บทความ

กลอนตัวแบบการเปลี่ยนแปลง (Change Model)

รูปภาพ
              ตัวแบบหรือสมการการเปลี่ยนแปลง    แนวคิดแห่งนักวิชาการที่มีชื่อ    ชื่อริชาร์ด,รูเบ็นท่านยึดถือ                       นามระบือทั่วหล้าปฐพี    กีชเช่อร์นำแนวคิดมาประมวล                   เพื่อทบทวนเครื่องมืออย่างถ้วนถี่    เพื่อสร้างภาพประทับใจเป็นอย่างดี            สู่วิถีเงื่อนไขขององค์การ            ขั้นตอนพัฒนาองค์การนี้                 สมการที่เปลี่ยนแปลงที่เห็นได้    เป็นขั้นตอนสำคัญอย่างยิ่งใหญ่                 นำมาใช้พัฒนาในองค์การ    ได้มีการแพร่หลายตลอดเวลา                   เพื่อนำพาตอบสนองความต้องการ    แก่นายจ้างมุ่งหวังดำเนินงาน                    นำเป็นฐานข้อตกลงกับคนงาน            เพื่อความก้าวหน้างานบริหาร            เข้าใจการเชื่อมสัมพันธทั้งสองข้าง   ในระหว่างการมีส่วนร่วมของลูกจ้าง             กลับแนวทางความสำเร็จขององค์การ   ความเคลื่อนไหวมีส่วนร่วมการเปลี่ยนแปลง   รวมจัดแจงจัดจ้างที่ปรึกษา   ทั้งภายในภายนอกองค์การนา                    แสวงหาแนวต้านการเปลี่ยนแปลง             เมื่อย้อนยุคความคิดยุคเก่าหนา        นักวิชาเฟรดเดอริคเจ้าความ

กลอน "ก้อนน้ำแข็งของการจัดการการเปลี่ยนแปลง" (Change Management)

รูปภาพ
                      ก้อนน้ำแข็งการจัดการการเปลี่ยนแปลง    ถ้อยแถลงความคิดของครูเกอร์          ทำให้มองเห็นเด่นชัดเมื่อเจอะเจอ                 สิ่งเสนอสามารถโต้แย้งได้          ในสาระการเปลี่ยนแปลงขององค์การ             ที่กล่าวขานคืออุปสรรคไซร้          บนสุดก้อนน้ำแข็งเขากล่าวไว้                      ประเด็นในต้นทุน,และเวลา                ยังหมายรวมถึงคุณภาพใน                    อยู่ภายใต้การจัดการเป็นประเด็น          สิ่งภายใต้ก้อนน้ำแข็งที่เล็งเห็น                    มีดังเช่นสองมิติอันได้แก่          การจัดการเปลี่ยนแปลงและติดตาม               ที่เรียกนาม "การจัดการ"ดังกล่าวแท้          ท้้งทางด้านการรับรู้,ความเชื่อแล                  และเกี่ยวแก่อำนาจรวมการเมือง                อุปสรรคที่เกิดขึ้นที่ควรแก้                     ที่แน่แท้คืออะไรชวนสงสัย          และจัดการติดตามผลอย่างมีนัย                   เกี่ยวเนื่องในสองประเด็นดังกล่าวนี้          หนึ่ง ชนิดของการเปลี่ยนแปลงเช่น                สิ่งที่เป็นของแข็งล้วนแล้วมี          คือข่าวสารข้อมูล,กรรมวิ

