วิทยาลัยทองสุข: บริการทางวิชาการแก่สังคม เรื่อง "ประชาธิปไตยอัจฉริยะ"
ประชาธิปไตยอัจฉริยะ โดย ผศ.ดร.ทวิพันธ์ พัวสรรเสริญ
เนื่องจากการปกครองแบบประชาธิปไตยของไทยเกิดขึ้นเมื่อกลุ่มผู้ก่อการคณะราษฎร์ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 โดยพระองค์ทรงมีพระวิสัยทัศน์ที่ยาวไกลว่าพระองค์ปรารถนาจะให้ประชาธิปไตยกับปวงชนชาวไทยอยู่แล้ว แต่ทว่าทรงเล็งเห็นว่าประชาชนไทยยังไม่พร้อมต่อการปกครองแบบประชาธิปไตย เมื่อกลุ่มคณะราษฎร์ซึ่งมีกลุ่มจากข้าราชการทหาร, ตำรวจ, และพลเรือนซึ่งได้เห็นความเจริญรุ่งเรืองของอนารยะประเทศต่างปรารถนาที่จะเจริญรอยตาม แต่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศยังขาดการเรียนรู้แบบประชาธิปไตย
หรือการมีจิตสำนึกแบบประชาธิปไตย ซึ่งหมายความว่าประชาชนคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่มีความพร้อม พระองค์จึงทรงมีพระสุนทรพจน์ตอนหนึ่งที่ว่า “ข้าพเจ้ามีความยินดีและเต็มใจที่จะมอบอำนาจของข้าพเจ้าที่มีอยู่แต่เดิมให้กับปวงชนชาวไทย แต่ข้าพเจ้าจะไม่ยินยอมสละอำนาจให้แก่กลุ่มบุคคลคณะหนึ่งคณะใดเป็นผู้ใช้อำนาจ โดยไม่ยอมรับฟังเสียงราษฎร”
จากเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองคณะราษฎร์ที่ปฏิวัติจากระบอบสมบูรณญาสิทธิราชย์มาจนถึงจวบจนปัจจุบัน ใช้เวลามาเป็นเวลากว่า 74 ปีมาแล้ว จะพบว่าการปกครองประชาธิปไตยของไทยยังมีปัญหา และยังไม่สามารถเดินตามวิถีทางประชาธิปไตยได้อย่างยั่งยืน จะพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการปฏิวัติรัฐประหารกันอยู่เสมอมา ฐานประชาธิปไตยยังเป็นที่คลอนแคลนและก่อให้เกิดเงื่อนไขการปฏิวัติรัฐประหาร ทั้งนี้เป็นสิ่งที่คนไทยควรคิดว่าเป็นเพราะเหตุใด ประชาธิปไตยของไทยจึงไม่รุดก้าวไปข้างหน้าเสียที
? ทำไมจึงมีลักษณะเดินหน้าถอยหลังไม่เหมือนกับประเทศที่พัฒนา
หรือประเทศอื่น ๆ ที่มีการพัฒนาประชาธิปไตยไปกันมากแล้ว ? ปัญหาของประชาธิปไตยเกิดจากตัวบุคคล
หรือเกิดจากระบบที่มนุษย์สร้างขึ้นมา, หรือจากวัฒนธรรมค่านิยมที่ปลูกฝังกันผิด
ๆ ทำให้วิถีทางประชาธิปไตยจึงมีลักษณะล้มลุกคลุกคลาน ซึ่งก่อนที่จะเข้าถึงปัญหาหรือการแสวงหาแนวทางของประชาธิปไตยแบบทางเลือกที่ผู้เขียนเสนอต่อสังคม เพื่อให้สังคมมีการรับรู้และสร้างกติกาประชาธิปไตยอย่างมีจิตสำนึก และมิใช่เข้าใจประชาธิปไตยแต่เพียงแค่เปลือกกระพี้เท่านั้น ประชาชนคนไทยควรเข้าถึงแก่นแท้ของประชาธิปไตย
เพราะว่าประชาธิปไตยไม่ใช่เพียงรูปแบบที่มีรัฐสภา, สส., สว, หรือเป็นเพียงมีรัฐธรรมนูญ แต่สิ่งสำคัญยิ่งไปกว่านั้น นั่นก็คือจิตสำนึกหรือจิตวิญญาณประชาธิปไตย ซึ่งจะพบว่ารัฐบาลไม่ค่อยส่งเสริมหรือปลูกฝังกันในเรื่องนี้ เราจะพบว่าไม่มีการเรียนรู้เรื่องประชาธิปไตยในห้องเรียน, ไม่มีหลักสูตรที่สอนกันอย่างจริงจังอย่างเป็นระบบในการสอนถ่ายทอดจากเด็กสู่ผู้ใหญ่ ทั้งนี้เพราะว่าวิถีทางประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อน
และเป็นสิ่งที่เป็นวัฒนธรรมของตะวันตกซึ่งประเทศไทยได้นำเข้าทางความคิดหรือลอกเลียนแบบมาจากตะวันตก
โดยเข้าใจว่าประชาธิปไตยได้แก่การมีรัฐสภา, การมีสภาผู้เทนราษฎร, การมีการเลือกตั้ง, การลงคะแนนเสียง, การมีพรรคการเมือง ฯลฯ ซึ่งที่แท้จริงแล้วเป็นประชาธิปไตยแค่รูปแบบเท่านั้น แต่ควรเป็นประชาธิปไตยในเชิงเนื้อหาด้วย
เช่นการมีอุดมการณ์และจิตสำนึกประชาธิปไตย, การมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบพลเมือง
(Citizenship) , การรู้จักรักษาสิทธิและหน้าที่, การรู้จักความรับผิดชอบต่อส่วนรวม
ด้วยการมีส่วนร่วมทางการเมืองในทุกระดับ, การวิพากษ์วิจารณ์ในทางสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ของชาติบ้านเมืองโดยมิเห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตน, การเคารพสิทธิและกติกาของบ้านเมือง, การรักษามติของเสียงส่วนใหญ่
และพิทักษ์เสียงส่วนน้อย (Majority Rule, Minority Right) , การพัฒนาสถาบันการเมือง
และวิถีชุมชนแบบประชาธิปไตย การที่เสาประชาธิปไตยถูกรื้อถอน
และถูกสั่นคลอนนั้นเกิดจากการไม่เข้าใจ
หรือรู้ลึกซึ้งพอในการดำรงวิถีทางประชาธิปไตยได้ ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ประชาธิปไตยจะยืนยงอยู่ได้คือประชาชนต้องมีทัศนะว่าประชาธิปไตยเปรียบเสมือนเสาหลัก หากโค่นลงมาบ้านก็จะทรุด หรือเอียงกระเทเร่ได้ จะต้องพยายามขวนขวายให้เสาหลักมีความมั่นคง
และช่วยกันประคับประคองไม่ว่ากลุ่มบุคคลใด, อาชีพใด, ต้องมีลักษณะหวงแหนมิให้ใครย่ำยีได้
เป็นความมั่นคงทางด้านสังคมประชาธิปไตย มิใช่ประชาธิปไตยแบบต้นกล้วยที่เลี้ยงไว้ไม่กี่ปีก็ต้องถูกโค่นและกินดอกผลจากผู้สร้างมาก่อน แต่เราจะพบว่าคนไทยส่วนใหญ่มีความเข้าใจน้อยมาก และไม่สามารถเข้าใจในการรู้รักษาประชาธิปไตยที่คนไทยหวงแหนได้ จึงอาจเป็นกับดักที่ทำให้บุคคลบางกลุ่ม หรือบางคณะได้ใช้วิธีที่ไม่เป็นประชาธิปไตยแต่เป็นการแอบอ้างได้ หากคนเป็นผู้นำที่ไม่สนใจ
หรือไม่เข้าใจวิถีทางการปกครองแบบประชาธิปไตยมาใช้อย่างเต็มที่ ซึ่งรูปแบบประชาธิปไตยมีที่มาจากการยึดอำนาจการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาจนถึงปัจจุบันนี้ จะแบ่งเป็นยุค ๆ ได้ดังนี้
1.ยุคคณะราษฎร์เรียกร้องการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งประกอบด้วยคณะทหาร, ตำรวจ, พลเรือนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475-2499
2.ยุคก่อการรัฐประหาร
ที่เรียกกันว่าการก่อการปฏิวัติ ซึ่งมักเกิดขึ้นบ่อยครั้งตั้งแต่ปี พ.ศ.2500 – 2516 เป็นต้นมา
3. ผลัดเปลี่ยนมาเป็นรัฐบาลฝ่ายพลเรือน ตั้งแต่รัฐบาลสัญญาธรรมศักดิ์, รัฐบาลธานินนทร์ กรัยวิเชียร, รัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์, รัฐบาลชวน หลีกภัย, รัฐบาลพณ. ท่านชาติชาย
ชุณหวัณ
4. ยุครัฐประหารโต้กระแสฝ่ายรัฐบาลพลเรือน ได้แก่ยุคพลเอกสุจินดา คราประยูร หรือยุคพฤษภาทมิฬ
5.ยุครัฐบาลพลเรือนที่เป็นรัฐบาลแบบนักธุรกิจในลักษณะที่เป็นประชานิยม (Populism) เน้นการทำงานที่รวดเร็วและเข้ากับโลกาภิวัฒน์ ได้แก่รัฐบาลยุคพณ.ท่านดร.ทักษิณ ชินวัตร
6.ยุครัฐประหารแบบเยือกเย็น (Silky Revolution) เป็นยุคที่บทบาททหารได้ใช้ประสบการณ์จากการปฏิวัติที่ทำให้ภาพพจน์เสียหาย กลับมาสร้างสรรค์ประชาธิปไตย ด้วยวิธีการล้มอำนาจรัฐบาลพลเรือน และพยายามเอาใจมวลชนที่สนับสนุน เนื่องจากการที่ฝ่ายปฏิวัติอ้างว่ามีการคอรัปชั่นแบบเครือข่าย และทำให้คนบางกลุ่มที่ใหญ่พอสมควรไม่พอใจ
รากฐานแนวคิดประชาธิปไตยที่แท้จริง
ประชาธิปไตยถ้ามองเพียงผิวเผินคือ การมีการเลือกตั้ง, การมีรัฐสภา, การมีรัฐธรรมนูญ, การใช้สิทธิใช้เสียง ซึ่งยังเป็นประชาธิปไตยเพียงรูปแบบเท่านั้น แต่พฤติกรรมและจิตสำนึกประชาธิปไตยจึงเป็นเรื่องเนื้อหาสำคัญ แต่จริง ๆ แล้วเราอาจไม่รู้จักความหมาย, คุณค่า, ความลึกซึ้งของประชาธิปไตยซึ่งเป็นแก่นแท้ ดังนั้นเราจะพบว่าการที่คนไทยจะเข้าถึงแก่นแท้ประชาธิปไตยนั้น สิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวดก็คือการทำให้ประชาชนมีระบบเศรษฐกิจที่ดีเสียก่อนในลักษณะของการกระจายรายได้แก่คนในสังคมในทุกระดับ หากคนส่วนใหญ่ของประเทศยังอยู่ในสภาพล้าหลังและยากจน ก็ยากที่จะจรรโลงประชาธิปไตย และกลายเป็นการครอบงำทางความคิดไปสู่ระบบเก่า ๆ
หรือพฤติกรรมแบบเก่าที่ไม่ทันยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปได้ ดังนั้นจึงขอทำความเข้าใจในหลักการและวิถีทางประชาธิปไตยเสียก่อน
การเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตย เป็นเรื่องของการแสวงหาอำนาจโดยผ่านระบบตัวแทนเพื่อเข้าไปกำหนดนโยบายรัฐบาล
และกำหนดทิศทางการทำงานเพื่อใช้อำนาจรัฐนั้นสร้างความผาสุกให้แก่ปวงชนชาวไทย เพราะประชาชนไม่สามารถเข้าไปทำหน้าที่โดยตรงได้ จึงต้องมีระบบตัวแทนเข้าไปทำหน้าที่ ซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศมีการถ่วงดุลกัน 3 อำนาจด้วยกัน ได้แก่ ก. อำนาจนิติบัญญัติ
คืออำนาจในการออกกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมประชาชน ข.
อำนาจบริหารหมายถึงอำนาจในการนำกฎหมายไปใช้บังคับ, และการนำเจตนารมณ์ที่รัฐบาลเป็นผู้กำหนดนโยบาย
(Policy Maker) ตรากฎหมายเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยส่วนรวม ค. และอำนาจตุลาการ คืออำนาจในการตัดสินคดีความที่อยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรม, ไม่เลือกปฏิบัติ, ไม่ใช้อิทธิพลแทรกแซงไม่ว่ากรณีใด
ๆ อำนาจทั้งสามประการนี้ต้องคอยตรวจสอบ, ถ่วงดุลซึ่งกันและกัน หากอำนาจทั้ง 3 เหล่านี้ถูกแทรกแซงครอบงำก็จะทำให้อำนาจหนึ่งอำนาจใดมีมากเกินไป และในปัจจุบันแนวโน้มอาจใช้อำนาจของประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมรับรู้, ติดตามผลจากอำนาจของภาคประชาชน ซึ่งการตรวจสอบอำนาจภาคประชาชนควรเป็นอำนาจที่บริสุทธิ์ไม่เจือด้วยผลประโยชน์จากคนกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดเป็นพิเศษ แต่ในทางปฏิบัติในสังคมไทยยังมีบุคคลบางกลุ่มที่มักแอบอ้างประชาธิปไตยโดยพิจารณาจากแนวคิดของตนเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำให้ประชาธิปไตยของไทยถูกบิดเบือนไปตามกลุ่มผลประโยชน์
(Interest Group)
การปกครองประชาธิปไตยมีกำเนิดเริ่มเดิมทีเกิดขึ้นครั้งแรกที่นครรัฐกรีกโบราณเมื่อประมาณ 500 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งมีลักษณะประชาธิปไตยโดยตรง ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่สามารถเข้าร่วมชุมนุมและแสดงสิทธิความคิดเห็นได้ ทั้งนี้เพราะเมืองหลวงของกรีกมีอาณาเขตไม่ใหญ่โตกว้างขวาง และมีประชากรค่อนข้างเล็กน้อย แต่ในปัจจุบันไม่สามารถนำระบอบประชาธิปไตยโดยตรงมาใช้ได้ เพราะประชาชนมีมากเกินกว่าที่จะให้โอกาสมาใช้สิทธิในการแสดงออกได้ ดังนั้นประชาธิปไตยในปัจจุบันจึงเป็นประชาธิปไตยโดยผ่านตัวแทน
หรือประชาธิปไตยทางอ้อม เช่นการเลือกผู้แทนราษฏรเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ดังนั้นหน้าที่ของตัวแทนจึงทำหน้าที่ในการรวบรวม, แสวงหาสิ่งที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนในทุกระดับชั้นแต่สิ่งที่สำคัญในประเทศที่คนส่วนใหญ่ยังมีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดีนั้น ควรให้ความสำคัญกับกลุ่มบุคคลที่ยากจนมากที่สุดเสียก่อน หรือถ้าหากให้ความสำคัญกับกลุ่มคนระดับกลาง
และระดับสูงก็ควรให้มีการจัดเก็บภาษีลดหลั่นตามระดับรายได้ให้มากพอที่จะช่วยคนระดับล่างได้มากขึ้น, รวมทั้งสร้างรากฐานของระบบการศึกษาที่ขยายตัวในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เพิ่มพูนมากขึ้น ทำให้ประชาชนมีการกินดีอยู่ดี,มีคุณภาพชีวิตที่ดี ดังนั้นหลักการประชาธิปไตยมีหัวใจสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ ก. อุดมการณ์ประชาธิปไตย ข. การปกครองแบบประชาธิปไตย และ ค.
