แรงผลักดัน 5 ประการสำหรับการแข่งขันที่ก่อรูปกลยุทธ์

          


              จากตำราในบทที่หนึ่งนั้น ไมเคิล พอร์ตเตอร์ ได้ให้ทัศนะแง่มุมเกี่ยวกับงานของนักกำหนดกลยุทธ์ (strategegist) ว่าต้องเข้าใจและแก้ปัญหาเกี่ยวกับการแข่งขันได้   เขามีทัศนะว่าผู้บริหารมักนิยามการแข่งขันในวงแคบ ราวกับว่ามีเพียงแต่คู่แข่งขันโดยตรงในปัจจุบันนี้เท่านั้น อย่างไรก็ตามการแข่งขันเพื่อแสวงหากำไรมีนอกเหนือจากการขับเคี่ยวอุตสาหกรรมที่มีอยู่ได้แก่แรงผลักดันเพื่อการแข่งขันสี่ประการอันได้แก่ ลูกค้า,ผู้จัดหาสินค้า (suppliers), ผู้มีช่องทางการแข่งขันที่มีศักยภาพ (potential entrancts) และสินค้าทดแทน (substitute products)  การขับเคี่ยวที่ขยายตัวเป็นผลมา  จากพลังผลักดัน 5 ประการที่กำหนดโครงสร้างของอุตสาหกรรม และกำหนดธรรมชาติของปฏิสัมพันธ์เพื่อการแข่งขันภายในอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง
             สิ่งที่แตกต่างในแต่ละอุตสาหกรรมอาจปรากฎเป็นเพียงผิวเผิน  แรงขับเคลื่อนที่อยู่ภายใต้ของความสามารถในการทำกำไรจึงเป็นสิ่งเดียวกัน ตัวอย่างเช่นอุตสาหกรรมยานยนต์ระดับโลกปรากฎว่าไม่มีอะไรที่เป็นเรื่องทั่วไปเกี่ยวกับตลาดระดับโลกสำหรับชิ้นงานที่เป็นศิลปะ หรืออุตสาหกรรมส่งมอบการรักษาสุขภาพที่มีกฎเกณฑ์อย่างมากในยุโรป แต่ทว่าการเข้าใจการแข่งขันของอุตสาหกรรมและความสามารถในการทำกำไรในแต่ละอุตสาหกรรมมีอยู่ 3 กรณี กรณีแรกต้องวิเคราะห์โครงสร้างที่อยู่ภายใต้อุตสาหกรรมในแง่ของแรงผลักดัน 5 ประการ (ดูจากภาพ)
           หากแรงผลักดันเป็นสินค้าคงทน ซึ่งได้แก่แรงผลักดันในอุตสาหกรรมเช่นเดียวกับสายการบิน,การทอผ้า, และโรงแรม  ไม่มีบริษัทใด ๆ แสวงหาผลตอบแทนจากการลงทุนที่น่าดึงดูดใจ  หากแรงผลักดันนั้นมีความอ่อนตัวดังเช่นอุตสาหกรรมเช่นซอฟล์แวร์, น้ำดื่ม และสุขภัณฑ์   บริษัทส่วนมากมีความสามารถในการทำกำไร  โครงสร้างอุตสาหกรรมขับเคลื่อนการแข่งขันและความสามารถในการทำกำไร  ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมผลิตสินค้าหรือบริการซึ่งกำลังเติบโต หรืออิ่มตัว เทคโนโลยีขั้นสุงหรือขั้นต่ำ ทั้งที่มีกฎระเบียบวางไว้หรือไม่มีกฎระเบียบวางไว้    ในขณะที่มีปัจจัยที่นับไม่ถ้วนสามารถมีผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรให้กับอุตสาหกรรมในระยะเวลาอันสั้น  ได้แก่อากาศและวัฎจักรทางธุรกิจ  โครงสร้างอุตสาหกรรมเป็นที่ประจักษ์ชัดในแรงผลักดันจากการแข่ง่ขัน การกำหนดความสามารถในการทำกำไรแก่อุตสาหกรรมในระยะปานกลางและระยะยาว
              การเข้าใจแรงผลักดันในการแข่งขัน และสาเหตุที่อยู่บนพื้นฐานของแรงผลักดันเหล่านั้น เปิดเผยถึงรากฐานของความสามารถในการทำกำไรในปัจจุบ้นของอุตสาหกรรมในขณะที่ตอบสนองกรอบเค้าโครงเพื่อการเข้าไปเกี่ยวข้องและมีอิทธิพลต่อการแข่งขันตลอดเวลา   โครงสร้างอุตสาหกรรมที่ดีควรจะเกี่ยวข้องกับการแข่งขันอย่างมากต่อนักกลยุทธ์เช่นเดียวกับตำแหน่งทางการตลาดของบริษัทของตนเอง การเข้าใจโครงสร้างอุตสาหกรรมเป็นสิ่งจำเป็นต่อการวางตำแหน่งทางการตลาดเชิงกลยุทธ์ที่มีประสิทธิผล ดังที่พวกเราได้เห็นการปกป้องที่มีต่อแรงผลักดันการแข่งขันและการกำหนดรูปแบบกลยุทธ์ในสิ่งที่โปรดปรานของบริษัทเป็นสิ่งสำคัญยิ่งยวดต่อกลยุทธ์
             โดยสรุป แรงผลักดัน 5 ประการ ทำให้ผู้บริหารสามารถมองรอบด้านในเชิงกว้าง และมองขอบเขตปัญหาได้ในองค์รวม  ซึ่งสามารถนำไปใช้กับการผลิตสินค้าหรือบริการเพื่อการแข่งขัน และการสร้างภาพพจน์ที่ดีทางการตลาดเพื่อเป็นแนวหน้าของการผลิตในอุตสาหกรรม รวมทั้งการสร้างกำไรที่มีต่อองค์การอุตสาหกรรมด้วย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