กลอน มิติแห่งการเปลี่ยนแปลง

               แนวคิดมิติแห่งการเปลี่ยนแปลง      ถ้อยแถลงโดยวิป,แพททิกิว       ในความคิดสามมิติต้องรีวิว                    ที่เป็นคิวเปลี่ยนแปลงตามจำนง       หนึ่ง มิติเนื้อหา นั้นอ้างถึง                        สิ่งคำนึงวัตถุเป้าประสงค์       และเป้าหมายที่กำหนดอย่างบรรจง           เพื่อดำรงคงไว้อย่างยั่งยืน                สอง มิติกระบวนการ ที่มุ่งตรง        รณรงค์ด้วยการติดตามผล       สาม มิติบริบท ในวังวน                          ล้วนระคนภายในนอกสิ่งแวดล้อม      วิปและแพททิกิวย้ำเน้นว่า                        ในคุณค่ามิติที่เพียบพร้อม      มีอิทธิพลต่อเนื่องและยินยอม                   ที่แวดล้อมสามมิติเชื่อมโยงกัน                การติดตามผลเปลี่ยนแปลงไม่อ้อมค้อม ต้องถนอมใช้แนวใหม่และสะสม      ทั้งติดตามซ้ำซากไม่ขื่นขม                      ต้องระดมเปลี่ยนแปลงอย่างกล้าแกร่ง      เป็นผลลัพธ์ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง                  ในท่ามกลางเนื้อหาสิ่งเปลี่ยนแปลง      ว่า อะไร เปลี่ยนแปลงอย่างแข็งแรง             ที่จัดแจงวัตถุประสงค์,เป้าประสงค์                รวมเป้าหมายเกี่ยว

กลอน "ทฤษฎีพฤติกรรมที่คาดคะเนล่วงหน้า" (Theory of planned behavior)

           ทฤษฎีพฤติกรรมที่วางแผน     มาจากแปลนวิชาการผู้ค้นคิด     ที่ชื่อว่าอัจเซ็นท่านประดิษฐ์           เพื่อสะกิดเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม     ของคนเราที่แสดงออกอย่างจงใจ   สิ่งนั้นไซร้มีแผนล่วงหน้าทำ     ทฤษฎีนี้คล้ายคลึงกับถ้อยคำ         คือลำนำการกระทำมีเหตุผล (Reasoned Action)              การสืบต่อเป็นเหตุผลใช้ชี้นำ   พฤติกรรมที่ค้นพบปรากฎขึ้น     ไม่ถึงร้อยเปอร์เซ็นต์เป็นอย่างอื่น    แต่ต้องฝืนภายใต้การควบคุม     ผลที่เกิดรับรู้พฤติกรรม                 คือถ้อยคำทฤษฎีที่เกาะกุม     การกระทำของมนุษย์นั้นคลอบคลุม เมื่อแบ่งขุมความคิดสามประการ            หนึ่งความเชื่อพฤติกรรมนั้นไขขาน ความเชื่อการลำดับพฤติกรรม     สองความเชื่อปทัสถานย้ำ             ความเชื่่อนำคาดหวังในผู้อื่น     สามความเชื่อในควบคุมนั้นหมายถึง แสดงถึงปัจจัยที่ไหลลื่น     หรือขวางผลพฤติกรรมในจุดยืน      ที่หยิบยื่นไปตามสถานการณ์            ทั้งแผนงาน,โครงการทุกวันคืน เพื่อเฝ้าตื่นพฤติกรรมที่จำเป็น     ในการนำการเปลี่ยนแปลงเป็นประเด็น ที่เล็งเห็นพฤติกรรมที่บ่งบอก     ทัศนคติพอใจหรือว่าไม่พอใจ         เ

สุภาษิตครู ตอนที่สอง

"การศึกษาเสรีภาพคือหัวใจของสังคมพลเมือง และเป็นหัวใจของการศึกษาเสรีภาพคือการได้มีการถ่ายทอด"   A. Bartlett Giamatti "ในส่่่่่่่่่่่วนของการปฏิบัติการสอนของข้าพเจ้าคือการตอบสนองประสบการณ์ด้วยการสาธิตให้เห็น และการลงมือทำ" Edward Tufte "ครูที่ดื้อร้ั้นน้อยที่สุดอย่างเรียบง่ายคือครูที่ไม่ได้ทำการสอน" Gilbert K. Chesterton "บางครั้งข้อแนะนำสำหรับการถ่ายทอดได้สำเร็จมากกว่าโดยผ่านการพูดตลกขบขันมากกว่าการสอนที่ไร้ชีวิตชีวา" Baltasar Gracian "ภายหลังสิบหกเดือนของการสอน,การปรึกษา,การสร้างมิตรภาพ และกิจกรรมโครงการพิเศษเกี่ยวกับสาระขอบเขตจากการรักษาสุขภาพไปสู่การค้านานาชาติ, รัฐบาลเวนจูล่าได้แต่งตั้งให้ข้าพเจ้าไปเป็นผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์แห่งรัฐมินิโซต้า"  David Minge "ทีวีทุกช่องคือทีวีเพื่อการศึกษา คำถามก็คือว่า มันสอนอะไรบ้าง?" Nicholas Johnson "ผู้สอนชาวอังกฤษที่ถ่ายทอดให้คนอเมริกันเกี่ยวกับอาหารเปรียบเสมือนการจูงคนตาบอดข้างเดียว A. J. Liebling "ในช่ว