วิถีชีวิตประชาธิปไตย และสิ่งสำคัญที่ผู้เขียนขอเพิ่มเติมคือ ประชาธิปไตยอัจฉริยะ ซึ่งหมายถึงการปลูกฝังความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนคนไทยในทุกระดับอย่างแท้จริง ประชาธิปไตยเป็นเรื่องที่ต้องเข้าใจ, เข้าถึง
และพัฒนาขีดความสามารถประชาธิปไตยโดยเฉพาะระดับนักการเมืองหรือระดับผู้บริหาร, ผู้นำต้องมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง และยอมรับกติการ่วมกัน และป้องกันไม่ให้เกิดวงจรอุบาทว์ทางการเมืองเข้ามาทำลายความมั่นคงของประชาธิปไตย ซึ่งก็คือความมั่นคงของชาติ
และประชาชน ซึ่งในสากลของโลกได้ให้ความสำคัญกับการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance) ซึ่งกระแสของโลกนี้ให้ความสำคัญกับเรื่องความโปร่งใส, ความรับผิดชอบ, ความซื่อสัตย์, ฯลฯ ดังนั้นหากประเทศใดตกอยู่ภายใต้การปกครองที่มิใช่ประชาธิปไตยก็มักถูกปฏิเสธในการร่วมคบหาสมาคม
และทำให้มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ที่ดี และรวมถึงการค้าขายกับต่างประเทศด้วย และรวมถึงบดบังความสง่างามที่มีต่อประชาคมโลกได้ ซึ่งเราพอจำแนกการใช้ประชาธิปไตย ดังนี้คือ
1. ประชาธิปไตยในแง่ของการปกครอง คือการปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่ต้องยอมรับกติกาคือ
รัฐธรรมนูญเป็นสิ่งที่ต้องฉันทามติจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยไม่เลือกชั้น,วรรณะ, ผิวพรรณ, เพศ ทุกคนมีความเสมอภาคกันตามกฎหมาย
2. ประชาธิปไตยในแง่ของการใช้สิทธิใช้เสียง คือประชาธิปไตยที่มีการับฟังความคิดเห็นทุกภาคส่วน โดยถือเสียงส่วนใหญ่
พิทักษ์เสียงส่วนน้อย (Majority Rule, Minority Right) ประชาธิปไตยมิใช่มาจากคนกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด แต่บุคคลนั้นต้องมาจากตัวแทนของประชาชน และการให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองให้มากที่สุด
3.ประชาธิปไตยในแง่ของวิธีการ คือประชาธิปไตยที่ใช้วิธีการประชาธิปไตย
แต่มิใช่ใช้วิธีการรัฐประหาร (Coup de’
tat’) เพราะถ้าหากเป็นการยึดอำนาจแล้วก็ไม่ใช่ประชาธิปไตยทันที ถึงแม้ว่าเราจะแอบอ้างว่ารัฐประหารเพื่อประชาธิปไตย แต่ทว่าวิธีการยังไม่เป็นประชาธิปไตย
4.ประชาธิปไตยในแง่ของอุดมการณ์ คือประชาธิปไตยที่คนส่วนใหญ่ของประเทศมีอุดมการณ์ร่วมกัน และยอมรับร่วมกันว่าจะจรรโลงประชาธิปไตยที่ยั่งยืน ไม่ตกเป็นเหยื่อของอำนาจนิยมครอบงำทางการเมือง , ไม่ใช้ประชาธิปไตยไปในทางแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนหรือของกลุ่มบุคคล แต่เป็นประชาธิปไตยที่เอื้อประโยชน์สุขแก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งเรื่องนี้ก็ทำได้ค่อนข้างยาก เพราะคนไทยมักติดตัวบุคคลมากกว่าหลักการ ทำให้เกิดกลุ่มบุคคลที่แตกต่างกัน และนำมาซึ่งความขัดแย้ง แต่ควรมีขันติธรรมในการยอมรับกติกามากกว่าการใช้วิธีการอื่น
ๆ ที่มิใช่ประชาธิปไตย ซึ่งก็คือหมายถึงการเล่นในเกมส์, ไม่เล่นผิดกฎกติกา, และเป็นสิ่งที่ผู้ไม่ได้เล่นในเกมส์ยอมรับได้ ประชาธิปไตยจึงไม่ใช่เรื่องของอารมณ์ แต่เป็นเรื่องของเหตุผล การรักษากติกาประชาธิปไตยจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด
5. ประชาธิปไตยในแง่ของการสร้างชาติ คือประชาธิปไตยที่คนส่วนใหญ่ร่วมกันผนึกกำลังความสามัคคีเพื่อกู้ชาติ
และพัฒนาชาติให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้น ๆ ไป การรักษาสมานฉันท์จะต้องไม่มีจิตใจลำเอียง
หรือมีอคติใด ๆ หรือการลุ่มหลงผลประโยชน์ใด ๆ ที่ทำให้ประเทศชาติเกิดความเสียหาย
6. ประชาธิปไตยในแง่ของคุณธรรม คือประชาธิปไตยที่มีลักษณะการไม่เห็นแก่ตัว, เห็นแก่พวกพ้องโดยไม่คำนึงถึงความถูกต้องเป็นธรรม การมีนิสัยที่ไม่โลภโมโทสัน, รู้จักพอเพียงไม่เอาเปรียบคนอื่น, ไม่นิยมการใช้อำนาจข่มเหงผู้อื่นทั้งทางด้านร่างกาย
และจิตใจ,การมีจิตใจที่เป็นประชาธิปไตยในเชิงบวกโดยคำนึงถึงศีลธรรมอันดี, เคารพกฎหมายบ้านเมือง และเป็นตัวอย่างที่ดีของสังคม เป็นต้น
ความเป็นมาของประชาธิปไตยแบบตะวันตกและแบบไทยๆ
วิวัฒนาการความเป็นมาของประชาธิปไตยมีความแตกต่างกันกับวิถีทางตะวันตกซึ่งวิถีประเพณีตะวันตกซึ่งต่างกับประเทศไทยอย่างมากทั้งในวิถีประเพณีของไทยซึ่งถูกปลูกฝังในการเกรงกลัวผู้มีอำนาจหรือในลักษณะอำนาจนิยม โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ยังขาดการศึกษา
และเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศยังขาดความเข้าใจในเรื่องประชาธิปไตย และรวมไปถึงกลุ่มบุคคลในชนชั้นกลางในปัจจุบันที่หลงกระแสโลกาภิวัฒน์
ในเรื่องของวัตถุนิยมที่แพร่หลายจากตะวันตกในเรื่องการบริโภคนิยมซึ่งเราพอจะวิเคราะห์พอสังเขปได้ดังนี้
ก.กลุ่มประชาชนคนยากจนหรือเกษตรกร มีวิถีชีวิตค่อนข้างลำบากยากจนในท้องถิ่นชนบทห่างไกลความเจริญของสังคม มักหากินเลี้ยงปากเลี้ยงท้องจึงไม่ค่อยสนใจในวิถีทางประชาธิปไตยอย่างจริงจังในลักษณะสร้างจิตสำนึกในความคิด ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมักฝากความหวังในการช่วยเหลือจากรัฐบาล เช่นการช่วยเหลือในเรื่องเงินทอง, สาธารณูปโภค, ซึ่งมักเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยในการดำเนินชีวิต พูดง่าย ๆ
ก็คือประชาชนคนไทยไม่สนใจว่าการเมืองประชาธิปไตยจะเป็นเช่นใด จึงมองประชาธิปไตยเป็นเพียงรูปแบบเช่นมีการเลือกตั้ง, มีผู้แทนราษฎรที่เป็นตัวแทนของประชาชน โดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับรัฐบาลจะมีการคอรัปชั่นมากน้อยเพียงใด ขอแต่เพียงให้มีกินมีใช้ไปวันหนึ่ง ๆ เท่านั้น ดังนั้นผู้ที่เป็นตัวแทนสมัครเข้ารับการเลือกตั้งหากไม่มีเงินทอง ก็ไม่สามารถจะไปช่วยเหลือชาวบ้านได้ ทำให้การเมืองไทยไม่สามารถทำให้บุคคลธรรมดาซึ่งอาจเป็นคนมีความรู้แต่ไม่มีฐานะทางเศรษฐกิจมากมายไปช่วยเหลือชาวบ้านได้ หรือบางท่านอาจมีฐานะดีแต่ไม่อยากเข้ามาเล่นการเมืองโดยวิธีนี้ แต่ถ้าเข้ามาเล่นจะโดยไม่ซื้อเสียงทางการเมืองก็ต้องเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง
และได้รับความนิยมจากประชาชนในท้องถิ่น ซึ่งก็มีอยู่เป็นจำนวนน้อยทีเดียว แ ต่ประชาธิปไตยของตะวันตกในประเทศที่เจริญหรือพัฒนาแล้ว
ก็ไม่มีให้เห็นถึงการปฏิวัติรัฐประหาร ทั้งนี้เพราะว่าการพัฒนาประชาธิปไตยของตะวันตกเกิดจากประชาชนของเขามีจิตสำนึกประชาธิปไตยซึ่งเป็นลักษณะเนื้อหามากกว่ารูปแบบประชาธิปไตย แต่ประชาธิปไตยของตะวันตกอาจจะมีข้อเสียตรงที่ว่าผู้นำในประเทศที่เจริญแล้วอาจชอบไปจัดระเบียบสังคมโลก และเข้าไปก้าวก่ายซึ่งอาจไม่ใช้วิธีการเป็นประชาธิปไตยก็ได้ ทำให้ระบบโลกทุกวันนี้ยังมีความสับสน
(Chaos World Politics) เพราะว่ากติกาประชาธิปไตยในแต่ละประเทศยังมีลักษณะกติกาที่ไม่เหมือนกัน และแตกต่างกัน
ไม่เหมือนกติกาฟุตบอลล์ซึ่งจะเตะประเทศใหนก็ใช้กติกาเหมือนกันหมด มีมาตรฐานการเล่นที่แน่นอน แต่การตัดสินจะยุติธรรมหรือไม่เป็นเรื่องของแต่ละประเทศ แต่วิถีการปกครองประชาธิปไตยผู้เล่นคือประชาชนทั้งหมด และต้องรู้กติกาเป็นอย่างดีและมีสปิริตในด้านการเล่น แต่ถ้าหากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศไทยยังขาดจิตสำนึกด้านประชาธิปไตยที่ถูกต้องแล้ว ผลก็คือทำให้การเมืองไทยมีลักษณะวงจรอุบาทว์
คล้ายกับวงจรอุบาทว์ของความยากจนนั่นเอง และเป็นความยากไร้ และความจนทางปัญญาด้านประชาธิปไตย
และรวมไปถึงด้านจิตใจที่ดีมีศีลธรรม แต่อาจฟุ้งเฟ้อทางด้านวัตถุ
และหลงใหลไปตามกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้จิตวิญญาณประชาธิปไตยที่คนไทยอุตส่าห์ต่อสู้มาตั้งแต่เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เจือจางสูญหายไป เพราะขาดรัฐบาลที่สนใจและเอาใจใส่บำรุงเลี้ยงดูประชาธิปไตยให้เจริญงอกงาม และมัวแต่ไปสนใจด้านเศรษฐกิจปากท้องโดยเฉพาะรัฐบาลยุค
พณ.ท่านดร. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเน้นทางด้านโลกาภิวัตน์
และประกาศตนเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง ในขณะที่ทุกภาคส่วนในสังคมยังตามท่านไม่ทัน เพราะท่านเน้นการบริหารแต่ไม่ได้เน้นการปกครองจึงทำให้กลุ่มนักวิชาการไม่มีความพอใจซึ่งจริง
ๆ แล้ว เรื่องปากท้องก็เป็นเรื่องสำคัญมากที่สุดของคนไทย แต่เนื่องจากมีบุคคลกลุ่มชนชั้นกลาง
และนักวิชาการที่สนใจวิถีการปกครองแบบประชาธิปไตยได้เข้ามามีบทบาท
และคอยติดตามดูมาตลอด
แต่ก็เป็นคนกลุ่มหนึ่งที่มีประชาชนสนใจมากพอสมควร มักเป็นประชาชนภายในสังคมเมืองมากกว่าในชนบท สังคมไทยจึงคาดหวังผู้นำที่จะทำให้เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรือง
และมีความเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ซึ่งเปรียบเสมือนรถไฟรางคู่ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายทีเดียวดังนั้นวัฒนธรรมทางการเมืองของประชาชนกลุ่มนี้จึงมีลักษณะวัฒนธรรมแบบไพร่ฟ้า
(Subject political culture) และมองว่าการเมืองเป็นเรื่องของนักการเมือง
ไม่เกี่ยวกับประชาชน
กลุ่มประชาชนชนชั้นกลาง ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มบุคคลที่มีการศึกษาดี
และมักอยู่ในเมือง ความต้องการด้านเสรีภาพในการคิด, ขีดเขียน และการแสดงออกจึงมีความต้องการมากกว่ากลุ่มบุคคลอื่น ๆ
และหากรัฐบาลไม่ฟังเสียงคนกลุ่มนี้
หรือมีนโยบายที่ขัดแย้งกับกลุ่มที่ทำงานในภาครัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นกลุ่มที่มีองค์กรเข้มแข็งมากจากประวัติศาสตร์เท่าที่ผ่านมา โดยเฉพาะรัฐบาลยุค
ดร.ทักษิณ ชินวัตรได้ประสบปัญหากับความขัดแย้งทางความคิด รวมทั้งบทบาทของฝ่ายค้านที่มองว่ารัฐบาลมีเสถียรภาพมากเกินไป และใช้อำนาจในลักษณะเชิงประชานิยม ซึ่งนับวันเป็นการเพาะเชื้อให้เกิดความไม่พอใจ
