ทำไมสังคมเมืองพุทธยังมีผู้นิยมแบบเผด็จการ

          
       
     
   
         สังคมไทยเป็นสังคมเมืองพุทธศาสนาที่สอนให้คนเราไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ ดามหลักกาลามสูตร ที่ทำให้คนเราต้องรู้จักพิสูจน์๋ความจริงโดยไม่ชื่ออะไรง่าย ๆ  และหลักการทางพุทธศาสนาสอนให้มนุษย์เราอยู่ร่วมกันอย่างสงบสันติ และมีน้ำใจที่ดี และมีความรักต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันน้้น  นับว่าเป็นผลพวงของคำสอนของพระพุทธเจ้ามาเป็นเวลานับพันปี  แต่เหตุไฉนสังคมไทยในปัจจุบ้นจึงกลับกลายใช้ความรุนแรงที่มีต่อกัน    แม้แต่กฎหมายก็มุ่งหมายที่จะลิดรอนเสรีภาพ หรือมุ่งประหัดประหารผู้ที่มีความเห็นแตกต่่าง  สาเหตุที่มนุษย์เรามีแนวโน้มมีพฤติกรรมเผด็จการนั้นมักเกิดจากสาเหตุดังนี้
        1.เหยื่อสำคัญที่มนุษย์มีพฤติกรรมแบบเผด็จการนั้นก็คือ การที่คนเรายึดติดในอำนาจ,เกียรติยศ และมุ่งหวังทางด้านวัตถุนิยมมากจนเกินความพอเพียง  เช่นเมื่อมีอำนาจก็อยากมีอำนาจนาน ๆ , เมื่อทำอะไรผิดพลาดก็มักจะใช้วิธีการไม่ดีไปแก้ปัญหา เหมือนกับการใช้ยางลบที่สกปรกไปลบสิ่งที่สกปรก  ก็ย่อมไม่สามารถแก้ปัญหาได้ลุุล่วง
        2. การที่มนุษย์ให้ความสนใจ หรือมีความเห็นแก่ตัวเอง โดยไม่นึกถึงใจเขาใจเรา  เพราะตนเองอาจตกอยู่สภาวะที่ไม่รู้ตัว่ว่าตนเองมีจิตใจแบบเผด็จการ  นั่นคือจะไม่ค่อยยอมรับศักดิ์ศรีเพื่อนมนุษย์ในเรื่่องความเท่าเทียมกัน  และนักเผด็จการมักมองโลกในแง่ร้าย และไม่ไว้วางใจเพื่อนมนุษย์  บางครั้งเลยเถิดถึงการมีจิตใจแบบอำมหิตในการใช้ความรุนแรง  เพราะมาจากจิตใจที่หยาบกระด้าง  และบางวิชาชีพมีโอกาสที่จะเป็นเผด็จการหากสังคมนั้นหลอมคนอย่างผิด ๆ  ทำให้คนเราได้รับพิษร้ายจากเผด็จการเข้ามาสิ่งอยู่ในสมอง
          3. จิตใจแบบเผด็จการนั้นมาจากมิจฉาทิฐิ อันเนื่องจากการยึดหลักตัวกู,ของกู มากเกินไป คนเหล่านี้จะมีลักษณะการใช้อารมณ์เป็นตัวตั้ง หากมีใครคิดไม่เหมือนกันตนเอง  ดังนั้นการสร้างวัฒนธรรมแบบเผด็จการนั้นจะทำไปเพราะความที่ขาดจิตสำนึกประชาธิปไตย  เพราะคนบางคนได้ดีจากแนวคิดเผด็จการจึงมองว่าการเป็นนักเผด็จการดีกว่าประชาธิปไตย    จึงทำให้เสพย์ติดกับความเป็นเผด็จการไปโดยปริยาย     สิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกเสื้อสี หากหลงผิดแล้วก็มีโอกาสได้รับพิษร้ายแบบเผด็จการเข้าไป     เพียงว่าเผด็จการหากกระทำเพื่อคนส่วนรวม หรือนึกถึงส่วนรวม โดยไม่ดูถูกประชาชนก็ถือว่าเป็นเผด็จการที่ดี  แต่นักเผด็จการต้องม่ีจิตสำนึกสูงทีเดียว
           4. การมอมเมาให้มนุษย์เราเป็นนักเผด้จการ   เช่นจากสื่อทีวีต่าง ๆ ที่มีแต่สื่อที่มอมเมาให้คนเรามองแต่เรื่องส่วนตัว ไม่สนใจส่วนรวม หรือมีละครน้ำเน่าแต่ไม่สร้างสรรค์เช่นละครที่มีแต่เรื่องการแย่งสามี, หรือละครที่แสดงความอิจฉาริษยา หรือการใช้ความรุนแรงต่อกันอย่างไม่สร้างสรรค์ ก็จะเป็นพิษร้ายในการทำให้สังคมได้รับสิ่งที่เป็นพิษเข้าไปได้
            5. นักเผด็จการนั้นบางครั้งก็เป็นคนดีในสายตาของคนบางกลุ่ม แต่เขาเป็นเพียงคนดีในสังคมที่ไม่เป็นประชาธิปไตย  แต่สภาพแวดล้อมของสังคมมีการครอบงำ  ยิ่งนักปกครองที่มีอายุมาก ๆ ก็มักจะมีแนวคิดอนุรักษ์นิยมสุดโต่ง  เพราะไปยึดติดความคิดแบบแผนเก่าๆ โดยไม่มองโลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปถึงไหนแล้ว  เป้นลักษณะคนติดยึดกับภาพเก่า ๆ, วิธีการเก่า ๆ, หรีอความเคยชินเก่า ๆ จนกลายเป็นคนที่ทวนกระแสสังคมไปโดยปริยาย
             6. ระบบมหาวิทยาลัยไม่ได้ส่งเสริมความเป้นประชาธิปไตย  ยังมีลักษณะการอบรมบ่มเพาะแบบผิด ๆ   ทำให้นักศึกษาไม่สนใจการเมือง หรือมองการเมืองเป็นเรื่องเลวร้ายโดยไม่ได้ศึกษาให้ถ่องแท้  สืบเนื่องจากสื่อต่าง ๆ และการบริหารมหาวิทยาลัยอยู่ในมือของคนมีอำนาจที่ไม่มีจิตใจประชาธิ ปไตย   ถึงกับรังเกียจแนวทางประชาธิปไตย   และมองการเมืองเป็นเรื่องขยะแขยงไป ทำให้นึกศึกษาเข้าใจผิด และทำตนห่างจากสังคม และไม่มองสังคมอย่างเป้นระบบ  มีลักษณะที่มีจินตภาพแบบไม่เป้นระบบ และไม่่ได้นำตนเองไปพิสูจน์ความจริงในสังคม
             ถึงเวลาที่รัฐบาลควรส่งเสริมประชาธิปไตยอย่างจริงจัง และส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยที่เป็นแหล่งสร้างนึกศึกษาให้มีจิตใจแบบประชาธิปไตยนั้นเป็นสิ่งสำคัญและเพื่อลดกระแสนักเผด็จการที่ม่งบั่นทอน และทำลายประชาธิปไตยของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการเมืองที่ดีเหมือนปลาในอ่างแก้วที่มองเห็นตัวปลาชัดเจน

ตัวแบบจำลองภารกิจของแอสริช (Ashridge Mission Model)

การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