บทความ

กลอน "ทฤษฎีพฤติกรรมที่คาดคะเนล่วงหน้า" (Theory of planned behavior)

           ทฤษฎีพฤติกรรมที่วางแผน     มาจากแปลนวิชาการผู้ค้นคิด     ที่ชื่อว่าอัจเซ็นท่านประดิษฐ์           เพื่อสะกิดเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม     ของคนเราที่แสดงออกอย่างจงใจ   สิ่งนั้นไซร้มีแผนล่วงหน้าทำ     ทฤษฎีนี้คล้ายคลึงกับถ้อยคำ         คือลำนำการกระทำมีเหตุผล (Reasoned Action)              การสืบต่อเป็นเหตุผลใช้ชี้นำ   พฤติกรรมที่ค้นพบปรากฎขึ้น     ไม่ถึงร้อยเปอร์เซ็นต์เป็นอย่างอื่น    แต่ต้องฝืนภายใต้การควบคุม     ผลที่เกิดรับรู้พฤติกรรม                 คือถ้อยคำทฤษฎีที่เกาะกุม     การกระทำของมนุษย์นั้นคลอบคลุม เมื่อแบ่งขุมความคิดสามประการ            หนึ่งความเชื่อพฤติกรรมนั้นไขขาน ความเชื่อการลำดับพฤติกรรม     สองความเชื่อปทัสถานย้ำ             ความเชื่่อนำคาดหวังในผู้อื่น     สามความเชื่อในควบคุมนั้นหมายถึง แสดงถึงปัจจัยที่ไหลลื่น     หรือขวางผลพฤติกรรมในจุดยืน      ที่หยิบยื่นไปตามสถานการณ์            ทั้งแผนงาน,โครงการทุกวันคืน เพื่อเฝ้าตื่นพฤติกรรมที่จำเป็น     ในการนำการเปลี่ยนแปลงเป็นประเด็น ที่เล็งเห็นพฤติกรรมที่บ่งบอก     ทัศนคติพอใจหรือว่าไม่พอใจ         เ

สุภาษิตครู ตอนที่สอง

"การศึกษาเสรีภาพคือหัวใจของสังคมพลเมือง และเป็นหัวใจของการศึกษาเสรีภาพคือการได้มีการถ่ายทอด"   A. Bartlett Giamatti "ในส่่่่่่่่่่่วนของการปฏิบัติการสอนของข้าพเจ้าคือการตอบสนองประสบการณ์ด้วยการสาธิตให้เห็น และการลงมือทำ" Edward Tufte "ครูที่ดื้อร้ั้นน้อยที่สุดอย่างเรียบง่ายคือครูที่ไม่ได้ทำการสอน" Gilbert K. Chesterton "บางครั้งข้อแนะนำสำหรับการถ่ายทอดได้สำเร็จมากกว่าโดยผ่านการพูดตลกขบขันมากกว่าการสอนที่ไร้ชีวิตชีวา" Baltasar Gracian "ภายหลังสิบหกเดือนของการสอน,การปรึกษา,การสร้างมิตรภาพ และกิจกรรมโครงการพิเศษเกี่ยวกับสาระขอบเขตจากการรักษาสุขภาพไปสู่การค้านานาชาติ, รัฐบาลเวนจูล่าได้แต่งตั้งให้ข้าพเจ้าไปเป็นผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์แห่งรัฐมินิโซต้า"  David Minge "ทีวีทุกช่องคือทีวีเพื่อการศึกษา คำถามก็คือว่า มันสอนอะไรบ้าง?" Nicholas Johnson "ผู้สอนชาวอังกฤษที่ถ่ายทอดให้คนอเมริกันเกี่ยวกับอาหารเปรียบเสมือนการจูงคนตาบอดข้างเดียว A. J. Liebling "ในช่ว

ทำไมการเปลี่ยนแปลงการปกครองประชาธิปไตยในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 จึงไม่บรรลุผลถึงยุคปัจจุบัน

              ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เป็นต้นมาซึ่งถือว่าเป็นยุคเบิกโรงประชาธิปไตยซึ่งเราจะพบว่าในการเปลี่ยนแปลงที่มีผู้นำชื่อ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ร่วมกับพลเอกพระยาพหลพยุหเสนา ได้วางรากฐานประชาธิปไตยสำเร็จเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชาติไทย  แต่การณ์ปรากฎว่าแม้จะได้มีการวางต้นกล้าประชาธิปไตยมาเป็นเวลานานแล้ว แต่กลับถูกบิดเบือน และถูกบั่นทอนต้นกล้าประชาธิปไตยที่ปลูกไว้เมื่อ 80 ปีที่ผ่านมา   ซึ่งแสดงให้เห็นว่าต้นไม้ประชาธิปไตยนั้นถูกบั่นทอน และถูกโค่นทิ้ง กลายเป็นระบบเก่าที่สถาปนามาเป็นเวลานานแล้ว    ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าชนชั้นนำไม่ปรารถนาให้ประชาธิปไตยที่แท้จริงกับประชาชน   และสะท้อนว่าประชาธิปไตยของไทยไม่พัฒนาอย่างยั่งยืนมีลักษณะเหมือนล้มลุกคลุกคลาน  และแต่ละยุคสมัยก็มีการออกแบบที่ครอบงำสังคมประชาธิปไตยมาตลอดในรูปของวัฒนธรรมทางการเมือง, ระบบการศึกษา,ระบบการเมือง, และระบบรัฐธรรมนุญที่่ดูประหนึ่งว่าจะมีประชาธิปไตยซึ่งเป็นเพียงรูปแบบเท่านั้น  แต่ในด้านเนื้อหาและพฤตินัยแล้วปรากฎว่ามีประชาชนจำนวนมากยังไม่เข้าใจ และให้ความสำคัญกับประชา

กลอนองค์การและการจัดการภาครัฐ ตอนที่สอง

                   การวิพากย์วิจารณ์อย่างเดือดดาล    สิ่งเรียกขานรัฐบาลอเมริกัน              นำแนวคิดลดบทบาทอย่างเฉียบพลัน      ในยุคนั้นคือคาร์เตอร์และรีแกน              ได้โจมตีรัฐบาลสหพันธรัฐ                    ข้อจำกัดบริหารทั่วถิ่นแคว้น              จากรณรงค์เลือกตั้งรัฐทั่วแดน               มุ่งเปลี่ยนแผนนโยบายดำเนินงาน                    ลดกฎเกณฑ์โรงงานอย่างถึงแก่น     และวางแผนลดเรดเทปจากส่่วนกลาง             ในสหพันธรัฐมุ่งจัดวาง                         นำแนวทางปฏิรูปข้าราชการ             การโจมตีว่าเฉื่อยชาไม่ว่องไว                การงานไซร้ไร้ประสิทธิภาพงาน             เรแกนได้ประนามรัฐบาล                       ให้ทำการลดเงินทุนและอำนาจ                    จากแผนงานและหน่วยงานราชการ   เกี่ยวกับงานรัฐบาลกลางมากมาย             เมื่อคลินตันชนะถล่มทลาย                    ได้กลับกลายเป็นผู้นำรัฐบาล             การเปลี่ยนแปลงตามข้อเสนอแนะ            การค่อนแคะจุดอ่อนบริหาร             จากแนวคิดเสรีดำเนินงาน                      นำแผนงานคู่แข่งทั้งสองคน                

องค์การและการจัดการภาครัฐ (Public organization and management)

                                                          บทที่ 1                                    ตอนที่ 1 บริบทพลวัตรขององค์การ บทที่ 1    สิ่งท้าทายองค์การและการจัดการภาคัฐ               - ความเข้าใจการจัดการและองค์การภาครัฐ                           ทุกชาติล้วนเผชิญตัดสินใจ           เกี่ยวข้องในภาครัฐ,เอกชน                เมื่อสองทศวรรษที่ผ่านพ้น                       ต่างผจญความเคลื่อนไหวแรงต่อต้าน                หลายประเทศส่วนมากต่างมุ่งหมาย            เพื่อคลี่คลายลดทอนบริหาร                ในอำนาจหน้าที่การจัดการ                       ด้วยเพิ่มฐานธุรกิจเข้าทดแทน                           ความเคลือบแคลงสงสัยการเพิ่มฐาน ขยายงานภาครัฐมากเกินควร                ในขณะที่ผู้เขียนหลายมากล้วน                 ได้ทบทวนศึกษาเชิงวิเคราะห์                ค่อนข้างน้อยเกินไปในแนวทาง                 ความแตกต่างสองภาคอย่างเพียงพอ                นักวิชาการยืนยันโดยตัดพ้อ                      การเติมต่อองค์ความรู้ค่อนข้างน้อย                           และทุนสนับสนุนมากมายหนอ       