ซึ่งผู้นำไทยควรจะมีบุคลิกลักษณะประนีประนอม และมีความเห็นอกเห็นใจกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ด้วยท่าทีที่เป็นกันเอง และมีลักษณะเป็นการเปิดเผย, ให้เสรีภาพ และยอมรับฟังความคิดเห็น ก็จะทำให้กลุ่มบุคคลต่าง ๆ ได้ลดทิฐิ, การเอาชนะโดยใช้วิธีที่รุนแรง, หรือการโจมตี รวมไปถึงการใส่ร้ายป้ายสี ซึ่งไม่เกิดผลดี บทบาทของผู้นำและพฤติกรรมของผู้นำไทยจึงมีความสำคัญ เช่นการลดระดับความเชื่อมั่นในตนเองให้น้อยลง, รับฟังความเห็นให้มากขึ้น, ใส่ใจกับทุกปัญหาไม่ว่าปัญหาจะเป็นปัญหาเล็กน้อยก็ตาม แต่ปัญหาเล็ก
ๆอาจก่อให้เกิดปัญหาใหญ่ยากที่จะเยียวยาแก้ไขได้ เปรียบเสมือนน้ำผึ้งหยดเดียวก่อให้เกิดปัญหาลุกลามบานปลายจนไม่สามารถหยุดยั้งได้ ในโลกตะวันตกมีปัญหาคนยากจนค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลาง (middle class) หรือเป็นชนชั้นที่ร่ำรวยแล้ว และมีการศึกษาค่อนข้างสูง ทำให้ประเทศในตะวันตกมักไม่ปรากฏมีปัญหาที่ต้องใช้รถถังมาทำการก่อรัฐประหารเลย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประเทศที่พัฒนาแล้วสามารถขจัดปัญหาการก่อการรัฐประหารและทหารก็อยู่ภายใต้อำนาจของรัฐบาลซึ่งเกิดจากจิตสำนึกทางประชาธิปไตยที่ได้รับการพัฒนามาเป็นอย่างดี หรือที่เรียกว่าเป็นประชาธิปไตยแบบต้นโพธิ์ต้นไทร
มีลักษณะประชาธิปไตยค่อนข้างยั่งยืนไม่ล้มลุกคลุกคลาน หรือถอยหลังลงคลอง ประชาชนมีระเบียบวินัย
เข้าใจและสำนึกประชาธิปไตยโดยไม่ต้องสอน เพราะถูกปลูกฝังมาตั้งแต่ระบบครอบครัว, สังคม, ชุมชน, องค์การต่าง ๆ ทุกคนต่าง ๆ
ทนุถนอมให้ประชาธิปไตยมีวิถีที่ดี, มีเสรีภาพ, มีความเสมอภาค และมีภราดรภาพ อย่างสุนทรพจน์ของประธานาธิบดีลินคอล์นที่ว่า “การปกครองประชาธิปไตยคือการปกครองของประชาชน,โดยประชาชนและเพื่อประชาชน” และจากคำสุนทรพจน์ของประธานาธิบดีเจฟเฟอร์สันที่ว่า “มนุษย์เกิดมาเท่าเทียมกัน” (Man is equal) ดังนั้นในสังคมที่มีการแบ่งชั้น
หรือแบ่งฝักแบ่งฝ่ายจะไม่สามารถเป็นสังคมประชาธิปไตยได้
ดูตัวอย่างจากประเทศอินเดียที่มีชนชั้นวรรณะ 4 วรรณะเช่นวรรณะพรามณ์, แพทย์, จัณฑาล, สูตร
แม้ว่านายกรัฐมนตรีดอกเตอร์อัมเบก้า ประกาศในรัฐธรรมนูญข้อแรกว่าประชาชนทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่พฤติกรรมในสังคมของคนอินเดียก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงกล่าวคือยังมีการถือชั้นวรรณะกันอยู่ ดังนั้นสิ่งสำคัญของรัฐบาลพลเรือนต้องทำให้ประชาชนมีการกินดีอยู่ดีเสมอภาคกัน เพื่อสร้างสรรค์ระบอบประชาธิปไตยอย่างที่คนไทยต้องการ การปลูกฝังประชาธิปไตยในหมู่ชนชั้นกลางจึงไม่ใช่เรื่องยาก แต่เราจะพบว่าสถาบันการศึกษาส่วนใหญ่ของไทยยังไม่ค่อยมีการสอนเรื่องประชาธิปไตยอย่างเป็นจริงเป็นจัง ส่วนใหญ่หลักสูตรมหาวิทยาลัยมักเป็นหลักสูตรที่เน้นการทำมาหากินมากกว่าสนใจสังคม หรือการเมืองแบบประชาธิปไตย การที่ผู้มีความรู้และการศึกษาดีขาดการศึกษาในเรื่องนี้เป็นส่วนใหญ่ ทำให้ประชาธิปไตยมักไปสนใจในกลุ่มบุคคลที่เรียนทางด้านรัฐศาสตร์, นิติศาสตร์, สังคมวิทยา, พัฒนาสังคม
ฯลฯ เป็นส่วนใหญ่ แต่กลุ่มวิชาชีพอื่น ๆ
แล้วไม่ได้มีการถ่ายทอดอย่างเต็มที่ แม้กระทั่งการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาก็ไม่ค่อยเห็นมีวิชาเกี่ยวกับประชาธิปไตยเพื่อสร้างจิตสำนึกตั้งแต่เล็ก
ๆ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในสังคมไทย เพราะว่าการปกครองประชาธิปไตยของไทยเป็นการลอกเลียนแบบหรือนำรูปแบบจากต่างประเทศ
คนไทยส่วนใหญ่ในวิถีชีวิตไม่ค่อยมีประสบการณ์ในเรื่องประชาธิปไตยและเข้าใจประชาธิปไตยอย่างแท้จริงหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองแบบประชาธิปไตยตั้งแต่ 14 ตุลาคม 2516 ทำให้ประชาธิปไตยของไทยถูกตัดตอน และลดทอนความสนใจอย่างมาก
กลุ่มประชาชนคนชั้นสูง และร่ำรวย เป็นกลุ่มบุคคลที่มีความสำคัญในการกำหนดทิศทางการเมือง
และการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง โดยเฉพาะนักธุรกิจ, พ่อค้าวาณิชย์, ข้าราชการระดับสูง, นักวิชาการที่มีชื่อเสียง
, และนักการทหารระดับสูง มักเป็นกลุ่มผู้คอยสังเกตการณ์และบางครั้งก็เข้าร่วมกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง
ซึ่งคนกลุ่มนี้มักมีบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลง
และการเข้าไปแสวงหาอำนาจทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์จากทางการเมือง แต่บางคนก็มีลักษณะที่ไม่สนใจและไม่สนใจในการเข้ามามีบทบาททางการเมือง เพราะมองว่าการเมืองเป็นเรื่องที่เปลืองตัว หากทำดีก็เสมอตัว หากทำมีปัญหาก็อาจทำให้เกิดเสียชื่อเสียงอย่างร้ายแรงได้
การเล่นการเมืองจึงเป็นเรื่องที่เสี่ยงต่อชื่อเสียง, วงศ์ตระกูล เข้าทำนองเสียงมากได้มาก, เสี่ยงน้อยได้น้อย (High Risk, High Return, Low Risk, Low Return) บางคนอาจมีราชรถมาเกยในตอนที่มีการปฏิวัติรัฐประหารซึ่งถือว่าเป็นเรื่องโชคดี
ที่ไม่ต้องลงทุนทางการเมือง
หรือนักวิชาการที่เข้าร่วมทางการเมืองอาจถูกวิพากย์วิจารณ์จากนักประชาธิปไตยว่ายอมรับใช้กลุ่มที่ล้มอำนาจทางด้านประชาธิปไตย
จึงถือว่าเป็นการเสี่ยงทั้งนั้น
แต้ถ้าหากมีความจริงใจในการแก้ปัญหาบ้านเมืองก็อาจเป็นเรื่องดีก็ได้แต่ก็อาจถูกกล่าวหาว่าไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน
แม้กระทั่งผู้สมัครรับเลือกตั้งก็ต้องเสียเงินเสียทองมากมาย
แม้จะมี กกต. ก็ตาม
เนื่องจากนักการเมืองส่วนใหญ่มีความเห็นว่าคนไทยส่วนใหญ่ยังยากจน
หากไม่ช่วยเหลือแล้ว การสอบได้เป็นผู้แทนก็คงเป็นเรื่องที่ลำบาก ซึ่งหากพิจารณาอย่างเป็นรูปธรรมว่าผู้ที่ลงเล่นการเมืองแล้วมีแต่ความรู้หรือมียศถาบรรดาศักดิ์ก็ตาม แต่ถ้าไม่มีเงินแจกจ่ายชาวบ้านแล้ว ก็ไม่สามารถได้รับเลือกเป็น
สส.ได้แน่นอน ลองท่านผู้ที่ทำการปฏิรูปการปกครองมาลงเลือกตั้งก็เหมือนกัน ท่านก็จะไม่สามารถหนีกฎเกณฑ์นี้ เว้นเสียแต่การเมืองบ้านเราสามารถขจัดปัญหาการซื้อเสียงได้อย่างจริงจัง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นรัฐบาลที่ได้เสียงข้างมากควรปลูกฝังอย่างจริงจัง ในการไม่ให้มีการซื้อเสียงเข้ามา เพราะถ้าหากลงทุนมากผู้ที่เข้ามาบริหารประเทศก็หวังจะถอนทุนคืนซึ่งมักเกิดกับรัฐบาลพลเรือนแทบทุกรัฐบาลก็ว่าได้และมักเป็นเหยื่อหรือเงื่อนไขของการปฏิวัติรัฐประหารเรื่อยมา เพราะประเทศไทยยังขาดกลไกที่ควบคุมการซื้อเสียงเลือกตั้งได้ นอกเสียจากหากลวิธีที่ทำให้การซื้อเสียงน้อยที่สุด
ในลักษณะการบังคับให้ระบบการเลือกตั้งมีความบริสุทธิ์ยุติธรรม
และให้ความเสมอภาคกันในการหาเสียง, การติดป้าย, การรณรงค์เลือกตั้ง, การที่รัฐบาลสนับสนุนให้มีการเลือกตั้งแบบเคลื่อนที่เข้าหาชุมชน
หรือการบริการรถโดยสารฟรีเพื่อนำพาประชนไปสู่สนามเลือกตั้ง, หรือการสมนาคุณแก่ผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ซึ่งรัฐบาลเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด ก็อาจแก้ปัญหาได้ แต่ก็ต้องระวังถูกกล่าวหาว่าเป็นเรื่องประชานิยม ซึ่งแก้ปัญหาได้โดยมีองค์กรกลางเข้ามาจัดการด้านนี้โดยตรงที่เชื่อถือได้ เช่นอาจมีองค์กรกลางเลือกตั้งที่เลือกตั้งจากประชาชนในแต่ละจังหวัดมาทำหน้าที่ก็ได้
กรอบแนวคิดทฤษฎีประชาธิปไตยอัจฉริยะ
จากปัญหาที่ประเทศไทยประสบกับภาวะทางการเมืองที่ล้มลุกคลุกคลานมาตลอด มีลักษณะที่เหมือนรถยนต์วิ่งขึ้นไปข้างหน้า และต้องถอยหลังกลับมานั้น เป็นสิ่งที่น่าประหลาดใจ
และสร้างความสับสนกับลัทธิการปกครองอันเนื่องจากมนุษย์มีความคิดเห็นที่หลากหลาย
และแตกต่างกัน กลุ่มใดที่มีอำนาจมากเกินไปอาจใช้อำนาจไปในทางที่ไม่เป็นประชาธิปไตย เพราะความคิดรูปแบบประชาธิปไตยของคนไทยมีความเห็นไม่อยู่ในมาตรฐานหรือกติกาอันเดียวกัน บุคคลที่เป็นผู้นำในสังคมจะต้องระมัดระวังในการวางตนให้สมกับนักประชาธิปไตยที่แท้จริง แต่ในการบริหารประเทศนั้นหากเรามุ่งแต่เรื่องประชาธิปไตยอย่างเดียวก็มีอันหวังว่าประชาชนคนไทยก็คงลำบากยากจน และหากคนในกลุ่มสังคมขาดแบบแผนประชาธิปไตยอันเดียวกันแล้วไซร้ก็จะทำให้สังคมไทยกลายเป็นสังคมแห่งความสับสน และก่อให้เกิดความขัดแย้งอย่างไม่มีวันจบสิ้น การปรองดองสมานฉันท์และทำความเข้าใจในหลักการประชาธิปไตยที่ถูกต้อง ผู้นำจำต้องมีบุคลิกความคิดจิตวิญญาณแบบประชาธิปไตย โดยไม่นิยมการใช้กำลังรุนแรง, การไม่ยอมรับความคิดเห็นของฝ่ายที่มีความคิดไม่เหมือนกัน เป็นธรรมดาที่ประชาธิปไตยจะต้องมีความเห็นไม่ลงรอยกันบ้าง
และวุ่นวายสับสนไปบ้าง แต่การเคารพกติกาของสังคมเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง แต่ก็มิใช่กติกาของคนบางกลุ่มตั้งกันขึ้นมาโดยขาดการยอมรับคนส่วนใหญ่
หรือของสากลประเทศยอมรับ ดังนั้นสิ่งที่สังคมไทยเรายังขาดความเข้าใจในวิถีการปกครองประชาธิปไตยนั้นเกิดจากการขาดความฉลาด
หรืออัจฉริยะทางประชาธิปไตยนั่นเอง หากประเทศไทยมีการสร้างสังคมอัจฉริยะประชาธิปไตยในทุกภาคส่วน
ซึ่งอาจจะแตกต่างจากสังคมตะวันตกบ้าง ก็เป็นสิ่งที่ทำให้ประเทศไทยมีประชาธิปไตยที่ยั่งยืน มิใช่ประชาธิปไตยแบบต้นกล้วยที่ถูกโค่นอยู่บ่อยครั้ง ก่อนที่จะทำความเข้าใจในเรื่องประชาธิปไตยอัจฉริยะนั้นเรามาศึกษาถึงความหมายกันก่อน
บางท่านให้คำนิยามง่าย ๆ
ว่าประชาธิปไตยคือการปกครองที่อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน หรือมาจากประชาชน ซึ่งก็หมายความว่าประชาธิปไตยถ้าไม่อยู่ในอำนาจของประชาชนก็ถือว่ามิใช่ประชาธิปไตย โดยดูจากสมการดังนี้
ประชาธิปไตย = อำนาจสูงสุดของประชาชน
อริสโตเติ้ล (Aristotle) ให้ความหมายประชาธิปไตยแบบเดียวกันว่าประชาธิปไตยก็คืออำนาจสูงสุดอยู่ในมือของประชาชนทั้งหมด ซึ่งเขามีทัศนะว่าเป็นระบบการปกครองที่ปลอดภัยมากที่สุด
