผศ.ดร.ทวิพันธ์ พัวสรรเสริญ  ส่วนขวามือคืออาจารย์ชัยวัฒน์ แสงแก่นเพ็ชร และอาจารย์ศักดิ์ชาย ตัน
    วาระที่ 1 เรื่องชื่ือหน่วยงาน
                ได้แก้ไขเป็นชื่อ "ศูนย์เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย"
                พูดถึงกรอบโครงสร้างองค์การ และสิ่งที่เชื่อมโยงกับหน่วยงานต่าง ๆทั้งภาครัฐและเอกชน
                เน้นการทำเป็นทั้งเครือข่าย และการจดทะเบียนพาณิชย์ในการจัดตั้งองค์การ
   วาระที่ 2 พูดถึงกลยุทธ์ จากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแบบภาพรวม การเช่ื่อมโยงกับหน่วยงานต่าง ๆ การจัดองค์การเป็นลักษณะแบบผสมคือเป็นแบบ Semi profit and non-profit organization เน้น
          ก. การฝึกอบรม (Training)
          ข. การเตรียมความพร้อมบัณฑิตเข้าสู่โลกธุรกิจ
          ค. การเข้าไปส่งเสริมความคิดในการแก้ปัญหากลุ่มอุตสาหกรรม
          ง. การสร้างเครือข่ายสมรรถนะของทรัพยากรมนุษย์
  วาระที่ 3 กำหนดการประชุมครั้งต่อไป ที่วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ และจะแจ้งให้ทราบภายหลัง

การประชุมครั้งที่ 2 มีผู้เข้าร่วมประชุม 5 คน คือ
          1. ผศ.วัลลภ นิมมานนท์
          2. ผศ.ดร.ทวิพันธ์ พัวสรรเสริญ
          3. นายศักดิ์ชาย ตัน
          4. นางวารี ศรีภิรมย์
          5. นายพิพัฒฐ์ ศรีแตงทอง
วาระที่ 1 เรื่องความคืบหน้าในการดำเนินงาน
          1. Super Mini MBA
          2. หลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง เช่นการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาสู่ธุรกิจ,ภาษาอังกฤษ,การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในทางธุรกิจ ฯลฯ
          3. หลักสูตรปริญญาโทสาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์
          4. หลักสุตรปริญญาโท สำหรับ Executive
          5. หลักสูตร super mini mba แบบไม่เทียบรายวิชา (สามารถดำเนินการได้เลย)
         คุณวารี แนะนำว่าการอบรมควรใช้แบบ in-house training, มีการรับงานที่ปรึกษาแบบตัวต่อตัว
มีการออกแบบการฝึกอบรมที่แก้ปัญหาขององค์การ ในลักษณะการพัฒนาองค์การ
วาระที่ 2 กำหนดให้กรรมการเครือข่ายช่วยออกแบบกลยุทธ์ในการดำเนินงานคนละ 3 กลยุทธ์ในการจัดการประชุมครั้งต่อไป   การกำหนดให้วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิเป็นตัวนำการฝึกอบรม ทั้งในและนอกสถานที่
วาระที่ 3 ให้กรรมการแต่ละคนช่วยกันแสวงหาสมาชิกเครือข่ายที่มีศักยภาพเพิ่มขึ้น เพื่อให้มีข้อมูลของผู้ที่เข้ามาร่วมเครือข่ายเพิ่มขึ้นอย่างน้อยท่านละ 1 คน   และมีการนัดแนะให้กรรมการได้เข้าพบกับ ผศ.ดร.นพรัฐพล ศรีบุนนาคในการดำเนินงานโครงการในเรื่องการฝึกอบรม และการนำเสนอ mini mba หรือ mini mpa




        
 
          

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

108 คำคมขงเบ้ง คำคมสอนใจ จากขงเบ้ง

ตัวแบบงบประมาณผูกพัน (Beyond Budgeting) ตอนที่หนึ่ง