กลอน แนวคิดการเปลี่ยนแปลงหกประการของคอทเตอร์

               แนวทางการเปลี่ยนแปลงของคอทเตอร์    ไชซิงเกอร์เป็นอีกคนที่ร่วมคิด       ในตัวแบบจำลองร่วมประดิษฐ์                          เพื่อลดฤทธิ์ต่อต้านความหวาดกลัว       เหตุผลสามประการค้านเปลี่ยนแปลง                  หนึ่งขัดแย้งเพราะคับแคบเห็นแก่ตัว       เพียงเพราะมองเห็นประโยชน์จนเมามัว               ลืมไปทั่วมีผลดีต่อส่วนรวม               สองเข้าใจผิดพลาดคลาดเคลื่อนทั่ว          เพราะไม่ชัวร์เรื่องข้อมูลข่าวสารกัน       ขาดข้อมูลความจริงไม่รู้ทัน                             สามใจนั้นไม่กว้างยอมปลดปลง       การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรุกเร้า                    พวกหัวเก่าเกาะเกี่ยวความมั่นคง       กลัวการงานเปลี่ยนแปลงไม่เที่ยงตรง                 เพราะลุ่มหลงแบบเก่าเฝ้างมงาย              สี่ประเมินสถานการณ์แตกต่างธง                ลูกน้องคงไม่เห็นด้วยการเปลี่ยนแปลง      ในข้อดีข้อเสียไม่รู้แจ้ง                                     หวาดระแวงว่าตนต้องอับปาง      แนวทางการศึกษาที่เกี่ยวข้อง                            ล้วนเกี่ยวดองต่อต้านการเปลี่ยนแปลง      หนึ่งการศึกษา

กลอนเกี่ยวกับการรวมศูนย์อำนาจและกระจายอำนาจhttp://www.mozilla.com/th/firefox/central/

           องค์การตัดสินใจดีที่สุด        กลยุทธ์,ปฏิบัติประยุกต์ใช้    ตัดสินใจในที่ใดและคนใหน           โครงสร้างไซร้ขององค์กรต้องปรับตัว    ทั้งรวมศูนย์และกระจายอำนาจนั้น    แตกต่างกันตรงกันข้ามวิถีทั่ว    โอนอำนาจตัดสินใจไม่มืดมัว         พร้อมเตรียมตัวปรับโครงสร้างขององค์การ            ในความหมายทั้งสองคำต่างสุดขั้ว ไม่อาจมั่วการยึด่โยงสิ่งยึดถือ   ในนิยามการรวมศูนย์อำนาจคือ        หนึ่งยึดถือกระบวนการถ่ายโอนกัน   และมอบหมายตัดสินใจระดับสูง       ที่ชักจูงตามสายงานองค์กรนั้น   สองมีสำนักงานใหญ่ฐานที่มั่น          หรือเรียกกันศูนย์องค์กรธุรกิจ            สามความรู้,ข้อมุล,คิดสร้างสรรค์ ที่เน้นกันระดับสูงมุ่งมั่นคง   ตัดสินใจมีทิศทางที่ไหลลง             ที่มุ่งตรงระดับต่ำขององค์การ   สี่ช่วงของการควบคุมระดับสูง          คอยปรับปรุงในแนวกว้างบริหาร   สิ่งยึดเหนี่ยวมากมายขององค์การ     คือรากฐานปิรามิดคิดควบคุม            การกระจายอำนาจคือเรียกขาน กระบวนการถ่ายโอนในอำนาจ   เน้นตัดสินใจระดับล่างมีบทบาท       ให้เด็ดขาดในอำนาจตามสายงาน   หนึ่งในองค์กรกระจายอำนาจนั้น