A.D.Lindsay ให้ความหมายว่าประชาธิปไตยตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่ามนุษย์สามารถตกลงทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดร่วมกันได้ และในทำนองเดียวกันก็มีวิถีชีวิตของแต่ละปัจเจกชนได้ เกิดจากการยอมรับนับถือเคารพนับถือบุคลิกภาพซึ่งกันและกันมากพอ เราก็สามารถจะหาหลักเกณฑ์ของระบบสิทธิเสรีภาพ ซึ่งทำให้บุคคลบรรลุถึงชีวิตอันเสรีได้ ซึ่งวิธีการที่ดีที่สุดในทัศนะของเขาคือ “การปรึกษาหารือถกเถียงกัน” ดังนั้นจากความหมายดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่ามนุษย์เราต้องยอมรับในความแตกต่างของบุคลิกภาพ มิใช่ใช้ความเห็นของตนเองเป็นเครื่องกำหนดบุคลิกภาพหรือกลุ่มคนที่ยอมรับบุคลิกภาพเฉพาะกลุ่มเท่านั้น เพราะมนุษย์มีความแตกต่างกัน, มีความหลากหลาย
แต่ควรทำความเข้าใจกันด้วยการพูดจาปราศรัยกันโดยไม่มีทิฐิเป็นเครื่องกั้นใด ๆ
ประชาธิปไตย = การยอมรับความแตกต่างในบุคลิก +
การยอมรับนับถือกัน + การปรึกษาหารือถกเถียงกันกรณีความเห็นไม่ลงรอยกัน
Carton C’Rodee ให้ความหมายประชาธิปไตยคือการใช้ความพยายามก้าวไปสู่ชีวิตที่ดีงาม
เพื่อประชาชนของคนทุก ๆ คน โดยไม่หยุดยั้ง นั่นก็คือการให้เสรีภาพของแต่ละคนให้มากที่สุด พร้อม ๆ
กับการให้ความคุ้มครองชีวิต, ความปลอดภัย, การสงเคราะห์ และการมีโอกาสในชีวิตที่กว้างขวางที่สุดสำหรับทุกคน
เท่าที่ธรรมชาติจะอำนวย เพื่อการพัฒนาบุคลิกภาพให้เต็มที่ที่สุด
และส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองให้มากที่สุด
จากความหมายดังกล่าว จะเห็นว่าการปกครองประชาธิปไตยเป็นการปกครองที่พยายามให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนมากที่สุด, ได้รับการคุ้มครองสูงสุด, สร้างโอกาสชีวิตสูงสุด
(ในสังคมของไทยมักเป็นสังคมที่ยังไม่กระจายโอกาสที่เท่าเทียมกัน จะเห็นว่าคนจนก็ต้องจนไปตลอดชีวิต ไม่ได้มีโอกาสพัฒนาตนเองให้ทัดเทียมกันบุคคลอื่น
ๆ บุคคลที่มีอำนาจในสังคมกลับมีโอกาสมากมาย
และมีการใช้อภิสิทธิ์กันในทางที่ผิด ๆ เช่นระบบอุปถัมภ์, ระบบพรรคพวกเป็นใจ,ระบบเน่าหนอนชอนไช, ระบบเจ้าขุนมูลนาย, ระบบธนกิจทางการเมือง
ซึ่งทำให้สังคมไทยยังมีอุปสรรคเรื่องประชาธิปไตยค่อนข้างมาก และยังติดยึดกับระบบอำนาจนิยม ซึ่งหมายถึงว่าใครมีอำนาจจะคิดทำอะไรก็ถูกต้องเสมอ โดยไม่ได้รับฟังเสียงคนส่วนใหญ่ของประเทศ จากลักษณาการดังกล่าวการจัดการห่วงโซ่อุปทานในด้านประชาธิปไตยเพื่อสร้างสรรค์วัฒนธรรมประชาธิปไตยจึงมีโอกาสถูกบิดเบือน, เฉไฉ อันเนื่องจากความเข้าใจประชาธิปไตยกันคนทิศคนละทาง และมีโอกาสถูกตัดตอนห่วงโซ่ไปถึงประชาชนในระดับล่างได้ ซึ่งคำว่าการจัดการห่วงโซ่อุปทานหมายถึงวิถีทางที่จะนำเอาประชาธิปไตยไปสู่มือของประชาชนทั้งประเทศได้ เป็นการเคลื่อนที่หรือการบริการไปถึงประชาชน เช่นทำให้ประชาชนในชุมชนมีอำนาจในการตัดสินใจของเขาเองได้ โดยรัฐไม่เข้าไปแทรกแซงใด ๆ รัฐเป็นแต่เพียงจัดสรรโอกาสการมีส่วนร่วม และป้องกันการใช้ความรุนแรงเท่านั้นเอง จากความหมายดังกล่าวข้างต้นสามารถเขียนในรูปสมการเพื่อความเข้าใจอย่างง่าย
ๆ คือ
ประชาธิปไตย = หลักประกันสิทธิเสรีภาพ + การคุ้มครองชีวิต + ความปลอดภัย + มีโอกาสสร้างชีวิตได้สูงสุด
จากการให้ความหมายของประชาธิปไตย จะพบว่าประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่ประเทศไทยได้นำแนวคิดจากตะวันตกมาประยุกต์ใช้ แต่ยังขาดจิตสำนึก และวินัยในเรื่องประชาธิปไตย ซึ่งการเข้าใจประชาธิปไตยแบบไทยยังเป็นความเข้าใจแบบผิวเผิน และดูเหมือนจะไม่ให้ความใส่ใจเท่าที่ควรในขณะนำเอาหลักการประชาธิปไตยไปใช้ เพราะผู้นำและคนไทยส่วนใหญ่ยังติดระบบอำนาจนิยม จะสังเกตว่าเราจะนิยมคนมีอำนาจ, การติดสอยห้อยตามผู้มีอำนาจ, การไม่กล้าแสดงความคิดเห็นต่อผู้มีอำนาจ หรือการไม่ยอมรับฟังความคิดเห็น ซึ่งจะเห็นว่าเรายังเข้าไม่ถึงประชาธิปไตยจริง
ๆ เท่าที่ควร ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงการปกครองประชาธิปไตยสิ่งสำคัญที่สุดคือผู้นำต้องมีความคิดจิตประชาธิปไตยที่ดีเสียก่อน เพราะลำพังการจะปฏิบัติตามกฎหมาย
หรือหลีกเลี่ยงกฎหมายโดยหาช่องโหว่ทางกฎหมายก็ตาม ก็ไม่สามารถจะทำให้บุคคลที่เป็นผู้นำมีความสมบูรณ์แบบได้ ซึ่งการสร้างประชาธิปไตยอัจฉริยะนั้น ผู้เขียนขอเสนอแนวคิดในแต่ละกลุ่มทางสังคม เพื่อให้เห็นภาพอย่างชัดเจนดังนี้
ประชาธิปไตยอัจฉริยะในแง่ของประชาชน
หรือปัจเจกชน ประชาธิปไตยในระดับนี้เป็นสิ่งที่ประชาชนควรได้รับการศึกษาเกี่ยวกับประชาธิปไตย ในด้านการศึกษาซึ่งรัฐบาลควรกำหนดให้มีการถ่ายทอดประชาธิปไตยในทุกหมู่บ้าน, ตำบล, อำเภอ, และจังหวัด เน้นการปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกโดยอาจผ่านสื่อต่าง ๆ เช่นการใช้สิทธิ, เสรีภาพต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน การสร้างพลังความสามัคคีของประชาชน ตัวอย่างประชาธิปไตยอัจฉริยะของปัจเจกชนเป็นดังนี้
ก.การรู้จักทั้งสิทธิและการทำหน้าที่เป็นพลเมืองดี การเคารพรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น, การละเมิดสิทธิของผู้อื่น, การให้เกียรติในฐานะที่เป็นเพื่อนมนุษย์ที่มีความเท่าเทียมกัน
ข. การรู้สึกรักเพื่อนมนุษย์ และมองโลกในแง่ดี ไม่มีจิตใจคิดหวาดระแวงผู้อื่น, ให้โอกาสผู้อื่น, มีลักษณะไม่หวงแหนแต่มีลักษณะของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน มิใช่ต่างคนต่างอยู่ แต่มีลักษณะของการมีความเข้าใจผู้อื่นอย่างแท้จริง ไม่ใช้อัตตาในการตัดสินวินิจฉัยผู้อื่นโดยไม่ให้โอกาสผู้อื่นได้แสดงออก
ค. มีทัศนะที่หลากหลาย,หลายมุมมองหลายมิติ การที่ปัจเจกชนมีความรอบรู้ และมีประสบการณ์ในชีวิตจะทำให้มองโลกอย่างกว้างขวาง
และมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล ทำให้บุคคลมีการปรับตัวที่เข้าใจมนุษย์
และทำให้รู้จักใช้ประชาธิปไตยในการรับฟังเหตุผลเป็นอย่างดี
ง. การรู้จักรักษากติกา,รักษากฎระเบียบสังคมที่ดี ไม่นิยมการแหวกกรอบกฎเกณฑ์เพื่อแสวงหาประโยชน์ส่วนตัว,มีจิตใจโอบอ้อมอารีต่อเพื่อนมนุษย์ และการเสียสละเพื่อส่วนรวมซึ่งบางครั้งอาจทำให้สิทธิส่วนตนสูญเสียไปบ้างก็ตาม
จ. มองปัญหาของสังคม และของประเทศไทยเป็นเรื่องสำคัญ, มีความตื่นตัวต่อการเรียกร้องเพื่อให้ประชาธิปไตยมีความสมบูรณ์อย่างต่อเนื่อง มีความกล้าหาญในสิ่งที่ถูกต้องแม้ว่าสิ่งนั้นจะทำให้ตนเองได้รับความเดือดร้อนก็ตาม มีลักษณะที่ไม่ชอบระบบอำนาจนิยม, การใช้อำนาจเผด็จการ, รู้จักให้อภัยและให้โอกาสแก่ผู้อื่นแม้ว่าบุคคลผู้นั้นอาจทำความผิดพลาด
หรือเป็นคนไม่ดีมาก่อน
อาจกล่าวได้ว่า การปกครองแบบประชาธิปไตยเพื่อให้มีวัฒนธรรมและมีจิตสำนึกประชาธิปไตยอาจถึงขั้นต้องมีการปฏิวัติวัฒนธรรมประชาธิปไตยในประชาชนทุกระดับ โดยเฉพาะระดับรากหญ้าเพื่อสร้างค่านิยม, จิตสำนึกที่ดี และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
และการติดตามตรวจสอบการทำงานของภาครัฐ นั่นก็คือการเมืองประชาธิปไตยแบบภาคประชาชนนั่นเอง มิฉะนั้นบุคคลที่ทำการรัฐประหารก็มักจะอ้างประชาธิปไตย โดยที่วิธีการยังไม่ใช่ประชาธิปไตย ก็ยิ่งจะสร้างความสับสนในบรรยากาศ ทำให้อุดมการณ์ทางการเมืองแบบประชาธิปไตยถูกบิดเบือน
และต้องเริ่มต้นใหม่ทุกครั้งไป กลายเป็นวงจรอุบาทว์ทางการเมือง และตัวแปรที่สำคัญของประชาธิปไตยไม่ใช่คำตอบอยู่ที่ว่ามีปัญหาที่รัฐธรรมนูญ เพราะเพียงคำว่ารัฐธรรมนูญไม่สามารถจะทำให้ประชาธิปไตยมีความสมบูรณ์ขึ้นมาได้ แต่เกิดจากคนอย่างเรา ๆ
ที่มีจิตสำนึกและจิตวิญญาณประชาธิปไตยเท่านั้น ถ้าหากวัฒนธรรมและประเพณีของไทยยังมีลักษณะเครื่องกั้นทางความคิดประชาธิปไตยแล้ว ก็ยากยิ่งที่จะเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ นั่นคือในระดับของผู้นำ
และชนชั้นนำจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแสดงออกด้วยวิถีทางประชาธิปไตย ความเป็นปัจเจกชนต้องให้ความสำคัญกับความเสมอภาคและเท่าเทียมกันของมนุษยชาติไม่ว่าบุคคลนั้น
ๆ จะเกิดมาจากชาติภูมิใด ๆ ก็ตาม การสำนึกว่าตนเองมีส่วนสำคัญต่อการสร้างสรรค์ประชาธิปไตย นั่นก็คือการสนใจการเมืองที่นำไปสู่การสร้างสรรค์
และแสวงหาแนวทางในการยกระดับประชาธิปไตยของประชาชนให้มีการพัฒนายิ่ง ๆ ขึ้น ไป
ประชาธิปไตยอัจฉริยะในแง่ของครอบครัว ครอบครัวมีส่วนสร้างสรรค์ประชาธิปไตยอย่างมาก เช่นการร่วมรับประทานอาหารในครอบครัว
และพ่อแม่มีการถามลูก ๆ ให้แสดงความคิดเห็นอยู่เสมอ ๆ และให้กล้าแสดงความคิดเห็นเช่น วันนี้อยากไปดูหนังเรื่องอะไร ทำไมถึงอยากไปดูหนังเรื่องนี้ ทำไมไม่ดูหนังเรื่องอื่น ๆ ความเป็นระบบครอบครัวคงไม่ได้หมายความว่าสนใจแต่เรื่องภายในครอบครัวเช่นมีการดูแลสมาชิกในครอบครัวเท่านั้น แต่ยังต้องสนใจโลกภายนอกครอบครัวซึ่งมีส่วนกระทบต่อวิถีทางประชาธิปไตยด้วย มิฉะนั้นสังคมไทยก็จะกลายเป็นลักษณะบ้านใครอยู่ อู่ใครนอน หรือเป็นสังคมแบบตัวใครตัวมันเท่านั้น แต่มีลักษณะในการร่วมรับฟังความคิดเห็น สนใจเกี่ยวกับข่าวสารการเมือง, พฤติกรรมที่ดีของประชาธิปไตยของผู้นำ, แบบอย่างที่ดีของนักประชาธิปไตยซึ่งต้องช่วยกันสอนให้ลูกหลานเข้าใจ เพื่อวางพื้นฐานให้รู้จักรักษาสิทธิ
และหน้าที่ของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย เช่นการส่งเสริมให้ไปเลือกตั้ง, การเข้าไปร่วมรับฟังความคิดเห็น, พาลูกหลานไปเที่ยวชมรัฐสภา, การประชุมสภาผู้แทนราษฎร, การรับฟังอภิปรายการแสดงความคิดเห็นของนักวิจารณ์ทางการเมือง, นักการเมือง, นักวิชาการที่อภิปรายเกี่ยวกับการเมืองไทย ฯลฯ ครอบครัวที่มีความเป็นอัจฉริยะประชาธิปไตยจึงเป็นครอบครัวตัวอย่างที่ดี และเป็นแบบอย่างของการเป็นผู้มีเหตุมีผล ไม่นิยมการใช้อำนาจ, รู้จักรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง ๆ, ยอมรับความแตกต่างที่ก่อให้เกิดประโยชน์, ถือว่าการมีความแตกต่างทางความคิดช่วยให้เกิดปัญญา และช่วยสร้างทรัพย์สินในความคิดหลากหลาย ทำให้ประเทศชาติมีความเจริญงอกงาม สังเกตว่าประเทศในเอเชียเช่นเกาหลีใต้
