การเปลี่ยนศัตรูมาเป็นมิตร
การสร้างมิตรภาพของบุคคลในสังคมเป็นสิ่งที่บุคคลผู้นั้นมีความตั้งใจในการสร้างมิตรนั้นย่อมไม่ยากเท่ากับการเปลี่ยนศัตรูมาเป็นมิตร การเปลี่ยนศัตรูมาเป็นมิตรมีลักษณะแสวงจุดร่วมสงวนจุดต่างที่ทำให้เกิดการยอมรับความแตกต่างของมนุษย์ที่อยู่ร่วมกันในสังคมซึ่งอาจมีการกระทบกระทั่งกันบ้างซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดา แต่เหนือสิ่งอื่นใดการให้อภัยเพื่อนมนุษย์ที่อาจจะมีความเข้าใจผิดต่อกัน หรือไม่เข้าใจกันนั้น ต้องแก้ไขโดยการหมั่นสำรวจว่าตนเองมีความบกพร่องผิดพลาดประการใดเพื่อจะได้นำไปแก้ไขให้ดีขึ้น ดังนั้นในสังคมแห่งการปรองดองนั้นจึงเป็นสิ่งที่ไม่ง่าย เพราะเหมือนกับการเปลี่ยนศัตรูมาเป็นมิตร แต่บางครั้งความคิดแตกต่างกันก็ไม่ได้หมายความว่่าจะเป็นศัตรูกัน เพราะอาจไม่ได้มีความตั้งใจเป็นศัตรูต่อกัน แต่เนื่องจากคนเราอาจมีเบ้าหลอมชีวิต และความเป็นอยู่ทางสังคมแตกต่างกัน รวมทั้งค่านิยมและบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน ทำให้เราจะมีลักษณะทีชอบหรือไม่ชอบ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักว่าคนเราเลือกที่จะชอบอะไร และเลือกที่จะไม่ชอบอะไร อะไรเป็นหลักและอะไรเป็นรอง ซึ่งถือว่าเป็นธรรมชาติมนุษย์ ดังนั้นการที่เราจะเปลี่ยนแปลงให้สังคมอยู่ร่วมกันเป็นปกติภายใต้สิ่งที่ไม่ปกตินั้นก็สมควรยอมรับการเปลี่ยนแปลง มิใช่กลัวการเปลี่ยนแปลง เพราะหากการเปลี่ยนแปลงนั้นก่อให้เกิดผลดีต่อส่วนรวมก็จำเป็นต้องทำ แต่มิใช่การเปลี่ยนแปลงนั้นมองแต่ผลกระทบเฉพาะตัวบุคคลนั้น จะทำให้เราไม่สามารถพัฒนาการแก้ไขปัญหาได้ เมื่อพบปัญหาที่สังคมพบกันอยู่ทั่วไป และเป็นเจตน์จำนงที่ประชาชนมองเห็นว่ารควรเปลี่ยนแปลง หรือพัฒนาก็ควรมีจิตใจกว้างขวางในการยอมรับ และมองโลกในแง่ดี และเชื่อว่ามนุษย์เราล้วนต้องการเป็นคนดีของสังคม หากเรามีการมองคนในโลกในแง่ร้าย เราก็จะมีความหวาดกลัว และบางครั้งก็กลัวจนเกินเหตุ จนนำไปสู่การสร้างความหวาดกลัวให้กับสังคมอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งทั้งนี้เราอาจจะไม่ได้ค้นหา หรือหาข้อมูลอย่างถ่องแท้ หรือไม่ได้พูดจาปราศรัยอย่างเปิดอก หรือเปิดใจกัน หากมีความห่างเหิน หรือไม่พูดจาโอภาปราศรัยหรือแลกเปลี่ยนความคิดกัน ก็ย่อมก่อให้เกิดอคติ หรือความลำเอียงได้ ดังนั้นเพื่อให้จิตใจของมนุษย์มี่ความเป็นกลางก็จะต้องมีการรับฟังความคิดเห็น ซึ่งหมายถึงการมองในมุมความคิดของผู้อื่น ๆ บ่อย ๆ และพยายามนำไปวิเคราะห์โดยไม่ตั้งใจมีอคติเป็นเบื้องต้นก่อน ก็จะทำให้เราค้นพบความจริง และสามารถหาหนทางแก้ไขปัญหาได้ดีกว่าการตั้งข้อรังเกียจ หรือควบคุมมิให้บุคคลได้แสดงออกซึ่งมองว่ามีความเห็นที่ไม่ตรงกับตนเองหรือกลุ่มของตนเอง ดังนั้นการเปิดใจกว้างทางความคิดจึงเป็นลักษณะประชาธิปไตย และก็ไม่มีใครผิด และคนเรามีเสรีภาพในการเลือกที่จะชอบหรือไม่่ชอบ ดังนั้นผู้นำต้องสร้างการมีส่วนร่่วมของบุคคลในสังคมให้มากที่สุด เพื่อจะได้เข้าใจบุคคลในทุกชนชั้นสังคม ทำให้เราสามารถเปลี่ยนศัตรูทางการเมืองให้มาเป็นมิตรได้ เราจะพบว่าจากประวัติศาสตร์บางครั้งก็เป็นที่น่าเสียดายว่าคนเราไม่ค่อยมานั่งถกเถียง หรืออภิปรายร่วมกัน แต่เรามักจะขอบเสวนากับคนที่ถูกคอเท่านั้น แต่สิ่งสำคัญคือเราควรจะก้าวข้ามพรมแดนแห่งเครื่องกั้นในมิตรภาพในหมุ่ชน โดยไม่มีช่องว่าง ก็จะทำให้เรามีความเข้าใจสังคมหรือประชาชนมากขึ้น โดยเฉพาะในทุกระดับของชนชั้นในสังคม ซึ่งสังคมอาจมีชนชั้นบ้างเป็นธรรมดา แต่กฎหมายต้องมีความยุติธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ ก็จะทำให้กฎหมายที่บังคับใช้มีความศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่ยอมรับของสาธารณชน แต่หากการตัดสินคดีความาไม่ยุติธรรมแล้วความเชื่อถือและศรัทธาก็จะไม่บังเกิด ดังนั้นกฎหมายนั้นสร้างเพื่อทำให้คนเป็นคนด่ี มิใช่มุ่งประหัตประหารศัตรู หรือคู่แข่งทางการเมือง หรือคนที่มีความคิดต่าง แต่กฎหมายมุ่งสันติภาพ สร้างความผาสุกกับประชาชน บางครั้งต้องอดทนต่อการกระทำไม่ดีของกลุ่มบุคคลที่ใช้ความรุนแรง หรือสร้างสถานการณ์ที่ไม่ดี เช่นการระเบิดตามสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้สังคมของคนไทยอยู่ร่วมเป็นปกติสุข ถึงเวลาที่รัฐบาลต้องสร้างสังคมที่อบอุ่นส สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างกว้างขวาง และการเข้าถึงข้อมูลร่วมกัน เพราะเราเชื่อว่าธรรมะย่อมชนะอธรรม การเปลี่ยนศัตรูมาเป็นมิตรย่อมดีกว่าการเพาะศัตรู , การปลูกฝังความรักความปราถนาดีต่อกันย่อมดีกว่าการเกลียดชัง หรือการไม่หวังดีต่อกัน ก็ย่อมเชื่อว่ามนุษย์นั้นเปลี่ยนแปลงไปได้ การปรองดองที่พอจะทำได้ต้องเริ่มต้นจากการรู้จักให้อภัยซึ่งกันและกัน และต่างฝ่ายต่างถอยกันคนละก้าว เลิกการกล่าวหา หรือการนั่งเจรจาหรือดีเบตกันระหว่างผู้ที่มีความเห็นแตกต่าง แม้กระทั่งสื่อต่าง ๆ ก็ควรใช้บุคคลที่มีความเห็นแตกต่างประสมประสานอย่างละครึ่ง และให้มาพูดจาถกเถียงกันให้มากดีกว่าจะไปใช้ความรุนแรงในพื้นที่ถนน ถกเถียงให้หาจุดที่สามารถตกผลึกจนได้แนวทางร่วมกัน หากไม่สามารถทำได้ ก็ใช้ประชามติ เช่นการแก้ไขกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญ ก็ควรอย่างยิ่งที่ต้องให้ประชาชนที่ภาคส่วนได้แสดงความคิดเห็น หรือใช้มติของเสียงส่วนใหญ่ว่าต้องการเปลี่ยนแปลงหรือไม่
"การเปลี่ยนแปลงเท่านั้นไม่ว่าสิ่งใด ๆ ก็ตามจะช่วยให้สิ่งต่าง ๆ ดีขึ้น ดีกว่าการคงไว้แบบเก่าซึ่งมีแต่ปัญหา และผลกระท่บ ผู้ที่ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงก็เท่ากับเป็นคนที่พยายามต้านกระแสของสังคม หรือการกักขังความคิด เปรียบเสมือนน้ำท่วมและมีการกักกันก็จะทำให้มวลน้ำ หรือมวลประชาชนนั้นมีแรงกดดันนำไปสู่การแสดงออกที่อาจจะรุนแรงได้ เปรียบเสมือนขั้วบวก่ขั้วลบที่ทำปฏิกิริยาย่อมเกิดปัญหาโดยธรรมชาติ แต่มิใช่เจตนาที่ไม่ดีของประชาชน แต่เป็นธรรมชาติของคนที่เกิดขึ้น" เปรียบเสมือนกระท้อนยิงทุบยิ่งหวาน หร่ือการทุบประเด็นให้ออก เพราะยิ่งถกเถียงกันมากเท่าใด ก็ยิ่งมีความหวานชื่นของทางแก้ปัญหามากขึ้นเช่นกัน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น