บทความ

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ 1

1. ขั้นตอนของ HRM      1.1 การสรรหาและการคัดเลือก (Recruitment and Selection)      1.2 การฝึกอบรมและพัฒนา (Training and Development)      1.3 การจัดการผลการปฏิบัติงาน (Performance Management)      1.4 การจัดการรางวัล (Reward Management)      1.5 การจัดการอาชีพ (Career Management) 2. กลยุทธ์ธุรกิจ ในแง่ของระบบ (System Theory)                                                                                            สรรหาและคัดเลือก                                        ฝีกอบรมและพัฒนา   การจัดการผลงาน             กลยุทธ์ธุรกิจ ------------- กลยุทธ์ HR------- ผลสำเร็จทางธุรกิจ                                                 การจัดการรางวัล     การจัดการอาชีพ   3. การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ (HRP) และการสรรหา(Recruitment)                                               กลยุทธ์บริษัท     วิเคราะห์งาน  -มีสิ่งใดต้องทำ                         - มี่บุคคลใดที่             -การประเมินผลงาน                         ให้สำเร็จ                                  หาได้ในบริษัท         

ผู้นำแบบบารมี ตอนที่สอง

             จุดกำเนิดผู้นำแบบบารมี           ตัวแบบนี้คิดโดยแม๊กเวเบอร์ คือรูปแบบอุดมคติที่พบเจอ                    นำเสนอผู้นำสามอย่างหนา หนึ่งผู้นำปกครองแบบบารมี                   เน้นไปที่่ครอบครัว,ศาสนา สองผู้นำปกครองแบบศักดินา                หรือที่ว่ารูปแบบประเพณี              โรเบอร์ตเฮ้าส์อธิบายโดยกล่าวว่า  ลักษณาสี่อย่างจำกัดความ หนึ่งมีความเด่นแลเห็นสง่างาม              สองมีความปรารถนาอย่างแรงกล้า เพื่อมุ่งหมายมีอิทธิพลเหนือผู้คน           สามแรงดลใจเชื่อมั่นในทีท่่า สี่รู้สึกมีจริยธรรมเข้มแข็งกว่า                  กำหนดมาจากตนเองอย่างเหนียวแน่น               คองโกและคานูโก้ท่านกล่าวว่า จุดเด่นห้าประการพฤติกรรม หนึ่งมีวิสัยทัศน์ที่หนุนนำ                         และพูดทำชัดเจนเป็นแรงดล สองต้องฉับไวต่อสิ่งแวดล้อม                  สามทำตามสิ่งต้องการของบุคคล สี่กล้าได้กล้าเสียในตัวตน                        ห้าทำผลพฤติกรรมไม่ตั้งใจ               การประยุกต์ใช้ผู้นำที่บัดดล       เกิดจากผลเร่งด่วนขององค์การ เช่นตัวอย่างการจัดการวิกฤติงาน             สังเกตการณ์ตามแ

"ผู้นำแบบบารมี (Charismatic Leadership) ตอนที่หนึ่ง

                   ผู้นำบารมีคืออะไร            นิยามไซร้ท่านเวเบอร์ได้พูดถึง         การจงรักภักดีมุ่งคำนึง                 ที่ผูกตรึงน่าเคารพและศรัทธา         ในรูปแบบลัทธิวีรบุรุษ                 ทั้งเยี่ยมยุทธ์แบบอย่างเหมือนดารา         บุคลิกส่วนบุคคลเขาตีตรา           แบบแผนหนาหรือระเบียบจากตัวเขา                    ความหมายดังกล่าวนั้นมีว่า  คือเครื่องตราบุคลิกคุณภาพ         โดยอาศัยอำนาจตนคนคอยกราบ   มาจากภาพคนสามัญธรรมดา         และประสิทธ์ประสาทสมมติเหมือน ดุจดังเดือนดวงตะวันเปล่งแสงกล้า         วาเป็นคนเหนือคนไม่ธรรมดา         มักมองว่ามีอำนาจพิเศษล้น                   สำหรับคนธรรมดายากเข้าหา  มองกันว่ากำเนิดจากเทวสิทธิ์         หรือแบบอย่างของคนผู้นำคิด        มีจริตคุณธรรมสุนทรีย์         ที่ยึดถือถ้อยคำตามจารีต               ลิขิตขีดมาจากประเพณี         อนุรักษ์นิยมในวิถี                           ยากเหลือที่เปลี่ยนแปลงตามโลกา                   ผู้นำอำนาจบารมี                  สามารถที่กลั่นกรองในความคิด         ที่ซับซ้อนกลายเป็นข้อความนิด     คำสะกิดเช่นคำ

ผลงานวิจัยของภาวะผู้นำแบบปรับเปลี่ยน ตอนที่สอง

           การศึกษาในวรรณกรรมเกี่ยวกับองค์การเสนอแนะว่าผู้นำแห่งการปรับเปลี่ยนมีความสัมพันธ์กับผลที่ได้รับที่แตกต่างกันเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ใช่ผู้นำแบบปรับเปลี่ยน ตัวอย่างเช่น ผู้เรียนของผู้นำแบบปรับเปลี่ยนมีความขัดแย้งในบทบาทค่อนข้างน้อย มีผลงานสูงกว่าและมีความพึงพอใจในงานสูงกว่าผู้เรียนที่มิใช่ผู้นำแบบปรับเปลี่ยน (Howell & Frost, 1989) และแสดงถึงการให้ความช่วยเหลือมากพอ ๆกับการยอมรับนับถือ(Den Hartog, De Hoogh, & Keegan, 2007) ยิ่งไปกว่านั้นผู้นำแบบปรับเปลี่ยนได้มีการรับรู้ว่ามีประสิทธิผลในการสอนมากกว่าผู้นำที่มิใช่แบบปรับเปลี่ยน และผู้เรียนมีความเคารพนับถือผู้นำแบบปรับเปลี่ยนมากกว่า มีความรู้สึกในอัตลักษณ์ร่วมกันอย่างเหนี่ยวแน่นและมีการรับรู้ในผลงานสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับผู้นำแบบแบบไม่ปรับเปลี่ยน     ผลจากการศึกษาในการจัดการทำให้เกิดความชัดเจนในข้อดีของภาวะผู้นำแบบปรับเปลี่ยนในองค์การ เมื่อไม่นานนี้นักวิชาการเริ่มต้นในการสืบค้นผลกระทบของภาวะผู้นำแบบปรับเปลี่ยนในห้องเรียนได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้มีความขาดแคลนวรรณกรรมเกี่ยวกับผู้นำแบบปรับเปลี