และจีนไต้หวันมักมีความเจริญทางประชาธิปไตย
แม้ว่าสังคมการเมืองของเกาหลีใต้และจีนไต้หวันดูจะรุนแรง แต่เราก็จะเห็นว่าบ้านเมืองของเขามีความเจริญ
และเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว และมีความเจริญในทุก ๆ ด้าน ดังนั้นการบอกว่าสังคมที่มีความวุ่นวายในประชาธิปไตยแล้วจะทำให้สังคมมีความไม่เจริญรุ่งเรืองนั้นแสดงให้เห็นว่าไม่เป็นจริงอย่างที่กล่าวหาเลย หรือการแสดงบทภาพยนตร์ในเรื่องเกี่ยวกับครอบครัวจะมีลักษณะของความเป็นประชาธิปไตย เมื่อเกิดปัญหาจะมีการนำมาพูดอย่างเปิดเผยโดยไม่ต้องเกรงใจ
เพื่อให้สิ่งต่าง ๆ นั้นบังเกิดความถูกต้อง มิใช่เป็นสังคมแบบเกรงใจจนเกิดความเกรงกลัวอย่างที่เป็นอยู่ในสังคมแบบไทย
ๆ ทุกวันนี้ จึงทำให้เป็นเหยื่อของนักเผด็จการที่ครอบงำสังคมไทย อันเนื่องจากไม่ได้มีการฝึกความเป็นประชาธิปไตยซึ่งมาจากรากฐานในระบบครอบครัว
หรือที่บ้าน
ประชาธิปไตยในโรงเรียน/สถาบันการศึกษา สถานศึกษาตั้งแต่ระดับโรงเรียน
และสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาล้วนมีความสำคัญต่อการวางรากฐานประชาธิปไตยเป็นอย่างยิ่ง เพราะเหตุว่าโรงเรียนและสถาบันการศึกษาจะเป็นองค์กรที่เป็นตัวเบ้าหลอมในเรื่องประชาธิปไตย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นในหน่วยงานที่เกี่ยวกับการศึกษายังมีรูปแบบองค์กรแบบราชการ
(bureaucracy) ที่เน้นการทำงานที่สั่งการ
และควบคุม (Control and command) จากบนลงล่าง หากผู้บริหารในแวดวงการศึกษายังติดหรือนิยมแบบอำนาจนิยมก็จะมีบุคลิกภาพที่เน้นตำแหน่งยศศักดิ์ก็จะทำให้ข้าราชการเกิดการหลงลืมตนเองว่าเป็นผู้มีอำนาจมากกว่าประชาชนและนิยมการบริหารแบบเน้นพวกพ้องก็ยิ่งทำให้ข้าราชการในระดับผู้บริหารเกิดความลุ่มหลงมัวเมาในอำนาจและทำให้เกิดการเล่นพรรคเล่นพวก, นิยมระบบอุปถัมภ์ซึ่งทำให้มหาวิทยาลัยไม่สามารถพัฒนาคุณภาพที่สามารถแข่งขันกับมหาวิทยาลัยอื่น
ๆบนเวทีโลกได้และในการสอนหนังสือยังมีลักษณะการสอนที่เน้นครูเป็นศูนย์กลาง(Teacher-centered) ก็ยิ่งส่งเสริมบทบาทให้ครูขาดความเป็นนักประชาธิปไตยได้ และผลวิจัยมักเป็นที่ปรากฎว่าในการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษากลับมีกิจกรรมที่ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตยมากกว่าในระดับอุดมศึกษาด้วยซ้ำไป ดังนั้นการแข่งขันในระดับอุดมศึกษาในปัจจุบันมีแนวโน้มลดลง ทั้งนี้เกิดจากมหาวิทยาลัยมีการรับนักศึกษาในปริมาณมากกว่าจำนวนนักศึกษาที่ต้องการเรียน จึงทำให้ระบบการศึกษาสนใจในเรื่องการสร้างรายได้มากกว่าการสร้างคนที่มีคุณภาพ จึงเป็นเรื่องอันตรายในแวงวงทางการศึกษาที่นอกจากไม่ค่อยมีกิจกรรมที่เน้นประชาธิปไตยแก่นักศึกษา แถมผู้บริหารในมหาวิทยาลัยกลับมีลักษณะต่อต้านและไม่ส่งเสริมบรรยากาศแบบประชาธิปไตย ทำให้นักศึกษาในยุคปัจจุบันขาดการตื่นตัวเรื่องประชาธิปไตยแต่กลับไปตื่นตัวในการเมืองภาคประชาชนเท่านั้น ซึ่งหากนักศึกษาเป็นแกนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงความคิดของสังคมจะมีคุณภาพมากกว่า ทั้งนี้นักศึกษามีความรอบรู้และมีเหตุผล
และเข้าใจในอุดมการณ์ประชาธิปไตยได้ดีกว่า แต่ปัจจุบันหลายมหาวิทยาลัยไม่ค่อยได้ส่งเสริม
จะมีแต่เพียงบางมหาวิทยาลัยเท่านั้นที่ความตื่นตัวกลับไปอยู่กับนักวิชาการ
และอาจารย์เท่านั้น ซึ่งผิดกับประเทศเกาหลีที่นักศึกษามีความตื่นตัวทางการเมืองแบบประชาธิปไตยค่อนข้างสูง มีการจัดระเบียบวินัยในการรณรงค์ทางการเมือง
และร่วมตรวจสอบการทำงานของผู้บริหารทางการเมือง
และผู้บริหารของภาครัฐได้เป็นอย่างดีและมีวินัย ทำให้ประเทศเกาหลีมีระดับขีดความสามารถในการพัฒนาประเทศที่เหนือกว่าประเทศไทยหลายเท่าตัว ทั้ง ๆ
ที่ประเทศเกาหลีต่างเป็นประเทศที่เจริญสู้ประเทศไทยไม่ได้ สิ่งนี้สะท้อนถึงการพัฒนาประชาธิปไตยของไทยในหมู่นักศึกษามีความไม่เข้มแข็งและนับวันยิ่งจะอ่อนแอลงอันเนื่องจากระบบการศึกษาของไทยไม่เอื้อต่อการพัฒนาประชาธิปไตย การถกเถียงอภิปรายแสดงความคิดเห็นในรั้วมหาวิทยาลัยนับวันจะมีน้อยลง ดังนั้นหากผู้บริหารมหาวิทยาลัยไม่ปิดกั้นการแสดงออกทางด้านเสรีภาพและคอยกีดกันและสร้างกำแพงประชาธิปไตยแล้วไซร้ สังคมไทยจึงทำให้เกิดจุดอ่อนอันเนื่องจากการเมืองภาคประชาชนยังมีลักษณะขาดความเข้มแข็ง การก่อการจราจรหรือ
ม๊อบของคนบางกลุ่มบางครั้งก็มุ่งโจมตีแต่เรื่องส่วนตัวมากกว่าการเป็นเวทีที่เน้นย้ำความเป็นประชาธิปไตยที่สร้างจิตสำนึก
แต่บางครั้งกลายเป็นเรื่องยั่วยุให้มีความเกลียดชัง
และสร้างความไม่พอใจให้กับสังคม จึงทำให้ขาดระเบียบวินัยเกี่ยวกับประชาธิปไตยที่คำนึงถึงสิทธิของผู้อื่น และบางครั้งอาจเป็นการใช้ประชาธิปไตยที่มากล้นจนกลายเป็นการละเมิดสิทธิของผู้อื่นอีกด้วย ดังนั้นประเทศที่พัฒนาแล้วเราจะพบว่าคนในสังคมจะมีระเบียบวินัยรู้จักกติกา
ไม่ละเมิดกติกา หรือกฎเกณฑ์ที่ถูกต้อง
และมิใช่กฎเกณฑ์นั้นมีไว้ใช้กับคนบางกลุ่มหรือในกลุ่มผู้ถูกปกครองเท่านั้น
แม้แต่ชนชั้นปกครองก็ต้องระวังในการรักษากฎเกณฑ์กติกาไว้
และยิ่งต้องมีจิตสำนึกทางด้านประชาธิปไตยที่มีมากกว่าผู้ถูกปกครอง เพราะหมายถึงการเป็นแม่แบบหรือแบบอย่างของนักประชาธิปไตยที่ผู้ถูกปกครองสามารถนำไปใช้ได้ถูกต้อง เปรียบเสมือนแม่พิมพ์ประชาธิปไตย
มิใช่แม่ปูประชาธิปไตยจึงจะทำให้การเรียนรู้ประชาธิปไตยประสบความสำเร็จได้หากผู้นำเป็นตัวอย่างที่ดีอยู่แล้ว ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยควรบรรจุหลักสูตรที่เกี่ยวกับประชาธิปไตยในทุกวิชา
และสอดแทรกความคิดรวมทั้งส่งเสริมกิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง(Student Centred) และจะเป็นการบริหารแบบสมดุล
แทนที่จะเน้นหลักสูตรที่จบไปเพื่อทำมาหากินแต่เพียงอย่างเดียว หรือเน้นเศรษฐกิจโดยไม่เน้นการบริหารแบบประชาธิปไตยก็จะทำให้คนมุ่งเน้นแต่วัตถุนิยมหรือปากท้องเท่านั้น ทำให้ความมีอารยะของการอยู่ร่วมกันมีความไม่ประณีตมากขึ้น เพราะคนเราอาจเพาะความเห็นแก่ตัวมากกว่าชาติบ้านเมือง
และนำไปสู่การขาดจริยธรรมเพราะเน้นแต่ความร่ำรวยของตนเอง จนละเลยหรือลืมหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดีทางด้านประชาธิปไตยไปได้ นอกจากนี้ยังอาจเป็นการเพาะกิเลสในตัวคนมากขึ้น ทำให้เกิดการอยากได้ใคร่ดีในวิถีทางที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งคนในสังคมทุกคนควรตื่นตัว และหาวิธีแก้ไขกฎระเบียบกฎเกณฑ์ที่ขัดต่อวิถีทางประชาธิปไตยของคนส่วนใหญ่ ซึ่งในปัจจุบันพบว่าคุณธรรม
และจริยธรรมของคนในสังคมมีความเสื่อมโทรมไปมาก ผู้กำหนดนโยบายของรัฐอาจมีความตั้งใจดี
แต่ขาดการบริหารระบบที่เชื่อมโยงในทุกภาคส่วนแล้วก็จะทำให้เกิดความหละหลวมของระบบ ทำให้เกิดปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวงในทุกหย่อมหญ้า ทำให้รัฐสูญเสียงบประมาณในการบริการประชาชนไปอย่างน่าเสียดาย
และจากการจัดอันดับการคอรัปชั่นในเอเชียเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาปรากฏว่าประเทศไทยถูกจัดอันดับการคอรัปชั่นอันดับที่สองรองจากประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งคะแนนเต็ม 10 คะแนน ของไทยได้คะแนน 8.1 ส่วนฟิลลิปปินส์ได้ 9.4
ประชาธิปไตยในที่ทำงาน
กล่าวคือเป็นประชาธิปไตยที่สร้างสรรค์ในสถานที่ทำงานในทูกรูปแบบเท่าที่พอจะทำได้
เช่นทั้งประชาธิปไตยในภาครัฐ และภาคเอกชน ซึ่งในการทำงานอาจมีข้อจำกัด หากมีการเปลี่ยนแปลงกติกาในสถานที่ทำงานเพื่อให้เกิดบรรยากาศประชาธิปไตยในที่ทำงานซึ่งพอจะมองประเด็นในการส่งเสริมประชาธิปไตยได้ดังนี้
1. ประชาธิปไตยในการทำงานระบบราชการ
ซึ่งในภาครัฐโดยเฉพาะส่วนที่เป็นแก่นแกนสำคัญของประชาธิปไตยคือ
ประชาธิปไตยในมหาวิทยาลัยควรมีกฎหมายที่ส่งเสริมประชาธิปไตยในมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นบุคลากรชั้นปัญญาชน
หากสถาบันการศึกษายังไม่มีบรรยากาศประชาธิปไตยแล้วก็จะทำให้เกิดอำนาจระบบเผด็จการที่นำมาใช้กับมหาวิทยาลัย
เ่ช่นการออกคำสั่ง หรือระเบียบกฎเำกณฑ์นั้นต้องระแวดระวังว่าไม่ใช่เกิดจากประชาคมในมหาวิทยาลัย
รวมถึงเกิดจากชุมชนในท้องถิ่นที่เข้ามามีส่วนร่วม
หรือในโรงเรียนควรให้สมาคมผู้ปกครองมีบทบาทในการนำเสนอแนะ
และผลักดันให้โรงเรียนปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับความต้องการของสมาคมผู้ปกครอง
และในการบริหารมหาวิทยาลัยการแต่งตั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัย
รวมถึงสภาคณาจารย์และข้าราชการ
แม้กระทั่งการเลือกตั้งอธิการบดีควรให้นักศึกษามีบทบาทในการเลือกตั้ง
หรือมีสัดส่วนในการเลือกบุคคลที่เป็นผุ้บริหารมหาวิทยาลัย
หากไม่เปิดโอกาสให้นักศึกษาแล้ว
ก็จะทำให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยปฏิบัติงานที่เอาใจเฉพาะข้าราชการอาจารย์ที่คัดเลือก
ซึ่งในปัจจุบันยังอยู่ในวงแคบเพราะเป็นการเลือกจากกรรมการสรรหาคณบดี และอธิการบดี
ทำให้มีการล๊อบบี้กรรมการสภามหาวิทยาลัย หรือกรรมการสรรหาได้อย่างง่ายดาย
ทำให้ผู้ได้รับอำนาจไม่ได้มาจากระบบคุณธรรม
แต่อาศัยการฝากฝังจากกรรมการสรรหา ดังนั้นสิ่งสำคัญคือควรใช้กรรมการสรรหาทำหน้าที่เป็นเพียงตรวจสอบคุณสมบัติเท่านั้น
แต่ควรมาจากการเลือกตั้งของประชาคมทั้งหมด
ตั้งแต่อาจารย์, ข้าราชการ,และนักศึกษา
และเจ้าหน้าลูกจ้างประจำ ในแง่สัดส่วน แต่ที่สำคัญคือสัดส่วนของนักศึกษาควรมีความสำคัญมากที่สุด
เพราะการบริหารมหาวิทยาลัยควรตอบสนองต่อความต้องการของนักศึกษาฅซึ่งเป็นกลุ่มคนจำนวนมาก
รองลงมาเป็นข้าราชการอาจารย์ และรองลงมาเป็นเจ้าหน้าที่ข้าราชการ
และลูกจ้างประจำตามลำดับ เกณฑ์ขึ้นอยุ่กับสัดส่วนประชากร
และที่สำคัญคือวิธีการเลือกตั้งควรมีการหาเสียง, การหยั่งเสียง, การดีเบตเหมือนกับการเลือกตั้งทั่วไป
เหตุที่ทำเช่นนี้เพื่อให้ระดับชั้นปัญญาชนได้ตื่นตัวต่อประชาธิปไตย