ทำไมการเปลี่ยนแปลงการปกครองประชาธิปไตยในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 จึงไม่บรรลุผลถึงยุคปัจจุบัน

              ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เป็นต้นมาซึ่งถือว่าเป็นยุคเบิกโรงประชาธิปไตยซึ่งเราจะพบว่าในการเปลี่ยนแปลงที่มีผู้นำชื่อ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ร่วมกับพลเอกพระยาพหลพยุหเสนา ได้วางรากฐานประชาธิปไตยสำเร็จเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชาติไทย  แต่การณ์ปรากฎว่าแม้จะได้มีการวางต้นกล้าประชาธิปไตยมาเป็นเวลานานแล้ว แต่กลับถูกบิดเบือน และถูกบั่นทอนต้นกล้าประชาธิปไตยที่ปลูกไว้เมื่อ 80 ปีที่ผ่านมา   ซึ่งแสดงให้เห็นว่าต้นไม้ประชาธิปไตยนั้นถูกบั่นทอน และถูกโค่นทิ้ง กลายเป็นระบบเก่าที่สถาปนามาเป็นเวลานานแล้ว    ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าชนชั้นนำไม่ปรารถนาให้ประชาธิปไตยที่แท้จริงกับประชาชน   และสะท้อนว่าประชาธิปไตยของไทยไม่พัฒนาอย่างยั่งยืนมีลักษณะเหมือนล้มลุกคลุกคลาน  และแต่ละยุคสมัยก็มีการออกแบบที่ครอบงำสังคมประชาธิปไตยมาตลอดในรูปของวัฒนธรรมทางการเมือง, ระบบการศึกษา,ระบบการเมือง, และระบบรัฐธรรมนุญที่่ดูประหนึ่งว่าจะมีประชาธิปไตยซึ่งเป็นเพียงรูปแบบเท่านั้น  แต่ในด้านเนื้อหาและพฤตินัยแล้วปรากฎว่ามีประชาชนจำนวนมากยังไม่เข้าใจ และให้ความสำคัญกับประชา

กลอนองค์การและการจัดการภาครัฐ ตอนที่สอง

                   การวิพากย์วิจารณ์อย่างเดือดดาล    สิ่งเรียกขานรัฐบาลอเมริกัน              นำแนวคิดลดบทบาทอย่างเฉียบพลัน      ในยุคนั้นคือคาร์เตอร์และรีแกน              ได้โจมตีรัฐบาลสหพันธรัฐ                    ข้อจำกัดบริหารทั่วถิ่นแคว้น              จากรณรงค์เลือกตั้งรัฐทั่วแดน               มุ่งเปลี่ยนแผนนโยบายดำเนินงาน                    ลดกฎเกณฑ์โรงงานอย่างถึงแก่น     และวางแผนลดเรดเทปจากส่่วนกลาง             ในสหพันธรัฐมุ่งจัดวาง                         นำแนวทางปฏิรูปข้าราชการ             การโจมตีว่าเฉื่อยชาไม่ว่องไว                การงานไซร้ไร้ประสิทธิภาพงาน             เรแกนได้ประนามรัฐบาล                       ให้ทำการลดเงินทุนและอำนาจ                    จากแผนงานและหน่วยงานราชการ   เกี่ยวกับงานรัฐบาลกลางมากมาย             เมื่อคลินตันชนะถล่มทลาย                    ได้กลับกลายเป็นผู้นำรัฐบาล             การเปลี่ยนแปลงตามข้อเสนอแนะ            การค่อนแคะจุดอ่อนบริหาร             จากแนวคิดเสรีดำเนินงาน                      นำแผนงานคู่แข่งทั้งสองคน