"ค่านิยมยุคใหม่ในการบริหารงานองค์การ" โดยมนูญ วงศ์นารี

            จากวารสารพัฒนบริหารศาสตร์ ฉบับปีที่ 21 ฉบับที่ 1 มกราคม 2524 ในบทบรรณานิการเขียนโดยอาจารย์มนูญ วงศ์นารี (หน้า 155-172)  พูดถึง "ค่านิยมใหม่ในการบริหารงานของไทย" ซึ่งเป็นข้อเขียนที่ผ่านมาเป็นเวลา 31 ปีแล้ว  แต่อิทธิพลความคิดนั้นยังสะท้อนและสามารถนำมาปรับใช้ในยุคปัจจุบันได้ดีอยู่เสมอ ทันต่อเหตุการณ์และดูเหมือนว่าเป็นสิ่งที่ควรทบทวนค่านิยมใหม่ที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นบุคคลในแวดวงทางการเมือง,การบริหาร, และหน่วยงานไม่ว่าภาครัฐ,เอกชน หรือรัฐวิสาหกิจควรถือเป็นอุธาหรณ์เตือนใจได้เป็นอย่างดีว่าการใช้ทักษะความรู้ความสามารถของบุคคลในองค์การมีเพียงไม่ถึง 50% ส่วนที่หายไปที่ไม่ได้ใช้พลังความกระตือรือร้น หรือการใช้สมรรถนะอย่างเต็มที่ หรือขาดการอุทิศพลังกายและพลังใจให้กับองค์การนั้น   ท่านได้ให้ข้อคิดว่าควรเลิกล้มค่านิยมเก่าดังนี้                1. อย่ามองคนแบบทฤษฎีเอ็กซ์ ว่าเป็นคนไม่ดีมาแต่กำเนิด ซึ่งจริง ๆ แล้วมนุษย์เป็นคนดีมาแต่พื้นฐานเดิม                 - เมื่อเป็นเด็ก ๆจะมีความบริสุทธิ์ผุดผ่อง แต่โตขึ้นถูกหลอมพฤติกรรมและสถานการณ์แวดล้อมทำให้เปลี่ยนแปลงไป เมื่ออยู่กับคนดีก็จะด

สุภาษิตไทย

        "ตนเตือนตนของตนให้พ้นผิด  ตนเตือนจิตตนได้ใครจะเหมือน     ตนเตือนตนไม่ได้ใครจะเตือน     อย่าแชเชือนรีบเตือนต้นให้พ้นภัย"         "ขันติธรรมนำทางสว่างไสว   จากยากไร้เป็นรวยกลับสวยหรู    จากโง่เขลาเบาปัญญามาเป็นครู   จากการหลู่หยามเย้ยเป็นเชยชม          ขันติธรรมนำทางเป็นอย่างนี้  ควรหรือที่ทอดทิ้งสิ่งสูงสม   ผู้ใดมั่นขันติชนนิยม                 ขันติข่มจิตได้สมใจดัง"

"ตัวชี้วัด 7 ประการขององค์การที่เป็นเลิศ เมื่อเปรียบเทียบกับองค์การการเมืองไทย

            ปัจจุบันนี้ผู้บริหารมีความเชื่อว่าการมีบุคลากรที่มีความสุข,มีความผูกพัน,และมีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้น และมีวัฒนธรรมองค์การในเชิงบวก เป็นปัจจัยสำคัญในการวัดความมีประสิทธิผลขององค์การ   ซึ่งจากผลงานของริชาร์ด แอล.ดาฟท์ กล่าวไว้ในหนังสือของเขาที่ชื่อว่า "ทฤษฎีและการออกแบบองค์การ" ได้กล่าวถึงตัวชี้วัด 7 ประการขององค์การที่ดีซึ่งสามารถเห็นได้จากแนวคิดกระบวนการภายใน (internal process approach) ดังนี้คือ             1. มีวัฒนธรรมองค์การที่เข้มแข็ง และบรรยากาศในการทำงานในเชิงบวก             2. มีสปิริตในการทำงานเป็นทีมค่อนข้างสูง,จงรักภักดีในการทำงานเป็นกลุ่ม,และทีมงาน             3. มีความเชื่อมั่น,เชื่อถือไว้วางใจ,และการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคลากรกับฝ่ายจัดการ             4. การตัดสินใจใกล้เคียงกับแหล่งของข้อมูลข่าวสาร ไม่ว่าจะเป็นแหล่งข้อมูลในโครงสร้างขององค์การ             5. มีการติดต่อสื่อสารไม่บิดเบือนทั้งในแนวนอนและแนวดิ่ง มีการแบ่งปันข้อเท็จจริงและความรู้สึกที่เกี่ยวข้องสอดคล้องกัน             6. รางวัลที่ดีสำหรับผู้จัดการคือผลงาน, ความเติบโตและพัฒนาของคน