หากคิดว่าวิธีการเช่นนี้มีปัญหาก็อาจใช้วิธีการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุบุคคลในตำแหน่งผู้บริหารสูงสุด
โดยกำหนดหลักเกณฑ์ที่มีคุณวุฒิวิชาการที่ดีมีคุณภาพ และมีการทดสอบความเป็นนักประชาธิปไตย
ซึ่งเป็นสมรรถนะสำคัญอย่างหนึ่งของการพิจารณา
และรองลงมาคือวิสัยทัศน์ในการทำงานเพื่อมหาวิทยาลัยเพื่อความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัย
มิใช่การบริหารงานที่มีการผูกขาดอำนาจอยู่กับกลุ่มบุคคลเพียงกลุ่มเดียว
และเกิดการสร้างอาณาจักร และไม่สามารถทำงานเพื่อประชาชนได้เป็นอย่างดี
2. ประชาธิปไตยในภาครัฐวิสาหกิจ
เป็นประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นคล้ายคลึงกันภาครัฐที่เปิดโอกาสให้ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจควรได้ให้พนักงานรัฐวิสาหกิจได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในการประชุม,การฝึกอบรม,การใช้ระบบข้อเสนอแนะ (suggestion
system) ควรเป็นประชาธิปไตยที่เน้นประสิทธิภาพในการทำงาน
หรือการทำงานเป็นทีมเพื่อให้เกิดความสามัคคี ในการคัดเลือกบุคลากรควรใช้ระบบคุณธรรม (merit
system) เป็นการเปิดกว้างเพื่อให้คนดีมีความสามารถเข้ามาปฏิบัติงานเพื่อให้องค์การรัฐวิสาหกิจเข้มแข็ง
และผลจากประสิทธิภาพช่วยให้รัฐวิสาหกิจมีกำไร
และสามารถช่วยผ่อนภาระของรัฐบาลนำไปสู่การสร้างสังคมสวัสดิการแก่ประชาชน
ดังนั้นกำไรที่ส่งให้รัฐส่วนหนึ่งควรเป็นงบประมาณเพื่อสวัสดิการภาครัฐ
(welfare country)
3. ประชาธิปไตยในภาคธุรกิจเอกชน
เป็นประชาธิปไตยในการเริ่มต้นตั้งแต่รับสมัครเข้าทำงาน
ควรกำหนดวิธีการประชุมผู้ถือหุ้นให้มีการรับฟังความคิดเห็น, การแสดงความคิดเห็นในสถานทีีทำงานเพื่อหาวิธีการทำงานที่ดีกว่า
ส่งเสริมพนักงานทำงานเป็นทีม
มีระบบการใช้โค๊ชมาสอนงานเพื่อให้เิกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพ หรือมีที่ปรึกษา
การจ่ายค่าตอบแทนใช้ระบบจ้างค่าตอบแทนตามความเสมอภาค มีกฎระเบียบที่รับฟังบุคลากร
หรือการเสนอแนะสิ่งที่จะเป็นประโยชน์ต่อองค์การ
เช่นการใช้ระบบข้อเสนอแนะมาใช้ในองค์การ
โดยสรุป
การมีประชาธิปไตยในสถานที่ทำงาน เกิดขึ้นตั้งแต่ผู้ถือหุ้น, การแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหาร, การเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง, การว่าจ้างที่ใช้ระบบคุณธรรม
และเน้นความเป็นมืออาชีพ และองค์การสามารถหลอมรวมบุคลากรภายใต้ความแตกต่าง
ไม่ส่งเสริมระบบอุปถัมภ์ทำให้องค์การมีความคิดคล้อยตามไม่มีการวิพากย์เชิงสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์
แต่จะกลายเป็นสังคมที่มีแต่ความเกรงใจ
และไม่เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทำให้องค์การมีประสิทธิภาพ
เท่ากับช่วยให้ประเทศชาติมีการทำงานอย่างเป็นระบบ, มีจิตวิญญานประชาธิปไตย
เมื่อถึงเวลามีการเลือกตั้งสถานที่ทำงานก็เปิดโอกาสให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งด้วยความสมัครใจ
และไม่ถือเป็นวันลา
4. ประชาธิปไตยในชุมชน
ปัจจุบันเนื่องจากยุคสังคมโลกาภิวัฒน์
(Globalization) ซึ่งเป็นประชาธิปไตยที่ตื่นตัวโดยกลุ่มรากหญ้า (grass-root
democracy) ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประเทศไทย
เพราะกลุ่มคนรากหญ้ามักจะไม่ได้เกี่ยวข้องทางการเมืองมาเป็นเวลานานนับร้อยปี
ซึ่งในประวัติศาสตร์ไทยไม่เคยเป็นอย่างนี้ แต่นับว่าเป็นเรื่องดีมากกว่าเรื่องเสียเพราะเท่ากับประชาชนไทยกำลังยกระดับจากวิถีไพร่ฟ้าไปสู่ประชาชน
และจากประชาชนสู่ความเป็นพลเมือง (Civil Society) ซึ่งเรื่องนี้กลุ่มชนชั้นกลางในเมืองหรือคนชั้นสูงอาจไม่คุ้นเคยต่อการตื่นตัวของประชาชนในชนบท
หรือวิถีชุมชน
เมื่อประชาชนมีความฉลาดทางประชาธิปไตยก็จะมีข้อดีคือประชาชนจะไม่สนใจการซื้อเสียงของบุคคลที่สมัครรับเลือกตั้ง
ทำให้การเมืองไทยต่อไปนี้แม้ว่าผู้ที่รับเลือกตั้งจะชี้ชวนให้ซื้อเสียงเลือกตั้งอย่างไรก็ดี
ก็ไม่สามารถซื้อใจประชาชนได้ ซึ่งเกิดขึ้นกับประเทศไทยทั้งประเทศ
ซึ่งหลังจากเกิดการเคลื่อนไหวทางการเมืองของคนรากหญ้าได้เรียนรู้
และศึกษาจนเข้าใจถ่องแท้ถึงสิทธิ, เสรีภาพ,ความเสมอภาค
รวมทั้งภราดรภาพ ซึ่งในอนาคตก็จะเป็นทุนมนุษย์ประชาธิปไตย
(Democratic human capital) ซึ่งนับว่าเป็นความตื่นตัวเกิดขึ้นก่อนและมีหลายประเทศได้นำไปแบบอย่าง
มิได้แปลว่าต่างประเทศจะรังเกียจความตื่นตัวในเรื่องประชาธิปไตย
ดังนั้นจึงปรารถนาให้คนไทยทุกชนชั้นดีใจกับปรากฎการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในทางบวกดีขึ้น
หากเรามีจิตใจเชิงบวก
เราก็จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ความเลวร้ายของความเข้าใจผิดที่ผ่านมากลับช่วยบ่มเพาะจิตสำนึกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในทุกสาขาอาชีพและวิถีชุมชน
ซึ่งพร้อมจะก้าวต่อการเปลี่ยนแปลงซึ่งไม่มีใครจะหยุดยั้งได้
เปรียบเสมือนสึนามีทางความต้องการของประชาชนขนานใหญ่
ยิ่งมีแรงต่อต้านจากกลุ่มบุคคลที่ไม่รักประชาธิปไตยเท่าใด
ก็ยิ่งเท่ากับเติมเชื้อพลังประชาธิปไตยอย่างรวดเร็วมากขึ้น
ไม่ว่าจะเดินไปในทางที่ดี
หรือทางเลวร้ายก็ตาม สิ่งสำคัญคือคนไทยมีทุนมนุษย์
หรือทุนทางสังคมประชาธิปไตยที่ไม่แพ้ประเทศอื่นในโลกนี้ ต่อไปประเทศไทยจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างดี
บุคคลที่เป็นศัตรูต่อประชาธิปไตยหรือต่อความต้องการของประชาชนก็จะไม่ช่วยให้มีผลดี
แต่จะไม่สามารถอยู่ในสังคมที่ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการได้
แม้การหาเสียงเลือกตั้งปัจจุบันนี้ดูประหนึ่งว่าจะพลังของเสียงส่วนน้อยที่ต้องการวิถีทางการปกครองแบบประเพณีนิยมก็ตาม
แต่ท้ายที่สุดบุคคลเหล่านี้ก็จะหันมายอมรับการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อยในท้ายที่สุดก็จะยอมรับอย่างเต็มที่
นี่คือปรากฎการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตแน่นอน
5. ประชาธิปไตยในสื่อมวลชน
ได้แก่สื่อหนังสือพิมพ์,สื่อวิทยุโทรทัศน์,สื่อออนไลน์,สื่อที่ผ่านมือถือ ฯลฯ
การที่ประชาชนเข้าถึงสื่อสารข้อมูลโดยเฉพาะรายการโทรทัศน์จะไม่เอนเอียงเข้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
สื่อที่รายงานตามข้อเท็จจริงคือสิ่งที่เป็นหัวใจประชาธิปไตย
หากสื่อเป็นผู้บิดเบือนและไม่ได้รายงานผลสื่อตามความเป็นจริงทำให้เกิดการสื่อข่าวสารผิด
ๆ ให้กับประชาชน นำไปสู่ความเข้าใจผิดพลาดคลาดเคลือนได้
หรือไม่ควรละเลยหรือกระตือรือร้นเพื่อนำความจริงมาสู่สังคม
ดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม และความเป็นธรรมทางสังคม หากสื่อรับใช้นายทุน
หรือรับใช้บุคคลที่มีอำนาจอย่างเดียวก็เท่ากับว่าสื่อมีความเกรงใจผู้มีอำนาจ
เหมือนกับองค์กรอิสระต่าง ๆ ที่ไม่สามารถตัดสินหรือดำรงความถูกต้องยุติธรรมได้
เท่ากับสังคมมีการเลือกปฏิบัติในการสื่อสารข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายที่ตนมองเห็นว่าได้รับผลประโยชน์
สื่อจึงอาจเป็นเครื่องมือในการประหารการรับรู้ข้อมูลอย่างถูกต้อง
ดังนั้นสื่อสารมวลชนในระบบประชาิธิปไตยควรทำหน้าที่ตรวจสอบอย่างตรงไปตรงมา
โดยเข้าข้างสิ่งที่ไม่ถูกต้องก็จะกลายเป็นการทวนกระแสกับประชาชนที่ต้องการความยุติธรรม
และกลับเป็นสิ่งยั่วยุให้คนในชาติขาดความสามัคคีได้
สื่อจึงควรมีบทบาทที่จะต้องเข้าถึงเข้าใจสถานการณ์ที่ต้องตีความถึงการเผยแพร่ให้สังคมรับรู้
และที่สำคัญสื่อต้องให้ความสำคัญกับพลังของเสียงส่วนใหญ่
มิใช่ให้ความสำคัญกับพลังของเีสียงส่วนน้อย เพียงแต่มีการเคารพพลังเสียงส่วนน้อย
และนี่คือประชาธิปไตยที่แท้จริง
แต่มิใช่ทำตามอารมณ์ความรุ้สึกโดยไม่ยึดโยงกับหลักการทำสื่อเพื่อสังคม หรือยึดโยงกับผลประโยชน์โดยขาดอุดมการณ์ทำสื่อ
หากคิดว่าสื่อที่ทำไม่ใช่สื่อที่ดี
ผู้ทำหน้าที่สื่อก็ควรแสวงหางานใหม่ที่ทำประโยชน์ให้สังคม
ดีกว่าการไปรับใช้สิ่งที่ทำลายสังคม หรือย้ายงานไปอยู่สื่อใหม่ที่ดีกว่า
หรือสร้างสื่อใหม่ที่ทำให้เป็นตัวของตัวเอง และอุดมการณ์ที่ถูกต้อง
แต่สื่อหลายสื่อที่ทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาและเที่ยงตรงก็มักจะเป็นสื่อใหม่เป็นสื่อปฏิรูป
การหาข้อเท็จจริงก็เป็นสิ่งสร้างสรรค์
ซึ่งต่างกับสื่ออนุรักษ์นิยมที่มีความเปลี่ยนแปลงน้อย มีแต่เพียงรูปแบบทันสมัย
แต่ความคิดอ่านหรือคนทำหน้าที่สื่อยังไม่พัฒนาก้าวไกล
อาจมีเพียงบางคนที่ทำหน้าที่ได้ีดี ดังคำประกาศสิทธิมนุษยชนปี
ค.ศ. 1948 ระบุไว้ว่า
"ทุกคนมีสิทธิในความอิสระในความคิดเห็นและการแสดงออก"
สิทธินี้ได้แก่เสรีภาพในการยึดถือความคิดเห็นโดยปราศจากการแทรกแซงจากรัฐ
และแสวงหา,การส่งข้อมูลข่าวสารโดยผ่านสื่อได้โดยไม่ถูกสะกัดกั้น
แม้ว่าข้อมูลข่าวสารอาจไม่ถูกต้องบ้าง แต่ก็ต้องค้นหาความจริง
สำหรับผู้แสดงที่เป็นพันธมิตรเพื่อการพัฒนาสื่อให้ดียิ่งขึ้น
และเป็นการปฏิรูปสื่อ ได้แก่ผู้อุปโภคสินค้า หรือลูกค้าหรือประชาชน, ผู้รายงานข่าว,ผลิตข่าว,นักเทคนิค, ผู้จัดการธุรกิจ
บริษัทที่สรรหาสาระสื่อที่เชิญนักคิดวิชาการ,นักวิพากย์ และองค์กร NGO ซึ่งในองค์กร NGO ก็ไม่ควรมีส่วนได้ส่วนเสียกับรัฐบาล
แต่ควรเป็นบุคคลที่เป็นกลาง
หรือถ้าจำเป็นต้องนำผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาออกรายการ
ควรจัดให้ทั้งสองฝ่ายที่เป็นคู่ความคิดเห็นแตกต่าง แต่ผู้จัดการรายการควรมีความรู้ที่จะประสานความคิดให้เกิดเอกภาพ
แต่มิใช่เป็นการเชิญมาพูดให้ทั้งสองฝ่ายทะเลาะหรือบาดหมางใจกัน
หรือผู้จัดการรายการควรวางตนเป็นกลาง นอกจากนี้ยังมีสถาบันฝึกอบรม,มหาวิทยาลัย, นักกฎหมายอิสระ,นักวิชาการอิสระ
(อิสระที่เป็นมืออาชีพ มิใช่อิสระที่มีฝักฝ่ายหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับพรรคการเมือง)
การติดตามสื่อ (เช่นหน่วยงานที่ทำโพลล์การเมือง, หน่วยงานที่ดูแลนโยบาย,กลุ่มอาสาสมัคร,รัฐบาลและนักโฆษณา
และองค์กรวิชาชีพ และนักหนังสือพิมพ์ ฯลฯ
ถึงเวลาที่สื่อสารมวลชนทั้งหลายควรปฏิรูปอย่างสร้างสรรค์
ไม่สนับสนุนการเผยแพร่ข่าวสารที่ไม่ใช่ความจริง
หรือมีการบิดเบือนเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หากสื่อไม่เข้าข้างและวางตนเป็นกลางก็จะกลายเป็นสื่อที่น่าเชื่อถือ
หากจะเป็นการเข้าข้างก็เป็นการเข้าข้างสิ่งที่ถูกต้อง,สิ่งที่เป็นธรรม,สิ่งที่ทำให้ส่วนรวมสังคมดีขึ้น
และในโลกนี้สื่อไม่สามารถปิดบังอำพราง เพราะโลกนี้เป็นโลกาภิวัฒน์ที่โลกนี้แคบลง
และคนทั้งโลกจ้องมองมาดูประเทศที่มีอาการปัญหาการเมืองที่ผิดปรกติอย่างไ่ม่ละสายตา
เหมือนคนตามหนังนิยายเนื่องจากมีความรู้สึกร่วมกันของโลกเรา
8. ประชาธิปไตยในหมู่ข้าราชการพลเรือน,ทหาร,ตำรวจ
ซึ่งสำหรับประเทศไทยในปัจจุบันมีผู้วิเคราะห์กลายเป็นพรรคการเมืองที่ไม่ได้จดทะเบียน
และมีการใช้อำนาจแบบอมาตยาธิปไตย (bureaucratic polity) ซึ่งในจำนวนข้าราชการ,ทหาร
และตำรวจก็มีข้าราชการจำนวนมากที่รักประชาธิปไตยถึงแม้ฝ่ายข้าราชการกลับเป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยม
และไม่เท่าทันต่อกระแสโลกในยุคโลกาภิวัฒน์เพราะระบบราชการเคยชินกับการทำงานประจำ
แต่ข้าราชการมีน้อยคนที่จะเดินทางไปดูงานต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับประชาฺธิปไตยที่ก้าวหน้า
โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว
ส่วนใหญ่การดูงานมักเกี่ยวข้องกับกิจกรรมหรืองานในกระทรวง,ทบวง,กรม นั้น
ความเคยชินในการรับคำสั่งจากผู้ใหญ่ในทางราชการ
หรือระเบียบแบบแผนทางราชการมีความเป็นระบบการทำงานแบบขุนนางแบบยุคก่อนซึ่งยังมีการเปลี่ยนแปลงกันน้อยมาก
ทำให้ข้าราชการจำนวนมากยังติดระบบการทำงานแบบเก่าแก่และไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง
ในยุครัฐบาลทักษิณมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแบบซีอีโอ
ซึ่งต้องการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดใช้ตัวแบบตลาด (market model)ที่เรียกว่า
"entrepreneur government" เพื่อให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้มีความสามารถเป็นพ่อค้า
หรือสามารถทำเศรษฐกิจแต่ละจังหวัดให้เจริญขึ้น และสนับสนุนการกระจายรายได้ให้กับประชาชนเพื่อยกระดับคนจนให้มีฐานะเศรษฐกิจดีขึ้น
แต่เมื่อมีการเชิญปรมาจารย์จากต่างประเทศเช่น ไมเคิล พอร์ตเตอร์
และทอม ปีเตอร์ เป็นกูรูอันดับ 1 และอันดับ 3 ของโลกมาอบรมให้ความรู้กับผู้ว่าซีอีโอ
การณ์ปรากฎว่าผู้ว่าราชการจังหวัดยังเคยชินกับระบบเก่า ๆ
แบบขุนนางราชการไม่สามารถตอบสนองในการรับความรู้ที่เป็นประโยชน์
และสังเกตว่าผู้ว่าราชการจังหวัดที่เข้าอบรมมีการหลับไหล, และไม่ค่อยกระตือรือร้นในการรับฟังความรู้วิชาการ
ซึ่งธรรมดาผู้ว่าราชการจังหวัดเคยชินกับการทำงานที่รับคำสั่งจากส่วนกลาง ตัดสินใจเองก็ไ่ม่กล้าเพราะเกรงว่าจะผิดพลาด
ดังนั้นการทำงานของผู้ว่าราชการจึงไม่นิยมความเสี่ยง
แต่เน้นความมั่นคงในตำแหน่งมากกว่า จึงก่อให้เกิดแรงต่อต้านนโยบายของรัฐในยุคนั้น
เพราะหากผู้ว่าราชการไม่มีผลงานก็จะถูกปรับเปลี่ยน
ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในครั้งนั้นของรัฐบาลอาจเปลี่ยนแปลงเร็วเกินไป
และข้าราชการส่วนใหญ่ยังตามไม่ทันจึงเกิดกระแสการต่อต้านมากขึ้นเพราะไม่เคยชินกับแนวคิดใหม่
ๆ ที่เกิดขึ้น แต่สิ่งที่รัฐบาลทำก็มีความคาดหวังให้ข้าราชการทำประโยชน์หรือรับใช้บริการให้ประชาชนดีขึ้น
ส่วนข้าราชการทหารที่มีจิตใจแบบประชาธิปไตยนั้นค่อนข้างมีน้อย
และไม่ลึกซึ้งกับการปกครองแบบประชาธิปไตย เพราะวิถีชีวิตของทหารคุ้นเคยอยู่ภายในกรมกอง
และไม่เคยได้ใช้ชีวิตแบบประชาชนทั่วไป การดำเนินกิจกรรมจึงมักเกี่ยวข้องกับคำสั่ง
ต้องอยู่ในระเบียบวินัย ทำให้ไม่ค่อยได้รับรู้โลกความเป็นจริง และวิถีชีวิตของประชาชนโดยทั่วไป
แต่ในปัจจุบันมีกลุ่มทหารจำนวนมากพอสมควรที่สนใจเกี่ยวกับเรื่องราวของบ้านเมือง
และต้องการประชาธิปไตยเหมือนกับประชาชนโดยทั่วไป แต่บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งจากระบบราชการกลับมักเป็นผู้ที่ไม่นิยมระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย
ซึ่งสังเกตได้ว่านายทหารที่มีตำแหน่งมักไม่ให้ความสำคัญกับอำนาจของประชาชน
หรือการมีสิทธิเสรีภาพของประชาชน การที่ทหารมีชีวิตไม่ผูกติดกับประชาชนหรือความเดือดร้อนของประชาชนทำให้จิตสำนึกในการรับใช้บ้านเมืองแบบนายทหารอาชีพมีน้อยลง
และมักมีการวิ่งเต้นเส้นสายตำแหน่งกันมาก ทำให้นายทหารที่เป็นคนรับใช้ประชาชนตามระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยจึงมีน้อย
มีแต่เพียงระดับรอง ๆ ลงมา
และผู้มีจิตใจแบบประชาธิปไตยก็ไม่สามารถแสดงออกอย่างเต็มที่
แต่มีลักษณะอึดอัดใจและคับข้องใจกับทหารที่ไม่รักประชาธิปไตย
แต่ปัจจุบันทหารได้ตื่นตัวกันมาก และยอมรับว่าการรัฐประหารไม่ได้ช่วยให้บ้านเมืองดีขึ้น
กลับทำให้สถานการณ์บ้านเมืองเลวร้ายลง
และเืมื่อใดก็ตามที่มีการรัฐประหารจะสังเกตุว่าประเทศก็มักจะถอยลงเกือบทุกครั้ง
เพราะทหารไม่ถนัดกับงานของบ้านเมือง
และเมื่อมามีตำแหน่งทางการเมืองก็มักกำหนดงบประมาณทางด้านความมั่นคงของสูง ทำให้เงินที่จะพัฒนาชาติบ้านเมืองเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประชาชนเพื่อการกินดีอยู่ดีเสียหายไป
ทั้ง ๆ ที่ฝ่ายทหารคิดว่าพยายามทำอย่างดีแล้ว แต่ไม่สามารถทำได้สำเร็จ
จนบ้านเมืองมีความขัดแย้งมากขึ้น ดังนั้นทหารจึงควรยอมรับบทบาทของตนเองว่างานบ้านเมืองเป็นของประชาชน
แต่ควรทำหน้าที่เป็นรั้วของชาติจะดีกว่า
และสิ่งสำคัญในอัจฉริยะประชาธิปไตยของนายทหาร
คือต้องส่งนายทหารไปดูงานการเมืองแบบประชาธิปไตย, และการกำหนดบทบาทนายทหารที่พิทักษ์ปกป้องประชาธิปไตยและประชาชน
จึงจะเป็นนายทหารที่มีเกียรติยศ และเป็นที่วางใจของประชาชนทั้งประเทศ
โดยที่นายทหารต้องระวังไม่เป็นเครื่องมือของกลุ่มการเมือง
หรือพรรคการเมือง
แม้แต่ผู้มีอำนาจที่อยู่เหนือกว่าก็ต้องนำมาตัดสินวิเคราะห์เพื่อรักษาประชาธิปไตยให้เจริญก้าวหน้ากว่าประเทศอื่น
ดังที่นายทหารระดับนายพลของประเทศอินโดนีเซียได้ประกาศก้องว่าเขาจะเป็นนายกรัฐมนตรีที่ดีที่สุดของประเทศโดยไม่คอรัปชั่น
และเขาก็ทำหน้าที่ได้ดี จนเป็นที่ยอมรับของประชาชน ส่วนข้าราชการตำรวจหรือทหารเรือกลับเป็นข้าราชการที่มีความเข้าใจประชาชนมากที่สุด
และมีชีวิตที่มีเวลาอยู่กับพื้นที่ของประชาชนจึงเข้าใจปัญหาของประชาชน
โดยเฉพาะอาชีพตำรวจอยู่กับพื้นที่ใกล้ชิดประชาชนทุกวัน
จึงทำให้ลึกซึ้งกับวิถีชีวิตของประชาชนว่าอะไรดีอะไรเหมาะสมถูกต้อง
ทำให้ตำรวจกลายเป็นข้าราชการที่รักประชาธิปไตยมากพอ ๆ กับทหารเรือ
ซึ่งเป็นเรื่องที่ประเทศไทยควรส่งเสริมข้าราชการให้มีจิตสำนึกจิตวิญญาณประชาธิปไตยโดยไม่ใช่มุ่งแต่การแสวงหาอำนาจนอกระบบ,นอกกติกา
จนบ้านเมืองทุกวันนี้มีวิกฤติอยู่ทกวันนี้
9. ประชาธิปไตยในเอเชีย
และประชาธิปไตยในประเทศที่พัฒนาแล้ว ในเอเชียส่วนใหญ่จะมีการพัฒนาไปที่ช้ามาก การเปลี่ยนแปลงประชาธิปไตยในเอเชียมีลักษณะของการใช้อำนาจจากชนชั้นนำซึ่งมักเป็นการต่อสู้ระหว่างพรรคการเมืองฝ่ายค้านกับฝ่ายรัฐบาล
ซึ่งประเทศที่เคยมีการรัฐประหารมาแล้วแต่ในปัจจุบันก็สงบลงได้แก่ประเทศมาเลเซีย
ซึ่งการเมืองตกเป็นของฝ่ายรัฐบาลมาตลอด เป็นการเมืองที่มีลักษณะการช่วงชิงอำนาจกัน
หากประเทศใดที่มีการรักษากลไกประชาธิปไตยที่อ่อนแอที่สุดได้แก่ประเทศพม่าเพราะเป็นการปกครองแบบรัฐบาลทหารพม่า
และมีการกักกันอองซาน ซูจี ไม่ให้มีบทบาททางการเมือง ทั้ง
ๆที่อองซาน
ซูจีได้ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมาตลอด แต่เนื่องจากกลุ่มของอองซาน
ซูจีมีเพียงคนในเมืองที่มีการศึกษาดีต้องการประชาธิปไตย
ส่วนในชนบทห่างไกลก็มักจะมีชนกลุ่มน้อยเป็นส่วนใหญ่
ดังนั้นการที่อำนาจรัฐของพม่าเิกิดจากปลายกระบอกปืน
ทำให้ประเทศพม่าไม่ได้เปิดประตูสู่โลกเหมือนกับประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย
ส่วนของไทยนั้นความตื่นตัวประชาธิปไตยนั้นมีมากกว่า
และได้ผ่านเวทีแห่งประชาธิปไตยมาหลายครั้ง
ทำให้แนวทางการปกครองที่ชนชั้นนำพยายามครอบงำอำนาจ
และผลประโยชน์แห่งชาติค่อนข้างทำได้ลำบาก
ส่วนในแถบตะวันออกกลางภายหลังการเรียกร้องประชาธิปไตยของชนชั้นรากหญ้า (grass
root democracy) ซึ่งคล้ายคลึงกับประเทฅอินเดีย
นายไมเคิล วาติคิโอติส
ได้ตั้งข้อสังเกตประชาธิปไตยในเอเีชียมีลักษณะพอสรุปดังนี้สาเหตุที่ประชาธิปไตยในภูมิภาคเอเชียมีลักษณะผิดรูปผิดร่างดังนี้
1. การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องทางสังคมวัฒนธรรม
เกิดขึ้นช้ามาก ทำให้ต้องยอมรับในระบบอุปถัมภ์
2. ในด้านเศรษฐกิจ ประชาชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยเฉพาะในชนบทยังยากจน ยังต้องได้รับการอุปถัมภ์จากผู้นำ
3. การปกครองแบบปิตุลาธิปไตยยังมีอยู่ กล่าวคือ
การปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญนั้น เน้นและให้ความสนใจในเชิงความหมายมากกว่าจะนำมาปฏิบัติจริง
นี่คืออุปสรรคในการพัฒนาประชาธิปไตย
ความเปลี่ยนแปลงประชาธิปไตยในภูมิภาคที่เกิดจาก 3 ปัจจัยสำคัญ คือ
1. ประชานิยม อันเนื่องมาจากในปี 1997
ทำให้เกิดความไม่พอใจอย่างกว้างขวาง
โดยเฉพาะในระดับชนชั้นนำ เพราะสูญเสียผลประโยชน์ในเงินเป็นจำนวนมาก
2. สื่อสังคม เช่น สื่อออนไลน์นั้น
ถือเป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญในการหาเสียงประชานิยมในวงกว้าง
ทำให้มีประชานิยมที่มีการแพร่กระจายมากขึ้น
3. การเปลี่ยนแปลงในประชาสังคม
มีการรวมตัวของประชาชนเป็นประชาสังคมรวมกลุ่มกันเพื่อท้าทายอำนาจเดิมมากขึ้น
และเมื่อประชาสังคมมีอำนาจที่เข้มแข็งจะช่วยเกื้อหนุนให้การปกครองแบบ
ประชาธิปไตยแข็งแกร่งไปด้วย โดยที่ชนชั้นนำแบบเดิม
จะออกไปตบแต่งตัวเองให้มีความใกล้ชิดกับประชาชนมากขึ้นและนำเสนอให้เห็นว่า
ตนเข้ามามีอำนาจในการปกครองเพื่อรับใช้ประชาชน สุดท้ายเราต้องทำให้ภาคประชาสังคม
มีบทบาทสำคัญมากขึ้น อย่างที่ ประธานาธิบดีบารัค โอบามา
ได้กล่าวกับประเทศอินโดนีเซียว่า เป็นประเทศที่มีประชาธิปไตยเข้มแข็ง มั่นคง
ก็เพราะมีภาคประชาสังคมและมีประชาชนที่ตื่นตัว อย่างไรก็ตาม การมองแบบชาติตะวันตก
บ่อยครั้งก็มักจะเป็นการมองแบบ การนำประเทศหนึ่ง ที่คิดว่ามีเสรีภาพ
มีประชาธิปไตยแบบเต็มขั้นแล้ว
ไปสวมใส่ในอีกประเทศหนึ่งที่มีเสรีภาพและความเป็นประชาธิปไตยไม่เท่ากับแบบ แรก
จากนั้นก็วิเคราะห์สถานการณ์ของประเทศนั้นๆ โดยหลงลืมบริบทหรือขีดจำกัด
หรือเงื่อนไขสำคัญของแต่ละประเทศไป (จากงานสัมมนา “ประชาธิปไตยและการส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพ” โดย Michael
Vatikiotis, ผู้อำนวยการระดับภูมิภาค
the Geneva) ซึ่งกล่าวโดยสรุปการปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นเรื่องของการช่วงชิงอำนาจในชนชั้นนำ
และหากประเทศขาดการกระจายผลประโยชน์อย่างทั่วถึง
หรือมีการกดขี่เช่นตะวันออกกลางก็จะมีการลุกฮือเพี่อเรียกร้องให้ผู้นำไ้ด้ลาออกไป
ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าผู้นำหากจัดการผลประโยชน์โดยไม่ได้กระจายอย่างทั่วถึงให้กับทุกชนชั้นแล้ว
ก็จะเกิดการต่อต้านอีกชนชั้นหนึ่ง ดังนั้นความคาดหวังของประชาชนในเอเชียต้องการให้กระจายผลประโยชน์ได้อย่างสมดุล
ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายในทางปฏิบัติ แต่ต้องมองประชาธิปไตยในทุกชนชั้นแบบมิตร
หรือแบบปรองดองหรือการประนีประนอม
และลดการแข่งขันกันก็จะลดปัญหาเกี่ยวกับประชาธิปไตยต่างระดับชนชั้นได้
และการตัดสินใจในทางประชาธิปไตยหรือการครอบงำส่วนใหญ่เป็นไปตามหลักนักวิชาการที่ว่า
"การเปลี่ยนแปลงมาจากชนชั้นนำ และการตัดสินใจนั้นมาจากเบื้องบน" (change
from the top and decisions from above) ซึ่งอิทธิพลการเปลี่ยนแปลงในเอเชียล้วนมาจากชนชั้นนำ
และแรงสนับสนุนจากประชาชน
เหตุผลที่จำเป็นต้องมีประชาธิปไตยอัจฉริยะ
การที่สังคมไทยมีการครอบงำประชาธิปไตยมาเป็นเวลานานกว่า
70 ปีมาแล้ว
ทำให้ระบบการเมืองของไทยอ่อนแอ ขาดจิตสำนึกทางการเมืองแบบประชาธิปไตย
ซึ่งบุคลิกภาพของชนชั้นนำได้มีการถ่ายทอดความคิดแบบอัตนิยม
หรือความนิยมอำนาจค่อนข้างมาก
ซึ่งจะสังเกตว่าคนไทยนิยมรับราชการเพราะการเป็นข้าราชการเป็นตำแหน่งที่มีเกียรติ
หรือมียศชั้นเป็นที่เกรงกลัว หรือเกรงใจของประชาชนมาเป็นเวลานาน
ข้าราชการไม่ได้มีการปลูกฝังการรับใช้ประชาชนซึ่งประเทศประชาธิปไตยหัวใจสำคัญของการปกครองแบบประชาธิปไตย
เพราะว่าข้าราชการนั้นกินเงินภาษีอากรของราษฎร
การทำงานราชการจึงไม่ควรเบียดบังราษฎรทั้งในแง่การใช้อำนาจหน้าที่, การไม่บริการประชาชนอย่างเสมอภาคกัน
แต่ก็มีข้าราชการที่มีจิตสำนึกที่ดียังคงเป็นข้าราชการที่นิยมรับใช้ประชาชนมากกว่า
การเปลี่ยนความคิดจิตใจแบบประชาธิปไตยนั้นนอกจากมีรัฐธรรมนูญที่รับประชาชนที่ดีซึ่งยังไม่เพียงพอ
แต่ยังมีองค์ประกอบของการป้องกันการรัฐประหารโดยกลุ่มทหาร
ซึ่งเป็นการเอาอำนาจของประชาชนไปใช้กับคนกลุ่มเดียว
ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องตามหลักการปกครองแบบประชาธิปไตยในประเทศที่มีความก้าวหน้า
ดังนั้นประเทศที่พัฒนาแล้วจะไม่มีการรัฐประหาร
และประชาชนมีวินัยในเรื่องประชาธิปไตย แต่การที่สังคมไทยขาดการอบรมกล่อมเกลาในเรื่องประชาธิปไตยมาเป็นเวลานาน
ซึ่งบางครั้งก็เกิดกระแสประชาธิปไตย เช่นเหตุการณ์ในวันที่ 14 ตุลาคม 2516
ซึ่งความตื่นตัวประชาธิปไตยเกิดจากนักเรียน,นิสิต,นักศึกษา
ซึ่งเกิดจากสถานการณ์ที่เกิดการขับไล่จอมพลถนอม, ประภาส
ที่ใช้อำนาจปกครองแบบเผด็จการ ซึ่งเหตุการณ์ได้ล่วงเลยมาเป็นเวลา 38 ปี
จากนั้นเป็นต้นมาการเรียนรู้ประชาธิปไตยของไทยค่อนข้างอ่อนแอ
และขาดความต่อเนืองในการปลูกฝังจิตสำนึกประชาธิปไตย ไม่เป็นที่ปรากฎว่ารัฐบาลที่สนใจในการอบรมกล่อมเกลาวัฒนธรรมแบบประชาธิปไตย
แต่รัฐบาลในยุคทักษิณ
ก็ได้เน้นการบริหารงานแบบมืออาชีพเน้นเศรษฐกิจในโลกาภิวัฒน์
แต่ทักษะเกี่ยวกับประชาธิปไตยนั้นก็ยังไม่ได้มีการส่งเสริมให้มีความรู้และจิตวิญญาณประชาธิปไตยนั้นตั้งแต่ระดับครอบครัว, โรงเรียน,มหาวิทยาลัย, สถานที่ทำงานไม่ว่าภาครัฐ,ภาคธุรกิจ และรัฐวิสาหกิจ
ไม่มีการดำเนินการส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างวัฒนธรรมแบบประชาธิปไตย แต่ัสังคมไทยยังเน้นส่งเสริมวัฒนธรรมแบบระบบอุปถัมภ์
ทำให้การเข้าเรียน, เข้าทำงานกลายเป็นระบบอุปถัมภ์ค่อนข้างมากจนเป็นการบ่อนทำลายวิถีทางประชาธิปไตย
บุคคลที่หวังความก้าวหน้าก็ต้องคอยหาผู้อุปถัมภ์เพื่อเป็นพรรคพวกรวมใจ
และไม่สามารถแสดงความคิดเห็น หรือวิจารณ์ได้
ทำให้สภาพสังคมจึงเกิดมีผู้ตามที่เป็นลักษณะการเออออห่อหมก
และในที่ประชุมการแสดงความคิดเห็นจะน้อยมาก มีแต่เพียงการประชุมเพื่อรับทราบ, ประชุมรับคำสั่ง, การทำงานจึงเน้นการใช้คำสั่ง
ก็จะมีเพียงภาคธุรกิจเท่านั้นที่ยังพอมีการแสดงความคิดเห็นกันได้
ดังนั้นจึงพอสรุปสาเหตุที่จำเป็นต้องมีประชาธิปไตยอัจฉริยะ
คือ
1. ประชาชนควรรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ,รัฐสภา,หลักการประชาธิปไตยของปวงชน, การสร้างประชาคมเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
2. ประชาชนควรได้รับการปลูกฝังวัฒนธรรม,ค่านิยม, และระเบียบกฎเกณฑ์ที่ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตยในการแสดงออกซึ่งการพูด,การเขียน,การแสดงความคิดเห็น
โดยการหลอมวัฒนธรรมที่ส่งเสริมจิตวิญญานประชาธิปไตย
โดยยึดหลักเสรีภาพ,ความเสมอภาค และภราดรภาพ
ในทางปฏิบััิติ มิใช่เป็นเพียงทฤษฎี หรือเป็นเพียงนามธรรม
แต่ประชาธิปไตยต้องเป็นรูปธรรม
3. ระบบการศึกษาทุกระดับ
ตั้งแต่โรงเรียน,วิทยาลัย,มหาวิทยาลัย
ควรรื้อปรับระบบประชาธิปไตยทั้งระบบ การร่างกฎเกณฑ์ควรเกิดจากประชาคมทั้งหน่วยงาน
แต่มิใช่เป็นการเขียนกฎเกณฑ์โดยคนบางกลุ่ม หรือเฉพาะผู้บริหารเท่านั้น
แต่ควรมีแบบจำลองประชาธิปไตยเป็นตัวอย่าง
มีประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงทุกองค์การ
4. ข้าราชการควรเปลี่ยนเป็นข้าราษฎร
เพื่อให้พนักงานองค์การราชการทำหน้าที่บริการ หรือรับใช้ประชาชน
ซึ่งหมายความว่าประชาชนเป็นเจ้านาย มิใช่คนที่ทำงานภาครัฐเป็นนายของประชาชน
ดังนั้นควรมีองค์กรภาคประชาชนที่เข้มแข็ง
หรือนักวิชาการที่มีจิตใจประชาธิปไตยเข้ามาถ่ายทอดหรือตรวจสอบระบบราชการทั้งระบบให้เป็นระบบการทำงานภาครัฐเป็นของประชาชน
5. สาเหตุมีการรัฐประหารบ่อยครั้ง
ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีอำนาจประชาธิปไตย
ดังนั้นการรัฐประหารนั้นกลับทำให้ประเทศไทยล้าหลังในประชาธิปไตย
ดังนั้นประเทศไทยควรล้มเลิกการรัฐประหาร
และอำนาจของประชาชนจึงเป็นอำนาจที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
บุคคลที่ก่อการรัฐประหารเท่ากับเป็นการล้มล้างอำนาจของประชาชนซึ่งเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง
6. การเปลี่ยนแปลงให้คนไทยมีความฉลาดในเรื่องประชาธิปไตย
ไม่ว่าจะเป็นการพูด, การเคารพศักดิ์ศรีของประชาชน, การไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มบุคคล, การอคติต่อแนวทางการปกครองแบบประชาธิปไตย
ดังนั้นความฉลาดทางประชาธิปไตยจะทำให้ประชาชนทุกภาคส่วนตื่นตัว
และรักษาประชาธิปไตยให้มั่นคง ซึ่งนั้นหมายถึงประเทศไทยจะเจริญอย่างมากมาย
เพราะประเทศไทยยังไม่เคยลิ้มรสประชาธิปไตยอย่างแท้ัจริงหลังจากการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยเมื่อวันที่
24 มิถุนายน
2475
7. อัจฉริยะประชาธิปไตยจะต้องส่งเสริมสื่อประชาธิปไตย
การอภิปรายในเชิงประชาธิปไตย บุคคลที่ทำหน้าที่สื่อมวลชนต้องมีจิตวิญญาณประชาธิปไตย
แต่ในยุคปัจจุบันประชาชนไทยตื่นตัวระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอย่างมากมายทั่วประเทศ
ซึ่งนับว่านิมิตหมายที่ดี เพราะประชาธิปไตยไม่ได้ทำลายใคร, ไ่ม่ได้ทำให้ใครเสียผลประโยชน์
แต่ประชาธิปไตยทำให้คนทุกคนได้รับประโยชน์ และได้รับความสุขจากการปกครองเพราะเป็นการปกครองแบบไม่ได้เบียดเบียนประชาชน
หรือไม่ได้มีการกดขี่ขูดรีดจากผู้มีอำนาจมากกว่า ซึ่งเป็นเรื่องดีงามและเป็นเรื่องที่ทำให้สังคมไทยมองโลกในเง่บวก
และช่วยให้ชาติมีเศรษฐกิจมั่นคง,มีการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง ถึงเวลานั้นประเทศจะเป็นประเทศที่ยอดเยี่ยม
และมีศักดิ์ศรีไม่แพ้ใครในโลกนี้
สรุป
ประชาธิปไตยอัจฉริยะ เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนมีความฉลาดในเรื่องประชาธิปไตย
ในการใช้ประชาธิปไตย, การรณรงค์ประชาธิปไตย, การมีส่วนร่วมภาคพลเมือง
เพื่อประกันสิทธิ,เสรีภาพ และความเสมอภาคของสังคม
และป้องกันการใช้ประชาธิปไตยที่ผิดหรือประชาธิปไตยที่ขาดปัญญา
และอุดมการณ์นำไปสู่ความเสื่อมชองประชาธิปไตยในประชาชน
การส่งเสริมวิถีทางประชาธิปไตยควรเรีมจากหน่วยครอบครัว,สถาบันการศึกษา,
สังคม และประเทศชาติ ซึ่งปัจจุบันประเทศที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตยอย่างเช่นสหรัฐอเมริกาก็ประสบปัญหาความเสื่อมและความชลังของประชาธิปไตย
ซึ่งหมายถึงต้นไม้ประชาธิปไตยถูกกรัดกร่อน
และอาจทำให้ประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นถึงกาลเวลาเสื่อมทรุดในที่สุด จึงต้องมีการฟื้นฟูปรับปรุงพัฒนาตลอดเวลาเพื่อบำรุงเลี้ยงดูประชาธิปไตยให้ยั่งยืนซึ่งต้องเกิดจากประชาธิปไตยอัจฉริยะของประชาชน
-------------------
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น